'ปุ๋ยไส้เดือนสืบสวน'อาชีพเสริมสารวัตร
ใช้ยามว่างผลิต 'ปุ๋ยไส้เดือนสืบสวน' อาชีพเสริมสารวัตร ภ.จว.สุโขทัย : โดย ... พิเชษฐ เนตรบุตร
บางครั้งสังคมมักจะมองภาพลักษณ์ของตำรวจในแง่ลบ เพราะมีตำรวจบางคนมักจะหารายได้พิเศษที่นอกลู่นอกทางของวิชาชีพ แต่สำหรับ "พ.ต.ท.สุนาด เนียมเกาะเพ็ชร" สารวัตรกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย (สว.สส.ภ.จว.สุโขทัย) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สารวัตรไส้เดือน" เขาจะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นกีฬา และเพาะไส้เดือนแอฟริกัน เพื่อผลิต "ปุ๋ยหมักชีวภาพ" ภายใต้แบรนด์ "ปุ๋ยไส้เดือนสืบสวน” เป็นอาชีพเสริมจนสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี
พ.ต.ท.สุนาด บอกว่า ก่อนย้ายไปประจำที่กองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย เคยรับราชตำรวจในตำแหน่งรอง สว.สส ที่ สน.นิมิตใหม่ กรุงเทพฯ พอมีเวลาว่างจะพาครอบครอบครัวเล่นกีฬาเทนนิส เพราะทั้งครอบครัวชอบกีฬาประเภทนี้มากโดยลูกสาวเริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และระหว่างที่ไปซ้อมที่สนามเทนนิสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ใช้เวลาช่วงที่พักซ้อมเทนนิสกับครอบครัวและลูกสาว เห็นทางมหาวิทยาลัยเกษตรฯเปิดการอบรมการเพาะเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์แอฟริกัน ซึ่งว่ากันว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่และมีประโยชน์ในทางเกษตรโดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ จึงทำให้เริ่มรู้จักกับวงจรชีวิตไส้เดือนมากขึ้น
"ปกติผมคนชอบปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง และชอบปลูกผักอินทรีย์ใช้ปุ๋ยชีวภาพอยู่แล้ว จึงหาไส้เดือนแอฟริกันมาเลี้ยงเมื่อปี 2549 พอดีปี 2553 ผมไปรับตำแหน่ง สว.สส.สภ.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ผมก็เอาไส้เดือนติดตัวไปด้วย และช่วงนั้นเห็นว่าเรามีเวลาว่างจากการปฏิบัติหน้าที่ จึงปรึกษาครอบครัวว่าควรหาเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงมองไปที่การเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกัน ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับธรรมชาติ ประกอบกับตัวเองชอบปุ๋ยชีวภาพอยู่แล้ว การเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกันจุดมุ่งหมายอย่างแรกคือ เพื่อจะแนะนำชาวบ้านและเป็นผู้นำชักจูงให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพกันให้มากที่สุด เพื่อเราไม่ต้องใช้สารเคมีกัน เพื่อทำให้สุขภาพของผู้ใช้หรือผู้ซื้อสินค้าพืชผักที่เราปลูกไปรับประทานไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงตัวเอง" พ.ต.ท.สุนาด กล่าว
ช่วงของการสู่เชิงการค้านั้น พ.ต.ท.สุนาด บอกว่า แม้จะเคยเลี้ยงมาบ้างแล้ว แต่เลี้ยงในจำนวนมากก็ลองผิดลองถูก เพราะไส้เดือนสายพันธุ์แอฟริกันตัวโตกินไวกินจุ ขยายพันธุ์รวดเร็ว ทำให้ได้ปุ๋ยจำนวนมาก หลังจากเลี้ยงได้ระยะหนึ่งพบว่าการเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกันลงทุนครั้งเดียวจะได้ประโยชน์ถึง 3 ต่อ คือ 1.การขยายพันธุ์ไส้เดือนทำให้สามารถเพิ่มปริมาณไส้เดือนได้มาก 2.ได้มูลไส้เดือนหรือปุ๋ยไส้เดือนไปใส่ต้นไม้พืชผักสวนครัว และ 3.ได้เมือกของเสียหรือฉี่ไส้เดือนไปเป็นปุ๋ยน้ำ
"เรานำมูลไส้เดือนซึ่งปะปนอยู่กับมูลวัวในบ่อเลี้ยง ไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 100% นำไปบรรจุถุงเป็นปุ๋ยขาย กก.ละ 50 บาท ขณะที่ฉี่ของไส้เดือนที่ประกอบด้วยเมือกและของเสียที่ไส้เดือนขับออกมาทางผิวหนัง ก็นำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ 100% มีประโยชน์ต่อพืชทุกชนิด สามารถดูดซึมได้ดี เมื่อนำไปบรรจุขวดสามารถขายได้ในราคาขวดละ 25 บาท ส่วนตัวไส้เดือนสามารถขายได้ในราคา กก.ละ 3,000 บาทตรงนี้สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้อย่างดี" พ.ต.ท.สุนาด กล่าว
ส่วนขั้นตอนการเลี้ยง พ.ต.ท.สุนาด บอกว่า วัฏจักรของไส้เดือนนั้น ลูกไส้เดือนตัวหนึ่งจะโตเต็มวัยประมาณ 30-60 วันเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และทุก 7-10 วันจากนั้นจะออกไข่หรือที่เรียกว่าโคคูน โดยโคคูนของไส้เดือน 1 โคคูนจะมี 2-10 ตัว ออกโคคูนแล้วจะเป็นสีขาวและพัฒนาไปอีกประมาณ 20 วัน สีขาวจะออกเป็นสีน้ำตาลเข้มและจะออกเป็นตัวเมื่อเป็นตัวจะเหมือนเส้นด้ายสีขาว และพัฒนาต่อไปอีกประมาณ 30-60 วันก็จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เป็นวัฏจักรวงจรชีวิตของไส้เดือนต่อไป โดยไส้เดือนจะมีอายุประมาณ 2-3 ปี และเมื่อตายจะเป็นปุ๋ยต่อไป
สถิติความสนใจ
ชอบ: 3 คน (100%)
ไม่ชอบ: 0 คน (0%)
ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)
จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 3 คน (100%)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ใช้ยามว่างผลิต 'ปุ๋ยไส้เดือนสืบสวน' อาชีพเสริมสารวัตร ภ.จว.สุโขทัย : โดย ... พิเชษฐ เนตรบุตร บางครั้งสังคมมักจะมองภาพลักษณ์ของตำรวจในแง่ลบ เพราะมีตำรวจบางคนมักจะหารายได้พิเศษที่นอกลู่นอกทางของวิชาชีพ แต่สำหรับ "พ.ต.ท.สุนาด เนียมเกาะเพ็ชร" สารวัตรกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย (สว.สส.ภ.จว.สุโขทัย) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "สารวัตรไส้เดือน" เขาจะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการเล่นกีฬา และเพาะไส้เดือนแอฟริกัน เพื่อผลิต "ปุ๋ยหมักชีวภาพ" ภายใต้แบรนด์ "ปุ๋ยไส้เดือนสืบสวน” เป็นอาชีพเสริมจนสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี พ.ต.ท.สุนาด บอกว่า ก่อนย้ายไปประจำที่กองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดสุโขทัย เคยรับราชตำรวจในตำแหน่งรอง สว.สส ที่ สน.นิมิตใหม่ กรุงเทพฯ พอมีเวลาว่างจะพาครอบครอบครัวเล่นกีฬาเทนนิส เพราะทั้งครอบครัวชอบกีฬาประเภทนี้มากโดยลูกสาวเริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุ 8 ขวบ และระหว่างที่ไปซ้อมที่สนามเทนนิสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ใช้เวลาช่วงที่พักซ้อมเทนนิสกับครอบครัวและลูกสาว เห็นทางมหาวิทยาลัยเกษตรฯเปิดการอบรมการเพาะเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์แอฟริกัน ซึ่งว่ากันว่าจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่และมีประโยชน์ในทางเกษตรโดยเฉพาะการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เพื่อทำเกษตรอินทรีย์ จึงทำให้เริ่มรู้จักกับวงจรชีวิตไส้เดือนมากขึ้น "ปกติผมคนชอบปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง และชอบปลูกผักอินทรีย์ใช้ปุ๋ยชีวภาพอยู่แล้ว จึงหาไส้เดือนแอฟริกันมาเลี้ยงเมื่อปี 2549 พอดีปี 2553 ผมไปรับตำแหน่ง สว.สส.สภ.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ผมก็เอาไส้เดือนติดตัวไปด้วย และช่วงนั้นเห็นว่าเรามีเวลาว่างจากการปฏิบัติหน้าที่ จึงปรึกษาครอบครัวว่าควรหาเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงมองไปที่การเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกัน ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่กับธรรมชาติ ประกอบกับตัวเองชอบปุ๋ยชีวภาพอยู่แล้ว การเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกันจุดมุ่งหมายอย่างแรกคือ เพื่อจะแนะนำชาวบ้านและเป็นผู้นำชักจูงให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพกันให้มากที่สุด เพื่อเราไม่ต้องใช้สารเคมีกัน เพื่อทำให้สุขภาพของผู้ใช้หรือผู้ซื้อสินค้าพืชผักที่เราปลูกไปรับประทานไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงตัวเอง" พ.ต.ท.สุนาด กล่าว ช่วงของการสู่เชิงการค้านั้น พ.ต.ท.สุนาด บอกว่า แม้จะเคยเลี้ยงมาบ้างแล้ว แต่เลี้ยงในจำนวนมากก็ลองผิดลองถูก เพราะไส้เดือนสายพันธุ์แอฟริกันตัวโตกินไวกินจุ ขยายพันธุ์รวดเร็ว ทำให้ได้ปุ๋ยจำนวนมาก หลังจากเลี้ยงได้ระยะหนึ่งพบว่าการเลี้ยงไส้เดือนแอฟริกันลงทุนครั้งเดียวจะได้ประโยชน์ถึง 3 ต่อ คือ 1.การขยายพันธุ์ไส้เดือนทำให้สามารถเพิ่มปริมาณไส้เดือนได้มาก 2.ได้มูลไส้เดือนหรือปุ๋ยไส้เดือนไปใส่ต้นไม้พืชผักสวนครัว และ 3.ได้เมือกของเสียหรือฉี่ไส้เดือนไปเป็นปุ๋ยน้ำ "เรานำมูลไส้เดือนซึ่งปะปนอยู่กับมูลวัวในบ่อเลี้ยง ไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 100% นำไปบรรจุถุงเป็นปุ๋ยขาย กก.ละ 50 บาท ขณะที่ฉี่ของไส้เดือนที่ประกอบด้วยเมือกและของเสียที่ไส้เดือนขับออกมาทางผิวหนัง ก็นำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ 100% มีประโยชน์ต่อพืชทุกชนิด สามารถดูดซึมได้ดี เมื่อนำไปบรรจุขวดสามารถขายได้ในราคาขวดละ 25 บาท ส่วนตัวไส้เดือนสามารถขายได้ในราคา กก.ละ 3,000 บาทตรงนี้สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้อย่างดี" พ.ต.ท.สุนาด กล่าว ส่วนขั้นตอนการเลี้ยง พ.ต.ท.สุนาด บอกว่า วัฏจักรของไส้เดือนนั้น ลูกไส้เดือนตัวหนึ่งจะโตเต็มวัยประมาณ 30-60 วันเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และทุก 7-10 วันจากนั้นจะออกไข่หรือที่เรียกว่าโคคูน โดยโคคูนของไส้เดือน 1 โคคูนจะมี 2-10 ตัว ออกโคคูนแล้วจะเป็นสีขาวและพัฒนาไปอีกประมาณ 20 วัน สีขาวจะออกเป็นสีน้ำตาลเข้มและจะออกเป็นตัวเมื่อเป็นตัวจะเหมือนเส้นด้ายสีขาว และพัฒนาต่อไปอีกประมาณ 30-60 วันก็จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เป็นวัฏจักรวงจรชีวิตของไส้เดือนต่อไป โดยไส้เดือนจะมีอายุประมาณ 2-3 ปี
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)