"บ้านฉางโมเดล" ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม

แสดงความคิดเห็น

"บ้านฉางโมเดล" ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม

"บ้านฉาง โมเดล" แผนพัฒนาบ้านฉางอย่างมีส่วนร่วม ของ บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด และ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ร่วมกับชาวบ้านฉางทั้ง 3 ตำบล

“บ้านฉางโมเดล”คือแผนพัฒนาชุมชนฉบับบ้านฉางที่ใช้ หลัก3ประสาน คือราชการ เอกชนในพื้นที่และประชาชนจนเกิดเป็นแผนจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

แผนพัฒนาเล่มหนา บรรจุแนวทางกว่า 700 แผน ในชื่อ “บ้านฉางโมเดล” ถูกส่งมอบสู่ภาคราชการในท้องถิ่น ให้กระจายไปยังตัวแทนชุมชนใน 3 ตำบล ของอำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง ได้แก่ ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา และตำบลบ้านฉาง

นี่คือผลิตผลของโครงการศึกษาและการจัดทำแผนพัฒนาบ้านฉางอย่างมีส่วนร่วม ของ บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด และ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ร่วมกับชาวบ้านฉางทั้ง 3 ตำบล รวม 22 หมู่บ้าน เพื่อนำไปพัฒนาบ้านฉางในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า ด้วยระยะเวลาประมวลแผนรวม 7 เดือน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2.8 ล้านบาท

“บ้านฉางโมเดล” ไม่ใช่แค่แผนพัฒนา แต่นี่คือ โมเดลในการลดความขัดแย้งระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชน หรือแม้แต่การทำซีเอสอาร์แบบฉาบฉวยของภาคธุรกิจ ที่แก้ปัญหาในระยะสั้นๆ เวลาที่ถูกต่อต้านจากชุมชน

“สิ่งที่เราเห็น อย่างในมาบตาพุด เขาใช้ฐานของกติกาและกฎหมาย มาแก้ปัญหา ซึ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรเยอะมาก ชุมชนกับอุตสาหกรรมก็ห่างเหินกัน เมื่อคุณผิด ผมฟ้อง ฝ่ายใครฝ่ายมัน เหมือนเล่นเซปัดตะกร้อ ไม่ใช้ตะกร้อวงที่ต้องเล่นด้วยกัน ลงสนามทีก็ฟาดฟันกัน แต่กับบ้านฉาง เหมือนตะกร้อลอดห่วง ที่ทุกคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน และช่วยเหลือกันจนเกิดเป็นแผนพัฒนาบ้านฉางขึ้น”

“วิลาส เตโช” รองผู้อำนวยการ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) บอกความน่าสนใจของบ้านฉางโมเดล ที่แยบยลไปกว่าแค่กิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ฉีกภาพซีเอสอาร์แบบสังคมสงเคราะห์ มาสู่การละลายปัญหาระหว่างอุตสาหกรรมในพื้นที่ หน่วยงานราชการและชุมชน ที่ชัดเจนและยั่งยืน

“ธุรกิจที่คิดแต่จะเอาเงินแก้ปัญหา ชุมชนเหมือนจะดีนะ แต่ยิ่งจ่าย ยิ่งเยอะ ยิ่งจ่าย ยิ่งแย่ ชุมชนอ่อนแอลง และปัญหาก็มากขึ้นด้วย แต่ถ้าเราใช้วิธีพูดคุยกัน ใช้สมองร่วมกัน เริ่มจากความเกื้อกูลกัน ทำแผนบนความเข้าใจ อะไรต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น”

ตัวแทนจาก PDA สะท้อนแนวคิดจากประสบการณ์ที่ลงไปเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างองค์กรธุรกิจและ ชุมชนในหลายต่อหลายครั้ง ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญของการสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจ

เช่นเดียวกับจุดเริ่มต้นที่บ้านฉาง เมื่อ 7 เดือนก่อน ซึ่งชาวบ้านยังรู้สึกไม่เป็นมิตร และอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่าคนแปลกหน้าพวกนี้ “จะมาไม้ไหน” กับพวกเขา

“ถามว่ายากไหม สิ่งที่ยากที่สุด คือ ทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นพระจันทร์ดวงเดียวกันให้ได้”

วิลาส ย้ำว่า คือการที่ให้ทุกคนได้เห็น “เป้าหมายเดียวกัน” พร้อมๆ กับสร้างจิตวิญญาณของการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น โดยจะรับฟังทุกเสียง เพราะทุกคนมีสิทธิ มีเสียง เสมอภาคกัน ไม่ใช่ฟังแต่เสียงของคนที่เสียงดังที่สุดเท่านั้น

“หลักใหญ่คือ ทำอย่างไรให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วม ในสังคมเราบางทีคนพูดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้พูด ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุล ให้ทุกคนมีสิทธิ มีเสียง มีความเสมอภาคกัน มีโอกาสเท่ากัน เราจะให้สิทธิคนที่อยู่ปลายแถวได้พูด คนเสียงเบา ที่พูดไม่เป็น ก็ต้องได้รับโอกาส ให้เสียงของเขามีคุณค่าขึ้นมา” นั่นคือจุดยืนในการทำงาน

หลังจากนั้นความต้องการมากมายก็หลั่งไหลเข้ามา แต่เขาบอกว่า นี่ไม่ใช่เวทีแห่งการต่อสู้ หรือ “ร้องขอ” แต่อะไรที่สามารถทำเองได้ ไม่ต้องพึ่งพิงใคร ชุมชนก็ต้องทำเอง ส่วนไหนที่ต้องพึ่งรัฐบาลท้องถิ่นจัดการ เพราะรับผิดชอบโดยตรงก็ต้องเสนอต่อส่วนราชการ ส่วนไหนที่ต้องอาศัยภาคธุรกิจ ก็ค่อยแยกออกมาเสนอต่อภาคธุรกิจ

ที่สำคัญงานนี้ไม่มี “ฮีโร่” แต่อาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

“นี่ไม่ใช่แผนของ PDA หรือของ ดาวฯ แต่คือแผนของชาวบ้านฉาง เราเป็นเหมือนหมอตำแยทำให้ลูกเขาคลอดออกมา ซึ่งหลังแผนเสร็จ ก็ขึ้นอยู่กับเขาแล้วว่าจะไปใช้ให้เกิดผลแค่ไหน แต่สิ่งที่อยากเห็นคือ นี่จะเป็นโมเดลของการบริหารจัดการ ระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อเป็นทางเลือก ในเมื่ออุตสาหกรรมต้องเกิด เราคงปฏิเสธไม่ได้ แล้วชุมชนกับอุตสาหกรรมจะอยู่ร่วมกันอย่างไร บนฐานของความเข้าใจอย่างแท้จริง”

เขายังฝากคำแนะนำ สำหรับภาคธุรกิจ ที่ต้องการเข้าไปทำกิจกรรมซีเอสอาร์ร่วมกับชุมชน ว่าอยากให้เลิกใช้วิธีแบบสังคมสงเคราะห์ หรือ “ใช้เงิน” แก้ปัญหา เพราะจะยิ่งทำให้ชาวบ้าน ขี้เกียจขึ้น อ่อนแอลง พึ่งพิงตัวเองไม่ได้ แต่อยากให้เลือกใช้พลังสมองของภาคธุรกิจ นั่นคือ “ความเชี่ยวชาญ” ไปร่วมแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยหากทำได้เพียง 1 บริษัท 1 ชุมชน เท่านี้ก็ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว แถมยังจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนขึ้นด้วย

ขณะที่ “สมชาย พลานุเคราะห์” นายอำเภอบ้านฉาง ยังให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ความสำเร็จของโครงการนี้ ไม่ได้อยู่ที่มีแผนออกมาได้สำเร็จ แต่คือ การที่ชาวบ้านในชุมชนได้รู้จักคิด วิเคราะห์ หันมามองปัญหาของตัวเองและร่วมกันแก้ปัญหานั้นไปในทิศทางเดียวกัน

“แผนนี้ทำให้ชาวบ้านคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ไม่ใช่ไม่ได้อะไรก็ เรียกร้อง”

“ณรงค์ อุดหนุน” ประธานชุมชน หมู่ 6 ตำบลพลา หนึ่งในชุมชนที่ร่วมโครงการ และได้เสนอแผนพัฒนาประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว และภาคเกษตร ให้กับตำบลพลาของพวกเขา บอกเราว่า แม้หลายหน่วยงานจะคิดว่า ตำบลพลาอยู่นอกเขตรัศมีที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การที่สัตว์น้ำในทะเลลดลงไปทุกปี อาชีพประมงของชาวบ้านได้รับผลกระทบ ก็ยิ่งตอกย้ำให้พวกเขาเชื่อมั่นว่า นั่นเป็นผลจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่กำลังเล่นงานชุมชนอยู่

และการได้รับโอกาสมาร่วมทำแผนพัฒนาบ้านฉาง ทำให้ชาวชุมชนที่ส่วนใหญ่ยังเมินเฉยต่อปัญหานี้ ก็เกิดความตื่นตัว และกลับมามองปัญหาของชุมชนอย่างจริงๆ จังๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสำคัญนี้

“มีโอกาสไปอบรมสัมมนา ดูงานที่เขาประสบความสำเร็จ ก็ทำให้เริ่มคิดที่จะพัฒนาตัวเอง อะไรทำได้เราทำก่อน ส่วนที่เกินกำลังก็จะรอแผน แต่ระหว่างนั้นก็พัฒนาตัวเองไปด้วย เพื่อให้คุณภาพชีวิตพวกเราดีขึ้นด้วยตัวของพวกเราเอง”

ด้าน “มร.ทอดด์ ซัททอน” กรรมการและผู้อำนวยการโรงงาน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย บอกเราว่า ดาวฯ ดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 45 ปี และเข้ามาในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง เมื่อกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งจุดยืนของพวกเขา ไม่ได้มีเพียงความใส่ใจในชุมชนแวดล้อมเท่านั้น แต่เรียกได้ว่า เริ่มตั้งแต่ การเลือกทำธุรกิจที่ต้องเชื่อมโยง และเพิ่มคุณค่าให้กับสังคม ต้องตอบโจทย์ความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม ที่อยู่อาศัย และพลังงานทางเลือก เพื่อพัฒนาสังคมผ่านรูปแบบของธุรกิจ เวลาเดียวกันก็ต้องใส่ใจกับการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้วัตถุดิบที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ไปพร้อมกันด้วย

“ผมมองว่า คุณค่าของซีเอสอาร์ ก็คือการช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เราทำ แนวทางที่เราปฏิบัติ ด้วยความเชื่อใจ ไว้ใจได้ ว่าเราดำเนินธุรกิจที่มีจรรยาบรรณ มีมาตรฐานสูงอย่างไร และเราจริงจังกับเรื่องนี้แค่ไหน เพื่อสะท้อนไปให้ชุมชนรับรู้และเข้าใจ ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานของเราต่อไป เช่นเดียวกับบ้านฉางโมเดลที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้”

และนี่คือหนึ่งทางเลือกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ของอุตสาหกรรมและชุมชน กับ “บ้านฉางโมเดล” โมเดลของบ้านฉางที่พร้อมเป็นต้นแบบให้กับอุตสาหกรรมทั่วไทย…โดย : จีราวัฒน์ คงแก้ว

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20130711/514889/บ้านฉางโมเดล-ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม.html (ขนาดไฟล์: 167)

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ก.ค.56

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 14/07/2556 เวลา 03:20:01 ดูภาพสไลด์โชว์ "บ้านฉางโมเดล" ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

\"บ้านฉางโมเดล\" ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม "บ้านฉาง โมเดล" แผนพัฒนาบ้านฉางอย่างมีส่วนร่วม ของ บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด และ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ร่วมกับชาวบ้านฉางทั้ง 3 ตำบล “บ้านฉางโมเดล”คือแผนพัฒนาชุมชนฉบับบ้านฉางที่ใช้ หลัก3ประสาน คือราชการ เอกชนในพื้นที่และประชาชนจนเกิดเป็นแผนจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง แผนพัฒนาเล่มหนา บรรจุแนวทางกว่า 700 แผน ในชื่อ “บ้านฉางโมเดล” ถูกส่งมอบสู่ภาคราชการในท้องถิ่น ให้กระจายไปยังตัวแทนชุมชนใน 3 ตำบล ของอำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง ได้แก่ ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา และตำบลบ้านฉาง นี่คือผลิตผลของโครงการศึกษาและการจัดทำแผนพัฒนาบ้านฉางอย่างมีส่วนร่วม ของ บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด และ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) ร่วมกับชาวบ้านฉางทั้ง 3 ตำบล รวม 22 หมู่บ้าน เพื่อนำไปพัฒนาบ้านฉางในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า ด้วยระยะเวลาประมวลแผนรวม 7 เดือน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2.8 ล้านบาท “บ้านฉางโมเดล” ไม่ใช่แค่แผนพัฒนา แต่นี่คือ โมเดลในการลดความขัดแย้งระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชน หรือแม้แต่การทำซีเอสอาร์แบบฉาบฉวยของภาคธุรกิจ ที่แก้ปัญหาในระยะสั้นๆ เวลาที่ถูกต่อต้านจากชุมชน “สิ่งที่เราเห็น อย่างในมาบตาพุด เขาใช้ฐานของกติกาและกฎหมาย มาแก้ปัญหา ซึ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรเยอะมาก ชุมชนกับอุตสาหกรรมก็ห่างเหินกัน เมื่อคุณผิด ผมฟ้อง ฝ่ายใครฝ่ายมัน เหมือนเล่นเซปัดตะกร้อ ไม่ใช้ตะกร้อวงที่ต้องเล่นด้วยกัน ลงสนามทีก็ฟาดฟันกัน แต่กับบ้านฉาง เหมือนตะกร้อลอดห่วง ที่ทุกคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน และช่วยเหลือกันจนเกิดเป็นแผนพัฒนาบ้านฉางขึ้น” “วิลาส เตโช” รองผู้อำนวยการ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (PDA) บอกความน่าสนใจของบ้านฉางโมเดล ที่แยบยลไปกว่าแค่กิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ฉีกภาพซีเอสอาร์แบบสังคมสงเคราะห์ มาสู่การละลายปัญหาระหว่างอุตสาหกรรมในพื้นที่ หน่วยงานราชการและชุมชน ที่ชัดเจนและยั่งยืน “ธุรกิจที่คิดแต่จะเอาเงินแก้ปัญหา ชุมชนเหมือนจะดีนะ แต่ยิ่งจ่าย ยิ่งเยอะ ยิ่งจ่าย ยิ่งแย่ ชุมชนอ่อนแอลง และปัญหาก็มากขึ้นด้วย แต่ถ้าเราใช้วิธีพูดคุยกัน ใช้สมองร่วมกัน เริ่มจากความเกื้อกูลกัน ทำแผนบนความเข้าใจ อะไรต่างๆ ก็จะง่ายขึ้น” ตัวแทนจาก PDA สะท้อนแนวคิดจากประสบการณ์ที่ลงไปเป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างองค์กรธุรกิจและ ชุมชนในหลายต่อหลายครั้ง ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญของการสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจ เช่นเดียวกับจุดเริ่มต้นที่บ้านฉาง เมื่อ 7 เดือนก่อน ซึ่งชาวบ้านยังรู้สึกไม่เป็นมิตร และอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่าคนแปลกหน้าพวกนี้ “จะมาไม้ไหน” กับพวกเขา “ถามว่ายากไหม สิ่งที่ยากที่สุด คือ ทำอย่างไรให้ทุกคนเห็นพระจันทร์ดวงเดียวกันให้ได้” วิลาส ย้ำว่า คือการที่ให้ทุกคนได้เห็น “เป้าหมายเดียวกัน” พร้อมๆ กับสร้างจิตวิญญาณของการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้น โดยจะรับฟังทุกเสียง เพราะทุกคนมีสิทธิ มีเสียง เสมอภาคกัน ไม่ใช่ฟังแต่เสียงของคนที่เสียงดังที่สุดเท่านั้น “หลักใหญ่คือ ทำอย่างไรให้ทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วม ในสังคมเราบางทีคนพูดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้พูด ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุล ให้ทุกคนมีสิทธิ มีเสียง มีความเสมอภาคกัน มีโอกาสเท่ากัน เราจะให้สิทธิคนที่อยู่ปลายแถวได้พูด คนเสียงเบา ที่พูดไม่เป็น ก็ต้องได้รับโอกาส ให้เสียงของเขามีคุณค่าขึ้นมา” นั่นคือจุดยืนในการทำงาน หลังจากนั้นความต้องการมากมายก็หลั่งไหลเข้ามา แต่เขาบอกว่า นี่ไม่ใช่เวทีแห่งการต่อสู้ หรือ “ร้องขอ” แต่อะไรที่สามารถทำเองได้ ไม่ต้องพึ่งพิงใคร ชุมชนก็ต้องทำเอง ส่วนไหนที่ต้องพึ่งรัฐบาลท้องถิ่นจัดการ เพราะรับผิดชอบโดยตรงก็ต้องเสนอต่อส่วนราชการ ส่วนไหนที่ต้องอาศัยภาคธุรกิจ ก็ค่อยแยกออกมาเสนอต่อภาคธุรกิจ ที่สำคัญงานนี้ไม่มี “ฮีโร่” แต่อาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง “นี่ไม่ใช่แผนของ PDA หรือของ ดาวฯ แต่คือแผนของชาวบ้านฉาง เราเป็นเหมือนหมอตำแยทำให้ลูกเขาคลอดออกมา ซึ่งหลังแผนเสร็จ ก็ขึ้นอยู่กับเขาแล้วว่าจะไปใช้ให้เกิดผลแค่ไหน แต่สิ่งที่อยากเห็นคือ นี่จะเป็นโมเดลของการบริหารจัดการ ระหว่างชุมชนและอุตสาหกรรม เพื่อเป็นทางเลือก ในเมื่ออุตสาหกรรมต้องเกิด เราคงปฏิเสธไม่ได้ แล้วชุมชนกับอุตสาหกรรมจะอยู่ร่วมกันอย่างไร บนฐานของความเข้าใจอย่างแท้จริง” เขายังฝากคำแนะนำ สำหรับภาคธุรกิจ ที่ต้องการเข้าไปทำกิจกรรมซีเอสอาร์ร่วมกับชุมชน ว่าอยากให้เลิกใช้วิธีแบบสังคมสงเคราะห์ หรือ “ใช้เงิน” แก้ปัญหา เพราะจะยิ่งทำให้ชาวบ้าน ขี้เกียจขึ้น อ่อนแอลง พึ่งพิงตัวเองไม่ได้ แต่อยากให้เลือกใช้พลังสมองของภาคธุรกิจ นั่นคือ “ความเชี่ยวชาญ” ไปร่วมแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยหากทำได้เพียง 1 บริษัท 1 ชุมชน เท่านี้ก็ครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว แถมยังจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนขึ้นด้วย ขณะที่ “สมชาย พลานุเคราะห์” นายอำเภอบ้านฉาง ยังให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ความสำเร็จของโครงการนี้ ไม่ได้อยู่ที่มีแผนออกมาได้สำเร็จ แต่คือ การที่ชาวบ้านในชุมชนได้รู้จักคิด วิเคราะห์ หันมามองปัญหาของตัวเองและร่วมกันแก้ปัญหานั้นไปในทิศทางเดียวกัน “แผนนี้ทำให้ชาวบ้านคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ไม่ใช่ไม่ได้อะไรก็ เรียกร้อง” “ณรงค์ อุดหนุน” ประธานชุมชน หมู่ 6 ตำบลพลา หนึ่งในชุมชนที่ร่วมโครงการ และได้เสนอแผนพัฒนาประมงชายฝั่ง การท่องเที่ยว และภาคเกษตร ให้กับตำบลพลาของพวกเขา บอกเราว่า แม้หลายหน่วยงานจะคิดว่า ตำบลพลาอยู่นอกเขตรัศมีที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การที่สัตว์น้ำในทะเลลดลงไปทุกปี อาชีพประมงของชาวบ้านได้รับผลกระทบ ก็ยิ่งตอกย้ำให้พวกเขาเชื่อมั่นว่า นั่นเป็นผลจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่กำลังเล่นงานชุมชนอยู่ และการได้รับโอกาสมาร่วมทำแผนพัฒนาบ้านฉาง ทำให้ชาวชุมชนที่ส่วนใหญ่ยังเมินเฉยต่อปัญหานี้ ก็เกิดความตื่นตัว และกลับมามองปัญหาของชุมชนอย่างจริงๆ จังๆ เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสำคัญนี้ “มีโอกาสไปอบรมสัมมนา ดูงานที่เขาประสบความสำเร็จ ก็ทำให้เริ่มคิดที่จะพัฒนาตัวเอง อะไรทำได้เราทำก่อน ส่วนที่เกินกำลังก็จะรอแผน แต่ระหว่างนั้นก็พัฒนาตัวเองไปด้วย เพื่อให้คุณภาพชีวิตพวกเราดีขึ้นด้วยตัวของพวกเราเอง” ด้าน “มร.ทอดด์ ซัททอน” กรรมการและผู้อำนวยการโรงงาน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย บอกเราว่า ดาวฯ ดำเนินธุรกิจในไทยมากว่า 45 ปี และเข้ามาในพื้นที่มาบตาพุดและบ้านฉาง เมื่อกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งจุดยืนของพวกเขา ไม่ได้มีเพียงความใส่ใจในชุมชนแวดล้อมเท่านั้น แต่เรียกได้ว่า เริ่มตั้งแต่ การเลือกทำธุรกิจที่ต้องเชื่อมโยง และเพิ่มคุณค่าให้กับสังคม ต้องตอบโจทย์ความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม ที่อยู่อาศัย และพลังงานทางเลือก เพื่อพัฒนาสังคมผ่านรูปแบบของธุรกิจ เวลาเดียวกันก็ต้องใส่ใจกับการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้วัตถุดิบที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ไปพร้อมกันด้วย “ผมมองว่า คุณค่าของซีเอสอาร์ ก็คือการช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เราทำ แนวทางที่เราปฏิบัติ ด้วยความเชื่อใจ ไว้ใจได้ ว่าเราดำเนินธุรกิจที่มีจรรยาบรรณ มีมาตรฐานสูงอย่างไร และเราจริงจังกับเรื่องนี้แค่ไหน เพื่อสะท้อนไปให้ชุมชนรับรู้และเข้าใจ ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานของเราต่อไป เช่นเดียวกับบ้านฉางโมเดลที่จัดทำขึ้นในครั้งนี้” และนี่คือหนึ่งทางเลือกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ของอุตสาหกรรมและชุมชน กับ “บ้านฉางโมเดล” โมเดลของบ้านฉางที่พร้อมเป็นต้นแบบให้กับอุตสาหกรรมทั่วไทย…โดย : จีราวัฒน์ คงแก้ว ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20130711/514889/บ้านฉางโมเดล-ปฏิวัติแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม.html กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...