พนักงานควรพัฒนาสายอาชีพด้วยตัวเอง? (ตอน 1)

แสดงความคิดเห็น

พนักงานควรพัฒนาสายอาชีพด้วยตัวเอง? (ตอน 1)

โดย รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ภาพ เอเอฟพี

เมื่อหลายสิบปีก่อนเรื่องของการสร้างหรือออกแบบแผนพัฒนาสายอาชีพ (Career Development Plan) เป็นเรื่องที่องค์กรทั่วไปมักไม่ค่อยให้ความสำคัญ ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน เช่น องค์กรขาดงบประมาณและ HR ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหัวข้อนี้ ขาดเครื่องมือที่จะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอีกเหตุผลที่สำคัญมากๆ คือ ผู้บริหารกริ่งเกรงว่าการจัดแผนพัฒนาสายอาชีพให้พนักงานอาจเป็นการสร้างความ หวัง (ที่บางครั้งไม่อาจเกิดขึ้นจริง) ให้แก่พนักงานว่าเขาหรือเธอจะได้รับการเลื่อนขั้นตำแหน่ง และถ้าเขาหรือเธอไม่ได้รับการเลื่อนขั้นก็จะเกิดการโศกาอาดูร เท่านั้นยังไม่พอ มันอาจนำไปสู่ความเคียดแค้น การลาออก และเสียงครหาต่างๆ นานา

แต่ปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าองค์กรทั้งหลายทั่วโลก โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ต่างก็มีการจัดแผนพัฒนาอาชีพให้กับพนักงานที่มี ศักยภาพสูง (HighPotential Employees หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “HiPo”) และในหลายองค์กรก็มีกิจกรรมให้พนักงานทุกคนได้จัดแผนพัฒนาสายอาชีพของตนเอง เป็นการเฉพาะบุคคล (Individual Development Plan หรือ IDP) ด้วย มันกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ดูเหมือนจะขาดไม่ได้ไปเสียแล้วสำหรับองค์กรขนาด ใหญ่ที่ต้องมีแผนพัฒนาสายอาชีพให้กับพนักงาน ทั้งนี้ตลาดแรงงานในรอบหลายปีที่ผ่านมาเป็นตลาดที่แรงงานมีสิทธิมีเสียง มากกว่านายจ้าง เพราะว่าจากตัวเลขการสำรวจของสำนักต่างๆ บ่งชี้ว่า ทั่วโลกกำลังขาดแคลนพนักงานระดับ Talent อย่างรุนแรง พวก Talent จึงมีสิทธิมีเสียงเรียกร้องสิ่งต่างๆ จากนายจ้าง นอกจากนี้พนักงานรุ่น Generation Y ที่กำลังทยอยเข้าตลาดแรงงานก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่คาดหวังว่านายจ้างจะมีงานที่ ตื่นเต้นน่าสนใจ มีการฝึกอบรมดีๆ และมีแผนพัฒนาสายอาชีพที่ชัดเจนให้เขา

การรับบทบาทเป็น HR ให้องค์กรในเวลานี้จึงเป็นงานที่ท้าทาย เพราะทั้งนายจ้างและพนักงานต่างก็คาดหวังจาก HR กันสูงๆ ทั้งนั้น ทางด้านนายจ้างก็คาดหวังว่า HR จะสามารถสรรหาพัฒนา และรักษาพนักงานคนเก่งเพื่อทำงานให้องค์กรได้พอเพียงตลอดเวลาและในต้นทุนที่ ต่ำที่สุด ส่วนทางลูกจ้างก็อยากได้งานดี เงินดี อนาคตดี นายดี ฯลฯ ซึ่งสำหรับในเรื่องการพัฒนาสายอาชีพ ซึ่งผู้เขียนขอเรียกย่อๆ ว่า CDP (Career Development Plan) นั้น เราก็มีทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่มีพนักงานต้องดูแลมากมายนับหลาย พันหลายหมื่นคนทั่วโลก หรือแม้แต่องค์กรขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่อยากจัดแผนพัฒนาสายอาชีพให้พนักงาน ด้วยงบประมาณที่จำกัด ผู้เขียนก็เชื่อว่าท่านยังสามารถทำงานชิ้นนี้ได้ โดยอาศัยความมุ่งมั่น ความคิดสร้างสรรค์ ทีมงานที่ดี และเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วย

ผู้เขียนได้รับการจุดประกายความคิดจากการอ่านเรื่องราวของบริษัท Massachusetts Mutual Life Insurance Co. (เรียกสั้นๆ ว่า MassMutual) ที่มีพนักงานจำนวนเกือบ 7,000 คน มีสำนักงานอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ของสหรัฐ เช่น ฟีนิกซ์ เมมฟิส บอสตัน เป็นต้น Betsy Larson รองประธานด้านค่าตอบแทนของบริษัทได้เล่าเรื่องน่าประทับใจเกี่ยวกับการที่ บริษัทของเธอ MessMutual ปฏิวัติแนวความคิดและวิธีการในการทำ CDP เสียใหม่ เรื่องเกิดขึ้นในปี 2009 เมื่อเกิดพิษเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์บูดที่สหรัฐ บริษัทต้องลอยแพพนักงานไปมากมายเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนคนที่มีอยู่ จากนั้นฝ่ายบริหารก็ต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ดำเนินงานเป็นการใหญ่ ผลของการรัดเข็มขัดองค์กรทำให้พวกพนักงานต้องคิดเรื่องอนาคตในสายอาชีพของ เขาต่างไปจากอดีต แม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ใช่ว่าพนักงานจะหยุดคิดหยุดฝันถึงอนาคตการทำงานของเขา

MassMutual เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับความต้องการ CDP ของพวกพนักงานแม้ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในปี 2010 ผลจากการสำรวจระดับความผูกพันที่พนักงานมีต่อบริษัท พนักงานจำนวนมากกว่า 1,000 คน จากจำนวนทั้งหมด 5,200 คน ส่งความเห็นมายังผู้บริหารว่าพวกเขาอยากได้รับโอกาสมากขึ้นที่จะพัฒนาความ ก้าวหน้าในสายอาชีพให้เห็นชัดเจนขึ้น เจอ “เมนต์” (Comments) แบบนี้จากพนักงาน HR ก็ต้องวิ่งแจ้นหัวหมุนจี๋หาทางออกที่สวยที่สุดซึ่งก็คือ – การให้พนักงานเป็น “เจ้าของ” (Owner) CDP ของเขาเอง โดยองค์กรจะอยู่เบื้องหลังคอยสนับสนุนเครื่องมือและโอกาสต่างๆ ให้

Betsy กับสต๊าฟชาว HR อีก 10 คน และทีมงานมืออาชีพด้านการสื่อสารได้ผนึกกำลังกันระดมสมองค้นหากลยุทธ์ใหม่ใน การจัด CDP ให้เข้ากับแนวคิดใหม่ที่จะให้พนักงานเป็น “ช้างเท้าหน้า” ในเรื่อง CDP ในการนี้ Debra A. Palermino รองประธานอาวุโสด้าน HR ของ MassMutual ได้ให้อรรถาธิบายของแนวคิดเรื่อง CDP ชุดใหม่ว่ามัน “คือวิวัฒนาการจากแนวคิดดั้งเดิมว่าการพัฒนาคือการเลื่อนขั้นบันไดก้าวที่ สูงขึ้นเท่านั้น แต่ความจริงแล้วพนักงานสามารถพัฒนาได้ในหลายทิศทาง ทั้งในแนวขึ้นบน (Up) ออกแนวข้าง (Sideways) และแม้แต่การเลื่อนลงต่ำ (Down) – ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะให้พนักงานเก็บสะสมทักษะและประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้ มากที่สุด เพื่อเขาจะพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมธุรกิจที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว”

เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงคำอธิบายของ Debra เราจะมีมุมมองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับ CDP เราจะไม่ยึดติดกับความคิดที่ว่า การพัฒนาทางสายอาชีพมีเพียงทิศทางเดียวคือต้องสูงขึ้น บางครั้งเราอยากเปลี่ยนสายงานจากสายหนึ่งไปอีกสายหนึ่งที่เราชอบแต่ยังขาด ประสบการณ์ เราก็อาจต้องเลื่อนตัวลงไปฝึกงานในระดับล่างสุดของสายงานนั้น เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์เสียก่อน ถ้าทั้งนายจ้างและลูกจ้างเข้าใจขั้นตอนนี้ก็จะไม่มีปัญหาคาใจว่าทำไมลูกจ้าง ยิ่งทำงานยิ่งเจริญลง

ยิ่งเขียนยิ่งเพลินไปกับแนวคิดให้พนักงานเป็นช้างเท้าหน้าในการทำ CDP หวังว่าแฟนๆ คอลัมน์คงจะร่วม “อิน” ไปกับผู้เขียนด้วยนะคะ ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน พบกันครั้งหน้ามาลงรายละเอียดการทำ CDP ที่ให้พนักงานเป็นเจ้าของโครงการเองเลยค่ะ

ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/241486/พนักงานควรพัฒนาสายอาชีพด้วยตัวเอง-ตอน-1 (ขนาดไฟล์: 167)

โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 20/08/2556 เวลา 03:20:33 ดูภาพสไลด์โชว์ พนักงานควรพัฒนาสายอาชีพด้วยตัวเอง? (ตอน 1)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พนักงานควรพัฒนาสายอาชีพด้วยตัวเอง? (ตอน 1) โดย รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / ภาพ เอเอฟพี เมื่อหลายสิบปีก่อนเรื่องของการสร้างหรือออกแบบแผนพัฒนาสายอาชีพ (Career Development Plan) เป็นเรื่องที่องค์กรทั่วไปมักไม่ค่อยให้ความสำคัญ ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน เช่น องค์กรขาดงบประมาณและ HR ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในหัวข้อนี้ ขาดเครื่องมือที่จะดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอีกเหตุผลที่สำคัญมากๆ คือ ผู้บริหารกริ่งเกรงว่าการจัดแผนพัฒนาสายอาชีพให้พนักงานอาจเป็นการสร้างความ หวัง (ที่บางครั้งไม่อาจเกิดขึ้นจริง) ให้แก่พนักงานว่าเขาหรือเธอจะได้รับการเลื่อนขั้นตำแหน่ง และถ้าเขาหรือเธอไม่ได้รับการเลื่อนขั้นก็จะเกิดการโศกาอาดูร เท่านั้นยังไม่พอ มันอาจนำไปสู่ความเคียดแค้น การลาออก และเสียงครหาต่างๆ นานา แต่ปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่าองค์กรทั้งหลายทั่วโลก โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ต่างก็มีการจัดแผนพัฒนาอาชีพให้กับพนักงานที่มี ศักยภาพสูง (HighPotential Employees หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “HiPo”) และในหลายองค์กรก็มีกิจกรรมให้พนักงานทุกคนได้จัดแผนพัฒนาสายอาชีพของตนเอง เป็นการเฉพาะบุคคล (Individual Development Plan หรือ IDP) ด้วย มันกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ดูเหมือนจะขาดไม่ได้ไปเสียแล้วสำหรับองค์กรขนาด ใหญ่ที่ต้องมีแผนพัฒนาสายอาชีพให้กับพนักงาน ทั้งนี้ตลาดแรงงานในรอบหลายปีที่ผ่านมาเป็นตลาดที่แรงงานมีสิทธิมีเสียง มากกว่านายจ้าง เพราะว่าจากตัวเลขการสำรวจของสำนักต่างๆ บ่งชี้ว่า ทั่วโลกกำลังขาดแคลนพนักงานระดับ Talent อย่างรุนแรง พวก Talent จึงมีสิทธิมีเสียงเรียกร้องสิ่งต่างๆ จากนายจ้าง นอกจากนี้พนักงานรุ่น Generation Y ที่กำลังทยอยเข้าตลาดแรงงานก็เป็นคนรุ่นใหม่ที่คาดหวังว่านายจ้างจะมีงานที่ ตื่นเต้นน่าสนใจ มีการฝึกอบรมดีๆ และมีแผนพัฒนาสายอาชีพที่ชัดเจนให้เขา การรับบทบาทเป็น HR ให้องค์กรในเวลานี้จึงเป็นงานที่ท้าทาย เพราะทั้งนายจ้างและพนักงานต่างก็คาดหวังจาก HR กันสูงๆ ทั้งนั้น ทางด้านนายจ้างก็คาดหวังว่า HR จะสามารถสรรหาพัฒนา และรักษาพนักงานคนเก่งเพื่อทำงานให้องค์กรได้พอเพียงตลอดเวลาและในต้นทุนที่ ต่ำที่สุด ส่วนทางลูกจ้างก็อยากได้งานดี เงินดี อนาคตดี นายดี ฯลฯ ซึ่งสำหรับในเรื่องการพัฒนาสายอาชีพ ซึ่งผู้เขียนขอเรียกย่อๆ ว่า CDP (Career Development Plan) นั้น เราก็มีทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่มีพนักงานต้องดูแลมากมายนับหลาย พันหลายหมื่นคนทั่วโลก หรือแม้แต่องค์กรขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่อยากจัดแผนพัฒนาสายอาชีพให้พนักงาน ด้วยงบประมาณที่จำกัด ผู้เขียนก็เชื่อว่าท่านยังสามารถทำงานชิ้นนี้ได้ โดยอาศัยความมุ่งมั่น ความคิดสร้างสรรค์ ทีมงานที่ดี และเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วย ผู้เขียนได้รับการจุดประกายความคิดจากการอ่านเรื่องราวของบริษัท Massachusetts Mutual Life Insurance Co. (เรียกสั้นๆ ว่า MassMutual) ที่มีพนักงานจำนวนเกือบ 7,000 คน มีสำนักงานอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ของสหรัฐ เช่น ฟีนิกซ์ เมมฟิส บอสตัน เป็นต้น Betsy Larson รองประธานด้านค่าตอบแทนของบริษัทได้เล่าเรื่องน่าประทับใจเกี่ยวกับการที่ บริษัทของเธอ MessMutual ปฏิวัติแนวความคิดและวิธีการในการทำ CDP เสียใหม่ เรื่องเกิดขึ้นในปี 2009 เมื่อเกิดพิษเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์บูดที่สหรัฐ บริษัทต้องลอยแพพนักงานไปมากมายเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนคนที่มีอยู่ จากนั้นฝ่ายบริหารก็ต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ดำเนินงานเป็นการใหญ่ ผลของการรัดเข็มขัดองค์กรทำให้พวกพนักงานต้องคิดเรื่องอนาคตในสายอาชีพของ เขาต่างไปจากอดีต แม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ใช่ว่าพนักงานจะหยุดคิดหยุดฝันถึงอนาคตการทำงานของเขา MassMutual เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับความต้องการ CDP ของพวกพนักงานแม้ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ในปี 2010 ผลจากการสำรวจระดับความผูกพันที่พนักงานมีต่อบริษัท พนักงานจำนวนมากกว่า 1,000 คน จากจำนวนทั้งหมด 5,200 คน ส่งความเห็นมายังผู้บริหารว่าพวกเขาอยากได้รับโอกาสมากขึ้นที่จะพัฒนาความ ก้าวหน้าในสายอาชีพให้เห็นชัดเจนขึ้น เจอ “เมนต์” (Comments) แบบนี้จากพนักงาน HR ก็ต้องวิ่งแจ้นหัวหมุนจี๋หาทางออกที่สวยที่สุดซึ่งก็คือ – การให้พนักงานเป็น “เจ้าของ” (Owner) CDP ของเขาเอง โดยองค์กรจะอยู่เบื้องหลังคอยสนับสนุนเครื่องมือและโอกาสต่างๆ ให้ Betsy กับสต๊าฟชาว HR อีก 10 คน และทีมงานมืออาชีพด้านการสื่อสารได้ผนึกกำลังกันระดมสมองค้นหากลยุทธ์ใหม่ใน การจัด CDP ให้เข้ากับแนวคิดใหม่ที่จะให้พนักงานเป็น “ช้างเท้าหน้า” ในเรื่อง CDP ในการนี้ Debra A. Palermino รองประธานอาวุโสด้าน HR ของ MassMutual ได้ให้อรรถาธิบายของแนวคิดเรื่อง CDP ชุดใหม่ว่ามัน “คือวิวัฒนาการจากแนวคิดดั้งเดิมว่าการพัฒนาคือการเลื่อนขั้นบันไดก้าวที่ สูงขึ้นเท่านั้น แต่ความจริงแล้วพนักงานสามารถพัฒนาได้ในหลายทิศทาง ทั้งในแนวขึ้นบน (Up) ออกแนวข้าง (Sideways) และแม้แต่การเลื่อนลงต่ำ (Down) – ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะให้พนักงานเก็บสะสมทักษะและประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้ มากที่สุด เพื่อเขาจะพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมธุรกิจที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว” เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงคำอธิบายของ Debra เราจะมีมุมมองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับ CDP เราจะไม่ยึดติดกับความคิดที่ว่า การพัฒนาทางสายอาชีพมีเพียงทิศทางเดียวคือต้องสูงขึ้น บางครั้งเราอยากเปลี่ยนสายงานจากสายหนึ่งไปอีกสายหนึ่งที่เราชอบแต่ยังขาด ประสบการณ์ เราก็อาจต้องเลื่อนตัวลงไปฝึกงานในระดับล่างสุดของสายงานนั้น เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์เสียก่อน ถ้าทั้งนายจ้างและลูกจ้างเข้าใจขั้นตอนนี้ก็จะไม่มีปัญหาคาใจว่าทำไมลูกจ้าง ยิ่งทำงานยิ่งเจริญลง ยิ่งเขียนยิ่งเพลินไปกับแนวคิดให้พนักงานเป็นช้างเท้าหน้าในการทำ CDP หวังว่าแฟนๆ คอลัมน์คงจะร่วม “อิน” ไปกับผู้เขียนด้วยนะคะ ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน พบกันครั้งหน้ามาลงรายละเอียดการทำ CDP ที่ให้พนักงานเป็นเจ้าของโครงการเองเลยค่ะ ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/241486/พนักงานควรพัฒนาสายอาชีพด้วยตัวเอง-ตอน-1 โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...