มาร์จิ้นบาง...ต้นทุนบีบ ร้านหนังสือมุ่ง "ธุรกิจใหม่"

แสดงความคิดเห็น

แนวโน้มธุรกิจ "ร้านหนังสือ" ตลอดปีนี้จะมีความเคลื่อนไหวอย่างมาก หลังจากปีที่ผ่านมาเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความผันผวนอย่างมาก จากต้นทุนบริหารจัดการที่ปรับตัวขึ้น ทั้งค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ค่าเช่าพื้นที่ห้าง นำไปสู่ประเด็นร้อน เมื่อ 2 เชนร้านหนังสือรายใหญ่ขอเรียกเก็บค่าธรรมเนียมศูนย์กระจายสินค้า 1% จากสำนักพิมพ์ รวมถึงพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนช่องทางการอ่าน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่

ปัจจัยดังกล่าวยังคงส่งผลต่อเนื่องในปี 2556 เป็นเหตุผลให้ทุกค่ายเร่งปรับตัวอย่างหนัก เพื่อที่จะรักษาการเติบโต

"ทนง โชติสรยุทธ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ฉายภาพของร้านหนังสือว่า ปี 2555 ที่ผ่านมา ถือเป็นปี "วิกฤต" พอสมควรของคนทำธุรกิจหนังสือ ต่อเนื่องถึง 2556 ที่จะเป็นปีแห่งการปรับธุรกิจอย่างแท้จริง

"การทำกำไรของคนทำธุรกิจหนังสือในปีที่ผ่านมา สะเทือนทั้งระบบ ยอดขายเดิมมีแนวโน้มตกต่ำลงในแต่ละเชน เพราะกำลังซื้อที่หลั่งไหลไปกับนโยบายรถคันแรก แคมเปญของห้าง ปี 2556 ยังเป็นปีที่ผันผวน ทั้งค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ การเมืองที่ยังคุกรุ่น เศรษฐกิจ โซเชียลเน็ตเวิร์กและอีบุ๊กที่ทำให้คนอ่านหนังสือลดลง ทำให้ต้อง

เผชิญกับการแข่งขันข้ามธุรกิจ ขณะที่ในธุรกิจร้านหนังสือเองก็มีการแข่งขันสูงขึ้น ในแง่ของการแย่งชิงลูกค้าจากการ

แชร์ตลาดในทำเลเดียวกัน" เขากล่าวและว่าซีเอ็ดจึงวางแผนการลงทุนสาขาใหม่ให้รัดกุม ทั้งจำนวนร้านเปิดใหม่ลดลง แต่เฟ้นทำเลมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะปรับโครงสร้างของธุรกิจ เพิ่มน้ำหนักของธุรกิจอื่น ๆ มากขึ้น

"ทนง" บอกว่า ตลอด 3 ปีจากนี้ (2556-2558) จะเห็นการปรับตัวชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการทำกำไร

"ในอนาคตจะมีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ใช่หนังสือ หรือน็อนบุ๊กมากขึ้น โดยเริ่มจากปีนี้ที่มีแผนโฟกัสอย่างจริงจัง หลังจากที่ผ่านมาได้ทยอยเพิ่มสัดส่วนมาตลอด เพราะอัตราเติบโตดีต่อเนื่อง มีสัดส่วนกว่า 10% ของยอดขายซีเอ็ด ซึ่งต้องการจะเพิ่มสัดส่วนมากกว่านี้" เขากล่าวและว่า

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดก็คือพื้นที่ร้าน ปีนี้จึงจะขยายช่องทางจากหน้าร้านไปสู่ "ซีเอ็ด แอปพลิเคชั่น" ซึ่งอยู่ระหว่างปรับโฉมให้มีจุดเด่นและเสน่ห์ยิ่งขึ้น ถือเป็นการปรับรอบที่ 3 จะเปิดตัวอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้

ขณะเดียวกัน คลังสินค้าแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างก็จะเข้ามารองรับการขยายสินค้าน็อนบุ๊ก เนื่องจากพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่อยู่ที่ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตร 21 พื้นที่ 30 ไร่ งบฯลงทุนที่ดิน 267 ล้านบาท ก่อสร้าง 510 ล้านบาท คาดว่าเร็ว ๆ นี้จะเริ่มใช้ได้บางส่วน และเปิดใช้เต็มรูปแบบสิ้นปี 2556

"น็อนบุ๊กจะเป็นตัวสร้างรายได้มากขึ้น เพราะคนอ่านหนังสือจะอ่านในจำนวนที่จำกัด แต่ศักยภาพเงินในกระเป๋าสามารถซื้อสินค้าอื่นได้อีก ก็จะช่วยเพิ่มรายได้

แม้เทรนด์ซื้อออนไลน์ในไทยยังไม่มากเท่าต่างประเทศ แต่เชื่อว่าแนวโน้มในอนาคตจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะพัฒนาระบบ สินค้า โลจิสติกส์ได้มากกว่ากัน"

ก่อนหน้านี้ "ทนง" เคยกล่าวว่า ธุรกิจหนังสือทุกวันนี้ยังเติบโต แต่มีอัตราชะลอตัวลง และเป็นธุรกิจที่มีกำไรไม่มาก ขณะที่ต้นทุนบริหารจัดการเพิ่มขึ้นตลอด จำเป็นต้องขยายธุรกิจหรือสินค้าอื่น ๆ ที่มีกำไรสูงกว่า หรือมีความเคลื่อนไหวเร็วกว่าเข้ามาเสริมเพื่อเลี้ยงตัวเองให้อยู่รอด ซึ่งการเพิ่มกลุ่มสินค้าน็อนบุ๊กก็เป็นอีกความพยายามที่จะประคองธุรกิจ เนื่องจากใช้พื้นที่วางไม่มาก และมีสัดส่วนการขายสูง หมุนเวียนเร็วกว่าหนังสือ

ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ "ซีเอ็ด" แต่ร้านหนังสืออื่น ๆ ก็มีการปรับเพิ่มสัดส่วนน็อนบุ๊ก อาทิ เอเชียบุ๊คส, นานมี บุ๊คส์ และนายอินทร์ โดยเน้นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน สินค้าเพื่อสุขภาพ ของเล่นพัฒนาทักษะ

"ระพี อุทกะพันธุ์" ผู้อำนวยการสายงานค้าปลีก บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ระบุว่า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพิ่มยอดใช้จ่ายต่อบิล เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงกว่า

หนังสือ โดยวางแผนเพิ่มสัดส่วนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของร้านหนังสืออีกเทรนด์ของธุรกิจร้านหนังสือก็คือ การรุกเข้าไปในธุรกิจการศึกษา เพิ่มเติมจากที่มีลักษณะจัดแคมป์ให้กับเด็ก ๆ ช่วงปิดเทอม

"ทนง" บอกว่า ตั้งแต่ปี 2557 จะเห็นการรุกหนักในธุรกิจการศึกษา เพราะมีโอกาสจากการเปิดเออีซี นโยบายของภาครัฐและความต้องการของพ่อแม่ สมัยใหม่ที่ส่งเสริมการเรียน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ผ่านธุรกิจซีเอ็ดเลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ ที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ ครั้งแรกในเดือนเมษายนนี้ เป้าหมายปีนี้เปิด 20-25 สาขา และปี 2557 เปิดอีก 30-50 สาขา

ขณะเดียวกัน จากเดิมเน้นคิดดี้แคมป์ ก็จะเจาะกลุ่มมัธยม อุดมศึกษา อาชีวศึกษา และคนทำงาน รวมทั้งพัฒนาเป็นหลักสูตรขยายฐานลูกค้าที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ระดับประถมศึกษา จากเดิมที่เป็นลักษณะการสอนเสริมหลังเลิกเรียน

อีกค่ายที่หันมาให้น้ำหนักตรงนี้อย่างมากก็คือ "นานมีบุ๊คส์" ภายใต้นานมีบุ๊คส์ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ และสถาบันนานมีบุ๊คส์ อินโนเวชั่น

"คิม จงสถิตย์วัฒนา" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ฉายทิศทางว่า นานมีบุ๊คส์ไม่ได้เป็นแค่สำนักพิมพ์เท่านั้น

แต่มุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ นำไปต่อยอดธุรกิจที่นอกเหนือจากฟอร์แมตของการอ่าน ซึ่งเริ่มรุกหนักมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะนับวันช่องทางการอ่านจะมีทางเลือกใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะสื่อออนไลน์

หากใครสามารถปรับตัวได้เร็ว และเข้าไปจับจองตลาดเป็นรายแรก นั่นหมายถึงโอกาสสร้างยอดขาย ซึ่งทุกค่ายพยายามมุ่งไป และแข่งกันครองใจกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1363791731&grpid=00&catid=11&subcatid=1103 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 22/03/2556 เวลา 03:37:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แนวโน้มธุรกิจ "ร้านหนังสือ" ตลอดปีนี้จะมีความเคลื่อนไหวอย่างมาก หลังจากปีที่ผ่านมาเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความผันผวนอย่างมาก จากต้นทุนบริหารจัดการที่ปรับตัวขึ้น ทั้งค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ค่าเช่าพื้นที่ห้าง นำไปสู่ประเด็นร้อน เมื่อ 2 เชนร้านหนังสือรายใหญ่ขอเรียกเก็บค่าธรรมเนียมศูนย์กระจายสินค้า 1% จากสำนักพิมพ์ รวมถึงพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนช่องทางการอ่าน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ปัจจัยดังกล่าวยังคงส่งผลต่อเนื่องในปี 2556 เป็นเหตุผลให้ทุกค่ายเร่งปรับตัวอย่างหนัก เพื่อที่จะรักษาการเติบโต "ทนง โชติสรยุทธ์" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ฉายภาพของร้านหนังสือว่า ปี 2555 ที่ผ่านมา ถือเป็นปี "วิกฤต" พอสมควรของคนทำธุรกิจหนังสือ ต่อเนื่องถึง 2556 ที่จะเป็นปีแห่งการปรับธุรกิจอย่างแท้จริง "การทำกำไรของคนทำธุรกิจหนังสือในปีที่ผ่านมา สะเทือนทั้งระบบ ยอดขายเดิมมีแนวโน้มตกต่ำลงในแต่ละเชน เพราะกำลังซื้อที่หลั่งไหลไปกับนโยบายรถคันแรก แคมเปญของห้าง ปี 2556 ยังเป็นปีที่ผันผวน ทั้งค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ การเมืองที่ยังคุกรุ่น เศรษฐกิจ โซเชียลเน็ตเวิร์กและอีบุ๊กที่ทำให้คนอ่านหนังสือลดลง ทำให้ต้อง เผชิญกับการแข่งขันข้ามธุรกิจ ขณะที่ในธุรกิจร้านหนังสือเองก็มีการแข่งขันสูงขึ้น ในแง่ของการแย่งชิงลูกค้าจากการ แชร์ตลาดในทำเลเดียวกัน" เขากล่าวและว่าซีเอ็ดจึงวางแผนการลงทุนสาขาใหม่ให้รัดกุม ทั้งจำนวนร้านเปิดใหม่ลดลง แต่เฟ้นทำเลมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะปรับโครงสร้างของธุรกิจ เพิ่มน้ำหนักของธุรกิจอื่น ๆ มากขึ้น "ทนง" บอกว่า ตลอด 3 ปีจากนี้ (2556-2558) จะเห็นการปรับตัวชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการทำกำไร "ในอนาคตจะมีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ใช่หนังสือ หรือน็อนบุ๊กมากขึ้น โดยเริ่มจากปีนี้ที่มีแผนโฟกัสอย่างจริงจัง หลังจากที่ผ่านมาได้ทยอยเพิ่มสัดส่วนมาตลอด เพราะอัตราเติบโตดีต่อเนื่อง มีสัดส่วนกว่า 10% ของยอดขายซีเอ็ด ซึ่งต้องการจะเพิ่มสัดส่วนมากกว่านี้" เขากล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดก็คือพื้นที่ร้าน ปีนี้จึงจะขยายช่องทางจากหน้าร้านไปสู่ "ซีเอ็ด แอปพลิเคชั่น" ซึ่งอยู่ระหว่างปรับโฉมให้มีจุดเด่นและเสน่ห์ยิ่งขึ้น ถือเป็นการปรับรอบที่ 3 จะเปิดตัวอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะเดียวกัน คลังสินค้าแห่งใหม่ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างก็จะเข้ามารองรับการขยายสินค้าน็อนบุ๊ก เนื่องจากพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่อยู่ที่ถนนบางนา-ตราด กิโลเมตร 21 พื้นที่ 30 ไร่ งบฯลงทุนที่ดิน 267 ล้านบาท ก่อสร้าง 510 ล้านบาท คาดว่าเร็ว ๆ นี้จะเริ่มใช้ได้บางส่วน และเปิดใช้เต็มรูปแบบสิ้นปี 2556 "น็อนบุ๊กจะเป็นตัวสร้างรายได้มากขึ้น เพราะคนอ่านหนังสือจะอ่านในจำนวนที่จำกัด แต่ศักยภาพเงินในกระเป๋าสามารถซื้อสินค้าอื่นได้อีก ก็จะช่วยเพิ่มรายได้ แม้เทรนด์ซื้อออนไลน์ในไทยยังไม่มากเท่าต่างประเทศ แต่เชื่อว่าแนวโน้มในอนาคตจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะพัฒนาระบบ สินค้า โลจิสติกส์ได้มากกว่ากัน" ก่อนหน้านี้ "ทนง" เคยกล่าวว่า ธุรกิจหนังสือทุกวันนี้ยังเติบโต แต่มีอัตราชะลอตัวลง และเป็นธุรกิจที่มีกำไรไม่มาก ขณะที่ต้นทุนบริหารจัดการเพิ่มขึ้นตลอด จำเป็นต้องขยายธุรกิจหรือสินค้าอื่น ๆ ที่มีกำไรสูงกว่า หรือมีความเคลื่อนไหวเร็วกว่าเข้ามาเสริมเพื่อเลี้ยงตัวเองให้อยู่รอด ซึ่งการเพิ่มกลุ่มสินค้าน็อนบุ๊กก็เป็นอีกความพยายามที่จะประคองธุรกิจ เนื่องจากใช้พื้นที่วางไม่มาก และมีสัดส่วนการขายสูง หมุนเวียนเร็วกว่าหนังสือ ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ "ซีเอ็ด" แต่ร้านหนังสืออื่น ๆ ก็มีการปรับเพิ่มสัดส่วนน็อนบุ๊ก อาทิ เอเชียบุ๊คส, นานมี บุ๊คส์ และนายอินทร์ โดยเน้นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน สินค้าเพื่อสุขภาพ ของเล่นพัฒนาทักษะ "ระพี อุทกะพันธุ์" ผู้อำนวยการสายงานค้าปลีก บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ระบุว่า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเพิ่มยอดใช้จ่ายต่อบิล เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมาร์จิ้นสูงกว่า หนังสือ โดยวางแผนเพิ่มสัดส่วนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของร้านหนังสืออีกเทรนด์ของธุรกิจร้านหนังสือก็คือ การรุกเข้าไปในธุรกิจการศึกษา เพิ่มเติมจากที่มีลักษณะจัดแคมป์ให้กับเด็ก ๆ ช่วงปิดเทอม "ทนง" บอกว่า ตั้งแต่ปี 2557 จะเห็นการรุกหนักในธุรกิจการศึกษา เพราะมีโอกาสจากการเปิดเออีซี นโยบายของภาครัฐและความต้องการของพ่อแม่ สมัยใหม่ที่ส่งเสริมการเรียน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ผ่านธุรกิจซีเอ็ดเลิร์นนิ่งเซ็นเตอร์ ที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ ครั้งแรกในเดือนเมษายนนี้ เป้าหมายปีนี้เปิด 20-25 สาขา และปี 2557 เปิดอีก 30-50 สาขา ขณะเดียวกัน จากเดิมเน้นคิดดี้แคมป์ ก็จะเจาะกลุ่มมัธยม อุดมศึกษา อาชีวศึกษา และคนทำงาน รวมทั้งพัฒนาเป็นหลักสูตรขยายฐานลูกค้าที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ระดับประถมศึกษา จากเดิมที่เป็นลักษณะการสอนเสริมหลังเลิกเรียน อีกค่ายที่หันมาให้น้ำหนักตรงนี้อย่างมากก็คือ "นานมีบุ๊คส์" ภายใต้นานมีบุ๊คส์ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์ และสถาบันนานมีบุ๊คส์ อินโนเวชั่น "คิม จงสถิตย์วัฒนา" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ฉายทิศทางว่า นานมีบุ๊คส์ไม่ได้เป็นแค่สำนักพิมพ์เท่านั้น แต่มุ่งพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านคอนเทนต์ นำไปต่อยอดธุรกิจที่นอกเหนือจากฟอร์แมตของการอ่าน ซึ่งเริ่มรุกหนักมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะนับวันช่องทางการอ่านจะมีทางเลือกใหม่ ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ หากใครสามารถปรับตัวได้เร็ว และเข้าไปจับจองตลาดเป็นรายแรก นั่นหมายถึงโอกาสสร้างยอดขาย ซึ่งทุกค่ายพยายามมุ่งไป และแข่งกันครองใจกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1363791731&grpid=00&catid=11&subcatid=1103

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...