เข็มทิศ SME :ธุรกิจครอบครัว คิดต่างอย่างไรให้ลงตัว

แสดงความคิดเห็น

เข็มทิศ SME :ธุรกิจครอบครัว คิดต่างอย่างไรให้ลงตัว

ธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากเป็นธุรกิจครอบครัวและมักจะมีปัญหาคล้าย ๆ กันปัญหาหนึ่ง คือ การจัดการกับช่องว่างระหว่างวัย หรือพูดง่าย ๆ ว่า ความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง รุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูก และดูเหมือนจะเป็นปัญหายืดเยื้อที่แก้ไขยาก เมื่อทั้งสองรุ่นอาจมีแนวทางการทำธุรกิจ และวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว

โดยปกติ ผู้ประกอบธุรกิจ SME จะคิดเรื่องงานตลอด 24 ชม. ดังนั้นในบางบ้าน หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างทำงาน ตอนทานข้าวเย็นอาจถึงกับมองหน้ากันไม่ติดเพราะยังแก้ไขปัญหาไม่จบ และบางครั้งความเครียดในการทำงานยังทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันในการใช้ ชีวิตด้านอื่น ๆ ด้วย

ลองคิดกันเล่น ๆ ว่า สมัยก่อน ในยุคที่ เทคโนโลยี และข่าวสารไม่กว้างไกล คนรุ่นก่อน เรียนรู้สิ่งต่าง ๆจากที่ไหน คำตอบคือ การสั่งสมประสบการณ์ บางท่านเป็นเจ้าของกิจการ ร้อยล้าน พันล้าน แต่ จบแค่ ป. 4 ดิฉันเองเคยมีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับหลาย ๆ ท่าน พบว่าล้วนแล้วแต่มีกลเม็ดเด็ดพราย และลูกล่อลูกชนในการทำธุรกิจ แบบขั้นเทพแทบทั้งสิ้น โดยไม่มีการอิงกับทฤษฎีใดเลย ทุกอย่างเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จที่ได้เผชิญมาแทบทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน คนรุ่นใหม่อย่างเรา ๆ ก็นับว่าโชคดีกว่าที่มีแหล่งข้อมูล ให้ค้นคว้าได้อย่างง่ายดาย เพียงปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จะขาดก็แต่ชั่วโมงบิน หรือประสบการณ์เท่านั้น ถ้าพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า ทั้งสองส่วน เป็นส่วนผสมที่ลงตัว คือ ประสบการณ์และความรู้ ดังนั้น การจะทำธุรกิจครอบครัวให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญก็คือ การบริหารองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด ด้วยการ สื่อสาร รับฟัง สอบถาม และระดมความคิด

นับเป็นเรื่องปกติที่ผู้อาวุโสจะคิดว่าการ เปลี่ยนแปลงไม่จำเป็น และสมาชิกรุ่นใหม่คิดว่าธุรกิจต้องการมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น การเปิดใจคุยกันจึงนับเป็นเรื่องดี ที่ให้ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็น แม้ว่าอาจไม่สามารถหาข้อยุติได้อย่างรวดเร็วหรือชัดเจนนัก อย่างน้อย ก็ทำให้เกิดการรับรู้ถึงข้อมูลและความคิดของแต่ละคนที่ช่วยบริหารกิจการ

เคล็ด ลับสำคัญคือ ทุกคนควรรับทราบถึงความตั้งใจอันดีของอีกฝ่าย พ่อแม่ควรเปิดเผยความตั้งใจในการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่สืบทอดกิจการในอนาคต และคำนึงถึงความรู้สึกและความเข้าใจของลูก ๆ ในสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจ และเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีที่สุดในขณะที่ยังมีชีวิต อยู่ สำหรับสมาชิกรุ่นใหม่ การใช้ไม้นวมเข้าหา ใช้ความอ่อนน้อมถ่อมตนให้เป็นประโยชน์ ดูจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ลองเปิดใจ พูดคุยกัน เพื่อหาจุดที่เหมาะสม และระลึกอยู่เสมอว่า การถกกันในเรื่องธุรกิจนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจอันดีของทุกฝ่ายที่จะเห็นธุรกิจครอบครัว ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของ และควรแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานให้ออก อย่าเอาเรื่องที่บ้านมาปนกับ เรื่องงานในออฟฟิศ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องง่ายเลย เพราะสำหรับ SME บางแห่ง ปัญหาเล็ก ๆ นี้ กลับใหญ่กว่าปัญหาในการดำเนินธุรกิจเสียอีก ดังนั้น การปรับความเข้าใจกันระหว่างบุคลากรในองค์กร หรือ เรียกง่าย ๆ ว่าคนในบ้าน จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จมากขึ้นในอนาคต : ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/eco/369250

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 13/09/2556 เวลา 04:07:09 ดูภาพสไลด์โชว์ เข็มทิศ SME :ธุรกิจครอบครัว คิดต่างอย่างไรให้ลงตัว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เข็มทิศ SME :ธุรกิจครอบครัว คิดต่างอย่างไรให้ลงตัว ธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากเป็นธุรกิจครอบครัวและมักจะมีปัญหาคล้าย ๆ กันปัญหาหนึ่ง คือ การจัดการกับช่องว่างระหว่างวัย หรือพูดง่าย ๆ ว่า ความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง รุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูก และดูเหมือนจะเป็นปัญหายืดเยื้อที่แก้ไขยาก เมื่อทั้งสองรุ่นอาจมีแนวทางการทำธุรกิจ และวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือความสำเร็จของธุรกิจครอบครัว โดยปกติ ผู้ประกอบธุรกิจ SME จะคิดเรื่องงานตลอด 24 ชม. ดังนั้นในบางบ้าน หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างทำงาน ตอนทานข้าวเย็นอาจถึงกับมองหน้ากันไม่ติดเพราะยังแก้ไขปัญหาไม่จบ และบางครั้งความเครียดในการทำงานยังทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันในการใช้ ชีวิตด้านอื่น ๆ ด้วย ลองคิดกันเล่น ๆ ว่า สมัยก่อน ในยุคที่ เทคโนโลยี และข่าวสารไม่กว้างไกล คนรุ่นก่อน เรียนรู้สิ่งต่าง ๆจากที่ไหน คำตอบคือ การสั่งสมประสบการณ์ บางท่านเป็นเจ้าของกิจการ ร้อยล้าน พันล้าน แต่ จบแค่ ป. 4 ดิฉันเองเคยมีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับหลาย ๆ ท่าน พบว่าล้วนแล้วแต่มีกลเม็ดเด็ดพราย และลูกล่อลูกชนในการทำธุรกิจ แบบขั้นเทพแทบทั้งสิ้น โดยไม่มีการอิงกับทฤษฎีใดเลย ทุกอย่างเรียนรู้จากความผิดพลาดและความสำเร็จที่ได้เผชิญมาแทบทั้งสิ้น ในขณะเดียวกัน คนรุ่นใหม่อย่างเรา ๆ ก็นับว่าโชคดีกว่าที่มีแหล่งข้อมูล ให้ค้นคว้าได้อย่างง่ายดาย เพียงปลายนิ้วคลิกก็สามารถเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จะขาดก็แต่ชั่วโมงบิน หรือประสบการณ์เท่านั้น ถ้าพิจารณาให้ดี จะเห็นว่า ทั้งสองส่วน เป็นส่วนผสมที่ลงตัว คือ ประสบการณ์และความรู้ ดังนั้น การจะทำธุรกิจครอบครัวให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญก็คือ การบริหารองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด ด้วยการ สื่อสาร รับฟัง สอบถาม และระดมความคิด นับเป็นเรื่องปกติที่ผู้อาวุโสจะคิดว่าการ เปลี่ยนแปลงไม่จำเป็น และสมาชิกรุ่นใหม่คิดว่าธุรกิจต้องการมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น การเปิดใจคุยกันจึงนับเป็นเรื่องดี ที่ให้ทุกคนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็น แม้ว่าอาจไม่สามารถหาข้อยุติได้อย่างรวดเร็วหรือชัดเจนนัก อย่างน้อย ก็ทำให้เกิดการรับรู้ถึงข้อมูลและความคิดของแต่ละคนที่ช่วยบริหารกิจการ เคล็ด ลับสำคัญคือ ทุกคนควรรับทราบถึงความตั้งใจอันดีของอีกฝ่าย พ่อแม่ควรเปิดเผยความตั้งใจในการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่สืบทอดกิจการในอนาคต และคำนึงถึงความรู้สึกและความเข้าใจของลูก ๆ ในสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจ และเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีที่สุดในขณะที่ยังมีชีวิต อยู่ สำหรับสมาชิกรุ่นใหม่ การใช้ไม้นวมเข้าหา ใช้ความอ่อนน้อมถ่อมตนให้เป็นประโยชน์ ดูจะเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ลองเปิดใจ พูดคุยกัน เพื่อหาจุดที่เหมาะสม และระลึกอยู่เสมอว่า การถกกันในเรื่องธุรกิจนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตั้งใจอันดีของทุกฝ่ายที่จะเห็นธุรกิจครอบครัว ประสบความสำเร็จ ซึ่งทุกคนมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของ และควรแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานให้ออก อย่าเอาเรื่องที่บ้านมาปนกับ เรื่องงานในออฟฟิศ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องง่ายเลย เพราะสำหรับ SME บางแห่ง ปัญหาเล็ก ๆ นี้ กลับใหญ่กว่าปัญหาในการดำเนินธุรกิจเสียอีก ดังนั้น การปรับความเข้าใจกันระหว่างบุคลากรในองค์กร หรือ เรียกง่าย ๆ ว่าคนในบ้าน จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จมากขึ้นในอนาคต : ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/eco/369250 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...