กรณีศึกษา Career Academies ปรับทัศนคติสร้างอาชีพในสายสามัญ

แสดงความคิดเห็น

กรณีศึกษา Career Academies ปรับทัศนคติสร้างอาชีพในสายสามัญ

ปัจจุบันค่านิยมเด็กไทยผูกติดกับ ความฝันที่จะเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการประกอบอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน เหตุเช่นนี้ จึงทำให้เกิดการกระจุกตัวของผู้จบการศึกษาสายสามัญ ทั้ง ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมคงยังต้องการบุคลากรเฉพาะทางอยู่จำนวนมาก

ประเด็นสำคัญเช่นนี้ จึงทำให้กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดประชุมเสวนาวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 4 หัวข้อ "ระบบเตรียมความพร้อมด้านอาชีพในระบบโรงเรียนสายสามัญ Career Academies" โดยมีนักวิชาการ, ผู้บริหารการศึกษา, ครู, นักเรียน, ตัวแทนจังหวัด และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมงานเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เบื้อง ต้น "ทอม คอร์คอแรน" ผู้อำนวยการร่วมสถาบัน สถาบันวิจัยนโยบายการศึกษา Teachers College มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การศึกษาในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาคล้ายคลึงกับประเทศไทย คือมีเด็กออกจากการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาก่อนวัยอันควรถึงร้อยละ 25 และปัญหาที่สหรัฐอเมริกาเผชิญควบคู่กันคือ ทัศนคติที่พ่อแม่คิดว่าการส่งลูกไปเรียนสายสามัญเพื่อศึกษาต่อในระดับ มหาวิทยาลัยดีกว่าการเรียนสายอาชีวศึกษา

ทัศนคติเช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงาน ทั้ง ๆ ที่มีตำแหน่งงานรองรับ แต่ว่าผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ไร้ทักษะเฉพาะทางในการประกอบ อาชีพ จึงเป็นที่มาของการทำหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพใน ระบบโรงเรียนสายสามัญ (Career Academies) โดยมีการดำเนินงานในสหรัฐอเมริกามานานกว่า 30 ปี และปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการกว่า 8,000 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ Career Academies ในสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

หนึ่ง การร่วมเรียนรู้ขนาดเล็ก (Small Learning Community) คือการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็นวิชาเลือกตามความสนใจของเด็กนักเรียน เป็นกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันขนาดเล็กของเด็กนักเรียนระดับมัธยมปลาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลมากขึ้น และเพื่อพัฒนาความถนัดเฉพาะทางของนักเรียน

สอง หลักสูตรเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก่อนก้าวสู่ระดับอุดมศึกษา (College-Prep Curriculum with a Career Them) เป็นหลักสูตร 1 ครั้งต่อ ปี หรืออาจมากกว่านั้น ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องการศึกษา และการนำไปประยุกต์ใช้ในสนามของการทำงาน ทั้งนั้นเพื่อให้นักเรียนรู้ และเข้าใจถึงวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองอยากจะศึกษาต่อสาขาอะไรในระดับอุดมศึกษา

สาม ความร่วมมือกับนายจ้าง, ชุมชน และการศึกษาระดับสูง (Partnerships with Employers, Community and Higher Education) เพื่อให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาฝึกปฏิบัติงานจริงในองค์กรต่าง ๆโดย หลักสูตรทั้งหมดจะเน้นการแก้ปัญหาหลัก 5 ประการ ได้แก่ เยาวชนเบื่อกับการเรียนในระบบ, ลดจำนวนเยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษาก่อนวัยอันควร, แนะนำเส้นทางอาชีพในอนาคตให้แก่เยาวชน, เตรียมพร้อมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพให้กับเยาวชนที่ไม่เรียนต่อ และเตรียมพร้อมสำหรับนักเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเน้นสอนเกี่ยวกับเทคนิคอาชีพ

"ทอม" กล่าวในตอนท้ายว่า แม้นักเรียนจะเรียนสายสามัญ แต่สามารถมีทักษะการเตรียมความพร้อมในการทำงานได้ ฉะนั้น หลักสูตรนี้จึงไม่ใช่การเรียนแบบอาชีวศึกษา แต่เป็นหลักสูตรที่พยายามจะสร้างให้เกิดการสร้างอาชีพในระดับสายสามัญ"เป็น การให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพในอนาคต และเป็นหลักสูตรที่พัฒนาให้เด็กมีศักยภาพ และลงมือปฏิบัติจริง อันจะนำมาซึ่งโอกาสในการจ้างงานในอนาคต"

ขณะที่ "วิภา เกตุเพทา" ครูแนะแนวโรงเรียนสตรีวิทยา 2 หัวหน้ากลุ่มแนะแนวที่รวมตัวเครือข่ายครูแนะแนวจากทั่วประเทศ กล่าวถึงปัญหาแนะแนวเกี่ยวกับอาชีวศึกษาว่ายังขาดการได้รับความไว้ วางใจเรื่องการดูแลนักเรียน จึงทำให้ผู้ปกครองขาดความเชื่อมั่นที่จะส่งเด็กไปเรียนในระบบอาชีวศึกษา

"สิ่ง ที่ต้องการเร่งด่วนคือระบบการแนะแนว และระบบสารสนเทศ เพราะเด็กหลายคนไม่รู้ว่าหากจบสายสามัญหรืออาชีวศึกษาแล้วจะประกอบอาชีพอะไร จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือคัดกรอง และข้อมูลที่บอกว่าเขาถนัดแบบไหน เพื่อให้เด็กสามารถรู้ว่าตัวเองควรจะเลือกเรียนทางไหนจึงจะเหมาะสม"

ส่วน "ชาตรี ชนานาฎ" ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ภาคอาชีวศึกษามีการดูแลเด็กนักเรียนเป็นอย่างดี รวมถึงมีโครงสร้างการเรียนรู้เชิงวิชาการที่เข้มข้นไม่น้อยกว่าสายสามัญ และเด็กที่เรียนทางสายอาชีวะยังมีทักษะภาคปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ทันทีเมื่อจบการศึกษา

"การ ที่ภาคอาชีวศึกษาถูกมองว่ายังขาดความไว้วางใจ อาจจะมาจากข่าวการทะเลาะวิวาทระหว่างเด็กอาชีวศึกษาที่ได้ยินกันมา แต่ความจริงแล้วเด็กสายสามัญก็มีการทะเลาะวิวาทเช่นเดียวกัน เพียงแต่ข่าวอาจไม่ได้ถูกนำเสนอ จึงนำมาซึ่งทัศนคติเชิงลบต่อการเรียนสายอาชีวะ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนี้ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าภาคอาชีวศึกษาด้อยศักยภาพเลย"

ด้าน "ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล" เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวในตอนท้ายของงานสัมมนาว่า ควรปรับการเรียนสายสามัญ และ

สายอาชีพในสัดส่วนที่สมดุลกัน ที่สำคัญคือ ต้องมีการเชื่อมโยง และส่งต่อข้อมูลระหว่างการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ

"ผม เชื่อว่ารูปแบบ Career Academies สามารถทำได้ในประเทศไทย เพราะเราไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เราสามารถใช้ประสบการณ์จากโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมที่ประเทศไทยเคยมีใน อดีต และการนำกรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาใช้ โดยข้อสรุปจากที่ประชุมวันนี้จะนำไปสู่การหารือในการประชุมคณะกรรมการปฏิรูป หลักสูตรเร็ว ๆ นี้"

ในภาพรวมชี้ให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกคนมีความเห็นสนับสนุนต่อการนำแนวคิด Career Academies กรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนั้นเพื่อนำประสบการณ์จากโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม (คมส.) ในอดีตมาปรับใช้ด้วย เพราะทุกคนต่างเล็งเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาของสายสามัญในระยะยาว เพราะบุคลากรเหล่านี้ อาจจะเป็นฟันเฟืองหลักต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตนั่นเอง

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376042145

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 10/08/2556 เวลา 03:14:06 ดูภาพสไลด์โชว์ กรณีศึกษา Career Academies ปรับทัศนคติสร้างอาชีพในสายสามัญ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรณีศึกษา Career Academies ปรับทัศนคติสร้างอาชีพในสายสามัญ ปัจจุบันค่านิยมเด็กไทยผูกติดกับ ความฝันที่จะเข้ามหาวิทยาลัยชื่อดัง โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการประกอบอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน เหตุเช่นนี้ จึงทำให้เกิดการกระจุกตัวของผู้จบการศึกษาสายสามัญ ทั้ง ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมคงยังต้องการบุคลากรเฉพาะทางอยู่จำนวนมาก ประเด็นสำคัญเช่นนี้ จึงทำให้กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.) จัดประชุมเสวนาวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 4 หัวข้อ "ระบบเตรียมความพร้อมด้านอาชีพในระบบโรงเรียนสายสามัญ Career Academies" โดยมีนักวิชาการ, ผู้บริหารการศึกษา, ครู, นักเรียน, ตัวแทนจังหวัด และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมงานเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เบื้อง ต้น "ทอม คอร์คอแรน" ผู้อำนวยการร่วมสถาบัน สถาบันวิจัยนโยบายการศึกษา Teachers College มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การศึกษาในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาคล้ายคลึงกับประเทศไทย คือมีเด็กออกจากการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาก่อนวัยอันควรถึงร้อยละ 25 และปัญหาที่สหรัฐอเมริกาเผชิญควบคู่กันคือ ทัศนคติที่พ่อแม่คิดว่าการส่งลูกไปเรียนสายสามัญเพื่อศึกษาต่อในระดับ มหาวิทยาลัยดีกว่าการเรียนสายอาชีวศึกษา ทัศนคติเช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงาน ทั้ง ๆ ที่มีตำแหน่งงานรองรับ แต่ว่าผู้จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ไร้ทักษะเฉพาะทางในการประกอบ อาชีพ จึงเป็นที่มาของการทำหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพใน ระบบโรงเรียนสายสามัญ (Career Academies) โดยมีการดำเนินงานในสหรัฐอเมริกามานานกว่า 30 ปี และปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการกว่า 8,000 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ Career Academies ในสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ หนึ่ง การร่วมเรียนรู้ขนาดเล็ก (Small Learning Community) คือการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็นวิชาเลือกตามความสนใจของเด็กนักเรียน เป็นกลุ่มการเรียนรู้ร่วมกันขนาดเล็กของเด็กนักเรียนระดับมัธยมปลาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลมากขึ้น และเพื่อพัฒนาความถนัดเฉพาะทางของนักเรียน สอง หลักสูตรเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก่อนก้าวสู่ระดับอุดมศึกษา (College-Prep Curriculum with a Career Them) เป็นหลักสูตร 1 ครั้งต่อ ปี หรืออาจมากกว่านั้น ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องการศึกษา และการนำไปประยุกต์ใช้ในสนามของการทำงาน ทั้งนั้นเพื่อให้นักเรียนรู้ และเข้าใจถึงวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองอยากจะศึกษาต่อสาขาอะไรในระดับอุดมศึกษา สาม ความร่วมมือกับนายจ้าง, ชุมชน และการศึกษาระดับสูง (Partnerships with Employers, Community and Higher Education) เพื่อให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษาฝึกปฏิบัติงานจริงในองค์กรต่าง ๆโดย หลักสูตรทั้งหมดจะเน้นการแก้ปัญหาหลัก 5 ประการ ได้แก่ เยาวชนเบื่อกับการเรียนในระบบ, ลดจำนวนเยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษาก่อนวัยอันควร, แนะนำเส้นทางอาชีพในอนาคตให้แก่เยาวชน, เตรียมพร้อมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพให้กับเยาวชนที่ไม่เรียนต่อ และเตรียมพร้อมสำหรับนักเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเน้นสอนเกี่ยวกับเทคนิคอาชีพ "ทอม" กล่าวในตอนท้ายว่า แม้นักเรียนจะเรียนสายสามัญ แต่สามารถมีทักษะการเตรียมความพร้อมในการทำงานได้ ฉะนั้น หลักสูตรนี้จึงไม่ใช่การเรียนแบบอาชีวศึกษา แต่เป็นหลักสูตรที่พยายามจะสร้างให้เกิดการสร้างอาชีพในระดับสายสามัญ"เป็น การให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการประกอบอาชีพในอนาคต และเป็นหลักสูตรที่พัฒนาให้เด็กมีศักยภาพ และลงมือปฏิบัติจริง อันจะนำมาซึ่งโอกาสในการจ้างงานในอนาคต" ขณะที่ "วิภา เกตุเพทา" ครูแนะแนวโรงเรียนสตรีวิทยา 2 หัวหน้ากลุ่มแนะแนวที่รวมตัวเครือข่ายครูแนะแนวจากทั่วประเทศ กล่าวถึงปัญหาแนะแนวเกี่ยวกับอาชีวศึกษาว่ายังขาดการได้รับความไว้ วางใจเรื่องการดูแลนักเรียน จึงทำให้ผู้ปกครองขาดความเชื่อมั่นที่จะส่งเด็กไปเรียนในระบบอาชีวศึกษา "สิ่ง ที่ต้องการเร่งด่วนคือระบบการแนะแนว และระบบสารสนเทศ เพราะเด็กหลายคนไม่รู้ว่าหากจบสายสามัญหรืออาชีวศึกษาแล้วจะประกอบอาชีพอะไร จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือคัดกรอง และข้อมูลที่บอกว่าเขาถนัดแบบไหน เพื่อให้เด็กสามารถรู้ว่าตัวเองควรจะเลือกเรียนทางไหนจึงจะเหมาะสม" ส่วน "ชาตรี ชนานาฎ" ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ภาคอาชีวศึกษามีการดูแลเด็กนักเรียนเป็นอย่างดี รวมถึงมีโครงสร้างการเรียนรู้เชิงวิชาการที่เข้มข้นไม่น้อยกว่าสายสามัญ และเด็กที่เรียนทางสายอาชีวะยังมีทักษะภาคปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ทันทีเมื่อจบการศึกษา "การ ที่ภาคอาชีวศึกษาถูกมองว่ายังขาดความไว้วางใจ อาจจะมาจากข่าวการทะเลาะวิวาทระหว่างเด็กอาชีวศึกษาที่ได้ยินกันมา แต่ความจริงแล้วเด็กสายสามัญก็มีการทะเลาะวิวาทเช่นเดียวกัน เพียงแต่ข่าวอาจไม่ได้ถูกนำเสนอ จึงนำมาซึ่งทัศนคติเชิงลบต่อการเรียนสายอาชีวะ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยนี้ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าภาคอาชีวศึกษาด้อยศักยภาพเลย" ด้าน "ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล" เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวในตอนท้ายของงานสัมมนาว่า ควรปรับการเรียนสายสามัญ และ สายอาชีพในสัดส่วนที่สมดุลกัน ที่สำคัญคือ ต้องมีการเชื่อมโยง และส่งต่อข้อมูลระหว่างการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ "ผม เชื่อว่ารูปแบบ Career Academies สามารถทำได้ในประเทศไทย เพราะเราไม่ได้เริ่มจากศูนย์ เราสามารถใช้ประสบการณ์จากโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมที่ประเทศไทยเคยมีใน อดีต และการนำกรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาใช้ โดยข้อสรุปจากที่ประชุมวันนี้จะนำไปสู่การหารือในการประชุมคณะกรรมการปฏิรูป หลักสูตรเร็ว ๆ นี้" ในภาพรวมชี้ให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกคนมีความเห็นสนับสนุนต่อการนำแนวคิด Career Academies กรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนั้นเพื่อนำประสบการณ์จากโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม (คมส.) ในอดีตมาปรับใช้ด้วย เพราะทุกคนต่างเล็งเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาของสายสามัญในระยะยาว เพราะบุคลากรเหล่านี้ อาจจะเป็นฟันเฟืองหลักต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตนั่นเอง ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1376042145 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...