กูรูชี้เทรนด์ธุรกิจต้องโตคู่สิ่งแวดล้อม

แสดงความคิดเห็น

กองใบไม้เขียว

สศช.-ภาคธุรกิจประสานเสียง แนวโน้มธุรกิจในอนาคตต้องเติบโตควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัว

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดเสวนาโต๊ะกลม "การสร้างการเติบโตทางธุรกิจ โดยไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ความรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่คุณค่า" เพื่อหารือถึงแนวทางการสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยไม่เพิ่มภาระกับสิ่งแวด ล้อมเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลัง

นายมนตรี บุญพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ทิศทางของโลกล้วนมุ่งไปสู่การทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจของสำนักวิจัยหลายชิ้นระบุไปในทิศทางเดียวกัน เช่น แมคเคนซี่ ระบุว่า ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา 50% เลือกบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ ไพรซ์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส ชี้ว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจ มากกว่าบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญ เพราะแม้ระยะแรกจะมีต้นทุนการผลิตสูง แต่ระยะยาวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นอกจากนี้ ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่พึ่งพาการส่งออกกว่า 70% ของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (จีดีพี) ยิ่งเด่นชัดว่าสินค้าที่ส่งออกจะต้องมุ่งไปในทิศทางนี้ และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ก็มีเรื่อง green growth เป็นธีมหลัก แต่การขับเคลื่อนให้ได้ตามแผนต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ และท้าทายในการรวมนโยบายรัฐบาลให้เป็นเนื้อเดียวกับแผนดังกล่าว

"ผู้ประกอบการไทย รายใหญ่ไม่น่าห่วง แต่กลุ่มเอสเอ็มอีซึ่งเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศจะมีปัญหาการปรับตัว ดังนั้นรัฐต้องมีนโยบายสนับสนุนให้เอสเอ็มอีให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมไปใน ทิศทางเดียวกัน เช่น การให้สิทธิประโยชน์หรือส่วนลดทางภาษีเพื่อให้เอสเอ็มอีมีต้นทุนต่ำและแข่ง ขันในด้านราคาได้"นายมนตรี กล่าว

ด้าน น.ส.ศิริกุล เลากัยกุล นักวางกลยุทธ์ Brand Being กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีวัฒนธรรมการแชร์ มีการพัฒนาตัวเองและมีจิตสำนึกสูง นำไปสู่ไลฟ์สไตล์ที่เชื่อเรื่องสุขภาพทางเลือก การเติบโตที่ยั่งยืน มีจิตอาสา คนกลุ่มนี้มองหาแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พิจารณาซื้อสินค้าโดยดูไปถึงที่มาของวัตถุดิบ แหล่งผลิตวัตถุดิบว่ามีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแค่ไหน คนกลุ่มนี้มีอยู่จริง แต่หากไม่กระตุ้นให้ขยายตัว ตลาดนี้ก็จะไม่โต

น.ส.ศิริกุล กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าต้องคิดตามคือการลดขนาดสินค้าเพื่อให้สูญเสียหรือเกิด ขยะจากการบริโภคน้อยที่สุด กระบวนการผลิตทั้งหมดต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนในทุกขั้นตอน ไม่ใช่แค่ทำเฉพาะด้านการตลาดเท่านั้น และหากเป็นบริษัทใหญ่ๆควรลงไปดูถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่ใน ซัพพลายเชนด้วย ว่าใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเพียงใด ไม่ใช่เอาตัวรอดอยู่คนเดียว

"กรีนมาร์เก็ตติ้ง ต้องมีองค์ประกอบคือ โซเชียลมาร์เก็ตติ้ง คือการทำตลาดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคนในสังคม มีการตลาดแบบรับผิดชอบ ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงการบริโภคอย่างพอเพียง ลดการสูญเสียหรือเกิดขยะ ถ้าเอามารวมๆ กันเป็น sustainable lifestyle marketing ยิ่งถ้าในเมืองไทยมีแบรนด์ขนาดใหญ่ทำการตลาดในลักษณะนี้ ก็จะทำให้การขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวเข้มแข็งขึ้น"น.ส.ศิริกุล กล่าว

ขณะที่นายวิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ รองประธานกรรมการซัพพลายเชน ของยูนิลีเวอร์ กล่าวว่าบริษัทให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบเกี่ยวกับน้ำ คาร์บอนและพลังงาน เพราะในแต่ละวันผู้บริโภคจะใช้ผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์วันละ 3 ครั้ง ซึ่งหากออกแบบสินค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะทำให้ผู้บริโภคมีพลังในการดูแลสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการผลิตผงซักฟอกสูตรธรรมดาจะปล่อยคาร์บอนประมาณ 75 กก. แต่หากเป็นผงซักฟอกสูตรเข้มข้น จะปล่อยคาร์บอน 25 กก. และใช้น้ำในการซักล้างครั้งเดียว ประหยัดน้ำกว่าผงซักฟอกสูตรธรรมดาที่ต้องล้างน้ำ 2-3 รอบ เป็นต้น

ด้านนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ต้องก้าวพ้นกระบวนทัศน์ที่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อม เป็นเรื่องที่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่ต้องเป็นแบบนั้นก็ได้ "ธุรกิจจะโตไปทำไมถ้าโตแล้วทำให้โลกร้อน น้ำท่วมกันหมด"นายบัณฑูร กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายบัณฑูร กล่าวว่า ปัญหาการขับดันระบบเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย อยู่ที่กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมยังมีน้อย จึงไม่เกิด critical mass หรือจำนวนคนที่มากเพียงพอ อีกประการคือผู้บริโภคทราบและเข้าใจปัญหาโลกร้อน เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไร จึงต้องกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไร จะรอให้เกิด critical mass เสียก่อนเพื่อผลักดันผู้ผลิต หรือภาคธุรกิจจะเห็นความสำคัญและผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก่อน แล้วจึงเข้าไปกระตุ้นผู้บริโภคทีหลัง

"ผมคิดว่าเรายังขาดนวัตกรรมทางสังคมมารองรับ เช่น อาจต้องมีการรณรงค์ ปั่นจักรยานแล้วเอาไมล์ระยะทางที่ได้ ไปแลกแสตมป์ แล้วเอาไปซื้อสินค้าที่เป็นกรีนโปรดักส์ได้ เป็นต้น หรือภาครัฐก็จำเป็นต้องเก็บภาษีคาร์บอน เพราะแนวโน้มประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะกลุ่มยุโรปกำลังจะเก็บภาษีนี้ ถ้าเราไม่ทำงานเชิงรุกประกาศใช้ ในอนาคตเราก็ต้องถูกบีบให้ใช้อยู่ดี"นายบัณฑูร กล่าว

ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/232097/กูรูชี้เทรนด์ธุรกิจต้องโตคู่สิ่งแวดล้อม (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 4/07/2556 เวลา 04:04:52 ดูภาพสไลด์โชว์ กูรูชี้เทรนด์ธุรกิจต้องโตคู่สิ่งแวดล้อม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กองใบไม้เขียว สศช.-ภาคธุรกิจประสานเสียง แนวโน้มธุรกิจในอนาคตต้องเติบโตควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัว เมื่อวันที่ 3 ก.ค. บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ร่วมกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดเสวนาโต๊ะกลม "การสร้างการเติบโตทางธุรกิจ โดยไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ความรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่คุณค่า" เพื่อหารือถึงแนวทางการสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยไม่เพิ่มภาระกับสิ่งแวด ล้อมเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลัง นายมนตรี บุญพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักวางแผนการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ทิศทางของโลกล้วนมุ่งไปสู่การทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากการสำรวจของสำนักวิจัยหลายชิ้นระบุไปในทิศทางเดียวกัน เช่น แมคเคนซี่ ระบุว่า ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา 50% เลือกบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ ไพรซ์ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส ชี้ว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจ มากกว่าบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญ เพราะแม้ระยะแรกจะมีต้นทุนการผลิตสูง แต่ระยะยาวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นอกจากนี้ ด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่พึ่งพาการส่งออกกว่า 70% ของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (จีดีพี) ยิ่งเด่นชัดว่าสินค้าที่ส่งออกจะต้องมุ่งไปในทิศทางนี้ และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ก็มีเรื่อง green growth เป็นธีมหลัก แต่การขับเคลื่อนให้ได้ตามแผนต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ และท้าทายในการรวมนโยบายรัฐบาลให้เป็นเนื้อเดียวกับแผนดังกล่าว "ผู้ประกอบการไทย รายใหญ่ไม่น่าห่วง แต่กลุ่มเอสเอ็มอีซึ่งเป็นธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศจะมีปัญหาการปรับตัว ดังนั้นรัฐต้องมีนโยบายสนับสนุนให้เอสเอ็มอีให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมไปใน ทิศทางเดียวกัน เช่น การให้สิทธิประโยชน์หรือส่วนลดทางภาษีเพื่อให้เอสเอ็มอีมีต้นทุนต่ำและแข่ง ขันในด้านราคาได้"นายมนตรี กล่าว ด้าน น.ส.ศิริกุล เลากัยกุล นักวางกลยุทธ์ Brand Being กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เป็นยุคที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีวัฒนธรรมการแชร์ มีการพัฒนาตัวเองและมีจิตสำนึกสูง นำไปสู่ไลฟ์สไตล์ที่เชื่อเรื่องสุขภาพทางเลือก การเติบโตที่ยั่งยืน มีจิตอาสา คนกลุ่มนี้มองหาแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พิจารณาซื้อสินค้าโดยดูไปถึงที่มาของวัตถุดิบ แหล่งผลิตวัตถุดิบว่ามีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแค่ไหน คนกลุ่มนี้มีอยู่จริง แต่หากไม่กระตุ้นให้ขยายตัว ตลาดนี้ก็จะไม่โต น.ส.ศิริกุล กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าต้องคิดตามคือการลดขนาดสินค้าเพื่อให้สูญเสียหรือเกิด ขยะจากการบริโภคน้อยที่สุด กระบวนการผลิตทั้งหมดต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอนในทุกขั้นตอน ไม่ใช่แค่ทำเฉพาะด้านการตลาดเท่านั้น และหากเป็นบริษัทใหญ่ๆควรลงไปดูถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่อยู่ใน ซัพพลายเชนด้วย ว่าใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากเพียงใด ไม่ใช่เอาตัวรอดอยู่คนเดียว "กรีนมาร์เก็ตติ้ง ต้องมีองค์ประกอบคือ โซเชียลมาร์เก็ตติ้ง คือการทำตลาดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมคนในสังคม มีการตลาดแบบรับผิดชอบ ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงการบริโภคอย่างพอเพียง ลดการสูญเสียหรือเกิดขยะ ถ้าเอามารวมๆ กันเป็น sustainable lifestyle marketing ยิ่งถ้าในเมืองไทยมีแบรนด์ขนาดใหญ่ทำการตลาดในลักษณะนี้ ก็จะทำให้การขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวเข้มแข็งขึ้น"น.ส.ศิริกุล กล่าว ขณะที่นายวิวรรธน์ กฤษฎาสิมะ รองประธานกรรมการซัพพลายเชน ของยูนิลีเวอร์ กล่าวว่าบริษัทให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบเกี่ยวกับน้ำ คาร์บอนและพลังงาน เพราะในแต่ละวันผู้บริโภคจะใช้ผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์วันละ 3 ครั้ง ซึ่งหากออกแบบสินค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะทำให้ผู้บริโภคมีพลังในการดูแลสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการผลิตผงซักฟอกสูตรธรรมดาจะปล่อยคาร์บอนประมาณ 75 กก. แต่หากเป็นผงซักฟอกสูตรเข้มข้น จะปล่อยคาร์บอน 25 กก. และใช้น้ำในการซักล้างครั้งเดียว ประหยัดน้ำกว่าผงซักฟอกสูตรธรรมดาที่ต้องล้างน้ำ 2-3 รอบ เป็นต้น ด้านนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ต้องก้าวพ้นกระบวนทัศน์ที่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อม เป็นเรื่องที่ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่ต้องเป็นแบบนั้นก็ได้ "ธุรกิจจะโตไปทำไมถ้าโตแล้วทำให้โลกร้อน น้ำท่วมกันหมด"นายบัณฑูร กล่าว อย่างไรก็ตาม นายบัณฑูร กล่าวว่า ปัญหาการขับดันระบบเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย อยู่ที่กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมยังมีน้อย จึงไม่เกิด critical mass หรือจำนวนคนที่มากเพียงพอ อีกประการคือผู้บริโภคทราบและเข้าใจปัญหาโลกร้อน เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไร จึงต้องกลับมาคิดว่าจะทำอย่างไร จะรอให้เกิด critical mass เสียก่อนเพื่อผลักดันผู้ผลิต หรือภาคธุรกิจจะเห็นความสำคัญและผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก่อน แล้วจึงเข้าไปกระตุ้นผู้บริโภคทีหลัง "ผมคิดว่าเรายังขาดนวัตกรรมทางสังคมมารองรับ เช่น อาจต้องมีการรณรงค์ ปั่นจักรยานแล้วเอาไมล์ระยะทางที่ได้ ไปแลกแสตมป์ แล้วเอาไปซื้อสินค้าที่เป็นกรีนโปรดักส์ได้ เป็นต้น หรือภาครัฐก็จำเป็นต้องเก็บภาษีคาร์บอน เพราะแนวโน้มประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะกลุ่มยุโรปกำลังจะเก็บภาษีนี้ ถ้าเราไม่ทำงานเชิงรุกประกาศใช้ ในอนาคตเราก็ต้องถูกบีบให้ใช้อยู่ดี"นายบัณฑูร กล่าว ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/232097/กูรูชี้เทรนด์ธุรกิจต้องโตคู่สิ่งแวดล้อม

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...