การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง

แสดงความคิดเห็น

การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง

เวทีเศรษฐกิจโลก World Economic Forum (WEF) รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา ปี 2555-2556 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 8 ของอาเซียน สร้างความสั่นไหวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผลการจัดลำดับการศึกษาของ WEF เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะเร็วเกินไปกับการด่วนสรุปผลดังกล่าว เพราะขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการกำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจาก 8 กลุ่มสาระ เป็น 6 กลุ่มความรู้ที่เน้นทักษะอาชีพ เพื่อหวังให้เด็กนอกจากมีความรู้แล้ว ยังมีทักษะในการดำรงชีวิตด้วย นี่คือโจทย์การศึกษาใหม่ที่ต้องการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก และการศึกษาในศตวรรษที่ 21

เฉกเช่นเดียวกับหน่วยงานทางการศึกษาอย่าง สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ที่ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลการจัดการศึกษาของประเทศ แล้วพบว่า เด็กที่เรียนจบระดับอุดมศึกษามีเพียง 10% เท่านั้นที่ได้งานทำตามสาขาที่จบ และมีจำนวนเด็กที่ตกงานในแต่ละปีสูงถึง 200,000 คน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สสค.ได้เผยถึงผลการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาของ WEF ที่ออกมาว่า ในความจริงแล้วก็น่าจะเป็นเหมือนกันทั่วโลก หลายประเทศยอมจำนน เพราะไปต่อไม่ไหวที่จะปฏิรูปการศึกษาขนานใหญ่ โดยความคิดและทิศทางไปในทางเดียวกัน คือ ภาครัฐไม่จัดการศึกษาตัวคนเดียว แต่หันไปดึงภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามาช่วยจัดการศึกษา

เหมือนกับครั้งนี้ ที่ สสค.ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงไปให้การสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 2 กล้ารุกขึ้นมาเป็นขุนพลในพื้นที่ปิดตำรา เปิดหลักสูตร สู่การมีงานทำ เพราะบริบทของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการอย่างเดียว จึงไม่ประสบความสำเร็จ จึงเป็นที่มาของ 9 โรงเรียนที่ได้บรรจุหลักสูตรทักษะอาชีพ เข้าไปในการเรียนการสอนแล้ว จาก 30 โรงเรียนนำร่อง ใน 157 โรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการปรับเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็น “สหกรณ์ศูนย์การแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ฝีมือนักเรียน” เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสินค้าและบริการจากนักเรียนเชื่อมต่อภาคธุรกิจ

การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง

“โจทย์ใหม่ที่ท้าทาย หากจะงัดตนเองขึ้นมาจากลำดับ 8 ในอาเซียน คงต้องเน้นเรื่องทักษะชีวิต และการมีงานทำ เข้าสู่โลกของการทำงานจริงๆ แต่หลายคนคิดว่าจะเป็นการทำให้โรงเรียนไปแย่งการจัดการศึกษาของอาชีวะ ซึ่งไม่ใช่และมันตรงกันข้าม เพราะเราจะทำให้เด็กเรียนอาชีวะศึกษามากขึ้น เมื่อเด็กรู้ว่าเท่ห์กว่าเยอะที่จบออกมาแล้วมีงานทำ ดีกว่าเส้นทางที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่มหาวิทยาลัย ซึ่งมีเด็ก 40% จบการศึกษา แต่มีเพียง 10% เท่านั้นได้งานที่มีคุณค่าตามสาขาที่จบ และมีเด็กตกงานอีกปีละ 200,000 คน ค้านกับความต้องการของภาคเอกชน อุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าทำไมภาครัฐจึงหยุดจัดการศึกษาเพียงตัวคนเดียว แต่หันมาให้อำนาจแก่พื้นที่ ด้วยการสร้างขุนพลน้อยๆ คือ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยดึงภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชนขึ้นมาช่วยกันจัดการศึกษา ซึ่งเป็นการจัดการในระดับพื้นที่ เพราะต่อไปนี้เชื่อว่าประชาชนคนไทยไม่อยากฟังความต่ำต้อยในการจัดการศึกษา ของไทยอีกแล้ว เมื่อเรามีการริเริ่มที่ดีแล้ว จึงอยากให้ตีแผ่ให้กว้างมากขึ้น”

ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกว่า การจัดการศึกษาที่ดีไม่ใช่เรื่องลึกลับ อธิบายอย่างง่ายและเข้าใจ คือเหมือนการวิ่งผลัด 4คูณ 100 เมตร เช่น ไม้ผลัดแรกการจัดการศึกษาปฐมวัย แรกเกิดถึง 3 ปี พบว่าพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของเด็กล่าช้าสูงถึง 31% เพราะปัญหาแม่วัยรุ่น เด็กถูกทิ้งให้อยู่กับ ปู่ย่า ตายาย ส่งผลให้การพูด การเดินช้าลง เห็นชัดว่าไม้ผลัดแรกยังทำได้ไม่ดี ไม่ผลัดที่ 2 การศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาแบบกรอบเดียว วัดผลสัมฤทธิ์ด้วยตัวชี้วัดที่ไม่สอดคล้องกับบริบทการเรียน และมุ่งให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่พื้นฐานแค่การอ่านออก เขียนได้ เด็กยังทำไม่ได้ทำให้เด็กจำนวน 35% หลุดออกจากระบบการศึกษา ดังนั้น การจัดศึกษาที่ดีไม่ใช่เรื่องฟลุ๊ก ต้องตอบโจทย์ชีวิตของเด็กและโลกของงานให้ได้

ด้านสินอาจ ลำพูนพงศ์ ผู้อำนวยการ สพป.เชียงใหม่ เขต 2 กล่าวว่า การรุกขึ้นมาปรับหลักสูตรให้เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพ เนื่องจากโรงเรียนในสังกัดของ สพป.เชียงใหม่ เขต 2 อยู่ในพื้นที่สูงมีเด็กชนเผ่าจำนวนมาก การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการอย่างเดียว ไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นการสูญเปล่าของการจัดการเรียนการสอน ถ้าเด็กออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว แต่ไม่มีอะไรติดไม้ติดมือออกไปเลย ดังนั้น เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงที่ต้องส่งเสริมและจัดการให้เป็น ระบบ โดยร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น เครือข่ายภาคธุรกิจช่วยกันคิด พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเด็กพอใจ เรียนอย่างมีความสุข โดยเฉพาะกลุ่มที่ไปต่อไม่ได้ เมื่อมาเรียนในสิ่งที่ใกล้ตัวก็หันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการเรียนโดยการลงมือปฏิบัติเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ที่ถูกหลักการ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทั้งการชั่ง ตวง วัด เศษส่วน ทำให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้นมากกว่าการสอนบนกระดาน จึงเป็นการสะท้อนผลดีไปสู่การเรียนในสาระวิชาปกติ เพียงครูจับหลักวิธีการสอนได้ถูกทาง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นพบว่าอัตราการเรียนต่อจาก 0% กลายเป็น 100% และที่ประสบความสำเร็จมากคือภาคเอกชน ธุรกิจ ยินดียื่นมือเข้ามาช่วยจำนวนมาก

ณรงค์ อภัยใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมืองกื้ด หนึ่งในโรงเรียนนำร่องที่ใช้ “อาชีพ” เป็นตัวดึงเด็กกลับเข้าห้อง และสร้างรายได้ระหว่างเรียนมากว่า 5 ปีสะท้อนว่า การสร้างเครือข่ายเพื่อการสอนทักษะอาชีพให้แก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก ตั้งแต่เครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน สถานประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในท้องถิ่น โดยเฉพาะการปลดล๊อกกติกา หรือกฎกระทรวงบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมด้านทักษะอาชีพใน โรงเรียน เพื่อฝึกทักษะได้อย่างครบวงจร เหมือนสถานประกอบการเต็มรูปแบบได้ ทั้งการบริหารจัดการ งบประมาณ และรูปแบบการประเมินที่ควรวัดคนมากกว่าวัดผล

การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง

อย่างไรก็ดี ดร.รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาองค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย ยังเสริมว่า การศึกษาเพื่อการสร้างทักษะวิชาชีพนั้น ต้องไม่ละเลย “ความสำคัญของวิชาสามัญ” ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ เพราะการสร้างทักษะให้เกิดกับผู้เรียนมีหลายระดับ ทั้งทักษะพื้นฐาน ทักษะการประยุกต์ และทักษะวิชาชีพ เพราะหากฐานรากไม่แข็งแรงแล้ว ก็ยากจะให้เด็กเยาวชนสามารถคิดต่อยอดเองได้

ขณะที่ คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ในฐานะประธาน เผยว่า เป็นความสุขใจที่สะท้อนให้เห็นภาพความสุขของเด็กๆ ผ่านกระบวนการปฏิบัติ การเรียนวิชาชีพในโรงเรียน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการสอนวิชาชีพในโรงเรียนนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ความสำคัญอยู่ที่กระบวน วิธีการสอน ซึ่งการที่เขตพื้นที่การศึกษาได้สร้างเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้สู่ทักษะ ชีวิต และโลกของงาน ด้วยการเชิญผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความเห็น บูรณาการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อให้เด็กเกิดทักษะ ช่วยกันพัฒนาการศึกษาของชาติ เพื่อช่วยกันเลื่อนระดับการศึกษาให้สูงขึ้น อีกทั้ง เห็นความกระตือรือร้น ความตั้งใจที่จะสานต่อของคนในพื้นที่ ซึ่งการทำงานมีความก้าวหน้า แต่ถ้าจะก้าวไปไกลว่านี้ ทุกคนก็ต้องร่วมกันผลักดัน โดยมีโจทย์ที่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ แต่อยากจะฝากไว้กับการศึกษาไทย เช่น ประเด็นกรณีศึกษาเรื่องไอโฟนที่ออกมาใหม่ในแต่ละรุ่น หากถามเด็กเวียดนาม เขาจะอยากรู้ทันทีว่าโรงงานที่ผลิตจะมาตั้งในประเทศของเขาหรือไม่ ส่วนเด็กสิงคโปร์ถามว่าเขาจะมีโอกาสเขียนแอพพลิเคชั่นตัวใหม่หรือไม่ ส่วนเด็กไทยถามว่าจะผลิตออกมาเมื่อไร จะได้ไปซื้อ สะท้อนอะไรบางอย่างที่ขาดหายไปจากการเรียนการสอน ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กไทยคิดใหม่ได้

เมื่อโจทย์การศึกษาเปลี่ยนไป ทุกฝ่ายจำเป็นต้องหันกลับมาช่วยสร้างจุดต่างที่ตรงใจผู้เรียนและตอบโจทย์ชีวิตของคนในท้องถิ่น

ขอบคุณ http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115656 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 15/09/2556 เวลา 02:55:52 ดูภาพสไลด์โชว์ การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง เวทีเศรษฐกิจโลก World Economic Forum (WEF) รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพการศึกษา ปี 2555-2556 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 8 ของอาเซียน สร้างความสั่นไหวต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผลการจัดลำดับการศึกษาของ WEF เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะเร็วเกินไปกับการด่วนสรุปผลดังกล่าว เพราะขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการกำลังอยู่ระหว่างการปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจาก 8 กลุ่มสาระ เป็น 6 กลุ่มความรู้ที่เน้นทักษะอาชีพ เพื่อหวังให้เด็กนอกจากมีความรู้แล้ว ยังมีทักษะในการดำรงชีวิตด้วย นี่คือโจทย์การศึกษาใหม่ที่ต้องการปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก และการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เฉกเช่นเดียวกับหน่วยงานทางการศึกษาอย่าง สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ที่ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลการจัดการศึกษาของประเทศ แล้วพบว่า เด็กที่เรียนจบระดับอุดมศึกษามีเพียง 10% เท่านั้นที่ได้งานทำตามสาขาที่จบ และมีจำนวนเด็กที่ตกงานในแต่ละปีสูงถึง 200,000 คน ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สสค.ได้เผยถึงผลการจัดลำดับคุณภาพการศึกษาของ WEF ที่ออกมาว่า ในความจริงแล้วก็น่าจะเป็นเหมือนกันทั่วโลก หลายประเทศยอมจำนน เพราะไปต่อไม่ไหวที่จะปฏิรูปการศึกษาขนานใหญ่ โดยความคิดและทิศทางไปในทางเดียวกัน คือ ภาครัฐไม่จัดการศึกษาตัวคนเดียว แต่หันไปดึงภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามาช่วยจัดการศึกษา เหมือนกับครั้งนี้ ที่ สสค.ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงไปให้การสนับสนุนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 2 กล้ารุกขึ้นมาเป็นขุนพลในพื้นที่ปิดตำรา เปิดหลักสูตร สู่การมีงานทำ เพราะบริบทของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการอย่างเดียว จึงไม่ประสบความสำเร็จ จึงเป็นที่มาของ 9 โรงเรียนที่ได้บรรจุหลักสูตรทักษะอาชีพ เข้าไปในการเรียนการสอนแล้ว จาก 30 โรงเรียนนำร่อง ใน 157 โรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการปรับเขตพื้นที่การศึกษาให้เป็น “สหกรณ์ศูนย์การแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ฝีมือนักเรียน” เพื่อเป็นตัวกลางเชื่อมโยงสินค้าและบริการจากนักเรียนเชื่อมต่อภาคธุรกิจ การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง “โจทย์ใหม่ที่ท้าทาย หากจะงัดตนเองขึ้นมาจากลำดับ 8 ในอาเซียน คงต้องเน้นเรื่องทักษะชีวิต และการมีงานทำ เข้าสู่โลกของการทำงานจริงๆ แต่หลายคนคิดว่าจะเป็นการทำให้โรงเรียนไปแย่งการจัดการศึกษาของอาชีวะ ซึ่งไม่ใช่และมันตรงกันข้าม เพราะเราจะทำให้เด็กเรียนอาชีวะศึกษามากขึ้น เมื่อเด็กรู้ว่าเท่ห์กว่าเยอะที่จบออกมาแล้วมีงานทำ ดีกว่าเส้นทางที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่มหาวิทยาลัย ซึ่งมีเด็ก 40% จบการศึกษา แต่มีเพียง 10% เท่านั้นได้งานที่มีคุณค่าตามสาขาที่จบ และมีเด็กตกงานอีกปีละ 200,000 คน ค้านกับความต้องการของภาคเอกชน อุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นที่มาว่าทำไมภาครัฐจึงหยุดจัดการศึกษาเพียงตัวคนเดียว แต่หันมาให้อำนาจแก่พื้นที่ ด้วยการสร้างขุนพลน้อยๆ คือ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยดึงภาคเอกชน ท้องถิ่น ชุมชนขึ้นมาช่วยกันจัดการศึกษา ซึ่งเป็นการจัดการในระดับพื้นที่ เพราะต่อไปนี้เชื่อว่าประชาชนคนไทยไม่อยากฟังความต่ำต้อยในการจัดการศึกษา ของไทยอีกแล้ว เมื่อเรามีการริเริ่มที่ดีแล้ว จึงอยากให้ตีแผ่ให้กว้างมากขึ้น” ดร.อมรวิชช์ กล่าวอีกว่า การจัดการศึกษาที่ดีไม่ใช่เรื่องลึกลับ อธิบายอย่างง่ายและเข้าใจ คือเหมือนการวิ่งผลัด 4คูณ 100 เมตร เช่น ไม้ผลัดแรกการจัดการศึกษาปฐมวัย แรกเกิดถึง 3 ปี พบว่าพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของเด็กล่าช้าสูงถึง 31% เพราะปัญหาแม่วัยรุ่น เด็กถูกทิ้งให้อยู่กับ ปู่ย่า ตายาย ส่งผลให้การพูด การเดินช้าลง เห็นชัดว่าไม้ผลัดแรกยังทำได้ไม่ดี ไม่ผลัดที่ 2 การศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาแบบกรอบเดียว วัดผลสัมฤทธิ์ด้วยตัวชี้วัดที่ไม่สอดคล้องกับบริบทการเรียน และมุ่งให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่พื้นฐานแค่การอ่านออก เขียนได้ เด็กยังทำไม่ได้ทำให้เด็กจำนวน 35% หลุดออกจากระบบการศึกษา ดังนั้น การจัดศึกษาที่ดีไม่ใช่เรื่องฟลุ๊ก ต้องตอบโจทย์ชีวิตของเด็กและโลกของงานให้ได้ ด้านสินอาจ ลำพูนพงศ์ ผู้อำนวยการ สพป.เชียงใหม่ เขต 2 กล่าวว่า การรุกขึ้นมาปรับหลักสูตรให้เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพ เนื่องจากโรงเรียนในสังกัดของ สพป.เชียงใหม่ เขต 2 อยู่ในพื้นที่สูงมีเด็กชนเผ่าจำนวนมาก การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการอย่างเดียว ไม่ประสบความสำเร็จ และเป็นการสูญเปล่าของการจัดการเรียนการสอน ถ้าเด็กออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว แต่ไม่มีอะไรติดไม้ติดมือออกไปเลย ดังนั้น เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงที่ต้องส่งเสริมและจัดการให้เป็น ระบบ โดยร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น เครือข่ายภาคธุรกิจช่วยกันคิด พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ซึ่งเห็นชัดเจนว่าเด็กพอใจ เรียนอย่างมีความสุข โดยเฉพาะกลุ่มที่ไปต่อไม่ได้ เมื่อมาเรียนในสิ่งที่ใกล้ตัวก็หันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการเรียนโดยการลงมือปฏิบัติเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ที่ถูกหลักการ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทั้งการชั่ง ตวง วัด เศษส่วน ทำให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้นมากกว่าการสอนบนกระดาน จึงเป็นการสะท้อนผลดีไปสู่การเรียนในสาระวิชาปกติ เพียงครูจับหลักวิธีการสอนได้ถูกทาง ความสำเร็จที่เกิดขึ้นพบว่าอัตราการเรียนต่อจาก 0% กลายเป็น 100% และที่ประสบความสำเร็จมากคือภาคเอกชน ธุรกิจ ยินดียื่นมือเข้ามาช่วยจำนวนมาก ณรงค์ อภัยใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมืองกื้ด หนึ่งในโรงเรียนนำร่องที่ใช้ “อาชีพ” เป็นตัวดึงเด็กกลับเข้าห้อง และสร้างรายได้ระหว่างเรียนมากว่า 5 ปีสะท้อนว่า การสร้างเครือข่ายเพื่อการสอนทักษะอาชีพให้แก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก ตั้งแต่เครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน สถานประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาในท้องถิ่น โดยเฉพาะการปลดล๊อกกติกา หรือกฎกระทรวงบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดกิจกรรมด้านทักษะอาชีพใน โรงเรียน เพื่อฝึกทักษะได้อย่างครบวงจร เหมือนสถานประกอบการเต็มรูปแบบได้ ทั้งการบริหารจัดการ งบประมาณ และรูปแบบการประเมินที่ควรวัดคนมากกว่าวัดผล การศึกษา ทักษะอาชีพ สนองความต้องการเด็กหรือยัง อย่างไรก็ดี ดร.รังสรรค์ วิบูลย์อุปถัมภ์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาองค์กรยูนิเซฟ ประเทศไทย ยังเสริมว่า การศึกษาเพื่อการสร้างทักษะวิชาชีพนั้น ต้องไม่ละเลย “ความสำคัญของวิชาสามัญ” ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้ เพราะการสร้างทักษะให้เกิดกับผู้เรียนมีหลายระดับ ทั้งทักษะพื้นฐาน ทักษะการประยุกต์ และทักษะวิชาชีพ เพราะหากฐานรากไม่แข็งแรงแล้ว ก็ยากจะให้เด็กเยาวชนสามารถคิดต่อยอดเองได้ ขณะที่ คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ในฐานะประธาน เผยว่า เป็นความสุขใจที่สะท้อนให้เห็นภาพความสุขของเด็กๆ ผ่านกระบวนการปฏิบัติ การเรียนวิชาชีพในโรงเรียน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการสอนวิชาชีพในโรงเรียนนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ความสำคัญอยู่ที่กระบวน วิธีการสอน ซึ่งการที่เขตพื้นที่การศึกษาได้สร้างเครือข่ายผู้นำการเรียนรู้สู่ทักษะ ชีวิต และโลกของงาน ด้วยการเชิญผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความเห็น บูรณาการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อให้เด็กเกิดทักษะ ช่วยกันพัฒนาการศึกษาของชาติ เพื่อช่วยกันเลื่อนระดับการศึกษาให้สูงขึ้น อีกทั้ง เห็นความกระตือรือร้น ความตั้งใจที่จะสานต่อของคนในพื้นที่ ซึ่งการทำงานมีความก้าวหน้า แต่ถ้าจะก้าวไปไกลว่านี้ ทุกคนก็ต้องร่วมกันผลักดัน โดยมีโจทย์ที่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ แต่อยากจะฝากไว้กับการศึกษาไทย เช่น ประเด็นกรณีศึกษาเรื่องไอโฟนที่ออกมาใหม่ในแต่ละรุ่น หากถามเด็กเวียดนาม เขาจะอยากรู้ทันทีว่าโรงงานที่ผลิตจะมาตั้งในประเทศของเขาหรือไม่ ส่วนเด็กสิงคโปร์ถามว่าเขาจะมีโอกาสเขียนแอพพลิเคชั่นตัวใหม่หรือไม่ ส่วนเด็กไทยถามว่าจะผลิตออกมาเมื่อไร จะได้ไปซื้อ สะท้อนอะไรบางอย่างที่ขาดหายไปจากการเรียนการสอน ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กไทยคิดใหม่ได้ เมื่อโจทย์การศึกษาเปลี่ยนไป ทุกฝ่ายจำเป็นต้องหันกลับมาช่วยสร้างจุดต่างที่ตรงใจผู้เรียนและตอบโจทย์ชีวิตของคนในท้องถิ่น ขอบคุณ … http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115656 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...