โซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ส กระแสธุรกิจเพื่อสังคมยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

กระแสธุรกิจเพื่อสังคม หรือ โซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ส (Social Enterprise) กำลังตื่นตัวไปทั่วโลก

ธุรกิจประเภทนี้เน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายหลัก โดยใช้หลักการจัดการเชิงธุรกิจมาบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาทางสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินกิจการอย่างถาวร เนื่องจากมีความเชื่อว่า กิจการประเภทนี้จะช่วยให้สังคมขับเคลื่อนไปข้างหน้า ทั้งในภาพรวมและการสร้างรายได้ในภาคสังคมขนาดเล็กได้อย่างยั่งยืน

กิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป ร่วมกับ บริติช เคานซิล (ประเทศไทย) จึงได้นำภาคธุรกิจชั้นนำของไทย ทั้งในภาคอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน ธุรกิจการค้า การเงิน และภาคการศึกษา เดินทางไปประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาถึงแนวทางจัดกิจการเพื่อสังคม ซึ่งนับเป็นพัฒนาการที่สำคัญสู่แนวทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืน (Sustainable Economy) ที่เน้นความสมดุลระหว่างภาคส่วนธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคม โดยคาดหวังว่าจะสามารถจุดประกายการพัฒนากิจการเพื่อสังคมของภาคธุรกิจไทย อันสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป

การเดินทางครั้งนี้ นักธุรกิจไทยยังได้พบปะกับ มร.นิค เฮิร์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประชาสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด และรับรู้การดำเนินงานเชิงนโยบายของประเทศอังกฤษในการดูแลภาคส่วนที่สาม (The Third Sector) ภายใต้แนวคิด Big Society “สังคมเป็นใหญ่” ที่มุ่งเน้นสังคมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของส่วนรวม อีกทั้งเป็นการเชื่อมโยงไทยกับเครือข่ายกิจการเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษ ในโอกาสที่ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Social Enterprise Forum ในปี ค.ศ. 2014 ด้วย

โซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ส ยูเค (Social Enterprise UK) หรือ องค์กรที่ทำงานเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมของอังกฤษ ระบุว่า ปัจจุบันอังกฤษมีกิจการเพื่อสังคมทั้งหมด 68,000 แห่ง คิดเป็น 5% และยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา ศูนย์พัฒนาศักยภาพของกิจการเพื่อสังคม และสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมแห่งแรกในประเทศอังกฤษ เป็นองค์กรระดับประเทศที่ให้ความรู้ เชื่อมโยงเครือข่ายด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และเสนอความคิดเห็นแก่ภาครัฐเพื่อสนับสนุนโครงการกิจการเพื่อสังคม

นอกจากนี้ยังได้ไปศึกษาดูงานองค์กรที่ทำกิจการเพื่อสังคมอีกมากมายหลายองค์กร อาทิ PriceWaterhouseCoopers ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบรรดากิจการเพื่อสังคม ตลอดจนเป็นสถานที่อบรม และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เกิดร้านอาหาร Brigade ร้านอาหารที่ให้โอกาสคนไร้ที่อยู่อาศัยได้สร้างงานสร้างอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิถีทางธุรกิจ

BIKEWorks ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 2008 โดยกำไรทั้ง 100% ถูกนำกลับมาพัฒนาองค์กรและสังคมทั้งหมด มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีจากการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน และสนับสนุนการสร้างงานให้แก่ผู้ด้อยโอกาส สร้างสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

HCT group อีกกิจการเพื่อสังคมในระบบขนส่งมวลชน ที่ก่อตั้งมากว่า 30 ปี ดำเนินงานครบวงจร ตั้งแต่ฝึกงาน และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการทั้งคนปกติและคนพิการ องค์กรนำกำไร 37% กลับไปพัฒนาชุมชน ปัจจุบันมีเงินหมุนเวียนเพิ่มเป็น 28.6 ล้านปอนด์ มีรถยนต์โดยสาร 370 คัน ในกว่าครึ่งของพื้นที่ชานเมือง 15 เขต และสร้างงานกว่า 700 คน

องค์กร Ebico โดย กลุ่มผู้ให้บริการน้ำมันและกระแสไฟฟ้าแห่งเดียวในประเทศอังกฤษที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม เน้นให้บริการไฟฟ้าให้ครัวเรือนชาวอังกฤษได้เข้าถึงพลังงานในราคายุติธรรม โดยคิดอัตราบริการเดียวกันหมด ปัจจุบันมีรายได้ 22 ล้านปอนด์ต่อปี

อีกหนึ่งไฮไลต์คือกิจการเพื่อสังคม People’s Supermarket Kate Bull ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2010 บริหารองค์กรในรูปแบบสมาชิกปัจจุบันมีสมาชิก 500 คน ซึ่งจ่ายค่าสมาชิก 25 ปอนด์ และต้องมาทำงานเป็นอาสาสมัครในร้าน 4 ชม. ต่อสัปดาห์ เวลามาซื้อของจะได้ส่วนลด 20% ไม่มีการปันผลให้ผู้ถือหุ้นหรือสมาชิก แต่กำไรที่เกิดขึ้นเอาไปพัฒนาร้านให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น โดยทางร้านเน้นนำผลผลิตของชุมชนมาขาย และยังจัดแคมเปญ People’s Kitchen เพื่อบริหารจัดการอายุของอาหาร โดยนำมาจัดทำเป็นอาหารสดจำหน่ายก่อนล่วงหน้า

ด้าน น.ส.วิบูลลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อดีตที่ปรึกษาการพาณิชย์ หนึ่งในคณะผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ กล่าวว่า การที่นักธุรกิจในบ้านเราได้มาพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น กับธุรกิจเพื่อสังคมในอังกฤษหลากหลายรูปแบบ คาดว่าจะสามารถจุดประกายการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม อันจะยังประโยชน์สูงสุดสู่การพัฒนาองค์กรธุรกิจในประเทศไทย

นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ไทย กับการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ที่ไม่ได้เน้นเพียงแค่ผลกำไรขององค์กรในรูปตัวเงินเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับองค์รวมของสังคมด้วย.

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2555 เวลา 00:00 น.
วันที่โพสต์: 1/10/2555 เวลา 02:14:38

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กระแสธุรกิจเพื่อสังคม หรือ โซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ส (Social Enterprise) กำลังตื่นตัวไปทั่วโลก ธุรกิจประเภทนี้เน้นเพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายหลัก โดยใช้หลักการจัดการเชิงธุรกิจมาบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาทางสังคมควบคู่ไปกับการดำเนินกิจการอย่างถาวร เนื่องจากมีความเชื่อว่า กิจการประเภทนี้จะช่วยให้สังคมขับเคลื่อนไปข้างหน้า ทั้งในภาพรวมและการสร้างรายได้ในภาคสังคมขนาดเล็กได้อย่างยั่งยืน กิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป ร่วมกับ บริติช เคานซิล (ประเทศไทย) จึงได้นำภาคธุรกิจชั้นนำของไทย ทั้งในภาคอุตสาหกรรมอาหาร พลังงาน ธุรกิจการค้า การเงิน และภาคการศึกษา เดินทางไปประเทศอังกฤษ เพื่อศึกษาถึงแนวทางจัดกิจการเพื่อสังคม ซึ่งนับเป็นพัฒนาการที่สำคัญสู่แนวทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืน (Sustainable Economy) ที่เน้นความสมดุลระหว่างภาคส่วนธุรกิจและกิจกรรมเพื่อสังคม โดยคาดหวังว่าจะสามารถจุดประกายการพัฒนากิจการเพื่อสังคมของภาคธุรกิจไทย อันสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป การเดินทางครั้งนี้ นักธุรกิจไทยยังได้พบปะกับ มร.นิค เฮิร์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประชาสังคม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด และรับรู้การดำเนินงานเชิงนโยบายของประเทศอังกฤษในการดูแลภาคส่วนที่สาม (The Third Sector) ภายใต้แนวคิด Big Society “สังคมเป็นใหญ่” ที่มุ่งเน้นสังคมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของส่วนรวม อีกทั้งเป็นการเชื่อมโยงไทยกับเครือข่ายกิจการเพื่อสังคมในประเทศอังกฤษ ในโอกาสที่ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน World Social Enterprise Forum ในปี ค.ศ. 2014 ด้วย โซเชียล เอ็นเตอร์ไพร์ส ยูเค (Social Enterprise UK) หรือ องค์กรที่ทำงานเพื่อสนับสนุนบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมของอังกฤษ ระบุว่า ปัจจุบันอังกฤษมีกิจการเพื่อสังคมทั้งหมด 68,000 แห่ง คิดเป็น 5% และยังมีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา ศูนย์พัฒนาศักยภาพของกิจการเพื่อสังคม และสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมแห่งแรกในประเทศอังกฤษ เป็นองค์กรระดับประเทศที่ให้ความรู้ เชื่อมโยงเครือข่ายด้านกิจกรรมเพื่อสังคม และเสนอความคิดเห็นแก่ภาครัฐเพื่อสนับสนุนโครงการกิจการเพื่อสังคม นอกจากนี้ยังได้ไปศึกษาดูงานองค์กรที่ทำกิจการเพื่อสังคมอีกมากมายหลายองค์กร อาทิ PriceWaterhouseCoopers ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบรรดากิจการเพื่อสังคม ตลอดจนเป็นสถานที่อบรม และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เกิดร้านอาหาร Brigade ร้านอาหารที่ให้โอกาสคนไร้ที่อยู่อาศัยได้สร้างงานสร้างอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิถีทางธุรกิจ BIKEWorks ซึ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 2008 โดยกำไรทั้ง 100% ถูกนำกลับมาพัฒนาองค์กรและสังคมทั้งหมด มีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีจากการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน และสนับสนุนการสร้างงานให้แก่ผู้ด้อยโอกาส สร้างสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน HCT group อีกกิจการเพื่อสังคมในระบบขนส่งมวลชน ที่ก่อตั้งมากว่า 30 ปี ดำเนินงานครบวงจร ตั้งแต่ฝึกงาน และอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการทั้งคนปกติและคนพิการ องค์กรนำกำไร 37% กลับไปพัฒนาชุมชน ปัจจุบันมีเงินหมุนเวียนเพิ่มเป็น 28.6 ล้านปอนด์ มีรถยนต์โดยสาร 370 คัน ในกว่าครึ่งของพื้นที่ชานเมือง 15 เขต และสร้างงานกว่า 700 คน องค์กร Ebico โดย กลุ่มผู้ให้บริการน้ำมันและกระแสไฟฟ้าแห่งเดียวในประเทศอังกฤษที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม เน้นให้บริการไฟฟ้าให้ครัวเรือนชาวอังกฤษได้เข้าถึงพลังงานในราคายุติธรรม โดยคิดอัตราบริการเดียวกันหมด ปัจจุบันมีรายได้ 22 ล้านปอนด์ต่อปี อีกหนึ่งไฮไลต์คือกิจการเพื่อสังคม People’s Supermarket Kate Bull ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2010 บริหารองค์กรในรูปแบบสมาชิกปัจจุบันมีสมาชิก 500 คน ซึ่งจ่ายค่าสมาชิก 25 ปอนด์ และต้องมาทำงานเป็นอาสาสมัครในร้าน 4 ชม. ต่อสัปดาห์ เวลามาซื้อของจะได้ส่วนลด 20% ไม่มีการปันผลให้ผู้ถือหุ้นหรือสมาชิก แต่กำไรที่เกิดขึ้นเอาไปพัฒนาร้านให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น โดยทางร้านเน้นนำผลผลิตของชุมชนมาขาย และยังจัดแคมเปญ People’s Kitchen เพื่อบริหารจัดการอายุของอาหาร โดยนำมาจัดทำเป็นอาหารสดจำหน่ายก่อนล่วงหน้า ด้าน น.ส.วิบูลลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน อดีตที่ปรึกษาการพาณิชย์ หนึ่งในคณะผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ กล่าวว่า การที่นักธุรกิจในบ้านเราได้มาพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น กับธุรกิจเพื่อสังคมในอังกฤษหลากหลายรูปแบบ คาดว่าจะสามารถจุดประกายการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม อันจะยังประโยชน์สูงสุดสู่การพัฒนาองค์กรธุรกิจในประเทศไทย นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ไทย กับการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ที่ไม่ได้เน้นเพียงแค่ผลกำไรขององค์กรในรูปตัวเงินเท่านั้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...