'ถักสานตะกร้า'อาชีพเสริมสร้างรายได้

แสดงความคิดเห็น

หนองกระทุ่มหนุนถักสานตะกร้า พัฒนาเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ : มัจฉา ท่าจีน ... รายงาน

หลังจากเทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ได้มอบให้หน่วยงานพัฒนาชุมชน จัดทำโครงการพัฒนาสตรีโดยการฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง กลุ่มพัฒนาสตรี บ้านหนองนา หมู่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์โครงการเพื่อส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มแม่บ้าน ทำให้เกิดรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัวและยังใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ เกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้านและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์การ ถักสานด้วยมือ ซึ่งโครงการนี้ทำให้กลุ่มแม่บ้าน นักเรียนและเยาวชน ผู้เข้าร่วมมีรายได้จากการทำตะกร้าถักสานเชือกมัดฟาง เพื่อนำไปจำหน่ายในท้องตลาด ผู้เข้าร่วมทุกคนเกิดทักษะความชำนาญการทำตะกร้าถักสานเชือกฟางและสามารถถ่าย ทอดให้คนอื่นได้

กลุ่มแม่บ้านหนองกระทุ่ม ถักสานตะกร้า "ธง กาฬภักดี" นายกเทศมนตรีตำบลหนองกระทุ่ม เล่าว่า ปัจจุบันราคาผลผลิตทางด้านการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรซึ่งมีรายได้น้อยแต่ต้องรับภาระรายจ่ายสูงไม่เพียงพอต่อการใช้ จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสาเหตุให้กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านหนองนา หมู่ 6 ตำบลหนองกระทุ่มและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้รวมกลุ่มกันถักสานเชือกฟางขึ้น ซึ่งการถักทอเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้เฒ่าผู้แก่ของ หมู่บ้าน แต่เดิมเริ่มจากการถักทอแหและอวนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจับปลามาปรุง เป็นอาหารดำรงชีวิตประจำวัน

ต่อมามีการพัฒนาถักทอแห อวนและเปลนอน ไปจำหน่ายตามที่พ่อค้ารับซื้อจะสั่งให้ทำ แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน มีต้นทุนในการผลิต ทำให้บางรายเลิกทำไป ซึ่งลงทุนไปซื้อเส้นด้ายขาวนำมาถักแหและอวน ต้องใช้ความอดทน ความมานะพยายามอย่างยิ่ง แต่ยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่เดินทางมารับซื้อโดยการกดราคา แต่ยังอดทนทำงานส่งเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้ครอบครัวในยามที่ข้าวยากหมากแพง และราคาสินค้าด้านการเกษตรตกต่ำ

ตะกร้าถักสาน แม่บ้านได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางและเริ่มทำตะกร้า ที่ถักสานเชือกฟางขึ้น โดยการไปศึกษาเรียนรู้จากหมู่บ้านอื่นๆ แล้วนำมาประยุกต์ลวดลายและสีสันให้ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อนำไปจำหน่ายให้ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับฝีมือในการทำก็ประณีตและละเอียดขึ้น มีลวดลายสวยงาม ซึ่งเกิดจากความคิดและภูมิปัญญาจากการเคยถักแหและอวนอยู่แล้ว จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จากตะกร้าที่ถักสานด้วยเชือกฟางมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และทำให้กลุ่มสตรีมีรายได้เสริม ช่วยลดภาระรายจ่ายในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพในกลุ่ม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง

นายกเทศมนตรีตำบลหนองกระทุ่ม เล่าต่อว่า โครงการพัฒนาสตรีฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง ของกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านหนองนา ได้ประสานการจัดฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากวิทยากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี (กศน.) แล้วนำกลุ่มแม่บ้านเข้าฝึกอบรมการทำตะกร้าถักสานด้วยเชือกฟาง เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญยิ่งขึ้นและเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเป็นที่แพร่หลายต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านเพื่อทำให้เกิดรายได้เสริมช่วยเหลือ ครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ประเพณีการถักสานด้วยมือ โดยเป้าหมายคือ กลุ่มสตรีแม่บ้านและเยาวชนเข้าร่วมกลุ่มเพื่อจัดฝึกอบรมให้แม่บ้านและเยาวชน ที่สนใจได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะการถักสานเชือกฟาง ซึ่งสมาชิกในกลุ่มสามารถนำสินค้าไปจำหน่ายทำให้เกิดรายได้เสริมในครอบครัว ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดการทำให้คนอื่นได้และยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการถักสานตะกร้าด้วยมืออีกด้วย

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130729/164343/ถักสานตะกร้าอาชีพเสริมสร้างรายได้.html#.UfXkjKxHWzs (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 29/07/2556 เวลา 03:46:36 ดูภาพสไลด์โชว์ 'ถักสานตะกร้า'อาชีพเสริมสร้างรายได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หนองกระทุ่มหนุนถักสานตะกร้า พัฒนาเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ : มัจฉา ท่าจีน ... รายงาน หลังจากเทศบาลตำบลหนองกระทุ่ม อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ได้มอบให้หน่วยงานพัฒนาชุมชน จัดทำโครงการพัฒนาสตรีโดยการฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง กลุ่มพัฒนาสตรี บ้านหนองนา หมู่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์โครงการเพื่อส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มแม่บ้าน ทำให้เกิดรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัวและยังใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ เกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้านและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์การ ถักสานด้วยมือ ซึ่งโครงการนี้ทำให้กลุ่มแม่บ้าน นักเรียนและเยาวชน ผู้เข้าร่วมมีรายได้จากการทำตะกร้าถักสานเชือกมัดฟาง เพื่อนำไปจำหน่ายในท้องตลาด ผู้เข้าร่วมทุกคนเกิดทักษะความชำนาญการทำตะกร้าถักสานเชือกฟางและสามารถถ่าย ทอดให้คนอื่นได้ กลุ่มแม่บ้านหนองกระทุ่ม ถักสานตะกร้า "ธง กาฬภักดี" นายกเทศมนตรีตำบลหนองกระทุ่ม เล่าว่า ปัจจุบันราคาผลผลิตทางด้านการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรซึ่งมีรายได้น้อยแต่ต้องรับภาระรายจ่ายสูงไม่เพียงพอต่อการใช้ จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสาเหตุให้กลุ่มสตรีแม่บ้านบ้านหนองนา หมู่ 6 ตำบลหนองกระทุ่มและหมู่บ้านใกล้เคียง ได้รวมกลุ่มกันถักสานเชือกฟางขึ้น ซึ่งการถักทอเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้เฒ่าผู้แก่ของ หมู่บ้าน แต่เดิมเริ่มจากการถักทอแหและอวนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจับปลามาปรุง เป็นอาหารดำรงชีวิตประจำวัน ต่อมามีการพัฒนาถักทอแห อวนและเปลนอน ไปจำหน่ายตามที่พ่อค้ารับซื้อจะสั่งให้ทำ แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน มีต้นทุนในการผลิต ทำให้บางรายเลิกทำไป ซึ่งลงทุนไปซื้อเส้นด้ายขาวนำมาถักแหและอวน ต้องใช้ความอดทน ความมานะพยายามอย่างยิ่ง แต่ยังถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่เดินทางมารับซื้อโดยการกดราคา แต่ยังอดทนทำงานส่งเพื่อเป็นอาชีพเสริมให้ครอบครัวในยามที่ข้าวยากหมากแพง และราคาสินค้าด้านการเกษตรตกต่ำ ตะกร้าถักสาน แม่บ้านได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลางและเริ่มทำตะกร้า ที่ถักสานเชือกฟางขึ้น โดยการไปศึกษาเรียนรู้จากหมู่บ้านอื่นๆ แล้วนำมาประยุกต์ลวดลายและสีสันให้ตรงกับความต้องการของตลาด เพื่อนำไปจำหน่ายให้ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ประกอบกับฝีมือในการทำก็ประณีตและละเอียดขึ้น มีลวดลายสวยงาม ซึ่งเกิดจากความคิดและภูมิปัญญาจากการเคยถักแหและอวนอยู่แล้ว จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จากตะกร้าที่ถักสานด้วยเชือกฟางมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และทำให้กลุ่มสตรีมีรายได้เสริม ช่วยลดภาระรายจ่ายในครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพในกลุ่ม ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และทำให้ห่างไกลจากอบายมุขทั้งปวง นายกเทศมนตรีตำบลหนองกระทุ่ม เล่าต่อว่า โครงการพัฒนาสตรีฝึกอบรมตะกร้าถักสานเชือกฟาง ของกลุ่มพัฒนาสตรีบ้านหนองนา ได้ประสานการจัดฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากวิทยากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี (กศน.) แล้วนำกลุ่มแม่บ้านเข้าฝึกอบรมการทำตะกร้าถักสานด้วยเชือกฟาง เพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญยิ่งขึ้นและเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และเป็นที่แพร่หลายต่อไปด้วย ทั้งนี้ ยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มแม่บ้านเพื่อทำให้เกิดรายได้เสริมช่วยเหลือ ครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเกิดความสามัคคีในกลุ่มแม่บ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ประเพณีการถักสานด้วยมือ โดยเป้าหมายคือ กลุ่มสตรีแม่บ้านและเยาวชนเข้าร่วมกลุ่มเพื่อจัดฝึกอบรมให้แม่บ้านและเยาวชน ที่สนใจได้ฝึกฝนเรียนรู้ทักษะการถักสานเชือกฟาง ซึ่งสมาชิกในกลุ่มสามารถนำสินค้าไปจำหน่ายทำให้เกิดรายได้เสริมในครอบครัว ซึ่งจะสามารถถ่ายทอดการทำให้คนอื่นได้และยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการถักสานตะกร้าด้วยมืออีกด้วย ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20130729/164343/ถักสานตะกร้าอาชีพเสริมสร้างรายได้.html#.UfXkjKxHWzs คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...