เงินเดือนเยอะ ตำแหน่งสูง... แล้วความสามารถล่ะ ?

แสดงความคิดเห็น

เงินเดือนเยอะ ตำแหน่งสูง... แล้วความสามารถล่ะ ?

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์

โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com (ขนาดไฟล์: 0 )

เดี๋ยวนี้ผมมักได้ยิน ได้ฟังเรื่องคำถามทำนองนี้ค่อนข้างบ่อยครับ...

"เพิ่งจบปริญญาตรี การตลาด ตอนนี้ได้เงินเดือนหมื่นห้า อีกกี่ปีถึงได้จะห้าหมื่น"

"จบวิศวะไฟฟ้า จาก ม.ของรัฐไม่ดังนัก เกรดเฉลี่ย 2.3 จะได้เงินเดือนถึงแสนบาทอีกกี่ปี"

"เพิ่งจบ เข้าทำงานที่บริษัท...อีกกี่ปีถึงจะได้เป็นผู้จัดการ"

ผม เชื่อว่าท่านที่จะต้องสัมภาษณ์ผู้สมัครงานทั้ง Line Manager หรือ HR เอง อาจเคยได้ยินคำถามทำนองนี้จากผู้สมัครงาน หรือแม้แต่เมื่อรับเข้าทำงานแล้ว น้อง ๆ เหล่านี้อาจจะตั้งคำถามทำนองนี้กับพี่ ๆ ที่ทำงานมาก่อน

แล้วท่านคิดยังไงกับคำถามทำนองนี้ล่ะครับ ?

หลายคนที่เป็นสายฮาร์ดคอร์ พูดจาขวานผ่าซากซะหน่อย คงจะตอบสวนไปทันที

"โอ๊ย...ฝัน ไปเถอะน้อง พี่จบมาก่อนตั้งนาน ตอนนี้ยังได้สองหมื่นกว่าเอง ถ้าอยากได้มากกว่านี้ต้องไปเป็นเดอะสตาร์ดีกว่ามั้ง..." หรือถ้าเป็นสายพิราบเสียหน่อย คงจะถามกลับมาว่า...

"แล้วน้องคิดว่าน้องมีความสามารถอะไรที่จะแสดงให้บริษัทเขาเห็นล่ะว่าน้องควรจะได้ห้าหมื่น..."

ต้อง ยอมรับนะครับว่า ยุคนี้เป็นยุคของคนเจเนอเรชั่น วาย เป็นยุคของคนที่ต้องการความรวดเร็วฉับไว มีความมั่นใจในตัวเองสูง วัตถุนิยม กล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ แถมเป็นยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว มีสื่อออนไลน์ที่ติดต่อกันได้แบบข้ามโลกในเวลาเป็นวินาที เช่น Line, Whatsapp, Instagram ฯลฯ

ดังนั้นเมื่อเพื่อนคนไหนได้ Up เงินเดือนขึ้น หรือประสบความสำเร็จอะไร จะส่งผ่าน Social Network กันทันที ก็จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันในเชิงวัตถุนิยมได้ง่ายและรวดเร็ว เข้าทำนอง "เงินเดือนของเราได้เท่าไหร่...ไม่สำคัญเท่ากับเพื่อนได้เท่าไหร่" ถ้าได้น้อยกว่าเพื่อนจะรู้สึกเสียเซลฟ์

เป็น เรื่องจริงที่ทุกคนที่ทำงานต่างต้องการอยากได้เงินเดือนเยอะ ๆ อยากที่จะก้าวหน้า ได้เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าคนอื่น (ถ้าเป็นไปได้) ซึ่งจะหมายถึงการปรับเงินเดือนที่สูงขึ้นตามงาน และความรับผิดชอบในตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าคนที่จะพิจารณาเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง หรือปรับเงินเดือนให้กับพนักงานระดับใดก็ตาม ก็คือผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ

แล้วเขาเอาอะไรมาเป็นข้อพิจารณาในการปรับเลื่อนตำแหน่ง หรือเงินเดือนล่ะ ?

ก็หนีไม่พ้นเรื่องหลัก ๆ ก็คือ "ผลงาน" และ "ความสามารถ" จริงไหมครับ ?

ผมถึงอยากให้ข้อคิดสำหรับน้อง ๆ Gen Y รุ่นใหม่ไฟแรงไว้อย่างนี้

1.มีคำพูดหนึ่งจากผู้บริหารหลายคนที่คุยกับผมว่า "ไม่เก่งงาน ไม่รู้งานไม่เป็นไร สอนได้ สำคัญว่าเด็กอดทนที่จะเรียนรู้งานหรือเปล่า" ซึ่ง ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้นะครับ เพราะคนใน Generation ก่อนหน้านี้ มักจะมีความอดทน และขวนขวายที่จะเรียนรู้หรือแสวงหาความรู้ในงาน สะสมความรู้ความสามารถให้รู้ลึกรู้จริงในงาน จนหลายครั้งก็ยอมที่จะได้รับค่าจ้างเงินเดือนที่ไม่มากนัก

แต่ขอ เพียงเพื่อให้ได้เรียนรู้งานให้มากที่สุด เพื่อจะได้นำงานที่เรียนรู้กลับมาเป็นประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าของตัว เองในวันข้างหน้า หรือเรียกว่า "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน"

ซึ่งคน Generation Y คงต้องถามตัวเองด้วยว่ามีคุณสมบัติในเรื่องความอดทนเพื่อเรียนรู้ลึกรู้จริง ในงานอยู่มากน้อยแค่ไหน หรือยังทำงานจับจด หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ชอบงานสบาย แต่ได้ตังค์เยอะ ๆ ไม่รู้จริง แต่คิดว่าตัวเองรู้หมดทุกเรื่อง ถ้าท่านเป็นเจ้าของกิจการ ท่านอยากจะจ้างคนแบบนี้ไหมล่ะครับ

2.เมื่อ อดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อสะสมความรู้ความสามารถในงานแล้ว แน่นอนว่าความสามารถจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป ซึ่งความสามารถนี้ในปัจจุบันก็เรียกกันว่า "Competency" ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ในงานที่รับผิดชอบ, ทักษะ (Skills) คือความชำนาญในการลงมือปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี และคุณลักษณะภายใน (Attributes) ที่ดีที่จะมีส่วนสำคัญให้งานประสบความสำเร็จ เช่น ความขยัน, ความอดทน, ความรับผิดชอบ ฯลฯ

โดย Competency นี่แหละครับจะมีผลต่อพฤติกรรมของคน ทำให้คนคนนั้นทำงานประสบความสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี และมีผลงานออกมาที่น่าพอใจ

3.เมื่อมี Competency แล้ว ท่านจะสามารถรับผิดชอบงานที่อยู่ตรงหน้าตามที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุเป้า หมายได้เป็นอย่างดี แล้วลองกลับมาทบทวนดูสิครับว่าท่านมีผลงานอะไรที่เป็นผลงานที่

คนรอบ ข้าง (ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า) ยอมรับว่านี่คือผลงานของเรา พอพูดถึงงานชิ้นนี้ ทุกคนจะต้องยอมรับ และบอกว่านี่แหละผลงานของเรา

และตอนนี้ผลงานของท่านมีมาก-น้อยแค่ไหนแล้ว หรือจะพูดง่าย ๆ ว่าเคยสะสม Portfolio ผลงานที่ประสบความสำเร็จของตัวเองเอาไว้บ้างหรือเปล่าว่ามีอะไรบ้าง

4.เมื่อ มีความพร้อมทั้งความสามารถ (Competency) ผลงาน (Performance) แล้ว ท่านจะมีพื้นฐานที่แน่นในเรื่องของงานและการเติบโตแบบยั่งยืน ท่านก็ย่อมจะเป็นดาวเด่น (Talent หรือ Star) ในองค์กร ที่ไม่ว่าจะผู้บริหารภายในจะเห็นแวว หรือศักยภาพในตัวท่าน หรือแม้แต่องค์กรภายนอกที่อยากจะส่งเทียบเชิญไปร่วมงานด้วยในที่สุด

ดัง นั้นแทนที่จะถามคนอื่นว่า "อีกกี่ปีจะได้เงินเดือนแสน" ผมว่าลองกลับมาทบทวน "ผลงาน" และ "ความสามารถ" ในตัวเอง ว่ามีมากเพียงพอแล้วหรือยัง ก่อนที่จะไปคิดให้ใครเขาปรับขึ้นเงินเดือนให้จะดีไหม

เพราะทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวของท่าน ไม่ใช่คนอื่น จริงไหมครับ ?

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375947690 (ขนาดไฟล์: 143)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ส.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 9/08/2556 เวลา 03:18:30 ดูภาพสไลด์โชว์ เงินเดือนเยอะ ตำแหน่งสูง... แล้วความสามารถล่ะ ?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เงินเดือนเยอะ ตำแหน่งสูง... แล้วความสามารถล่ะ ? คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com เดี๋ยวนี้ผมมักได้ยิน ได้ฟังเรื่องคำถามทำนองนี้ค่อนข้างบ่อยครับ... "เพิ่งจบปริญญาตรี การตลาด ตอนนี้ได้เงินเดือนหมื่นห้า อีกกี่ปีถึงได้จะห้าหมื่น" "จบวิศวะไฟฟ้า จาก ม.ของรัฐไม่ดังนัก เกรดเฉลี่ย 2.3 จะได้เงินเดือนถึงแสนบาทอีกกี่ปี" "เพิ่งจบ เข้าทำงานที่บริษัท...อีกกี่ปีถึงจะได้เป็นผู้จัดการ" ผม เชื่อว่าท่านที่จะต้องสัมภาษณ์ผู้สมัครงานทั้ง Line Manager หรือ HR เอง อาจเคยได้ยินคำถามทำนองนี้จากผู้สมัครงาน หรือแม้แต่เมื่อรับเข้าทำงานแล้ว น้อง ๆ เหล่านี้อาจจะตั้งคำถามทำนองนี้กับพี่ ๆ ที่ทำงานมาก่อน แล้วท่านคิดยังไงกับคำถามทำนองนี้ล่ะครับ ? หลายคนที่เป็นสายฮาร์ดคอร์ พูดจาขวานผ่าซากซะหน่อย คงจะตอบสวนไปทันที "โอ๊ย...ฝัน ไปเถอะน้อง พี่จบมาก่อนตั้งนาน ตอนนี้ยังได้สองหมื่นกว่าเอง ถ้าอยากได้มากกว่านี้ต้องไปเป็นเดอะสตาร์ดีกว่ามั้ง..." หรือถ้าเป็นสายพิราบเสียหน่อย คงจะถามกลับมาว่า... "แล้วน้องคิดว่าน้องมีความสามารถอะไรที่จะแสดงให้บริษัทเขาเห็นล่ะว่าน้องควรจะได้ห้าหมื่น..." ต้อง ยอมรับนะครับว่า ยุคนี้เป็นยุคของคนเจเนอเรชั่น วาย เป็นยุคของคนที่ต้องการความรวดเร็วฉับไว มีความมั่นใจในตัวเองสูง วัตถุนิยม กล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ แถมเป็นยุคของโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว มีสื่อออนไลน์ที่ติดต่อกันได้แบบข้ามโลกในเวลาเป็นวินาที เช่น Line, Whatsapp, Instagram ฯลฯ ดังนั้นเมื่อเพื่อนคนไหนได้ Up เงินเดือนขึ้น หรือประสบความสำเร็จอะไร จะส่งผ่าน Social Network กันทันที ก็จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันในเชิงวัตถุนิยมได้ง่ายและรวดเร็ว เข้าทำนอง "เงินเดือนของเราได้เท่าไหร่...ไม่สำคัญเท่ากับเพื่อนได้เท่าไหร่" ถ้าได้น้อยกว่าเพื่อนจะรู้สึกเสียเซลฟ์ เป็น เรื่องจริงที่ทุกคนที่ทำงานต่างต้องการอยากได้เงินเดือนเยอะ ๆ อยากที่จะก้าวหน้า ได้เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าคนอื่น (ถ้าเป็นไปได้) ซึ่งจะหมายถึงการปรับเงินเดือนที่สูงขึ้นตามงาน และความรับผิดชอบในตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าคนที่จะพิจารณาเลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่ง หรือปรับเงินเดือนให้กับพนักงานระดับใดก็ตาม ก็คือผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ แล้วเขาเอาอะไรมาเป็นข้อพิจารณาในการปรับเลื่อนตำแหน่ง หรือเงินเดือนล่ะ ? ก็หนีไม่พ้นเรื่องหลัก ๆ ก็คือ "ผลงาน" และ "ความสามารถ" จริงไหมครับ ? ผมถึงอยากให้ข้อคิดสำหรับน้อง ๆ Gen Y รุ่นใหม่ไฟแรงไว้อย่างนี้ 1.มีคำพูดหนึ่งจากผู้บริหารหลายคนที่คุยกับผมว่า "ไม่เก่งงาน ไม่รู้งานไม่เป็นไร สอนได้ สำคัญว่าเด็กอดทนที่จะเรียนรู้งานหรือเปล่า" ซึ่ง ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้นะครับ เพราะคนใน Generation ก่อนหน้านี้ มักจะมีความอดทน และขวนขวายที่จะเรียนรู้หรือแสวงหาความรู้ในงาน สะสมความรู้ความสามารถให้รู้ลึกรู้จริงในงาน จนหลายครั้งก็ยอมที่จะได้รับค่าจ้างเงินเดือนที่ไม่มากนัก แต่ขอ เพียงเพื่อให้ได้เรียนรู้งานให้มากที่สุด เพื่อจะได้นำงานที่เรียนรู้กลับมาเป็นประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าของตัว เองในวันข้างหน้า หรือเรียกว่า "อดเปรี้ยวไว้กินหวาน" ซึ่งคน Generation Y คงต้องถามตัวเองด้วยว่ามีคุณสมบัติในเรื่องความอดทนเพื่อเรียนรู้ลึกรู้จริง ในงานอยู่มากน้อยแค่ไหน หรือยังทำงานจับจด หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ชอบงานสบาย แต่ได้ตังค์เยอะ ๆ ไม่รู้จริง แต่คิดว่าตัวเองรู้หมดทุกเรื่อง ถ้าท่านเป็นเจ้าของกิจการ ท่านอยากจะจ้างคนแบบนี้ไหมล่ะครับ 2.เมื่อ อดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อสะสมความรู้ความสามารถในงานแล้ว แน่นอนว่าความสามารถจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป ซึ่งความสามารถนี้ในปัจจุบันก็เรียกกันว่า "Competency" ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ในงานที่รับผิดชอบ, ทักษะ (Skills) คือความชำนาญในการลงมือปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี และคุณลักษณะภายใน (Attributes) ที่ดีที่จะมีส่วนสำคัญให้งานประสบความสำเร็จ เช่น ความขยัน, ความอดทน, ความรับผิดชอบ ฯลฯ โดย Competency นี่แหละครับจะมีผลต่อพฤติกรรมของคน ทำให้คนคนนั้นทำงานประสบความสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี และมีผลงานออกมาที่น่าพอใจ 3.เมื่อมี Competency แล้ว ท่านจะสามารถรับผิดชอบงานที่อยู่ตรงหน้าตามที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุเป้า หมายได้เป็นอย่างดี แล้วลองกลับมาทบทวนดูสิครับว่าท่านมีผลงานอะไรที่เป็นผลงานที่ คนรอบ ข้าง (ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า) ยอมรับว่านี่คือผลงานของเรา พอพูดถึงงานชิ้นนี้ ทุกคนจะต้องยอมรับ และบอกว่านี่แหละผลงานของเรา และตอนนี้ผลงานของท่านมีมาก-น้อยแค่ไหนแล้ว หรือจะพูดง่าย ๆ ว่าเคยสะสม Portfolio ผลงานที่ประสบความสำเร็จของตัวเองเอาไว้บ้างหรือเปล่าว่ามีอะไรบ้าง 4.เมื่อ มีความพร้อมทั้งความสามารถ (Competency) ผลงาน (Performance) แล้ว ท่านจะมีพื้นฐานที่แน่นในเรื่องของงานและการเติบโตแบบยั่งยืน ท่านก็ย่อมจะเป็นดาวเด่น (Talent หรือ Star) ในองค์กร ที่ไม่ว่าจะผู้บริหารภายในจะเห็นแวว หรือศักยภาพในตัวท่าน หรือแม้แต่องค์กรภายนอกที่อยากจะส่งเทียบเชิญไปร่วมงานด้วยในที่สุด ดัง นั้นแทนที่จะถามคนอื่นว่า "อีกกี่ปีจะได้เงินเดือนแสน" ผมว่าลองกลับมาทบทวน "ผลงาน" และ "ความสามารถ" ในตัวเอง ว่ามีมากเพียงพอแล้วหรือยัง ก่อนที่จะไปคิดให้ใครเขาปรับขึ้นเงินเดือนให้จะดีไหม เพราะทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับตัวของท่าน ไม่ใช่คนอื่น จริงไหมครับ ? ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375947690 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...