กรุงศรีคาดบาทแข็งค่าต่อ-มีสิทธิ์แตะ29บาท/ดอลลาร์เชื่อแบงก์ชาติไม่ขึ้นดอกเบี้ย

แสดงความคิดเห็น

(18มี.ค.2556) - นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่กำลังแข็งค่าว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักมาจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ หลังจากที่คาดการณ์ว่าสหรัฐฯจะยังใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน หรือ QE อยู่ รวมถึงเศรษฐกิจไทยปีนี้มีอัตราการเติบโตที่ดี และดุลการชำระเงินของไทยเกินดุลในระดับที่สูง ทำให้คาดการณ์ว่าเงินบาทจะยังแข็งค่าต่อไป

ทั้งนี้ บาทใกล้จะแตะที่ระดับ 29.50 ซึ่งเป็นระดับที่หลายๆ คนจับตามอง แต่ก็เชื่อว่าอีกไม่กี่วันก็คงหลุด เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เองก็คงอยากจะใช้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น สอดคล้องกับดีมานต์และซัพพลายมากกว่าที่จะยันไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และแนวต้านต่อไปก็อยู่ที่ 29.30 แล้วก็ 29.00 บาท ซึ้งจุดนี้น่าจะได้เห็นในปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ และธปท. ด้วยว่าจะมีการบริหารไม่ให้หลุด 29.50 บาท/ดอลลาร์ได้อย่างไร ในส่วนของธนาคารคาดว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 29.50 บาท แต่ช่วง High กับ Low ก็อาจจะได้เห็น 29 บาท หรือ 30 บาทต้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหนจะเข้าซื้อหรือขายทำกำไร ทั้งในส่วนของค่าเงินและตลาดหุ้น

โดยตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาถึง 15 มี.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณ 3.27% ซึ่งนับว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนด้วยกัน เช่น ฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้น 1.25% จีน 0.35% ซึ่งการที่บาดแข็งก็มีทั้งผู้ที่มีส่วนได้ และส่วนเสีย ผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบ ได้แก่ กลุ่ม ผู้ส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตร อาหาร บริการ ซึ่งมียอดส่งออกสูงๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีให้ปิดความเสี่ยง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารจะแนะนำให้ซื้อสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าในสัดส่วนประมาณ 50%

“ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าควรรับมือกับความผันผวนของค่าเงินบาทนี้ให้ดี โดยให้เลือกใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในการรับและชำระค่าสินค้าเป็นหลัก ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบง่ายๆ เช่น สัญญาสว็อป, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าอัตราเดียว รวมถึงใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบซับซ้อน เช่น สัญญาออปชั่นแบบยูโรเปี้ยนหรือแบบอเมริกัน”

สำหรับ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับ 2.75% เนื่องจากปัจจัยที่จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อาทิ เงินเฟ้อก็ยังมีน้ำหนักไม่สูงนัก ขณะที่ปัจจัยที่จะทำให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เช่น ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจก็ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอเช่นกัน ทำให้ประเด็นของการลดดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอาจจะมีน้ำหนักไม่มากนัก เพราะจากการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับค่าเงินบาทเพียง 3%เท่านั้น ขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าเงินบาทมากสุด 18%ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุน รวมถึงการคาดการณ์การแข็งค่าของเงินบาท 15% แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 11% และแนวโน้มความผันผวนของค่าเงินบาท 10%

อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงได้เปรียบดุลการชำระเงิน (Balance of payment) และสะสมมากขึ้นถึงระดับกว่า 130 พันล้านเหรีญสหรัฐในปัจจุบัน โดยเป็นผลมาจาก R&D ของภาครัฐและภาคเอกชน และ Mega Projects รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน เช่น รถไฟความเร็ว, ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ระบบรถไฟสายใหม่, รถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง, การลงทุนขนส่งทางน้ำ และการลงทุนขนส่งทางอากาศ ซึ่งมองว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างการนำเข้าเครื่องจักร โดยเป็นการช่วยให้ค่าเงินบาทไม่ถึงกับ one way direction ได้

นอกจากนี้ นักลงทุนที่ได้รับประโยชน์จากดัชนีหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นจากเงินเข้ามาลงทุนในตลาด ได้ดันค่า P/E ตลาดให้สูงขึ้น และผู้นำเข้าที่จะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี, ธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจโรงพยาบาล, ผู้ผลิตเครื่องจักร, ธุรกิจเหล็ก, ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง-รับเหมาก่อสร้าง โดยจะมีต้นทุนการนำเข้าถูกลง ภาระหนี้สกุลเงินต่างประเทศลดลง ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้ส่งออก เช่น ข้าว, ยาง, น้ำตาล, ผลไม้-ผัก, กุ้งและอาหารแช่แข็ง, ไก่แช่แข็ง, เฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้า, รองเท้า, ชิ้นส่วน, โรงแรม, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยาง, เครื่องหนัง, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เครื่องประดับและอัญมณี

ขอบคุณ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373740

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 19/03/2556 เวลา 03:45:59

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

(18มี.ค.2556) - นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่กำลังแข็งค่าว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักมาจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ หลังจากที่คาดการณ์ว่าสหรัฐฯจะยังใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน หรือ QE อยู่ รวมถึงเศรษฐกิจไทยปีนี้มีอัตราการเติบโตที่ดี และดุลการชำระเงินของไทยเกินดุลในระดับที่สูง ทำให้คาดการณ์ว่าเงินบาทจะยังแข็งค่าต่อไป ทั้งนี้ บาทใกล้จะแตะที่ระดับ 29.50 ซึ่งเป็นระดับที่หลายๆ คนจับตามอง แต่ก็เชื่อว่าอีกไม่กี่วันก็คงหลุด เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เองก็คงอยากจะใช้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น สอดคล้องกับดีมานต์และซัพพลายมากกว่าที่จะยันไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และแนวต้านต่อไปก็อยู่ที่ 29.30 แล้วก็ 29.00 บาท ซึ้งจุดนี้น่าจะได้เห็นในปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ และธปท. ด้วยว่าจะมีการบริหารไม่ให้หลุด 29.50 บาท/ดอลลาร์ได้อย่างไร ในส่วนของธนาคารคาดว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 29.50 บาท แต่ช่วง High กับ Low ก็อาจจะได้เห็น 29 บาท หรือ 30 บาทต้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหนจะเข้าซื้อหรือขายทำกำไร ทั้งในส่วนของค่าเงินและตลาดหุ้น โดยตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาถึง 15 มี.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณ 3.27% ซึ่งนับว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนด้วยกัน เช่น ฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้น 1.25% จีน 0.35% ซึ่งการที่บาดแข็งก็มีทั้งผู้ที่มีส่วนได้ และส่วนเสีย ผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบ ได้แก่ กลุ่ม ผู้ส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตร อาหาร บริการ ซึ่งมียอดส่งออกสูงๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีให้ปิดความเสี่ยง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารจะแนะนำให้ซื้อสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าในสัดส่วนประมาณ 50% “ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าควรรับมือกับความผันผวนของค่าเงินบาทนี้ให้ดี โดยให้เลือกใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในการรับและชำระค่าสินค้าเป็นหลัก ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบง่ายๆ เช่น สัญญาสว็อป, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าอัตราเดียว รวมถึงใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบซับซ้อน เช่น สัญญาออปชั่นแบบยูโรเปี้ยนหรือแบบอเมริกัน” สำหรับ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับ 2.75% เนื่องจากปัจจัยที่จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อาทิ เงินเฟ้อก็ยังมีน้ำหนักไม่สูงนัก ขณะที่ปัจจัยที่จะทำให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เช่น ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจก็ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอเช่นกัน ทำให้ประเด็นของการลดดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอาจจะมีน้ำหนักไม่มากนัก เพราะจากการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับค่าเงินบาทเพียง 3%เท่านั้น ขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าเงินบาทมากสุด 18%ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุน รวมถึงการคาดการณ์การแข็งค่าของเงินบาท 15% แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 11% และแนวโน้มความผันผวนของค่าเงินบาท 10% อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงได้เปรียบดุลการชำระเงิน (Balance of payment) และสะสมมากขึ้นถึงระดับกว่า 130 พันล้านเหรีญสหรัฐในปัจจุบัน โดยเป็นผลมาจาก R&D ของภาครัฐและภาคเอกชน และ Mega Projects รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน เช่น รถไฟความเร็ว, ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ระบบรถไฟสายใหม่, รถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง, การลงทุนขนส่งทางน้ำ และการลงทุนขนส่งทางอากาศ ซึ่งมองว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างการนำเข้าเครื่องจักร โดยเป็นการช่วยให้ค่าเงินบาทไม่ถึงกับ one way direction ได้ นอกจากนี้ นักลงทุนที่ได้รับประโยชน์จากดัชนีหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นจากเงินเข้ามาลงทุนในตลาด ได้ดันค่า P/E ตลาดให้สูงขึ้น และผู้นำเข้าที่จะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี, ธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจโรงพยาบาล, ผู้ผลิตเครื่องจักร, ธุรกิจเหล็ก, ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง-รับเหมาก่อสร้าง โดยจะมีต้นทุนการนำเข้าถูกลง ภาระหนี้สกุลเงินต่างประเทศลดลง ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้ส่งออก เช่น ข้าว, ยาง, น้ำตาล, ผลไม้-ผัก, กุ้งและอาหารแช่แข็ง, ไก่แช่แข็ง, เฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้า, รองเท้า, ชิ้นส่วน, โรงแรม, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยาง, เครื่องหนัง, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เครื่องประดับและอัญมณี ขอบคุณ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373740

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...