อาชีพ CSR ในอนาคต

แสดงความคิดเห็น

ตุ๊กตากระดาษ ยืนจับมือเรียงกัน

โดย วีรญา ปรียาพันธ์ สถาบันไทยพัฒน์

ในบริบทการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนทุกวันนี้ มีแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภาษาหรือคำศัพท์ใหม่ที่ได้ยินจนเริ่มเป็นที่คุ้นหูในปัจจุบัน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) หรือเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม-สังคม-ธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งล้วนแต่เป็นแนวคิดที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจขยายโอกาส บทบาท และความรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของสังคมและประโยชน์ของผู้มีส่วนได้

ส่วน เสียในมุมมองที่กว้างขึ้น อันนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวองค์กรธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา กิจการสู่ความยั่งยืน ไม่สามารถใช้ข้ออ้างอิงที่ตนเองถือปฏิบัติตามกฎหมายได้เพียงอย่างเดียวอีก ต่อไปแล้ว

การสร้างพันธสัญญาทางสังคม (Social Contract) หรือการได้รับฉันทานุมัติ

จาก สังคม หรือชุมชนที่อยู่รายรอบในการประกอบการ (License to Operate) หรือการได้รับโอกาสในการเข้าถึงตลาด (Access to Markets) ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือกรอบของกฎหมาย แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ถูกสานขึ้นระหว่างธุรกิจกับสังคม ซึ่งธุรกิจจำต้องรักษาให้คงอยู่ ในฐานะผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรและมีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อ สังคมนั้นไม่มากก็น้อย

ความริเริ่มหนึ่งในการตอบโจทย์การพัฒนาที่ ยั่งยืนและการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ คือการเปิดเผยวิธีการดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ในรูปของการรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report)

ซึ่งองค์กร ธุรกิจทั่วโลกได้ใช้แนวทางการรายงานความยั่งยืน ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative : GRI) เป็นกรอบในการจัดทำรายงานโดยปัจจุบัน มีรายงานความยั่งยืนที่จัดทำและเผยแพร่โดยองค์กรธุรกิจแล้วกว่า 5,000 แห่งทั่วโลก มีรายงานนับเป็นหมื่นฉบับที่ได้จัดทำตามกรอบของ GRI เป็นที่คาดการณ์กันว่าในอนาคต

อันใกล้นี้ รายงานความยั่งยืนจะทวีจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นเรื่องปกติที่องค์กรจะดำเนินการจัดทำ เนื่องจากภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ได้มีการประกาศเป็นกฎหมายและข้อบังคับให้องค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทมหาชน ต้องเปิดเผยข้อมูล

ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือจัดทำรายงานที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะดังกล่าว เผยแพร่ต่อสาธารณะ

ด้วยปัจจัยดังกล่าวนี้ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาในหลายประเทศได้มีการเตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ รวมทั้งทักษะในการเขียนและจัดทำรายงานความยั่งยืน พัฒนาเป็นวิชาชีพ

ในอีกด้านหนึ่ง สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในจำนวนนั้นได้มีความตื่นตัวที่จะริเริ่มจัดทำรายงานความยั่งยืนของสถาบัน

โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเองด้วย โดยใช้การจัดทำรายงานความยั่งยืนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ขณะที่บางสถาบันก็เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ตัวสถาบันและข้อมูลการดำเนิน งานของสถาบัน เป็นสนามฝึกหัดในการเขียนรายงานความยั่งยืนเพิ่มเติม

จาก การสำรวจข้อมูลมหาวิทยาลัยที่ได้จัดทำรายงานความยั่งยืน เผยแพร่ผ่านฐานข้อมูลของ GRI พบว่า มีอยู่จำนวน 56 แห่ง โดยมาจากทวีปยุโรป 28 แห่ง จากทวีปอเมริกาเหนือ 12 แห่ง จากละตินอเมริกา 7 แห่ง จากทวีปเอเชีย 5 แห่ง และจากทวีปออสเตรเลีย 4 แห่ง (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2556)

ตัวอย่าง ของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้มีการจัดทำและเผยแพร่รายงานความยั่งยืนของสถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (สหรัฐอเมริกา) วิทยาลัย-มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ (เบลเยียม) มหาวิทยาลัย

โกเธนเบิร์ก (สวีเดน) มหาวิทยาลัยลาโทรบ (ออสเตรเลีย) มหาวิทยาลัยฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) และมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น

กรณี ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รายงานความยั่งยืนฉบับแรกจัดทำขึ้นโดยสถาบันแพทยศาสตร์แห่งฮาร์วาร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นรายงานระดับสถาบัน (School-Specific Report) จากนั้นก็เป็นรายงานระดับคณะ (Department-Specific Report) ซึ่งจัดทำโดยคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2551และเพิ่งจะยกระดับเป็นรายงานระดับมหาวิทยาลัย (University-Wide Report) ในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา

เชื่อแน่ว่านักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย หรือมีโอกาสฝึกการเขียนรายงานความยั่งยืน

ให้แก่มหาวิทยาลัยในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว จะมีบริษัทจองตัวกันเป็นทิวแถว

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373274189 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 9/07/2556 เวลา 03:31:44 ดูภาพสไลด์โชว์ อาชีพ CSR ในอนาคต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตุ๊กตากระดาษ ยืนจับมือเรียงกัน โดย วีรญา ปรียาพันธ์ สถาบันไทยพัฒน์ ในบริบทการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนทุกวันนี้ มีแนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับปัจจัยและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ภาษาหรือคำศัพท์ใหม่ที่ได้ยินจนเริ่มเป็นที่คุ้นหูในปัจจุบัน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) หรือเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม-สังคม-ธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งล้วนแต่เป็นแนวคิดที่ผลักดันให้ภาคธุรกิจขยายโอกาส บทบาท และความรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของสังคมและประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ ส่วน เสียในมุมมองที่กว้างขึ้น อันนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาวองค์กรธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา กิจการสู่ความยั่งยืน ไม่สามารถใช้ข้ออ้างอิงที่ตนเองถือปฏิบัติตามกฎหมายได้เพียงอย่างเดียวอีก ต่อไปแล้ว การสร้างพันธสัญญาทางสังคม (Social Contract) หรือการได้รับฉันทานุมัติ จาก สังคม หรือชุมชนที่อยู่รายรอบในการประกอบการ (License to Operate) หรือการได้รับโอกาสในการเข้าถึงตลาด (Access to Markets) ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือกรอบของกฎหมาย แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ถูกสานขึ้นระหว่างธุรกิจกับสังคม ซึ่งธุรกิจจำต้องรักษาให้คงอยู่ ในฐานะผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรและมีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อ สังคมนั้นไม่มากก็น้อย ความริเริ่มหนึ่งในการตอบโจทย์การพัฒนาที่ ยั่งยืนและการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ คือการเปิดเผยวิธีการดำเนินงาน การกำกับดูแล แนวการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ในรูปของการรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) ซึ่งองค์กร ธุรกิจทั่วโลกได้ใช้แนวทางการรายงานความยั่งยืน ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative : GRI) เป็นกรอบในการจัดทำรายงานโดยปัจจุบัน มีรายงานความยั่งยืนที่จัดทำและเผยแพร่โดยองค์กรธุรกิจแล้วกว่า 5,000 แห่งทั่วโลก มีรายงานนับเป็นหมื่นฉบับที่ได้จัดทำตามกรอบของ GRI เป็นที่คาดการณ์กันว่าในอนาคต อันใกล้นี้ รายงานความยั่งยืนจะทวีจำนวนขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นเรื่องปกติที่องค์กรจะดำเนินการจัดทำ เนื่องจากภาครัฐและหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ได้มีการประกาศเป็นกฎหมายและข้อบังคับให้องค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทมหาชน ต้องเปิดเผยข้อมูล ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือจัดทำรายงานที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะดังกล่าว เผยแพร่ต่อสาธารณะ ด้วยปัจจัยดังกล่าวนี้ ทำให้สถาบันอุดมศึกษาในหลายประเทศได้มีการเตรียมความพร้อมในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ รวมทั้งทักษะในการเขียนและจัดทำรายงานความยั่งยืน พัฒนาเป็นวิชาชีพ ในอีกด้านหนึ่ง สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในจำนวนนั้นได้มีความตื่นตัวที่จะริเริ่มจัดทำรายงานความยั่งยืนของสถาบัน โดย มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเองด้วย โดยใช้การจัดทำรายงานความยั่งยืนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ขณะที่บางสถาบันก็เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ตัวสถาบันและข้อมูลการดำเนิน งานของสถาบัน เป็นสนามฝึกหัดในการเขียนรายงานความยั่งยืนเพิ่มเติม จาก การสำรวจข้อมูลมหาวิทยาลัยที่ได้จัดทำรายงานความยั่งยืน เผยแพร่ผ่านฐานข้อมูลของ GRI พบว่า มีอยู่จำนวน 56 แห่ง โดยมาจากทวีปยุโรป 28 แห่ง จากทวีปอเมริกาเหนือ 12 แห่ง จากละตินอเมริกา 7 แห่ง จากทวีปเอเชีย 5 แห่ง และจากทวีปออสเตรเลีย 4 แห่ง (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2556) ตัวอย่าง ของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้มีการจัดทำและเผยแพร่รายงานความยั่งยืนของสถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (สหรัฐอเมริกา) วิทยาลัย-มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ (เบลเยียม) มหาวิทยาลัย โกเธนเบิร์ก (สวีเดน) มหาวิทยาลัยลาโทรบ (ออสเตรเลีย) มหาวิทยาลัยฮ่องกง (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) และมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ฟิลิปปินส์) เป็นต้น กรณี ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รายงานความยั่งยืนฉบับแรกจัดทำขึ้นโดยสถาบันแพทยศาสตร์แห่งฮาร์วาร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นรายงานระดับสถาบัน (School-Specific Report) จากนั้นก็เป็นรายงานระดับคณะ (Department-Specific Report) ซึ่งจัดทำโดยคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2551และเพิ่งจะยกระดับเป็นรายงานระดับมหาวิทยาลัย (University-Wide Report) ในปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา เชื่อแน่ว่านักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการจัดทำรายงานความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย หรือมีโอกาสฝึกการเขียนรายงานความยั่งยืน ให้แก่มหาวิทยาลัยในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว จะมีบริษัทจองตัวกันเป็นทิวแถว ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373274189

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...