ชาวนาหัวใสเลี้ยง"แมงสะดิ้ง"รายได้งาม

แสดงความคิดเห็น

ชาวนา เลี้ยงแมงสะดิ้ง

ชาวนาหัวใสเลี้ยง"แมงสะดิ้ง"ส่งขายเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เดือนละกว่า 1 หมื่นบาท เผยอาชีพกระดูกสันหลังของชาติรายได้ไม่พอกิน

วันนี้ (3 ก.ค. ) ที่ จ.นครสวรรค์ มีรายงานว่า ชาวนารายหนึ่ง ในพื้นที่ ต.ห้วยน้ำหอม อ.ลาดยาว ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ด้วยการขายแมงสะดิ้ง หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ จิ้งหรีดขาว จนมีรายได้จุลเจือครอบครัวเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งในแต่ละรอบของการขาย จะมีรายได้จากการขายแมลงดังกล่าว ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทเลยทีเดียว

จากการเดินทางไปตรวจสอบ พบว่า ชาวนาที่ขายแมงสะดิ้ง คือ นายดำ กุมภาพันธ์ อายุ 64 ปี ทำโรงเรือนเพาะพันธุ์แมงสะดิ้งอยู่ภายในบริเวณบ้านของตัวเอง เลขที่ 58 หมู่ 3 ต.ห้วยน้ำหอม โดยมีลังไม้ ขนาด 3X1 เมตร จำนวน 8 ลัง เป็นเพาะพันธุ์แมลงดังกล่าว ซึ่งแต่ละลังได้ จะพบตาข่ายโปร่งมาคุมทับไว้อย่างดี เพื่อป้องกันจิ้งจก ตุ๊กแก เข้ามาลักขโมยกิน และกันไม่ให้แมลงสะดิ้งไต่ออกมานอกลัง นอกจากนี้ ภายในลัง ยังมีขันน้ำบรรจุแกลบไว้สำหรับวางไข่ และมีแผงไข่อีกหลายสิบอันวางไว้เป็นแหล่งอาศัยของแมลงด้วย ซึ่งนายดำ ให้ข้อมูลว่า สิ่งที่เค้าเลี้ยงนี้ นอกจากจะเป็นแมงเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นแมงที่มีคุณค่าทางอาหารด้านโปรตีนสูงมาก

นายดำ เปิดเผยว่า เมื่อก่อนประกอบอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว มีรายได้พออยู่พอกินมานานหลายปี กระทั่ง ลูกเขยได้จุดประกายแนะนำให้เลี้ยงแมงสะดิ้ง เนื่องจากทราบข่าวว่า เกษตรกรในหลายพื้นที่ภาคอีสานต่างมีรายได้อย่างงามจากการเลี้ยงแมลงนี้ จึงได้เริ่มศึกษา และไปซื้อพันธุ์มาทดลองเลี้ยงในลังไม้ เริ่มต้นจาก 3 ลัง จนปัจจุบัน มีแมงสะดิ้งเลี้ยงไว้ ทั้งหมด 8 ลังแล้ว และสามารถสร้างรายได้จากการขายต่อ 1 รอบการเก็บ ในระยะเวลา 2 เดือน ประมาณ 15,000 บาท ซึ่งในส่วนของการขายนั้น จะนำแมลงมาทอดก่อนแยกบรรจุใส่ถุงพลาสติก และนำออกไปตระเวนขายเองตามท้องตลาด วันละ 30 ถุง ขายในราคาถุงละ 20 บาท

นายดำ เผยต่ออย่างเมามันว่า การเลี้ยงแมงสะดิ้ง ไม่ต้องดูแลอะไรมาก แต่ต้องตั้งจัดสถานที่เลี้ยงให้ดี สามารถป้องกันแสงแดดและฝนได้ ส่วนอาหารจะให้รำ หัวอาหารสัตว์ รวมถึงอาหารเสริมอย่างพืชผักและผลไม้ เป็นหลัก ขณะที่การเลี้ยง จะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มฟักไข่ไปจนถึง 2 เดือน แมงจึงจะโตเต็มวัย และเริ่มจับแมงนำไปทอดขายได้ ซึ่งช่วงดังกล่าว จะสามารถจับได้ประมาณ 60 วัน เพราะหลังจากนั้น แมงสะดิ้งจะตายหมด เนื่องจากเต็มอายุขัยของมัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากหมดรอบการจับไปแล้ว จะนำของแมลงสะดิ้ง ที่ไข่ทิ้งไว้ในขัน มาทำการเพาะเลี้ยงต่อไป ซึ่งแต่ละปีสามารถเลี้ยงได้ 4-5 รุ่น และแต่ละรุ่น จะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างงดงามเลยทีเดียว ถือว่าดีกว่าอาชีพทำนาด้วยซ้ำ เพราะนอกจากจะสามารถนำทำเป็นอาหารขายหลากหลายเมนูได้แล้ว ยังสามารถนำมูลของมันไปทำปุ๋ยขายได้อีกด้วย ดังนั้น หากเกษตรกรในพื้นรายไหน ต้องการจะหันเลี้ยงแมลงสะดิ้งเพื่อเสริมรายได้หรือให้เป็นอาชีพหลัก สามารถปรึกษาได้ ตนยินดีให้คำแน่ะนำโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รับรองว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นายดำ กล่าวอย่างยิ้มแย้ม

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/thailand/216390

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ค.56

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 5/11/2556 เวลา 06:31:29 ดูภาพสไลด์โชว์ ชาวนาหัวใสเลี้ยง"แมงสะดิ้ง"รายได้งาม

1 นายสรวงค์ แสงหนู 44 วังอ้อ นิคม? จ กำแพงเพชร 5/11/2556 06:31:29

ผมใด้อ่านข้อมูลการเลี้ยงแมงสดิ้งแล้วสนใจมากอยากจะเลี้ยงบ้าง จะซื้อไข่แมงสดิ้ใด้ที่ไหนอย่างไร ขายยังไงต้องมาซื้อเอง หรือส่งให้อื่นใด้ ช่วยบอกผมหน่อยครับ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ชาวนา เลี้ยงแมงสะดิ้ง ชาวนาหัวใสเลี้ยง"แมงสะดิ้ง"ส่งขายเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เดือนละกว่า 1 หมื่นบาท เผยอาชีพกระดูกสันหลังของชาติรายได้ไม่พอกิน วันนี้ (3 ก.ค. ) ที่ จ.นครสวรรค์ มีรายงานว่า ชาวนารายหนึ่ง ในพื้นที่ ต.ห้วยน้ำหอม อ.ลาดยาว ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ด้วยการขายแมงสะดิ้ง หรือที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางคือ จิ้งหรีดขาว จนมีรายได้จุลเจือครอบครัวเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งในแต่ละรอบของการขาย จะมีรายได้จากการขายแมลงดังกล่าว ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาทเลยทีเดียว จากการเดินทางไปตรวจสอบ พบว่า ชาวนาที่ขายแมงสะดิ้ง คือ นายดำ กุมภาพันธ์ อายุ 64 ปี ทำโรงเรือนเพาะพันธุ์แมงสะดิ้งอยู่ภายในบริเวณบ้านของตัวเอง เลขที่ 58 หมู่ 3 ต.ห้วยน้ำหอม โดยมีลังไม้ ขนาด 3X1 เมตร จำนวน 8 ลัง เป็นเพาะพันธุ์แมลงดังกล่าว ซึ่งแต่ละลังได้ จะพบตาข่ายโปร่งมาคุมทับไว้อย่างดี เพื่อป้องกันจิ้งจก ตุ๊กแก เข้ามาลักขโมยกิน และกันไม่ให้แมลงสะดิ้งไต่ออกมานอกลัง นอกจากนี้ ภายในลัง ยังมีขันน้ำบรรจุแกลบไว้สำหรับวางไข่ และมีแผงไข่อีกหลายสิบอันวางไว้เป็นแหล่งอาศัยของแมลงด้วย ซึ่งนายดำ ให้ข้อมูลว่า สิ่งที่เค้าเลี้ยงนี้ นอกจากจะเป็นแมงเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นแมงที่มีคุณค่าทางอาหารด้านโปรตีนสูงมาก นายดำ เปิดเผยว่า เมื่อก่อนประกอบอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว มีรายได้พออยู่พอกินมานานหลายปี กระทั่ง ลูกเขยได้จุดประกายแนะนำให้เลี้ยงแมงสะดิ้ง เนื่องจากทราบข่าวว่า เกษตรกรในหลายพื้นที่ภาคอีสานต่างมีรายได้อย่างงามจากการเลี้ยงแมลงนี้ จึงได้เริ่มศึกษา และไปซื้อพันธุ์มาทดลองเลี้ยงในลังไม้ เริ่มต้นจาก 3 ลัง จนปัจจุบัน มีแมงสะดิ้งเลี้ยงไว้ ทั้งหมด 8 ลังแล้ว และสามารถสร้างรายได้จากการขายต่อ 1 รอบการเก็บ ในระยะเวลา 2 เดือน ประมาณ 15,000 บาท ซึ่งในส่วนของการขายนั้น จะนำแมลงมาทอดก่อนแยกบรรจุใส่ถุงพลาสติก และนำออกไปตระเวนขายเองตามท้องตลาด วันละ 30 ถุง ขายในราคาถุงละ 20 บาท นายดำ เผยต่ออย่างเมามันว่า การเลี้ยงแมงสะดิ้ง ไม่ต้องดูแลอะไรมาก แต่ต้องตั้งจัดสถานที่เลี้ยงให้ดี สามารถป้องกันแสงแดดและฝนได้ ส่วนอาหารจะให้รำ หัวอาหารสัตว์ รวมถึงอาหารเสริมอย่างพืชผักและผลไม้ เป็นหลัก ขณะที่การเลี้ยง จะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มฟักไข่ไปจนถึง 2 เดือน แมงจึงจะโตเต็มวัย และเริ่มจับแมงนำไปทอดขายได้ ซึ่งช่วงดังกล่าว จะสามารถจับได้ประมาณ 60 วัน เพราะหลังจากนั้น แมงสะดิ้งจะตายหมด เนื่องจากเต็มอายุขัยของมัน อย่างไรก็ตาม หลังจากหมดรอบการจับไปแล้ว จะนำของแมลงสะดิ้ง ที่ไข่ทิ้งไว้ในขัน มาทำการเพาะเลี้ยงต่อไป ซึ่งแต่ละปีสามารถเลี้ยงได้ 4-5 รุ่น และแต่ละรุ่น จะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างงดงามเลยทีเดียว ถือว่าดีกว่าอาชีพทำนาด้วยซ้ำ เพราะนอกจากจะสามารถนำทำเป็นอาหารขายหลากหลายเมนูได้แล้ว ยังสามารถนำมูลของมันไปทำปุ๋ยขายได้อีกด้วย ดังนั้น หากเกษตรกรในพื้นรายไหน ต้องการจะหันเลี้ยงแมลงสะดิ้งเพื่อเสริมรายได้หรือให้เป็นอาชีพหลัก สามารถปรึกษาได้ ตนยินดีให้คำแน่ะนำโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รับรองว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นายดำ กล่าวอย่างยิ้มแย้ม ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/thailand/216390 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...