ดูอบรมหลังกำแพงสูง‘โอกาสอาชีพ’รหัสล็อก‘กันผิดซ้ำ’

แสดงความคิดเห็น

ดูอบรมหลังกำแพงสูง‘โอกาสอาชีพ’รหัสล็อก‘กันผิดซ้ำ’

ดูอบรมหลังกำแพงสูง‘โอกาสอาชีพ’รหัสล็อก‘กันผิดซ้ำ’

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.

ประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวน ผู้ต้องขัง รวมราว 260,000 คน และมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยคดียาเสพติด ต้องโทษซ้ำคดียาเสพติด กำลังเป็นปัญหาใหญ่ กระทบต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ และเรื่องผู้ต้องขังในภาพรวมก็ยังมีกรณีต่อเนื่องคือ ไม่ได้รับการยอมรับกลับสู่สังคมเมื่อพ้นโทษ โดยเฉพาะกับการเข้าสู่การจ้างงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ซึ่งการว่างงานของคนกลุ่มนี้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาวนเวียนซ้ำ ๆ

กับการจะทำอาชีพอะไร...ก็มักจะมีปัญหา

เพราะ...ส่วนใหญ่จัดการเรื่องเงินได้ไม่ดี!!!

ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่าปัญหาว่างงานหลังพ้นโทษจนเกิดปัญหาวนเวียนนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการ ขาดความรู้ทางการเงิน ทำให้ไม่สามารถตั้งเป้าหมายการลงทุนทำอาชีพ การออม และการจัดการหนี้สิน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการจัดกิจกรรม “อบรมความรู้ทางการเงินให้กับผู้ต้องขังหญิง” กลุ่มหนึ่ง กิจกรรมนี้ก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ต้องขังหญิงที่พ้นโทษที่ได้รับการอบรม มีโอกาสมีที่ยืนทางอาชีพในสังคมได้เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากโครงการ “ผู้หญิงฉลาดออม ฉลาดใช้ (Financial Literacy Training)” ที่เริ่มมีตั้งแต่ปี 2551 โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันคีนันแห่งเอเชีย กับมูลนิธิซิตี้ ประเทศไทย

กลุ่มเป้าหมายโครงการนี้คือผู้หญิงกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านรายได้และอาชีพ อาทิ ผู้หญิงในชุมชนแออัด ผู้หญิงทำงานกลางคืน รวมถึงผู้ต้องขังหญิง ดำเนินการโดยความร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาและบริการคลองเตย มูลนิธิดวงประทีป ไนต์คลับซอยคาวบอย สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยอบรมให้ผู้หญิงแล้วกว่า 1,000 คน

ในส่วนของผู้ต้องขังหญิงนั้น หัสญา หาสิตะพันธุ์ รองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) ระบุว่า... โครงการนี้ได้ร่วมกับทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิงตั้งแต่ปี 2554 โดยปี 2554 และ 2555 มีการอบรมปีละ 4 รุ่น มีจำนวนผู้ร่วมอบรม 301 คน และ 249 คน ตามลำดับ โดย เนื้อหาที่อบรมก็มีเรื่องการตั้งเป้าหมายในชีวิต การออมเงิน การจัดการค่าใช้จ่าย การลงบัญชี ในขณะที่ปี 2556 มีการอบรมแล้ว 2 รุ่น ๆ ละ 80 คน โดยที่มีการเพิ่มเนื้อหาในเรื่อง การทำธุรกิจ หลักสูตรผู้ประกอบการ ด้วย

การสร้างรายรับ การลงทุน การทำแผนธุรกิจ แผนบริหาร แผนการเงิน ...นี่ก็เป็นสิ่งที่ผู้อบรมจะได้เรียนรู้เช่นกัน ตามคำบอกเล่าของ 2 วิทยากร คือ อัชวัต ชุณหกสิการ และ วิวัฒน์ ชุติวณิชยกุล ซึ่งผู้อบรมจะระดมความคิดเห็นกัน ส่วนวิทยากรจะทำหน้าที่คอยแนะนำและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อผู้เข้าอบรมมีข้อสงสัย

เมื่อ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้ส่งทีมเข้าสังเกตการณ์การอบรมให้ผู้ต้องขังหญิง ซึ่งในวันนั้นก็มี ดร.สายสวรรค์ วัฒนพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาโครงการ สถาบัน

คีนันฯ อยู่ด้วย โดยผู้เข้าอบรมต่างก็มีความตั้งใจ มีการซักถามข้อสงสัยจากวิทยากร เพื่อที่จะเขียนแผนธุรกิจของตัวเองให้ได้ แต่ละคนมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างจริงจัง ซึ่งก็สะท้อนได้ชัดถึงการอยากคืนสู่สังคมปกติ

ยอมรับคนกลุ่มนี้...เป็นสิ่งที่สังคมควรให้โอกาส

“หลังจากอบรมทำให้รู้ว่าในอดีตที่เงินไม่พอใช้มาจากไม่ประหยัด ฟุ่มเฟือย หลังอบรมแล้วทำให้มีเงินเหลือจากที่ญาติส่งมาให้ใช้เดือนละ 300-400 บาท พอมีเงินเก็บได้ ก็ทำให้มีความหวัง มีกำลังใจ เมื่อพ้นโทษไป ก็อยากจะทำธุรกิจเล็ก ๆ สักอย่าง” ...เป็นเสียงของผู้ต้องขังหญิงรายหนึ่ง ขณะที่ผู้เคยเข้าอบรมอีก

รายบอกว่า...

“ได้รับความรู้หลายเรื่องจากการอบรม โดยเฉพาะการออม การรู้จักทำบัญชีออม ทำรายรับ-รายจ่าย อยู่ที่นี่มีรายรับจากเงินที่ญาติส่งมาให้ทุกเดือน และรายได้จากการเย็บผ้า ตอนนี้มีบัญชีฝากกับธนาคาร มีเงินเก็บ ต่างจากสมัยก่อนที่ไม่เคยออมเงิน ใช้เงินแบบไม่ค่อยคิดเหมือนเงินหามาง่าย เมื่อมีเงินออมแล้ว พอพ้นโทษไปก็จะได้มีเงินไปลงทุนทำอาชีพส่วนตัวต่อไปในอนาคต ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร แต่คิดว่าจะต้องทำแน่ ๆ”

ทั้งนี้ นอกเหนือจากที่ว่ามาแล้ว กับเสียงของ ฑิฆัมพร วิเชียรเชื้อ ผู้อำนวยการทัณฑสถานบําบัดพิเศษหญิง ก็เป็นเสียงที่สังคมควรรับรู้-รับฟัง นั่นคือ... ผู้ต้องขังในทัณฑสถานนี้จะได้รับการฝึก มีการอบรมต่าง ๆ ทั้งให้เรียนหนังสือ อบรมคุณธรรมจริยธรรม มารยาท รวมถึงการฝึกอาชีพ แต่แม้จะมีความรู้ ความสามารถ ทักษะอาชีพ ก็ยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคม ผู้ประกอบการยังไม่ค่อยจะยอมจ้างงานผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ทำให้ส่วนหนึ่งขาดโอกาสที่จะมีอาชีพสุจริต ทำให้ต้องเข้าสู่วงจรเดิม ๆ กระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ’อยากวิงวอนขอโอกาสอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษออกไปด้วย ซึ่งท่านก็จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคม“

’โอกาส“ นี่ดูจะเป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญ

เป็นกุญแจช่วยล็อกประตู ’กันการเดินผิดซ้ำ“

ที่สังคมนอกทัณฑสถานน่าจะ ’มีให้“ เยอะ ๆ.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/223393 (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ส.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 4/08/2556 เวลา 03:35:34 ดูภาพสไลด์โชว์  ดูอบรมหลังกำแพงสูง‘โอกาสอาชีพ’รหัสล็อก‘กันผิดซ้ำ’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดูอบรมหลังกำแพงสูง‘โอกาสอาชีพ’รหัสล็อก‘กันผิดซ้ำ’ ดูอบรมหลังกำแพงสูง‘โอกาสอาชีพ’รหัสล็อก‘กันผิดซ้ำ’ วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น. ประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวน ผู้ต้องขัง รวมราว 260,000 คน และมีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยคดียาเสพติด ต้องโทษซ้ำคดียาเสพติด กำลังเป็นปัญหาใหญ่ กระทบต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศ และเรื่องผู้ต้องขังในภาพรวมก็ยังมีกรณีต่อเนื่องคือ ไม่ได้รับการยอมรับกลับสู่สังคมเมื่อพ้นโทษ โดยเฉพาะกับการเข้าสู่การจ้างงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ซึ่งการว่างงานของคนกลุ่มนี้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาวนเวียนซ้ำ ๆ กับการจะทำอาชีพอะไร...ก็มักจะมีปัญหา เพราะ...ส่วนใหญ่จัดการเรื่องเงินได้ไม่ดี!!! ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่าปัญหาว่างงานหลังพ้นโทษจนเกิดปัญหาวนเวียนนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการ ขาดความรู้ทางการเงิน ทำให้ไม่สามารถตั้งเป้าหมายการลงทุนทำอาชีพ การออม และการจัดการหนี้สิน อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการจัดกิจกรรม “อบรมความรู้ทางการเงินให้กับผู้ต้องขังหญิง” กลุ่มหนึ่ง กิจกรรมนี้ก็น่าจะมีส่วนช่วยให้ผู้ต้องขังหญิงที่พ้นโทษที่ได้รับการอบรม มีโอกาสมีที่ยืนทางอาชีพในสังคมได้เพิ่มขึ้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากโครงการ “ผู้หญิงฉลาดออม ฉลาดใช้ (Financial Literacy Training)” ที่เริ่มมีตั้งแต่ปี 2551 โดยความร่วมมือระหว่างสถาบันคีนันแห่งเอเชีย กับมูลนิธิซิตี้ ประเทศไทย กลุ่มเป้าหมายโครงการนี้คือผู้หญิงกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านรายได้และอาชีพ อาทิ ผู้หญิงในชุมชนแออัด ผู้หญิงทำงานกลางคืน รวมถึงผู้ต้องขังหญิง ดำเนินการโดยความร่วมมือกับฝ่ายต่าง ๆ เช่น ศูนย์พัฒนาและบริการคลองเตย มูลนิธิดวงประทีป ไนต์คลับซอยคาวบอย สำนักคุ้มครองสวัสดิภาพหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยอบรมให้ผู้หญิงแล้วกว่า 1,000 คน ในส่วนของผู้ต้องขังหญิงนั้น หัสญา หาสิตะพันธุ์ รองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย) ระบุว่า... โครงการนี้ได้ร่วมกับทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิงตั้งแต่ปี 2554 โดยปี 2554 และ 2555 มีการอบรมปีละ 4 รุ่น มีจำนวนผู้ร่วมอบรม 301 คน และ 249 คน ตามลำดับ โดย เนื้อหาที่อบรมก็มีเรื่องการตั้งเป้าหมายในชีวิต การออมเงิน การจัดการค่าใช้จ่าย การลงบัญชี ในขณะที่ปี 2556 มีการอบรมแล้ว 2 รุ่น ๆ ละ 80 คน โดยที่มีการเพิ่มเนื้อหาในเรื่อง การทำธุรกิจ หลักสูตรผู้ประกอบการ ด้วย การสร้างรายรับ การลงทุน การทำแผนธุรกิจ แผนบริหาร แผนการเงิน ...นี่ก็เป็นสิ่งที่ผู้อบรมจะได้เรียนรู้เช่นกัน ตามคำบอกเล่าของ 2 วิทยากร คือ อัชวัต ชุณหกสิการ และ วิวัฒน์ ชุติวณิชยกุล ซึ่งผู้อบรมจะระดมความคิดเห็นกัน ส่วนวิทยากรจะทำหน้าที่คอยแนะนำและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อผู้เข้าอบรมมีข้อสงสัย เมื่อ 26 ก.ค. ที่ผ่านมา “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้ส่งทีมเข้าสังเกตการณ์การอบรมให้ผู้ต้องขังหญิง ซึ่งในวันนั้นก็มี ดร.สายสวรรค์ วัฒนพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาโครงการ สถาบัน คีนันฯ อยู่ด้วย โดยผู้เข้าอบรมต่างก็มีความตั้งใจ มีการซักถามข้อสงสัยจากวิทยากร เพื่อที่จะเขียนแผนธุรกิจของตัวเองให้ได้ แต่ละคนมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำธุรกิจอย่างจริงจัง ซึ่งก็สะท้อนได้ชัดถึงการอยากคืนสู่สังคมปกติ ยอมรับคนกลุ่มนี้...เป็นสิ่งที่สังคมควรให้โอกาส “หลังจากอบรมทำให้รู้ว่าในอดีตที่เงินไม่พอใช้มาจากไม่ประหยัด ฟุ่มเฟือย หลังอบรมแล้วทำให้มีเงินเหลือจากที่ญาติส่งมาให้ใช้เดือนละ 300-400 บาท พอมีเงินเก็บได้ ก็ทำให้มีความหวัง มีกำลังใจ เมื่อพ้นโทษไป ก็อยากจะทำธุรกิจเล็ก ๆ สักอย่าง” ...เป็นเสียงของผู้ต้องขังหญิงรายหนึ่ง ขณะที่ผู้เคยเข้าอบรมอีก รายบอกว่า... “ได้รับความรู้หลายเรื่องจากการอบรม โดยเฉพาะการออม การรู้จักทำบัญชีออม ทำรายรับ-รายจ่าย อยู่ที่นี่มีรายรับจากเงินที่ญาติส่งมาให้ทุกเดือน และรายได้จากการเย็บผ้า ตอนนี้มีบัญชีฝากกับธนาคาร มีเงินเก็บ ต่างจากสมัยก่อนที่ไม่เคยออมเงิน ใช้เงินแบบไม่ค่อยคิดเหมือนเงินหามาง่าย เมื่อมีเงินออมแล้ว พอพ้นโทษไปก็จะได้มีเงินไปลงทุนทำอาชีพส่วนตัวต่อไปในอนาคต ซึ่งตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไร แต่คิดว่าจะต้องทำแน่ ๆ” ทั้งนี้ นอกเหนือจากที่ว่ามาแล้ว กับเสียงของ ฑิฆัมพร วิเชียรเชื้อ ผู้อำนวยการทัณฑสถานบําบัดพิเศษหญิง ก็เป็นเสียงที่สังคมควรรับรู้-รับฟัง นั่นคือ... ผู้ต้องขังในทัณฑสถานนี้จะได้รับการฝึก มีการอบรมต่าง ๆ ทั้งให้เรียนหนังสือ อบรมคุณธรรมจริยธรรม มารยาท รวมถึงการฝึกอาชีพ แต่แม้จะมีความรู้ ความสามารถ ทักษะอาชีพ ก็ยังไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากสังคม ผู้ประกอบการยังไม่ค่อยจะยอมจ้างงานผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ทำให้ส่วนหนึ่งขาดโอกาสที่จะมีอาชีพสุจริต ทำให้ต้องเข้าสู่วงจรเดิม ๆ กระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ’อยากวิงวอนขอโอกาสอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษออกไปด้วย ซึ่งท่านก็จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือสังคม“ ’โอกาส“ นี่ดูจะเป็นหนึ่งในกุญแจดอกสำคัญ เป็นกุญแจช่วยล็อกประตู ’กันการเดินผิดซ้ำ“ ที่สังคมนอกทัณฑสถานน่าจะ ’มีให้“ เยอะ ๆ. ขอบคุณ...http://www.dailynews.co.th/article/223/223393 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...