ความยั่งยืนกับตราสินค้า

แสดงความคิดเห็น

สื่อประชาสัมพันธ์ ISTANBUL SB 2013 THE POWER OF AND

คอลัมน์ CSR Talk สัปดาห์นี้ (3-6 มิ.ย.) ที่กรุงซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีงานประชุม Sustainable Brands 2013 ซึ่งจัดโดยกลุ่ม Sustainable Brands ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2549 จากความริเริ่มของ KoAnn Vikoren Skrzyniarz นักบริหารสื่อธุรกิจที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องความยั่งยืนทางสังคมและสิ่ง แวดล้อม

สาเหตุที่หยิบงานนี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เนื่องจากว่าเนื้อหาที่จะมีการนำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ มีความน่าสนใจหลายเรื่อง ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมที่คาดว่าจะมีถึง 2,000 คน กับอีกร่วม 100 องค์กรที่เข้าแสดง

ผลงาน นวัตกรรม และเครื่องมือในการสร้างความยั่งยืนที่มีผลต่อตราสินค้า ใน 6 หัวเรื่องด้วยกัน ได้แก่

1)กลยุทธ์ และตัววัด ครอบคลุมเนื้อหาของการกำหนดเป้าประสงค์ และตัววัดผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากร การวางแผนสร้างคุณค่าในระยะยาว และความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

2)การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งการกำหนดเป้าประสงค์ การติดตาม การปรับแต่งกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดีขึ้น รวมถึงการสร้างรูปแบบใหม่ในการแบ่งปันคุณค่าระหว่างหุ้นส่วนธุรกิจทั้งใน ฝั่งต้นน้ำและปลายน้ำ

3)การหยั่งรู้ผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม เป็นเวทีเพื่อพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม ผู้บริโภค การโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่แบบแผนการซื้อและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการปิดช่องว่างระหว่างค่านิยมกับการ ปฏิบัติ

4)การสานสัมพันธ์พนักงานและการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร นำเสนอเทคนิคในการสานสัมพันธ์และฝึกอบรมพนักงานอย่างมีประสิทธิผล การผลักดันและบริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร การขยับขยายความเข้าใจในคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อองค์กร

5)นวัต กรรมในผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ประกอบด้วย การให้ตัวอย่างนอกกรอบของแบบจำลองทางธุรกิจ นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำเงิน พร้อมกับการก้าวกระโดดสู่เส้นทางความยั่งยืนโดยส่วนรวม

6)การสื่อสาร ที่ให้แนวทางการนำเสนอคุณค่าในแบบ win-win-win (ตราสินค้า-ความยั่งยืน-ลูกค้า) ทั้งแก่ลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงการแบ่งปันความท้าทายและกรณีความสำเร็จในนวัตกรรมการตลาดตราสินค้าที่ ส่งมอบผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม

โดยตัวอย่างเนื้อหาที่คาดว่าจะมีการ นำเสนอในเวทีครั้งนี้ ได้แก่ รายงานผู้นำความยั่งยืน ประจำปี 2556 จัดทำโดย GlobeScan ร่วมกับ SustainAbility ที่แสดงให้เห็นถึงสถานะความเป็นผู้นำระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ซึ่งมีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน

การนำเสนอเครื่องมือ sSWOT หรือ Sustainability SWOT ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) เพื่ออำนวยให้เกิดการทำงานโยงข้ามระหว่างสายงานต่าง ๆ ในองค์กร ระหว่างผู้ส่งมอบ ระหว่างลูกค้า หรือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการปฏิบัติและการทำงานร่วมกันในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อโอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ

การนำเสนอผลการศึกษาเรื่อง การวางความมุ่งหมายในการตลาด โดยสหพันธ์ผู้โฆษณาระดับโลก (WFA) ร่วมกับ Edelman ที่บ่งชี้ว่านักการตลาดปัจจุบัน ประเมินความสำคัญของการตลาดแบบ Purpose-Driven และตราสินค้าที่รับผิดชอบในสายตาของผู้บริโภค ต่ำเกินไป

ยัง มีเนื้อหาอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ อาทิ ผลการศึกษาเรื่อง Natural Capital at Risk : The Top 100 Externalities of Business, Rethinking Consumption : Consumers and the Future of Sustainability, Rethinking Sustainability : Brand Risks and Opportunities, Sustainability and the State of the Future Youth Culture, Resilience and Growth through Supply Chain Collaboration

สำหรับท่านที่สนใจติดตามเนื้อหาของการประชุมเพิ่มเติม สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.sustainablebrands13.com

โดย ธนาภรณ์ จึงมงคลวงษ์ สถาบันไทยพัฒน์

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370237048 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 4/06/2556 เวลา 03:45:11 ดูภาพสไลด์โชว์ ความยั่งยืนกับตราสินค้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สื่อประชาสัมพันธ์ ISTANBUL SB 2013 THE POWER OF AND คอลัมน์ CSR Talk สัปดาห์นี้ (3-6 มิ.ย.) ที่กรุงซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีงานประชุม Sustainable Brands 2013 ซึ่งจัดโดยกลุ่ม Sustainable Brands ที่เปิดตัวในปี พ.ศ. 2549 จากความริเริ่มของ KoAnn Vikoren Skrzyniarz นักบริหารสื่อธุรกิจที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องความยั่งยืนทางสังคมและสิ่ง แวดล้อม สาเหตุที่หยิบงานนี้มาเล่าสู่กันฟัง ก็เนื่องจากว่าเนื้อหาที่จะมีการนำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ มีความน่าสนใจหลายเรื่อง ด้วยจำนวนผู้เข้าร่วมที่คาดว่าจะมีถึง 2,000 คน กับอีกร่วม 100 องค์กรที่เข้าแสดง ผลงาน นวัตกรรม และเครื่องมือในการสร้างความยั่งยืนที่มีผลต่อตราสินค้า ใน 6 หัวเรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1)กลยุทธ์ และตัววัด ครอบคลุมเนื้อหาของการกำหนดเป้าประสงค์ และตัววัดผลสัมฤทธิ์ กลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากร การวางแผนสร้างคุณค่าในระยะยาว และความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 2)การผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งการกำหนดเป้าประสงค์ การติดตาม การปรับแต่งกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อปรับปรุงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดีขึ้น รวมถึงการสร้างรูปแบบใหม่ในการแบ่งปันคุณค่าระหว่างหุ้นส่วนธุรกิจทั้งใน ฝั่งต้นน้ำและปลายน้ำ 3)การหยั่งรู้ผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม เป็นเวทีเพื่อพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกของการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม ผู้บริโภค การโน้มน้าวให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่แบบแผนการซื้อและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมทั้งการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการปิดช่องว่างระหว่างค่านิยมกับการ ปฏิบัติ 4)การสานสัมพันธ์พนักงานและการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร นำเสนอเทคนิคในการสานสัมพันธ์และฝึกอบรมพนักงานอย่างมีประสิทธิผล การผลักดันและบริหารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร การขยับขยายความเข้าใจในคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อองค์กร 5)นวัต กรรมในผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ประกอบด้วย การให้ตัวอย่างนอกกรอบของแบบจำลองทางธุรกิจ นวัตกรรมในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำเงิน พร้อมกับการก้าวกระโดดสู่เส้นทางความยั่งยืนโดยส่วนรวม 6)การสื่อสาร ที่ให้แนวทางการนำเสนอคุณค่าในแบบ win-win-win (ตราสินค้า-ความยั่งยืน-ลูกค้า) ทั้งแก่ลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงการแบ่งปันความท้าทายและกรณีความสำเร็จในนวัตกรรมการตลาดตราสินค้าที่ ส่งมอบผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยตัวอย่างเนื้อหาที่คาดว่าจะมีการ นำเสนอในเวทีครั้งนี้ ได้แก่ รายงานผู้นำความยั่งยืน ประจำปี 2556 จัดทำโดย GlobeScan ร่วมกับ SustainAbility ที่แสดงให้เห็นถึงสถานะความเป็นผู้นำระหว่างภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาครัฐ ซึ่งมีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน การนำเสนอเครื่องมือ sSWOT หรือ Sustainability SWOT ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันทรัพยากรโลก (WRI) เพื่ออำนวยให้เกิดการทำงานโยงข้ามระหว่างสายงานต่าง ๆ ในองค์กร ระหว่างผู้ส่งมอบ ระหว่างลูกค้า หรือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการปฏิบัติและการทำงานร่วมกันในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อโอกาสและความเสี่ยงทางธุรกิจ การนำเสนอผลการศึกษาเรื่อง การวางความมุ่งหมายในการตลาด โดยสหพันธ์ผู้โฆษณาระดับโลก (WFA) ร่วมกับ Edelman ที่บ่งชี้ว่านักการตลาดปัจจุบัน ประเมินความสำคัญของการตลาดแบบ Purpose-Driven และตราสินค้าที่รับผิดชอบในสายตาของผู้บริโภค ต่ำเกินไป ยัง มีเนื้อหาอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งคาดว่าจะถูกนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ อาทิ ผลการศึกษาเรื่อง Natural Capital at Risk : The Top 100 Externalities of Business, Rethinking Consumption : Consumers and the Future of Sustainability, Rethinking Sustainability : Brand Risks and Opportunities, Sustainability and the State of the Future Youth Culture, Resilience and Growth through Supply Chain Collaboration สำหรับท่านที่สนใจติดตามเนื้อหาของการประชุมเพิ่มเติม สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ www.sustainablebrands13.com โดย ธนาภรณ์ จึงมงคลวงษ์ สถาบันไทยพัฒน์ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370237048

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...