"แม็คโคร" ขายกิจการ ทุนไทยจ้องเสียบ ต่อยอดธุรกิจค้าปลีก

แสดงความคิดเห็น

สมรภูมิ ค้าปลีกมูลค่า 2.3 ล้านล้านบาทยังคงเคลื่อนไหวคึกคักตั้งแต่ต้นปี จากการขยับตัวของกลุ่มทุนไทยที่มีการลงทุนและลุยซื้อกิจการในต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง

ทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ซื้อผิงอัน อินชัวแรนซ์ บริษัทประกันอันดับ 2 ของจีน

กลุ่มไทยเบฟของ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็น กิจการอาหารเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ รายใหญ่สัญชาติสิงคโปร์

และเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ที่เพิ่งซื้อ อิลลุม ห้างดังในเดนมาร์ก

แต่ ที่เป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ข่าวการซื้อขายกิจการของ "แม็คโคร" ซึ่งยังคงเป็นกระแสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้เคยเกิดลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว และครั้งนี้ "แม็คโคร" ก็ออกมาปฏิเสธอีกเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดนี้ ดูเหมือนว่ามีรายละเอียดมากขึ้น ทั้งในแง่ของการตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน และเม็ดเงินที่จะใช้ระหว่างดีล

ซึ่งแม้ว่าผู้บริหารแม็คโครในประเทศ ไทยจะปฏิเสธ แต่ในทางปฏิบัติ ทุกครั้งที่มีข่าวดีลลักษณะนี้เกิดขึ้น การปฏิเสธ ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเจรจา เมื่อดีลยังไม่จบ

รายงาน ข่าวจากวงการโบรกเกอร์ ระบุว่า ขณะนี้บริษัทแม่ได้ตั้งบริษัทที่ปรึกษาเพื่อขายกิจการแม็คโครในประเทศไทย และได้ดำเนินการติดต่อไปยังผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยหลายราย คาดว่าจะปิดดีลดังกล่าวภายในปีนี้

เมื่อดูบรรดารายชื่อของกลุ่มทุน ไทยที่ถูกทาบทามและสนใจ ล้วนเป็นยักษ์ธุรกิจค้าปลีกที่มีสรรพกำลังรอบด้าน อาทิ กลุ่มเซ็นทรัล, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กลุ่มเสี่ยเจริญ, กลุ่มซีพี รวมถึงบิ๊กซี

ขณะเดียวกันก็ล้วนแต่เป็นรายเดิมๆ ที่เคยเผชิญหน้า เมื่อคราวแข่งประมูลซื้อกิจการ "คาร์ฟูร์" ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติฝรั่งเศส เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนี้ผู้ที่คว้าไปครองก็คือ "บิ๊กซี" ของกลุ่มทุนกาสิโนจากฝรั่งเศส ที่กลุ่มเซ็นทรัลมีหุ้นอยู่ส่วนหนึ่ง

ผู้ได้รับการทาบทามรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ตัวเลขการซื้อขายกิจการของแม็คโครครั้งนี้น่าจะมีมูลค่าสูงลิ่วกว่า 1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว เท่ากับว่าจะเป็น "บิ๊กดีล" ในอุตสาหกรรมค้าปลีกในเมืองไทยครั้งใหญ่ที่สุดก็ว่าได้

ทั้งนี้ "แม็คโคร" มีความโดดเด่นในเรื่องของเซ็กเมนต์ธุรกิจค้าส่ง ที่มีคู่แข่งโดยตรงไม่กี่รายและไม่ได้ลงมาทำตรงนี้อย่างจริงจัง เมื่อเทียบกับแม็คโครที่มีภาพลักษณ์ตรงนี้ชัดเจน อีกทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีจำนวนมหาศาล และธุรกิจอาหารแช่เย็นแช่แข็ง ที่หันมาโฟกัสมากขึ้น เจาะลูกค้าโฮเรก้า ตลาดสด รองรับธุรกิจอาหารที่โตวันโตคืน

จึงเป็นอีกจิ๊กซอว์ที่น่าสนใจ สำหรับค้าปลีกรายอื่นๆ ใช้ต่อยอดช่องทางการกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้ารายย่อย

โดย เฉพาะค่ายธุรกิจค้าปลีกที่มีฐานกิจการครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว การได้กิจการของแม็คโครผนวกเข้ามา จะกลายเป็นการต่อยอดที่น่าจับตาอย่างยิ่ง

จาก ความแข็งแกร่งทางธุรกิจดังกล่าว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ วันนี้ "แม็คโคร" อยู่ในจังหวะขาขึ้น กิจการแม็คโครในไทยถือเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ และมีมูลค่าสูง หากวัดจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันอยู่ที่ 1.25 แสนล้านบาท บวกกับผลประกอบการดีเยี่ยมมาโดยตลอด ทั้งยอดขายและผลกำไรโตต่อเนื่อง โดยปี 2555 ปิดยอดขายที่ 112,140 ล้านบาท โต 15% เทียบปี 2554 มีรายได้ 96,000 ล้านบาท กำไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 3,556 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากสาขาเดิม

บรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า ขณะนี้ยังเป็นช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีกไทย ดังนั้น เชื่อว่าราคาขายจะสูงมาก และน่าจะเป็นเหตุที่ทำให้เห็นแรงจูงใจและเชื่อว่า "แม็คโคร" สนใจจะขายกิจการในไทย

อีกทั้ง ถ้าดูจากการดำเนินงานของ เอสเอชวี โฮลดิ้ง (เอ็น.วี.) (SHV Holdings) บริษัทแม่ของแม็คโคร ช่วงที่ผ่านมาได้ทยอยขายกิจการในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษขายให้กับกลุ่ม "เมโทร" สัญชาติเยอรมัน, ในมาเลเซียขายให้กับ "เทสโก้" และในอินโดนีเซีย ขายให้กับกลุ่ม "ลอตเต้"

ใน มุมนักลงทุนนั้น เมื่อตลาดมีความพร้อม มีโอกาสทำกำไรสูง ย่อมสนใจที่จะขายกิจการเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ของแม็คโครเอง ก็เป็นบริษัทลงทุนที่มีการบริหารพอร์ตอยู่ทุกปีและเน้นลงทุนในธุรกิจขนาด ใหญ่อย่างน้ำมัน ฯลฯ ไม่ได้โฟกัสในธุรกิจค้าปลีกมากนัก ดังนั้น หากช่วงเวลาไหน ธุรกิจในพอร์ตตัวใดสามารถขายและทำกำไรได้สูงสุดก็จะมีการประกาศเป็นเรื่อง ปกติ

ประกอบกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนไทยที่มีการซื้อกิจการกัน ไม่ยั้ง โดยเฉพาะกิจการในต่างประเทศของยักษ์ใหญ่ทั้ง ซีพี เซ็นทรัล ไทยเบฟฯ ซึ่งนับเป็นเม็ดเงินรวมกันแล้วเป็นจำนวนมหาศาล สะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพด้านกำลังทรัพย์มีอย่างเต็มเปี่ยม

อย่างไรก็ตาม มูลค่าซื้อขายมหาศาล อาจจะทำให้เกิดการถอดใจหรือไม่นั้น ก็เป็นปัจจัยเสริมที่เป็นไปได้

แหล่ง ข่าวจากกลุ่มเซ็นทรัลยอมรับว่าได้รับการติดต่อทาบทามผ่านทางสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทก็สนใจ เนื่องจากแม็คโครเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจมาก และเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูงต่อเนื่อง สามารถเข้ามาเชื่อมต่อและต่อยอดกับกลุ่มธุรกิจเซ็นทรัลได้ไม่ยาก แต่ติดปัญหาตรงที่ตอนนี้ราคาตั้งไว้สูงมาก บวกกับมีกลุ่มทุนหลายรายให้ความสนใจและต้องการที่จะเข้าซื้อกิจการ

ด้าน แหล่งข่าวจากบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ยอมรับเช่นกันว่าได้รับการทาบทามจากทางที่ปรึกษาทางการเงินที่ดูแลดีลนี้ จริง แต่คงต้องพิจารณาหลายด้าน หากราคาสูงเกินไปคงต้องพิจารณาทางเลือกอื่น

ขณะ ที่ นายประพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองประธานผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ ของบิ๊กซี ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่มีการเจรจาทาบทามขายแม็คโค รให้กับบิ๊กซี แต่ในความเห็นส่วนตัว เขากล่าวแบบทีเล่นทีจริงว่า

"ใคร จะตอบว่าสนใจ ตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับราคาหุ้น ถึงศึกษาอยู่ก็บอกไม่ได้ว่าศึกษา ส่วนตัวเลขซื้อขายที่ว่ามูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ถ้ามี 50-60 สาขา เท่ากับสาขาละ 2,000 ล้านบาท ใครจะกล้าซื้อ" เขาทิ้งท้าย

แม้ว่า ทุกครั้งที่มีข่าว แม็คโครจะออกมาปฏิเสธ แต่คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ที่สุดแล้ว "ดีล" นี้จะออกมาเป็นรูปแบบใด ซึ่งก็มีความเป็นไปได้หลายแนวทาง

โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการขาย กิจการที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศก่อนหน้านี้ ภายใต้เหตุผลว่า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสามารถขายกิจการได้ในราคาที่น่าพอใจ

ขณะ เดียวกัน นี่คือโอกาสครั้งสำคัญของกลุ่มทุนใหม่ซึ่งเป็นทุนสัญชาติไทย ที่จะได้กิจการ ตลอดจนโนว์ฮาวหรือองค์ความรู้ในด้านธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่ ที่การันตีด้วยความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาแล้ว

แต่ก็แน่นอนว่าจะต้องแลกด้วยเม็ดเงินลงทุนมูลค่านับแสนล้านบาท

นี่จึงเป็นอภิมหาแกรนด์เซลส์ครั้งสำคัญอีกดีลหนึ่งของเมืองไทยที่ต้องจับตากันไม่กะพริบเลยทีเดียว

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365240015&grpid=03&catid=&subcatid= (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 เม.ย. 56
วันที่โพสต์: 7/04/2556 เวลา 02:59:37

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สมรภูมิ ค้าปลีกมูลค่า 2.3 ล้านล้านบาทยังคงเคลื่อนไหวคึกคักตั้งแต่ต้นปี จากการขยับตัวของกลุ่มทุนไทยที่มีการลงทุนและลุยซื้อกิจการในต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง ทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี ของ เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ซื้อผิงอัน อินชัวแรนซ์ บริษัทประกันอันดับ 2 ของจีน กลุ่มไทยเบฟของ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็น กิจการอาหารเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ รายใหญ่สัญชาติสิงคโปร์ และเซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ที่เพิ่งซื้อ อิลลุม ห้างดังในเดนมาร์ก แต่ ที่เป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ข่าวการซื้อขายกิจการของ "แม็คโคร" ซึ่งยังคงเป็นกระแสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากก่อนหน้านี้เคยเกิดลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว และครั้งนี้ "แม็คโคร" ก็ออกมาปฏิเสธอีกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดนี้ ดูเหมือนว่ามีรายละเอียดมากขึ้น ทั้งในแง่ของการตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน และเม็ดเงินที่จะใช้ระหว่างดีล ซึ่งแม้ว่าผู้บริหารแม็คโครในประเทศ ไทยจะปฏิเสธ แต่ในทางปฏิบัติ ทุกครั้งที่มีข่าวดีลลักษณะนี้เกิดขึ้น การปฏิเสธ ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเจรจา เมื่อดีลยังไม่จบ รายงาน ข่าวจากวงการโบรกเกอร์ ระบุว่า ขณะนี้บริษัทแม่ได้ตั้งบริษัทที่ปรึกษาเพื่อขายกิจการแม็คโครในประเทศไทย และได้ดำเนินการติดต่อไปยังผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยหลายราย คาดว่าจะปิดดีลดังกล่าวภายในปีนี้ เมื่อดูบรรดารายชื่อของกลุ่มทุน ไทยที่ถูกทาบทามและสนใจ ล้วนเป็นยักษ์ธุรกิจค้าปลีกที่มีสรรพกำลังรอบด้าน อาทิ กลุ่มเซ็นทรัล, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กลุ่มเสี่ยเจริญ, กลุ่มซีพี รวมถึงบิ๊กซี ขณะเดียวกันก็ล้วนแต่เป็นรายเดิมๆ ที่เคยเผชิญหน้า เมื่อคราวแข่งประมูลซื้อกิจการ "คาร์ฟูร์" ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติฝรั่งเศส เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนี้ผู้ที่คว้าไปครองก็คือ "บิ๊กซี" ของกลุ่มทุนกาสิโนจากฝรั่งเศส ที่กลุ่มเซ็นทรัลมีหุ้นอยู่ส่วนหนึ่ง ผู้ได้รับการทาบทามรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ตัวเลขการซื้อขายกิจการของแม็คโครครั้งนี้น่าจะมีมูลค่าสูงลิ่วกว่า 1 แสนล้านบาทเลยทีเดียว เท่ากับว่าจะเป็น "บิ๊กดีล" ในอุตสาหกรรมค้าปลีกในเมืองไทยครั้งใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ทั้งนี้ "แม็คโคร" มีความโดดเด่นในเรื่องของเซ็กเมนต์ธุรกิจค้าส่ง ที่มีคู่แข่งโดยตรงไม่กี่รายและไม่ได้ลงมาทำตรงนี้อย่างจริงจัง เมื่อเทียบกับแม็คโครที่มีภาพลักษณ์ตรงนี้ชัดเจน อีกทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีจำนวนมหาศาล และธุรกิจอาหารแช่เย็นแช่แข็ง ที่หันมาโฟกัสมากขึ้น เจาะลูกค้าโฮเรก้า ตลาดสด รองรับธุรกิจอาหารที่โตวันโตคืน จึงเป็นอีกจิ๊กซอว์ที่น่าสนใจ สำหรับค้าปลีกรายอื่นๆ ใช้ต่อยอดช่องทางการกระจายสินค้าไปสู่ร้านค้ารายย่อย โดย เฉพาะค่ายธุรกิจค้าปลีกที่มีฐานกิจการครอบคลุมทั่วประเทศอยู่แล้ว การได้กิจการของแม็คโครผนวกเข้ามา จะกลายเป็นการต่อยอดที่น่าจับตาอย่างยิ่ง จาก ความแข็งแกร่งทางธุรกิจดังกล่าว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ วันนี้ "แม็คโคร" อยู่ในจังหวะขาขึ้น กิจการแม็คโครในไทยถือเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ และมีมูลค่าสูง หากวัดจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันอยู่ที่ 1.25 แสนล้านบาท บวกกับผลประกอบการดีเยี่ยมมาโดยตลอด ทั้งยอดขายและผลกำไรโตต่อเนื่อง โดยปี 2555 ปิดยอดขายที่ 112,140 ล้านบาท โต 15% เทียบปี 2554 มีรายได้ 96,000 ล้านบาท กำไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 3,556 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากสาขาเดิม บรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า ขณะนี้ยังเป็นช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีกไทย ดังนั้น เชื่อว่าราคาขายจะสูงมาก และน่าจะเป็นเหตุที่ทำให้เห็นแรงจูงใจและเชื่อว่า "แม็คโคร" สนใจจะขายกิจการในไทย อีกทั้ง ถ้าดูจากการดำเนินงานของ เอสเอชวี โฮลดิ้ง (เอ็น.วี.) (SHV Holdings) บริษัทแม่ของแม็คโคร ช่วงที่ผ่านมาได้ทยอยขายกิจการในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษขายให้กับกลุ่ม "เมโทร" สัญชาติเยอรมัน, ในมาเลเซียขายให้กับ "เทสโก้" และในอินโดนีเซีย ขายให้กับกลุ่ม "ลอตเต้" ใน มุมนักลงทุนนั้น เมื่อตลาดมีความพร้อม มีโอกาสทำกำไรสูง ย่อมสนใจที่จะขายกิจการเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่ของแม็คโครเอง ก็เป็นบริษัทลงทุนที่มีการบริหารพอร์ตอยู่ทุกปีและเน้นลงทุนในธุรกิจขนาด ใหญ่อย่างน้ำมัน ฯลฯ ไม่ได้โฟกัสในธุรกิจค้าปลีกมากนัก ดังนั้น หากช่วงเวลาไหน ธุรกิจในพอร์ตตัวใดสามารถขายและทำกำไรได้สูงสุดก็จะมีการประกาศเป็นเรื่อง ปกติ ประกอบกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนไทยที่มีการซื้อกิจการกัน ไม่ยั้ง โดยเฉพาะกิจการในต่างประเทศของยักษ์ใหญ่ทั้ง ซีพี เซ็นทรัล ไทยเบฟฯ ซึ่งนับเป็นเม็ดเงินรวมกันแล้วเป็นจำนวนมหาศาล สะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพด้านกำลังทรัพย์มีอย่างเต็มเปี่ยม อย่างไรก็ตาม มูลค่าซื้อขายมหาศาล อาจจะทำให้เกิดการถอดใจหรือไม่นั้น ก็เป็นปัจจัยเสริมที่เป็นไปได้ แหล่ง ข่าวจากกลุ่มเซ็นทรัลยอมรับว่าได้รับการติดต่อทาบทามผ่านทางสถาบันการเงิน ซึ่งบริษัทก็สนใจ เนื่องจากแม็คโครเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความน่าสนใจมาก และเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตสูงต่อเนื่อง สามารถเข้ามาเชื่อมต่อและต่อยอดกับกลุ่มธุรกิจเซ็นทรัลได้ไม่ยาก แต่ติดปัญหาตรงที่ตอนนี้ราคาตั้งไว้สูงมาก บวกกับมีกลุ่มทุนหลายรายให้ความสนใจและต้องการที่จะเข้าซื้อกิจการ ด้าน แหล่งข่าวจากบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ยอมรับเช่นกันว่าได้รับการทาบทามจากทางที่ปรึกษาทางการเงินที่ดูแลดีลนี้ จริง แต่คงต้องพิจารณาหลายด้าน หากราคาสูงเกินไปคงต้องพิจารณาทางเลือกอื่น ขณะ ที่ นายประพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองประธานผู้บริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ ของบิ๊กซี ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่มีการเจรจาทาบทามขายแม็คโค รให้กับบิ๊กซี แต่ในความเห็นส่วนตัว เขากล่าวแบบทีเล่นทีจริงว่า "ใคร จะตอบว่าสนใจ ตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับราคาหุ้น ถึงศึกษาอยู่ก็บอกไม่ได้ว่าศึกษา ส่วนตัวเลขซื้อขายที่ว่ามูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ถ้ามี 50-60 สาขา เท่ากับสาขาละ 2,000 ล้านบาท ใครจะกล้าซื้อ" เขาทิ้งท้าย แม้ว่า ทุกครั้งที่มีข่าว แม็คโครจะออกมาปฏิเสธ แต่คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ที่สุดแล้ว "ดีล" นี้จะออกมาเป็นรูปแบบใด ซึ่งก็มีความเป็นไปได้หลายแนวทาง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการขาย กิจการที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศก่อนหน้านี้ ภายใต้เหตุผลว่า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสามารถขายกิจการได้ในราคาที่น่าพอใจ ขณะ เดียวกัน นี่คือโอกาสครั้งสำคัญของกลุ่มทุนใหม่ซึ่งเป็นทุนสัญชาติไทย ที่จะได้กิจการ ตลอดจนโนว์ฮาวหรือองค์ความรู้ในด้านธุรกิจค้าส่งสมัยใหม่ ที่การันตีด้วยความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาแล้ว แต่ก็แน่นอนว่าจะต้องแลกด้วยเม็ดเงินลงทุนมูลค่านับแสนล้านบาท นี่จึงเป็นอภิมหาแกรนด์เซลส์ครั้งสำคัญอีกดีลหนึ่งของเมืองไทยที่ต้องจับตากันไม่กะพริบเลยทีเดียว ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365240015&grpid=03&catid=&subcatid=

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...