สำรวจ 'อาชีพเกษตร' 'สุข...แนวโน้ม' ดี-ไม่ดี...แล้วแต่ใคร

แสดงความคิดเห็น

ชาวนา กำลังดำนา

อย่างที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” นำเสนอไปเมื่อวันก่อน ว่า ประเทศไทยยังคงเป็น ’ประเทศเกษตร“ และ ’อาชีพเกษตรกร” รวมถึงอาชีพเกี่ยวเนื่อง ยังคงมีความสำคัญ ท่ามกลางตัวเลขสถิติประชากรภาคการเกษตรที่ยังมีมากกว่า 20 ล้านคน (ประมาณ 24.118 ล้านคน ในปี 2554) ประชากรที่เป็นแรงงานในภาคการเกษตรยังมีมากกว่า 10 ล้านคน (ประมาณ 17.399 ล้านคน ในปี 2554) พื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของไทยเป็นพื้นที่การเกษตร (ประมาณ 149,246,428 ไร่ จากทั้งหมดประมาณ 320,696,888 ไร่ ในปี 2554)

แต่ใครรวยจากภาคการเกษตร...นั่นอีกเรื่อง!!

และนี่ก็อาจเช่นเดียวกับ...’ความสุข-แนวโน้ม“

ทั้งนี้ ดูกันถึงเรื่อง “ความสุขของเกษตรกรไทย” และ “แนวโน้มภาวะภาคการเกษตรไทย” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ส่วนงานหนึ่งของ ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความสุขของเกษตรกรไทยในภาพรวม และคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 โดยประเด็นความสุขเกษตรกร ได้มีการสำรวจความคิดเห็นเกษตรกร ภายใต้หัวข้อ “ระดับความสุขของเกษตรกรไทย” จากกลุ่มตัวอย่างทุกจังหวัดทั่วประเทศรวม 2,448 ราย ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา

จากการสำรวจและสรุปผล ก็พบว่า...ในภาพรวมเกษตรกรมีความสุขอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 89.0 โดยมีความสุขในระดับมาก ใน 3 ด้าน คือ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม, ด้านสุขภาพ, ด้านการทำงาน และมีความสุขในระดับค่อนข้างมาก ใน 3 ด้าน คือ ด้านสังคม, ด้านการศึกษา, ด้านเศรษฐกิจ

“ถือว่าเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในช่วงเดือน ม.ค. 2556 ซึ่งเกษตรกรมีความสุขอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 76.0”...ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.ระบุไว้ และยังเผยไว้อีกว่า...

ข้อมูลจากการสำรวจยังพบว่า เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขมากที่สุด ส่วนเกษตรกรในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีความสุขน้อยกว่า โดยเกษตรกรต้องการการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการสร้างงานที่มั่นคงในชนบทมาก ที่สุด รองลงมาคือสนับสนุนการใช้ชีวิตพอเพียง และสนับสนุนการสร้างอาชีพเสริม

กับความต้องการของเกษตรกรที่สำรวจพบ ทาง ธ.ก.ส. สถาบันการเงินของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร และปัจจุบันยังมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาชนบท มีแนวทางและความเห็นคือ การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการลงทุนประกอบอาชีพ ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพื่อให้มีรายได้และเงินออมเพิ่มขึ้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญกับเกษตรกร ขณะที่ภาครัฐ ควรสนับสนุนการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินของเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงเรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีระดับความสุขด้านเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น

และ ควรส่งเสริมการใช้ชีวิตพอเพียงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรสนับสนุนการจัดทำบัญชีฟาร์มและบัญชีครัวเรือน และส่งเสริมให้เกษตรกรก้าวสู่การเป็นสมาร์ท ฟาร์เมอร์ โดยการ พัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและนวัตกรรมทางการเกษตร ให้กับเกษตรกร

เป็นเกษตรกรที่มีนวัตกรรม...จุดนี้ก็น่าสนใจ

ส่งเสริมในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น...น่าจะดี

กล่าวสำหรับแนวโน้มภาวะภาคการเกษตรไทย ครึ่งหลังปี 2556 ทางศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ได้คาดการณ์และเปิดเผยไว้ โดยสังเขปคือ... แนวโน้มน่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 จากครึ่งปีแรก หรือทั้งปี 2556 เศรษฐกิจการเกษตรไทยขยายตัวร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นผลจากผลผลิตทางการเกษตรในหมวดสำคัญ ๆ อาทิ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ขยายตัวดี มีผลผลิตต่อไร่ที่ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น

มีการคาดว่าสินค้าหมวดพืชผลและปศุสัตว์จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การส่งออก และราคา น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะภัยแล้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคการเกษตรได้

ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงานและน้ำตาลทราย ไก่เนื้อ กุ้งขาวแวนนาไม สุกร ทางศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าน่าจะมีราคาสูงขึ้น แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา อาจจะมีราคาลดลง

ทั้งนี้ กับสินค้าเกษตรที่มีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีราคาสูงขึ้นนั้น ทางศูนย์วิจัยฯนี้ก็ได้มีการแจงเหตุผลประกอบไว้ครบถ้วนกระบวนความตามหลัก วิเคราะห์วิจัย โดยทาง ธ.ก.ส.ก็คงจะมีการสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ ทั้งกับแนวโน้มที่ดี และแนวโน้มที่ไม่ดี ไปสู่เกษตรกรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งการที่เกษตรกรได้รับทราบและสนใจในข้อมูลเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์

อย่างไรก็ตาม ว่ากันในภาพรวมของ ’อาชีพเกษตร“ กับประเด็น ’ความสุข“ และ ’แนวโน้ม“ โดยที่ไม่เกี่ยวกับการวิจัยใด ๆ ก็ตาม ในปัจจุบันก็น่าคิดว่า...เกษตรกรเองยังสามารถมีส่วนกำหนดได้แค่ไหน??

จะสุข-ไม่สุข??...แนวโน้มอาชีพจะดี-ไม่ดี??

กับอาชีพเกษตร...นับวันจะยิ่งแล้วแต่ใคร??.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/230405 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 4/09/2556 เวลา 04:32:24 ดูภาพสไลด์โชว์ สำรวจ 'อาชีพเกษตร' 'สุข...แนวโน้ม' ดี-ไม่ดี...แล้วแต่ใคร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ชาวนา กำลังดำนา อย่างที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” นำเสนอไปเมื่อวันก่อน ว่า ประเทศไทยยังคงเป็น ’ประเทศเกษตร“ และ ’อาชีพเกษตรกร” รวมถึงอาชีพเกี่ยวเนื่อง ยังคงมีความสำคัญ ท่ามกลางตัวเลขสถิติประชากรภาคการเกษตรที่ยังมีมากกว่า 20 ล้านคน (ประมาณ 24.118 ล้านคน ในปี 2554) ประชากรที่เป็นแรงงานในภาคการเกษตรยังมีมากกว่า 10 ล้านคน (ประมาณ 17.399 ล้านคน ในปี 2554) พื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของไทยเป็นพื้นที่การเกษตร (ประมาณ 149,246,428 ไร่ จากทั้งหมดประมาณ 320,696,888 ไร่ ในปี 2554) แต่ใครรวยจากภาคการเกษตร...นั่นอีกเรื่อง!! และนี่ก็อาจเช่นเดียวกับ...’ความสุข-แนวโน้ม“ ทั้งนี้ ดูกันถึงเรื่อง “ความสุขของเกษตรกรไทย” และ “แนวโน้มภาวะภาคการเกษตรไทย” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ส่วนงานหนึ่งของ ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความสุขของเกษตรกรไทยในภาพรวม และคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 โดยประเด็นความสุขเกษตรกร ได้มีการสำรวจความคิดเห็นเกษตรกร ภายใต้หัวข้อ “ระดับความสุขของเกษตรกรไทย” จากกลุ่มตัวอย่างทุกจังหวัดทั่วประเทศรวม 2,448 ราย ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา จากการสำรวจและสรุปผล ก็พบว่า...ในภาพรวมเกษตรกรมีความสุขอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 89.0 โดยมีความสุขในระดับมาก ใน 3 ด้าน คือ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม, ด้านสุขภาพ, ด้านการทำงาน และมีความสุขในระดับค่อนข้างมาก ใน 3 ด้าน คือ ด้านสังคม, ด้านการศึกษา, ด้านเศรษฐกิจ “ถือว่าเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในช่วงเดือน ม.ค. 2556 ซึ่งเกษตรกรมีความสุขอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 76.0”...ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.ระบุไว้ และยังเผยไว้อีกว่า... ข้อมูลจากการสำรวจยังพบว่า เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสุขมากที่สุด ส่วนเกษตรกรในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีความสุขน้อยกว่า โดยเกษตรกรต้องการการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการสร้างงานที่มั่นคงในชนบทมาก ที่สุด รองลงมาคือสนับสนุนการใช้ชีวิตพอเพียง และสนับสนุนการสร้างอาชีพเสริม กับความต้องการของเกษตรกรที่สำรวจพบ ทาง ธ.ก.ส. สถาบันการเงินของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร และปัจจุบันยังมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาชนบท มีแนวทางและความเห็นคือ การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการลงทุนประกอบอาชีพ ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพื่อให้มีรายได้และเงินออมเพิ่มขึ้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญกับเกษตรกร ขณะที่ภาครัฐ ควรสนับสนุนการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินของเกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นคงเรื่องที่ดินทำกิน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีระดับความสุขด้านเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น และ ควรส่งเสริมการใช้ชีวิตพอเพียงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรสนับสนุนการจัดทำบัญชีฟาร์มและบัญชีครัวเรือน และส่งเสริมให้เกษตรกรก้าวสู่การเป็นสมาร์ท ฟาร์เมอร์ โดยการ พัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและนวัตกรรมทางการเกษตร ให้กับเกษตรกร เป็นเกษตรกรที่มีนวัตกรรม...จุดนี้ก็น่าสนใจ ส่งเสริมในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น...น่าจะดี กล่าวสำหรับแนวโน้มภาวะภาคการเกษตรไทย ครึ่งหลังปี 2556 ทางศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. ได้คาดการณ์และเปิดเผยไว้ โดยสังเขปคือ... แนวโน้มน่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 จากครึ่งปีแรก หรือทั้งปี 2556 เศรษฐกิจการเกษตรไทยขยายตัวร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นผลจากผลผลิตทางการเกษตรในหมวดสำคัญ ๆ อาทิ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ขยายตัวดี มีผลผลิตต่อไร่ที่ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น มีการคาดว่าสินค้าหมวดพืชผลและปศุสัตว์จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง การส่งออก และราคา น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะภัยแล้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคการเกษตรได้ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงานและน้ำตาลทราย ไก่เนื้อ กุ้งขาวแวนนาไม สุกร ทางศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าน่าจะมีราคาสูงขึ้น แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา อาจจะมีราคาลดลง ทั้งนี้ กับสินค้าเกษตรที่มีการคาดการณ์ว่าน่าจะมีราคาสูงขึ้นนั้น ทางศูนย์วิจัยฯนี้ก็ได้มีการแจงเหตุผลประกอบไว้ครบถ้วนกระบวนความตามหลัก วิเคราะห์วิจัย โดยทาง ธ.ก.ส.ก็คงจะมีการสื่อสารข้อมูลเหล่านี้ ทั้งกับแนวโน้มที่ดี และแนวโน้มที่ไม่ดี ไปสู่เกษตรกรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตร ซึ่งการที่เกษตรกรได้รับทราบและสนใจในข้อมูลเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตาม ว่ากันในภาพรวมของ ’อาชีพเกษตร“ กับประเด็น ’ความสุข“ และ ’แนวโน้ม“ โดยที่ไม่เกี่ยวกับการวิจัยใด ๆ ก็ตาม ในปัจจุบันก็น่าคิดว่า...เกษตรกรเองยังสามารถมีส่วนกำหนดได้แค่ไหน?? จะสุข-ไม่สุข??...แนวโน้มอาชีพจะดี-ไม่ดี?? กับอาชีพเกษตร...นับวันจะยิ่งแล้วแต่ใคร??. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/230405 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...