ธุรกิจตู้เติมเงินมือถือบูมจัด อัพเกรดรับจ่าย"ค่าน้ำค่าไฟ"

แสดงความคิดเห็น

ประชาชนยืนใช้โทรศัพท์สมาทโฟน

"ตู้เติมเงินมือถือ" บูมจัด โตทะลุหมื่นล้าน 2 ขาใหญ่ "บุญเติม-ซิงเกอร์" สปีดปูพรมทั่วประเทศ ย้ำจุดขายเริ่มต้นธุรกิจง่าย-คืนทุนเร็ว พร้อมปรับระบบเป็นออนไลน์ตามค่ายมือถือ เพิ่มบริการใหม่ ๆ เพียบ ทั้งเติมเงิน "เกมออนไลน์-จ่ายค่าน้ำค่าไฟ-อินเทอร์เน็ต-เคเบิลทีวี"

นายสมชัย สูงสว่าง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด ผู้ให้บริการตู้เติมเงิน "บุญเติม" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่การแข่งขันก็สูงขึ้นด้วย มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ ๆ เข้าสู่ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ผู้ผลิตตู้ และผู้ที่ซื้อตู้ไปตั้งเพื่อหารายได้ สาเหตุที่ได้รับความนิยม เพราะเริ่มต้นง่าย และคืนทุนเร็ว ยิ่งถ้าตั้งตู้บริเวณที่มีคนเดินผ่านมาก จะมีโอกาสคืนทุนภายในไม่เกินครึ่งปี คาดว่าในตลาดขณะนี้มีตู้เติมเงินมากกว่า 6 หมื่นตู้

ผู้ให้บริการราย หลักในตลาดปัจจุบันมี 4 ราย ได้แก่ บุญเติม, ซิงเกอร์, เอดีทีและกระปุกท็อปอัพ เกือบทุกรายเน้นให้บริการตู้เติมเงินระบบแอนะล็อก ซึ่งให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือได้เพียงอย่างเดียว แต่ตู้บุญเติมของบริษัทเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด มีอยู่กว่า 2.4 หมื่นตู้ทั่วประเทศ เป็นของบริษัทเองประมาณ 9,000 ตู้ ที่เหลือเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งในครึ่งปีหลัง บริษัทจะเร่งขยายตลาดในต่างจังหวัดผ่านระบบแฟรนไชส์ คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีไม่น้อยกว่า 30,000 ตู้

"ผู้ให้บริการตู้เติม เงินรายเล็ก ๆ ต่อไปคงอยู่ยาก เพราะระบบภายในแข่งกับรายใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งในปลายปีนี้เอไอเอสจะเปลี่ยนระบบ โดยให้ตู้เติมเงินพัฒนาระบบเป็นออนไลน์ทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบการเติมเงิน ซึ่งค่ายอื่น ๆ คงทำแบบเดียวกัน ทำให้ผู้ให้บริการต้องลงทุนระบบเพิ่มเติมมีการตั้งเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อระบบกับทุกตู้เติมเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กคงทำไม่ได้"

นาย สมชัยกล่าวว่า การขยายตู้เติมเงินด้วยระบบแฟรนไชส์ทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น มีค่าแรกเข้า 5,000 บาท ค่าบำรุงปีละ 400 กว่าบาท และส่วนแบ่งรายได้ 3.5% ต่อเดือน มีรายได้เฉลี่ย/เดือน/ตู้ ประมาณ 24,000 บาท

"ในต่างจังหวัด คาดว่าภาคอีสานน่าจะเติบโตมากที่สุด นอกจากเติมเงินมือถือแล้ว ตู้บุญเติมยังมีบริการอื่น ๆ เช่น เติมเงินเกมออนไลน์กว่า 20 เกม, เกมในเฟซบุ๊ก, บริการดูดวง, ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ต, ค่าบริการมือถือ รวมถึงค่าบริการเคเบิลทีวีของซีทีเอช เป็นต้น แต่ 95% ของรายได้ยังมาจากการเติมเงินมือถือ คาดว่าปีนี้ยอดทรานเซ็กชั่นรวมจะโตกว่า 70% มีเงินหมุนเวียน 8 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.6 พันล้านบาท ซึ่งรายได้ของบริษัทจะมีสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดทรานเซ็กชั่น

นายสม ชัยกล่าวต่อว่า ความนิยมในการใช้งานตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือในตลาดต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น มากจนทำให้มีปัญหาในการแลกเหรียญ ขนาดแฟรนไชส์บางรายในภาคอีสานไม่สามารถนำเหรียญที่ค้างในตู้ไปแลกได้ เพราะกรมธนารักษ์จำกัดโควตาการแลกเหรียญในแต่ละพื้นที่ไว้ที่ 100 ล้านบาท/เดือน ซึ่งการเติมเงินไม่ใช่เฉพาะกับมือถือเท่านั้น ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการแลกเหรียญ เช่น ตู้เติมน้ำ และตู้เกม เป็นต้น อีกทั้งเจ้าของตู้นำเหรียญไปแลกธนาคารจะโดนหักค่าธรรมเนียม 2% เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า บริษัทจึงมีหน้าร้านคอยรับแลกเหรียญกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ

ด้านนายสยาม อุฬารวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ ลีสซิ่ง จำกัด เจ้าของตู้เติมเงิน "ซิงเกอร์" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทเข้ามาทำตลาดตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันขายตู้เติมเงินออกไปกว่า 3 หมื่นตู้ เป็นแบบแอนะล็อกทั้งหมด แต่ในครึ่งปีหลังจะหันมาเร่งทำตลาดตู้ระบบออนไลน์แทน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงตามค่ายมือถือที่จะบังคับให้ตู้เติมเงินเป็นระบบออนไลน์ ทั้งหมด

"เราเน้นขายตู้ โดยขายขาด ตู้แอนะล็อกอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ผู้ซื้อต้องดูและจัดการเติมเงินเข้าตู้เพื่อให้บริการลูกค้าเอง ทำให้ไม่ต้องแบ่งส่วนต่างกำไรมาให้บริษัท ส่วนตู้รุ่นใหม่จะราคา 5-6 หมื่นบาท

มีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น เกม, การชำระค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับพาร์ตเนอร์"

นาย สยามกล่าวว่า บริษัททำธุรกิจตู้เติมเงินมากว่า 4 ปีแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด โดยปีที่ผ่านมาทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 16% จากรายได้รวม 2,900 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทขายตู้แบบออฟไลน์ไปแล้วกว่า 3 หมื่นตู้ ซึ่งในครึ่งปีหลังจะขยับมาทำตู้เติมเงินออนไลน์

"คนอยาก เริ่มต้นธุรกิจจะเริ่มมองตู้เติมเงินเป็นอันดับแรก ๆ เพราะขั้นตอนง่ายมาก มีที่อยู่แล้ว ก็ซื้อตู้มาตั้งได้เลย ถ้าต้องการทำเลดี ๆ ต้องเสียค่าเช่า แต่ไม่มาก"

ความแตกต่างของตู้เติมเงินแอนะล็อกแบบออฟไลน์ และออนไลน์ คือแบบแรกเติมเงินได้เฉพาะมือถือ แต่แบบออนไลน์เพิ่มฟังก์ชั่นให้เติมเงินเกม, อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น ทรูมันนี่ รวมถึงชำระค่าโทรศัพท์ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374554955 (ขนาดไฟล์: 143)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 24/07/2556 เวลา 04:50:56 ดูภาพสไลด์โชว์ ธุรกิจตู้เติมเงินมือถือบูมจัด อัพเกรดรับจ่าย"ค่าน้ำค่าไฟ"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ประชาชนยืนใช้โทรศัพท์สมาทโฟน "ตู้เติมเงินมือถือ" บูมจัด โตทะลุหมื่นล้าน 2 ขาใหญ่ "บุญเติม-ซิงเกอร์" สปีดปูพรมทั่วประเทศ ย้ำจุดขายเริ่มต้นธุรกิจง่าย-คืนทุนเร็ว พร้อมปรับระบบเป็นออนไลน์ตามค่ายมือถือ เพิ่มบริการใหม่ ๆ เพียบ ทั้งเติมเงิน "เกมออนไลน์-จ่ายค่าน้ำค่าไฟ-อินเทอร์เน็ต-เคเบิลทีวี" นายสมชัย สูงสว่าง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด ผู้ให้บริการตู้เติมเงิน "บุญเติม" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่การแข่งขันก็สูงขึ้นด้วย มีผู้ประกอบการหน้าใหม่ ๆ เข้าสู่ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ผู้ผลิตตู้ และผู้ที่ซื้อตู้ไปตั้งเพื่อหารายได้ สาเหตุที่ได้รับความนิยม เพราะเริ่มต้นง่าย และคืนทุนเร็ว ยิ่งถ้าตั้งตู้บริเวณที่มีคนเดินผ่านมาก จะมีโอกาสคืนทุนภายในไม่เกินครึ่งปี คาดว่าในตลาดขณะนี้มีตู้เติมเงินมากกว่า 6 หมื่นตู้ ผู้ให้บริการราย หลักในตลาดปัจจุบันมี 4 ราย ได้แก่ บุญเติม, ซิงเกอร์, เอดีทีและกระปุกท็อปอัพ เกือบทุกรายเน้นให้บริการตู้เติมเงินระบบแอนะล็อก ซึ่งให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือได้เพียงอย่างเดียว แต่ตู้บุญเติมของบริษัทเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด มีอยู่กว่า 2.4 หมื่นตู้ทั่วประเทศ เป็นของบริษัทเองประมาณ 9,000 ตู้ ที่เหลือเป็นแฟรนไชส์ ซึ่งในครึ่งปีหลัง บริษัทจะเร่งขยายตลาดในต่างจังหวัดผ่านระบบแฟรนไชส์ คาดว่าถึงสิ้นปีจะมีไม่น้อยกว่า 30,000 ตู้ "ผู้ให้บริการตู้เติม เงินรายเล็ก ๆ ต่อไปคงอยู่ยาก เพราะระบบภายในแข่งกับรายใหญ่ไม่ได้ อีกทั้งในปลายปีนี้เอไอเอสจะเปลี่ยนระบบ โดยให้ตู้เติมเงินพัฒนาระบบเป็นออนไลน์ทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบการเติมเงิน ซึ่งค่ายอื่น ๆ คงทำแบบเดียวกัน ทำให้ผู้ให้บริการต้องลงทุนระบบเพิ่มเติมมีการตั้งเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อระบบกับทุกตู้เติมเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายเล็กคงทำไม่ได้" นาย สมชัยกล่าวว่า การขยายตู้เติมเงินด้วยระบบแฟรนไชส์ทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่น มีค่าแรกเข้า 5,000 บาท ค่าบำรุงปีละ 400 กว่าบาท และส่วนแบ่งรายได้ 3.5% ต่อเดือน มีรายได้เฉลี่ย/เดือน/ตู้ ประมาณ 24,000 บาท "ในต่างจังหวัด คาดว่าภาคอีสานน่าจะเติบโตมากที่สุด นอกจากเติมเงินมือถือแล้ว ตู้บุญเติมยังมีบริการอื่น ๆ เช่น เติมเงินเกมออนไลน์กว่า 20 เกม, เกมในเฟซบุ๊ก, บริการดูดวง, ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ต, ค่าบริการมือถือ รวมถึงค่าบริการเคเบิลทีวีของซีทีเอช เป็นต้น แต่ 95% ของรายได้ยังมาจากการเติมเงินมือถือ คาดว่าปีนี้ยอดทรานเซ็กชั่นรวมจะโตกว่า 70% มีเงินหมุนเวียน 8 พันล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4.6 พันล้านบาท ซึ่งรายได้ของบริษัทจะมีสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดทรานเซ็กชั่น นายสม ชัยกล่าวต่อว่า ความนิยมในการใช้งานตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือในตลาดต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น มากจนทำให้มีปัญหาในการแลกเหรียญ ขนาดแฟรนไชส์บางรายในภาคอีสานไม่สามารถนำเหรียญที่ค้างในตู้ไปแลกได้ เพราะกรมธนารักษ์จำกัดโควตาการแลกเหรียญในแต่ละพื้นที่ไว้ที่ 100 ล้านบาท/เดือน ซึ่งการเติมเงินไม่ใช่เฉพาะกับมือถือเท่านั้น ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการแลกเหรียญ เช่น ตู้เติมน้ำ และตู้เกม เป็นต้น อีกทั้งเจ้าของตู้นำเหรียญไปแลกธนาคารจะโดนหักค่าธรรมเนียม 2% เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า บริษัทจึงมีหน้าร้านคอยรับแลกเหรียญกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ ด้านนายสยาม อุฬารวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ ลีสซิ่ง จำกัด เจ้าของตู้เติมเงิน "ซิงเกอร์" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทเข้ามาทำตลาดตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันขายตู้เติมเงินออกไปกว่า 3 หมื่นตู้ เป็นแบบแอนะล็อกทั้งหมด แต่ในครึ่งปีหลังจะหันมาเร่งทำตลาดตู้ระบบออนไลน์แทน เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงตามค่ายมือถือที่จะบังคับให้ตู้เติมเงินเป็นระบบออนไลน์ ทั้งหมด "เราเน้นขายตู้ โดยขายขาด ตู้แอนะล็อกอยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท ผู้ซื้อต้องดูและจัดการเติมเงินเข้าตู้เพื่อให้บริการลูกค้าเอง ทำให้ไม่ต้องแบ่งส่วนต่างกำไรมาให้บริษัท ส่วนตู้รุ่นใหม่จะราคา 5-6 หมื่นบาท มีบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น เกม, การชำระค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับพาร์ตเนอร์" นาย สยามกล่าวว่า บริษัททำธุรกิจตู้เติมเงินมากว่า 4 ปีแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ต่างจังหวัด โดยปีที่ผ่านมาทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 16% จากรายได้รวม 2,900 ล้านบาท ที่ผ่านมาบริษัทขายตู้แบบออฟไลน์ไปแล้วกว่า 3 หมื่นตู้ ซึ่งในครึ่งปีหลังจะขยับมาทำตู้เติมเงินออนไลน์ "คนอยาก เริ่มต้นธุรกิจจะเริ่มมองตู้เติมเงินเป็นอันดับแรก ๆ เพราะขั้นตอนง่ายมาก มีที่อยู่แล้ว ก็ซื้อตู้มาตั้งได้เลย ถ้าต้องการทำเลดี ๆ ต้องเสียค่าเช่า แต่ไม่มาก" ความแตกต่างของตู้เติมเงินแอนะล็อกแบบออฟไลน์ และออนไลน์ คือแบบแรกเติมเงินได้เฉพาะมือถือ แต่แบบออนไลน์เพิ่มฟังก์ชั่นให้เติมเงินเกม, อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เช่น ทรูมันนี่ รวมถึงชำระค่าโทรศัพท์ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้ ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374554955 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...