ธุรกิจมั่นคงด้วยกลยุทธ์'รับผิดชอบ'

แสดงความคิดเห็น

เล่าสู่กันฟัง : เสริมความมั่นคงให้ธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ 'รับผิดชอบ' : โดย...บัญญัติ คำนูณวัฒน์

คุ้นๆ กับข้อความนี้บ้างไหม "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า..." คิดว่าหลายคนคงยังพอจำกันได้ ที่หยิบยกข้อความนี้ขึ้นมา ก็เพื่อชวนคิดถึงบรรยากาศการค้าขายที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เท่าที่พอจำได้ จากยุคเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัยที่การค้าขายแบบเสรีนิยม เน้นการผลิตเพื่อการยังชีพ เหลือกินเหลือใช้ถึงจะนำออกมาค้าขาย ผู้บริโภคเองก็หาซื้อของได้เท่าที่มีขาย ณ เวลานั้น

พอก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การแข่งขันเริ่มมากขึ้น การผลิตเน้นเพื่อค้าขายและการส่งออกมากกว่าเพื่อการยังชีพ ส่งผลให้ตลาดในช่วงนั้นมีสินค้าและบริการที่ไม่แตกต่างกันมากนัก คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์มุ่งเน้นการใช้งานมากกว่าเพื่อความสวยงาม เช่น ยาสระผม สบู่ ยาสีฟัน ใช้ทำความสะอาดร่างกาย น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ใช้ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น

ปัจจุบันเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของผู้ผลิตและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างสลับขั้ว จากเมื่อก่อน ผู้ผลิตจะเป็นผู้ที่กำหนดว่าจะผลิตอะไรออกมาขาย โดยดูจากวัตถุดิบ และทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่เป็นหลัก ไม่สนใจว่าผู้บริโภคต้องการอะไร หลังจากที่เข้าสู่กระแสบริโภคนิยม ผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการออกสู่ตลาดมากขึ้น ผู้ผลิตมุ่งผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก จึงให้ความสำคัญในรายละเอียดของผู้บริโภคที่จะมาซื้อสินค้าและใช้บริการ โดยดูเจาะลึกไปกระทั่งว่า เป็นชายหรือหญิง อยู่ในวัยไหน ปัญหาสภาพร่างกายเป็นอย่างไร เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารมากมาย ผู้บริโภครู้จักที่จะปกป้อง รักษา และเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อได้รับผลกระทบจากการใช้สินค้าและบริการที่ซื้อมา สมัยก่อนอาจยังไม่มีหน่วยงานไหนเป็นศูนย์กลางคอยดูแลและจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง โชคดีที่ทุกวันนี้มีทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานอิสระออกมาดูแลผู้บริโภคกันมากขึ้น ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค เป็นต้น เท่าที่รู้มาองค์กรเหล่านี้ล้วนมีความเข้มแข็ง มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะออกมาปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้บริโภคมีสถานที่ที่ร้องเรียน ได้อย่างสะดวกขึ้น

ดังนั้น ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายควรให้ความสำคัญและใส่ใจในรายละเอียดของสินค้าและบริการมากขึ้นและจริงจังขึ้น อย่าคิดแต่เพียงว่า ผลิตให้มากและขายให้เยอะอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจและรับผิดชอบผู้บริโภคที่ใช้สินค้าและบริการของเราควบคู่กันไปด้วย ผู้บริโภคจึงจะอุดหนุนสินค้าและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจมีความมั่นคง ค้าขายได้อย่างราบรื่น และเป็นที่รักของผู้บริโภคตลอดไป

http://www.komchadluek.net/detail/20130320/154224/ธุรกิจมั่นคงด้วยกลยุทธ์รับผิดชอบ.html#.UUp5NDc7va4 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 21/03/2556 เวลา 03:11:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เล่าสู่กันฟัง : เสริมความมั่นคงให้ธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ 'รับผิดชอบ' : โดย...บัญญัติ คำนูณวัฒน์ คุ้นๆ กับข้อความนี้บ้างไหม "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า..." คิดว่าหลายคนคงยังพอจำกันได้ ที่หยิบยกข้อความนี้ขึ้นมา ก็เพื่อชวนคิดถึงบรรยากาศการค้าขายที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เท่าที่พอจำได้ จากยุคเกษตรกรรมในสมัยสุโขทัยที่การค้าขายแบบเสรีนิยม เน้นการผลิตเพื่อการยังชีพ เหลือกินเหลือใช้ถึงจะนำออกมาค้าขาย ผู้บริโภคเองก็หาซื้อของได้เท่าที่มีขาย ณ เวลานั้น พอก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การแข่งขันเริ่มมากขึ้น การผลิตเน้นเพื่อค้าขายและการส่งออกมากกว่าเพื่อการยังชีพ ส่งผลให้ตลาดในช่วงนั้นมีสินค้าและบริการที่ไม่แตกต่างกันมากนัก คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์มุ่งเน้นการใช้งานมากกว่าเพื่อความสวยงาม เช่น ยาสระผม สบู่ ยาสีฟัน ใช้ทำความสะอาดร่างกาย น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ใช้ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น ปัจจุบันเมื่อก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ บทบาทของผู้ผลิตและผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างสลับขั้ว จากเมื่อก่อน ผู้ผลิตจะเป็นผู้ที่กำหนดว่าจะผลิตอะไรออกมาขาย โดยดูจากวัตถุดิบ และทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่เป็นหลัก ไม่สนใจว่าผู้บริโภคต้องการอะไร หลังจากที่เข้าสู่กระแสบริโภคนิยม ผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการออกสู่ตลาดมากขึ้น ผู้ผลิตมุ่งผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก จึงให้ความสำคัญในรายละเอียดของผู้บริโภคที่จะมาซื้อสินค้าและใช้บริการ โดยดูเจาะลึกไปกระทั่งว่า เป็นชายหรือหญิง อยู่ในวัยไหน ปัญหาสภาพร่างกายเป็นอย่างไร เพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารมากมาย ผู้บริโภครู้จักที่จะปกป้อง รักษา และเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อได้รับผลกระทบจากการใช้สินค้าและบริการที่ซื้อมา สมัยก่อนอาจยังไม่มีหน่วยงานไหนเป็นศูนย์กลางคอยดูแลและจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง โชคดีที่ทุกวันนี้มีทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานอิสระออกมาดูแลผู้บริโภคกันมากขึ้น ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค เป็นต้น เท่าที่รู้มาองค์กรเหล่านี้ล้วนมีความเข้มแข็ง มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมที่จะออกมาปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้บริโภคมีสถานที่ที่ร้องเรียน ได้อย่างสะดวกขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาที่ผู้ประกอบการค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายควรให้ความสำคัญและใส่ใจในรายละเอียดของสินค้าและบริการมากขึ้นและจริงจังขึ้น อย่าคิดแต่เพียงว่า ผลิตให้มากและขายให้เยอะอย่างเดียว แต่ควรใส่ใจและรับผิดชอบผู้บริโภคที่ใช้สินค้าและบริการของเราควบคู่กันไปด้วย ผู้บริโภคจึงจะอุดหนุนสินค้าและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจมีความมั่นคง ค้าขายได้อย่างราบรื่น และเป็นที่รักของผู้บริโภคตลอดไป http://www.komchadluek.net/detail/20130320/154224/ธุรกิจมั่นคงด้วยกลยุทธ์รับผิดชอบ.html#.UUp5NDc7va4

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...