ปฏิรูป'สลาก'เพื่อสังคมไทย

แสดงความคิดเห็น

เป็นที่ทราบกันดีว่า "สลาก" หรือ "ลอตเตอรี่" อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน มีรายได้หมุนเวียนมหาศาลและมีแนวโน้มของรายได้ที่สูงขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 จะกำหนดให้นำเงินรายได้ไม่น้อยกว่า 27% เป็นรายได้ของแผ่นดิน

แต่ข้อน่าห่วงคือ เนื้อหาจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวถือว่ายังล้าสมัย ไม่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุงเกือบ 40 ปี เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมา อาทิ ปัญหาสลากเกินราคา ไม่จัดจำหน่ายผ่านผู้ซื้อโดยตรง แต่จัดสรรผ่านองค์กร พ่อค้าคนกลาง จึงเกิดการผูกขาด

แน่นอนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลีกหนีไม่พ้นการบริหารจัดการที่ไม่สอดคล้องกับหลักธร รมาภิบาล ความไม่โปร่งใส อีกทั้งสัดส่วนของเงินที่ถูกจัดสรรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ สังคมมีจำนวนน้อยมาก ทั้งที่สลากไม่ได้มีข้อเสียน้อยไปกว่าการเล่นพนันเลย จึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะทำให้รายได้ของผู้เล่นลดลงแล้ว ยังทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงไปด้วย

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอายุที่ซื้อสลากมากที่สุด คือ 49.5% อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ ค้าขาย เกษตร ผู้ใช้แรงงาน รับจ้าง สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงอายุผู้ซื้อสลากเป็นช่วงวัยก่อร่างสร้างตัว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหาร กำลังระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อมาปรับปรุงรายงานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารจัดการสลากในประ เทศไทย ที่จะนำเสนอรัฐบาลต่อไป

นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริ หาร กล่าวระหว่างสัมมนา "นับหนึ่ง...ปฏิรูปสลากเพื่อสังคมไทย" ว่า ขั้นตอนการจัดทำร่างการพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการ บริหารจัดการสลากในประเทศไทย โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน พ.ค. เนื่องจากเห็นว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ระบบบริหารจัดการ โดยเปลี่ยนแปลงแนวคิด วัตถุประสงค์ โครงสร้างการบริหาร และที่สำคัญเปลี่ยนแปลงวิธีจัดสรรสลาก รวมถึงวิธีการออกสลาก รูปแบบ ไปจนถึงการนำเอาเงินรายได้จากสลากมาจัดสรรเพื่อประโยชน์

นายมณเฑียร กล่าวว่า เมื่อศึกษาแนวทางแล้วอนุกรรมาธิการชุดที่ 3 จะนำเอาผลการศึกษามาจัดทำเป็นรายงาน และหลังจากนี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อร่วมกันต่อยอดให้มี ความสมบูรณ์ แล้วก็จะส่งต่อให้คณะกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาเห็นชอบจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อวุฒิสภาเมื่อวุฒิสภา ให้ความเห็นชอบ จะนำเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้เราเชื่อว่า เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่วุฒิสภาเท่านั้นที่เป็นเจ้าของ แต่เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจกันของหลายฝ่าย

ด้าน รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า จากรายงานการศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการพนันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลถึง 19.2 ล้านคน

"ดังนั้นหลักการปฏิรูปสลาก คือต้องให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคมอย่างชัดเจน มีการคุ้มครองผู้บริโภคตามหลักธรรมาภิบาล ต้องเปลี่ยนชื่อจาก "สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล" เป็น "สำนักงานสลาก" แยกอำนาจระหว่างการบริหารองค์การสลากกับอำนาจการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการคนละชุด ให้มีหน้าที่แตกต่างกัน"

รศ.นวลน้อย ระบุว่า สิ่งสำคัญคือต้องปฏิรูประบบจัดสรรโควตาให้กับ 3 กลุ่ม คือ 1.องค์กรการกุศลที่ไม่หวังผลกำไรไปยังผู้บริโภคโดยตรง 2.กลุ่มผู้ค้ารายย่อย ควรจัดสรรให้ผู้พิการก่อน ให้เพียงพอต่อการยังชีพ และ 3.บริษัทเอกชนที่มุ่งหวังกำไร แต่ต้องจำกัดจำนวนโควตา ส่วนกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อย ที่มีความเสี่ยงขายไม่หมดควรตั้งกองทุนช่วยเหลือ คือ รับซื้อสลากคืนจากผู้ค้าสลากไม่เกิน 12% จากจำนวนสลากที่ผู้ค้ารายย่อยได้รับก่อนออกรางวัล 1-2 วัน

ด้าน พ.ญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ กล่าวว่า ต้องมีคณะกรรมการกองทุนสลากเพื่อสังคม แบ่งการจัดสรรรายได้ใหม่ แต่คง 60% เป็นเงินรางวัลไว้เหมือนเดิมจัดสรรใหม่คือ 10% นำส่งรัฐในรูปแบบภาษี 15% เพิ่มเติมให้การบริหารจัดการที่รวมถึงการลดความเสี่ยง จัดสวัสดิการให้ผู้ค้ารายย่อยจากเดิมที่จัดสรรเพียง 12% และอีก 15% จัดสรรเข้ากองทุนสลากเพื่อสังคมที่จะตั้งขึ้นใหม่หรือคิดเป็น 7,200 ล้านบาท

"โดยกองทุนสลากเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนกองทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนด้านการศึกษา สนับสนุนกองทุนส่งเสริมการพัฒนาภาคประชาสังคม ลดผลกระทบจากการพนัน ศึกษาวิจัยเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชน ลด ละ เลิก การเล่นพนัน"

ขณะที่ นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน แสดงความคิดเห็นว่า การปฏิรูปสลาก รวมถึงการบริหารจัดการ สิ่งที่เป็นหัวใจ คือ การบริหารจัดการที่ตรงไปตรงมา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือเกิดการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน นำไปสู่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลของสลากได้อย่างเต็ม เม็ดเต็มหน่วย นำไปใช้พัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้คำนึงและยึดหลักปรัชญาของการมีสลากเพื่อควบคุมการพนัน ไม่ก่อให้เกิดโทษแก่สังคมด้วย

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/bmnd/1696516

บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 22/07/2556 เวลา 03:52:44

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เป็นที่ทราบกันดีว่า "สลาก" หรือ "ลอตเตอรี่" อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน มีรายได้หมุนเวียนมหาศาลและมีแนวโน้มของรายได้ที่สูงขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 จะกำหนดให้นำเงินรายได้ไม่น้อยกว่า 27% เป็นรายได้ของแผ่นดิน แต่ข้อน่าห่วงคือ เนื้อหาจาก พ.ร.บ.ดังกล่าวถือว่ายังล้าสมัย ไม่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุงเกือบ 40 ปี เป็นเหตุให้เกิดปัญหาตามมา อาทิ ปัญหาสลากเกินราคา ไม่จัดจำหน่ายผ่านผู้ซื้อโดยตรง แต่จัดสรรผ่านองค์กร พ่อค้าคนกลาง จึงเกิดการผูกขาด แน่นอนว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นหลีกหนีไม่พ้นการบริหารจัดการที่ไม่สอดคล้องกับหลักธร รมาภิบาล ความไม่โปร่งใส อีกทั้งสัดส่วนของเงินที่ถูกจัดสรรเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับ สังคมมีจำนวนน้อยมาก ทั้งที่สลากไม่ได้มีข้อเสียน้อยไปกว่าการเล่นพนันเลย จึงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลควรส่งเสริม เพราะนอกจากจะทำให้รายได้ของผู้เล่นลดลงแล้ว ยังทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงไปด้วย ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอายุที่ซื้อสลากมากที่สุด คือ 49.5% อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ ค้าขาย เกษตร ผู้ใช้แรงงาน รับจ้าง สะท้อนให้เห็นว่า ช่วงอายุผู้ซื้อสลากเป็นช่วงวัยก่อร่างสร้างตัว อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหาร กำลังระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อมาปรับปรุงรายงานเกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารจัดการสลากในประ เทศไทย ที่จะนำเสนอรัฐบาลต่อไป นายมณเฑียร บุญตัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางปฏิรูประบบการบริ หาร กล่าวระหว่างสัมมนา "นับหนึ่ง...ปฏิรูปสลากเพื่อสังคมไทย" ว่า ขั้นตอนการจัดทำร่างการพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการ บริหารจัดการสลากในประเทศไทย โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน พ.ค. เนื่องจากเห็นว่า การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ระบบบริหารจัดการ โดยเปลี่ยนแปลงแนวคิด วัตถุประสงค์ โครงสร้างการบริหาร และที่สำคัญเปลี่ยนแปลงวิธีจัดสรรสลาก รวมถึงวิธีการออกสลาก รูปแบบ ไปจนถึงการนำเอาเงินรายได้จากสลากมาจัดสรรเพื่อประโยชน์ นายมณเฑียร กล่าวว่า เมื่อศึกษาแนวทางแล้วอนุกรรมาธิการชุดที่ 3 จะนำเอาผลการศึกษามาจัดทำเป็นรายงาน และหลังจากนี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อร่วมกันต่อยอดให้มี ความสมบูรณ์ แล้วก็จะส่งต่อให้คณะกรรมาธิการฯ เพื่อพิจารณาเห็นชอบจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ เสนอต่อวุฒิสภาเมื่อวุฒิสภา ให้ความเห็นชอบ จะนำเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้เราเชื่อว่า เอกสารฉบับนี้ไม่ใช่วุฒิสภาเท่านั้นที่เป็นเจ้าของ แต่เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจกันของหลายฝ่าย ด้าน รศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า จากรายงานการศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบจากการพนันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลถึง 19.2 ล้านคน "ดังนั้นหลักการปฏิรูปสลาก คือต้องให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคมอย่างชัดเจน มีการคุ้มครองผู้บริโภคตามหลักธรรมาภิบาล ต้องเปลี่ยนชื่อจาก "สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล" เป็น "สำนักงานสลาก" แยกอำนาจระหว่างการบริหารองค์การสลากกับอำนาจการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการคนละชุด ให้มีหน้าที่แตกต่างกัน" รศ.นวลน้อย ระบุว่า สิ่งสำคัญคือต้องปฏิรูประบบจัดสรรโควตาให้กับ 3 กลุ่ม คือ 1.องค์กรการกุศลที่ไม่หวังผลกำไรไปยังผู้บริโภคโดยตรง 2.กลุ่มผู้ค้ารายย่อย ควรจัดสรรให้ผู้พิการก่อน ให้เพียงพอต่อการยังชีพ และ 3.บริษัทเอกชนที่มุ่งหวังกำไร แต่ต้องจำกัดจำนวนโควตา ส่วนกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อย ที่มีความเสี่ยงขายไม่หมดควรตั้งกองทุนช่วยเหลือ คือ รับซื้อสลากคืนจากผู้ค้าสลากไม่เกิน 12% จากจำนวนสลากที่ผู้ค้ารายย่อยได้รับก่อนออกรางวัล 1-2 วัน ด้าน พ.ญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ กล่าวว่า ต้องมีคณะกรรมการกองทุนสลากเพื่อสังคม แบ่งการจัดสรรรายได้ใหม่ แต่คง 60% เป็นเงินรางวัลไว้เหมือนเดิมจัดสรรใหม่คือ 10% นำส่งรัฐในรูปแบบภาษี 15% เพิ่มเติมให้การบริหารจัดการที่รวมถึงการลดความเสี่ยง จัดสวัสดิการให้ผู้ค้ารายย่อยจากเดิมที่จัดสรรเพียง 12% และอีก 15% จัดสรรเข้ากองทุนสลากเพื่อสังคมที่จะตั้งขึ้นใหม่หรือคิดเป็น 7,200 ล้านบาท "โดยกองทุนสลากเพื่อสังคมมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนกองทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนด้านการศึกษา สนับสนุนกองทุนส่งเสริมการพัฒนาภาคประชาสังคม ลดผลกระทบจากการพนัน ศึกษาวิจัยเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชน ลด ละ เลิก การเล่นพนัน" ขณะที่ นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน แสดงความคิดเห็นว่า การปฏิรูปสลาก รวมถึงการบริหารจัดการ สิ่งที่เป็นหัวใจ คือ การบริหารจัดการที่ตรงไปตรงมา ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือเกิดการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน นำไปสู่การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลของสลากได้อย่างเต็ม เม็ดเต็มหน่วย นำไปใช้พัฒนาสังคมให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้คำนึงและยึดหลักปรัชญาของการมีสลากเพื่อควบคุมการพนัน ไม่ก่อให้เกิดโทษแก่สังคมด้วย ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/bmnd/1696516 บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...