‘บ้านน้ำทรัพย์’ ชุมชนต้นแบบแห่งการใฝ่รู้สู่ความพอเพียง

แสดงความคิดเห็น

ฝูงแพะในคอกเลี้ยงแพะ

“บ้านน้ำทรัพย์” ชุมชนขนาด 128 ครัวเรือน มีประชากรกว่า 450 คน เป็นชุมชนที่อยู่บนพื้นที่สูงเหนือเขื่อนแก่งกระจาน ห่างจากจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 60 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอแก่งกระจานประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงต่ำสลับกันไป ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมงน้ำจืด การเดินทางไม่ยากลำบากนักเพราะมีถนนลาดยางเข้าถึง แต่การโทรคมนาคมยังเป็นจุดอ่อน เพราะเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนไฟฟ้าก็จะมีปัญหาติด ๆ ดับ ๆ บ่อยครั้งในช่วงหน้าฝน

สวนมะนาว “บ้านน้ำทรัพย์” เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ชื่อว่า มีจุดเด่นเรื่องความพอเพียง ชาวบ้านมีความรักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้ออาทรและร่วมกันทำกิจกรรมของชุมชนอย่างพร้อมเพรียง เรียกว่า เป็นหมู่บ้านต้น แบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดเพชรบุรี ถึงแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์แต่ก็ไม่ได้สะดวกสบายไปเสียทั้งหมด แต่ชาวบ้านก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขตามที่มีที่หามาได้ด้วยการ พึ่งพาตนเอง จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน (กศน.อำเภอแก่งกระจาน) เป็นพี่เลี้ยงในการจัดแสวงหาความรู้และถอดบทเรียนเพื่อการขยายผล

นางสุนันทา การะเวก ผอ.กศน.อำเภอแก่งกระจาน บอกว่า คนที่นี่อยู่อย่างพอเพียง ทำกินทำใช้ในชุมชน พอเหลือก็เอาออกไปขายข้างนอก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็ใช้ของที่มีอยู่ในชุมชน เป็นชุมชนที่โดดเด่นมากเรื่องความพอเพียง อยู่กันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูล มีธนาคาร มีเครดิตยูเนียน มีการทำบัญชีครัวเรือน 100% มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมมากมายทั้งเพื่อการดำรงชีวิต ความอยู่รอด กินดีอยู่ดี และสงบสุขของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เช่น กลุ่มเครดิตยูเนียน กลุ่มพิทักษ์ป่า กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กลุ่มน้ำยาซักผ้า, ถูพื้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงน้ำจืด กลุ่มทำปลาส้ม-ไข่เค็ม กลุ่มทำน้ำสมุนไพร กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ กลุ่มทำขนมทองม้วน กลุ่มทำเกษตรปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงไก่ชนเพื่อการจำหน่าย และกลุ่มเลี้ยงโค เป็นต้น

เจ้าของสวน “มีหลายกลุ่มอาชีพที่ชาวบ้านทำกินทำใช้แล้วนำออกไปขายนอกชุมชนจนมีชื่อ เสียงสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกของกลุ่ม โดยเฉพาะขนมทองม้วน มะนาว และปลาส้ม ซึ่งขายดีมาก เรียกว่าทำขายกันไม่ทัน จากความสำเร็จของชุมชนนี้ กศน.จังหวัดเพชรบุรีเห็นว่าน่าจะมีการขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เมื่อปีที่ผ่านมา จึงได้เข้าไปทำวิจัยในชุมชนและสามารถถอดองค์ความรู้ได้มา 4 หลักสูตรแล้ว คือ การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไก่ชน การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำขนมทองม้วน และได้มีการขยายผลโดยให้ผู้นำและคน

ในชุมชนออกไปช่วยเผยแพร่ความรู้ ในอำเภออื่น ๆ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้” ผอ.สุนันทา กล่าวชุมชนแห่งนี้มีผลงานมากมายจากความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของชุมชน จนได้รับรางวัลมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 รายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลที่สร้างความภาคภูมิใจสูงสุดคือ รางวัลพระราชทานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2552 และยังได้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติของหน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายหน่วยงาน

ว่ากันว่าการที่ชุมชนใดจะยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งที่บ้านน้ำทรัพย์ก็เป็นเช่นนั้น ผู้ใหญ่ ชูชาติ วรรณขำ เล่าว่า เริ่มแรกก็ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ก็มีหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ กศน.และเครือข่ายเข้ามาให้ความรู้ ทำให้เข้าใจได้ว่า คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้ทรัพยากรในหมู่บ้านก่อน พอเริ่มรู้ก็มาทดลองทำ ตอนแรกทำเห็ดด้วยทะลายปาล์ม แต่เนื่องจากต้องไปซื้อทะลายปาล์มจากข้างนอกทำให้ต้นทุนสูงจึงไม่ประสบความ สำเร็จ ก็มาเริ่มต้นใหม่ ทำสระน้ำหน้าบ้านเลี้ยงปลากินกันเอง ปลูกผักริมรั้ว แล้วขยายผลใช้กระบวนการกลุ่ม คนที่มารวมกลุ่มก็มาช่วยกันทำงานในกลุ่ม ซึ่งก็จะได้ทั้งค่าแรงและปันผล โดยมีการทำบัญชีที่โปร่งใส ส่งเสริมชาวบ้านให้ทำบัญชีครัวเรือน อยากทำอาชีพอะไรเราก็มาประชาคมกันช่วยกันคิดแล้วก็พากันไปหาความรู้จากแหล่ง ความรู้ต่าง ๆ แล้วกลับมาทำ

สวนมะนาว “วันนี้เรามีกลุ่มอาชีพเยอะมาก จากที่ทำใช้กันในชุมชนก็ขยายออกไปขายข้างนอก ช่วยกันทำยอดทำการตลาด แล้วเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมหุ้นได้ แต่การทำงานเราเปลี่ยนแนวคิดจากที่เมื่อก่อนจะให้ทุกคนต้องช่วยกันทำ แต่ผลคืองานที่ออกมาอาจไม่ได้มาตรฐาน เราก็มาเปลี่ยนใหม่เป็นให้คนที่ถนัดมาทำแล้วได้ค่าแรง และปันผลจากกำไร ส่วนคนที่ไม่ได้เข้ามาทำงานก็รอรับปันผลไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดีมีชีวิตที่ดีขึ้น คนที่เคยเป็นหนี้ก็มีหนี้ลดลง หรือที่มีหนี้เพิ่มก็เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เพราะเราส่งเสริมให้ลงทุนจะมารวมกลุ่มหรือทำส่วนตัวก็ได้ และส่งเสริมให้ฝึกอาชีพพัฒนาตนเอง เพื่อจะได้ไม่เป็นหนี้ที่สูญเปล่าแต่เป็นหนี้ที่มีรายได้” ผู้ใหญ่ชูชาติกล่าวพร้อมกับย้ำว่า บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นหมู่บ้านที่เปิดและยินดีต้อนรับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาดูงานตลอดเวลา โดยมีฐานการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ถอดเป็นบทเรียนพร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับ ทุก ๆ คน

เตง หรือ จตุพล จันทร์เพ็ญ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าของสวนมะนาวกว่าพันต้น เป็นมะนาวแป้นที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ดไม่ใช้สารเคมี ให้ลูกดกมาก ๆ น้ำก็เยอะ เตงเป็นคนหนึ่งของบ้านน้ำทรัพย์ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ลองผิดลองถูกมานาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากที่เคยเป็นหนี้เป็นสิน 2 ปีนี้ล้างหนี้หลายล้านได้แล้ว และยินดีถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ทุกคนเช่นกัน

ถ้ามีโอกาสเข้าไปเยือนหมู่บ้านแห่งนี้เชื่อว่าต้องได้อะไรดี ๆ กลับออกมาแน่นอน….โดยอรนุช วานิชทวีวัฒน์

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/education/227842 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 2/09/2556 เวลา 04:02:33 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘บ้านน้ำทรัพย์’ ชุมชนต้นแบบแห่งการใฝ่รู้สู่ความพอเพียง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ฝูงแพะในคอกเลี้ยงแพะ “บ้านน้ำทรัพย์” ชุมชนขนาด 128 ครัวเรือน มีประชากรกว่า 450 คน เป็นชุมชนที่อยู่บนพื้นที่สูงเหนือเขื่อนแก่งกระจาน ห่างจากจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 60 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอแก่งกระจานประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงต่ำสลับกันไป ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมงน้ำจืด การเดินทางไม่ยากลำบากนักเพราะมีถนนลาดยางเข้าถึง แต่การโทรคมนาคมยังเป็นจุดอ่อน เพราะเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนไฟฟ้าก็จะมีปัญหาติด ๆ ดับ ๆ บ่อยครั้งในช่วงหน้าฝน สวนมะนาว “บ้านน้ำทรัพย์” เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ชื่อว่า มีจุดเด่นเรื่องความพอเพียง ชาวบ้านมีความรักใคร่สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้ออาทรและร่วมกันทำกิจกรรมของชุมชนอย่างพร้อมเพรียง เรียกว่า เป็นหมู่บ้านต้น แบบการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดเพชรบุรี ถึงแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์แต่ก็ไม่ได้สะดวกสบายไปเสียทั้งหมด แต่ชาวบ้านก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขตามที่มีที่หามาได้ด้วยการ พึ่งพาตนเอง จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแก่งกระจาน (กศน.อำเภอแก่งกระจาน) เป็นพี่เลี้ยงในการจัดแสวงหาความรู้และถอดบทเรียนเพื่อการขยายผล นางสุนันทา การะเวก ผอ.กศน.อำเภอแก่งกระจาน บอกว่า คนที่นี่อยู่อย่างพอเพียง ทำกินทำใช้ในชุมชน พอเหลือก็เอาออกไปขายข้างนอก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็ใช้ของที่มีอยู่ในชุมชน เป็นชุมชนที่โดดเด่นมากเรื่องความพอเพียง อยู่กันอย่างช่วยเหลือเกื้อกูล มีธนาคาร มีเครดิตยูเนียน มีการทำบัญชีครัวเรือน 100% มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมมากมายทั้งเพื่อการดำรงชีวิต ความอยู่รอด กินดีอยู่ดี และสงบสุขของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เช่น กลุ่มเครดิตยูเนียน กลุ่มพิทักษ์ป่า กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ กลุ่มน้ำยาซักผ้า, ถูพื้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรประมงน้ำจืด กลุ่มทำปลาส้ม-ไข่เค็ม กลุ่มทำน้ำสมุนไพร กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะ กลุ่มทำขนมทองม้วน กลุ่มทำเกษตรปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงไก่ชนเพื่อการจำหน่าย และกลุ่มเลี้ยงโค เป็นต้น เจ้าของสวน “มีหลายกลุ่มอาชีพที่ชาวบ้านทำกินทำใช้แล้วนำออกไปขายนอกชุมชนจนมีชื่อ เสียงสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกของกลุ่ม โดยเฉพาะขนมทองม้วน มะนาว และปลาส้ม ซึ่งขายดีมาก เรียกว่าทำขายกันไม่ทัน จากความสำเร็จของชุมชนนี้ กศน.จังหวัดเพชรบุรีเห็นว่าน่าจะมีการขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ เมื่อปีที่ผ่านมา จึงได้เข้าไปทำวิจัยในชุมชนและสามารถถอดองค์ความรู้ได้มา 4 หลักสูตรแล้ว คือ การเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไก่ชน การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำขนมทองม้วน และได้มีการขยายผลโดยให้ผู้นำและคน ในชุมชนออกไปช่วยเผยแพร่ความรู้ ในอำเภออื่น ๆ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้” ผอ.สุนันทา กล่าวชุมชนแห่งนี้มีผลงานมากมายจากความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของชุมชน จนได้รับรางวัลมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 รายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลที่สร้างความภาคภูมิใจสูงสุดคือ รางวัลพระราชทานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็นเป็นสุข จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2552 และยังได้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติของหน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายหน่วยงาน ว่ากันว่าการที่ชุมชนใดจะยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ต้องมีผู้นำที่เข้มแข็ง ซึ่งที่บ้านน้ำทรัพย์ก็เป็นเช่นนั้น ผู้ใหญ่ ชูชาติ วรรณขำ เล่าว่า เริ่มแรกก็ไม่รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ก็มีหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ กศน.และเครือข่ายเข้ามาให้ความรู้ ทำให้เข้าใจได้ว่า คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้ทรัพยากรในหมู่บ้านก่อน พอเริ่มรู้ก็มาทดลองทำ ตอนแรกทำเห็ดด้วยทะลายปาล์ม แต่เนื่องจากต้องไปซื้อทะลายปาล์มจากข้างนอกทำให้ต้นทุนสูงจึงไม่ประสบความ สำเร็จ ก็มาเริ่มต้นใหม่ ทำสระน้ำหน้าบ้านเลี้ยงปลากินกันเอง ปลูกผักริมรั้ว แล้วขยายผลใช้กระบวนการกลุ่ม คนที่มารวมกลุ่มก็มาช่วยกันทำงานในกลุ่ม ซึ่งก็จะได้ทั้งค่าแรงและปันผล โดยมีการทำบัญชีที่โปร่งใส ส่งเสริมชาวบ้านให้ทำบัญชีครัวเรือน อยากทำอาชีพอะไรเราก็มาประชาคมกันช่วยกันคิดแล้วก็พากันไปหาความรู้จากแหล่ง ความรู้ต่าง ๆ แล้วกลับมาทำ สวนมะนาว “วันนี้เรามีกลุ่มอาชีพเยอะมาก จากที่ทำใช้กันในชุมชนก็ขยายออกไปขายข้างนอก ช่วยกันทำยอดทำการตลาด แล้วเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมหุ้นได้ แต่การทำงานเราเปลี่ยนแนวคิดจากที่เมื่อก่อนจะให้ทุกคนต้องช่วยกันทำ แต่ผลคืองานที่ออกมาอาจไม่ได้มาตรฐาน เราก็มาเปลี่ยนใหม่เป็นให้คนที่ถนัดมาทำแล้วได้ค่าแรง และปันผลจากกำไร ส่วนคนที่ไม่ได้เข้ามาทำงานก็รอรับปันผลไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดีมีชีวิตที่ดีขึ้น คนที่เคยเป็นหนี้ก็มีหนี้ลดลง หรือที่มีหนี้เพิ่มก็เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ เพราะเราส่งเสริมให้ลงทุนจะมารวมกลุ่มหรือทำส่วนตัวก็ได้ และส่งเสริมให้ฝึกอาชีพพัฒนาตนเอง เพื่อจะได้ไม่เป็นหนี้ที่สูญเปล่าแต่เป็นหนี้ที่มีรายได้” ผู้ใหญ่ชูชาติกล่าวพร้อมกับย้ำว่า บ้านน้ำทรัพย์ หมู่ 9 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็นหมู่บ้านที่เปิดและยินดีต้อนรับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาดูงานตลอดเวลา โดยมีฐานการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ถอดเป็นบทเรียนพร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับ ทุก ๆ คน เตง หรือ จตุพล จันทร์เพ็ญ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าของสวนมะนาวกว่าพันต้น เป็นมะนาวแป้นที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ดไม่ใช้สารเคมี ให้ลูกดกมาก ๆ น้ำก็เยอะ เตงเป็นคนหนึ่งของบ้านน้ำทรัพย์ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ลองผิดลองถูกมานาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากที่เคยเป็นหนี้เป็นสิน 2 ปีนี้ล้างหนี้หลายล้านได้แล้ว และยินดีถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ทุกคนเช่นกัน ถ้ามีโอกาสเข้าไปเยือนหมู่บ้านแห่งนี้เชื่อว่าต้องได้อะไรดี ๆ กลับออกมาแน่นอน….โดยอรนุช วานิชทวีวัฒน์ ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/education/227842 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 1 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...