"ซีเอสอาร์"ช่วยธุรกิจรุกเออีซี - เออีซี กับ ม.หอการค้าไทย

แสดงความคิดเห็น

การดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจแบบซีเอสอาร์ หรือการทำธุรกิจแบบมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ระดับประเทศ เพราะมีผลดีต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรออกไปสู่สายตาสาธารณชน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำซีเอสอาร์ไม่ได้จำกัดแค่การทำกิจกรรมคืนกำไรสังคมเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมงานอีกหลายด้าน โดย “รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์” อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์ระดับประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทางเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา ถึงความสำคัญของการทำซีเอสอาร์ที่ส่งผลดีต่อการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการเข้าไปรุกตลาดเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ รศ.ทองทิพภา เริ่มต้นให้ฟังว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าการทำซีเอสอาร์ ไม่ใช่แค่การประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณาให้บริษัท แต่ซีเอสอาร์เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโต อย่างยั่งยืน เคียงข้างไปกับการมีส่วนร่วมดูแลรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญซีเอสอาร์ยังไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหน้าที่ของบริษัทขนาดใหญ่หรือ ที่ร่ำรวยอย่างเดียว บริษัทเล็ก ๆ หรือเอสเอ็มอีก็สามารถใช้ซีเอสอาร์ เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจได้ เพราะการคืนกำไรแก่สังคม ไม่ได้เป็นตัวเงินเสมอไป

อย่างเช่น…บริษัทขนาดใหญ่ อาจช่วยเหลือด้วยการสร้างฝายกั้นน้ำ สร้างห้องสมุด แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็ก อาจไปช่วยให้ความรู้ การนำสิ่งของที่มีอยู่แล้วไปให้โดยไม่ต้องลงทุนมาก สิ่งเหล่านี้…ถือเป็นซีเอสอาร์เช่นกัน ที่สำคัญการขยายธุรกิจใหม่ไปต่างประเทศ การใช้ซีเอสอาร์…จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะช่วยเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจในการทำธุรกิจ และเพิ่มโอกาสทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเป็นคนต่างชาติ พอเข้าไปทำธุรกิจในประเทศอื่น ย่อมเกิดความหวาดระแวงจากคนท้องถิ่นว่าจะเข้ามากอบโกยทำกำไร ดังนั้นหากเข้าไปในลักษณะ “มิตรสหาย” ไปแบ่งปันให้ความช่วยเหลือจะทำให้เกิดความไว้วางใจยอมรับซึ่งกันและกัน

รศ.ทองทิพภา บอกว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นำคณะนักธุรกิจเอสเอ็มอีไทยเดินทางไปเยือนเจรจาจับคู่ทางธุรกิจกับพม่า ได้มีการใช้โมเดลซีเอสอาร์เข้าไปช่วยเปิดตลาด ด้วยการสอบถามนักธุรกิจพม่าก่อนว่าต้องการรับความช่วยเหลืออะไร จากนั้นได้แจ้งมาให้กลุ่มนักธุรกิจไทยนำความช่วยเหลือเข้าไปให้ ซึ่งปรากฏว่าผลลัพธ์การเจรจาธุรกิจ… ประสบความสำเร็จดีเยี่ยม

ทั้งนี้ทางหอการค้าไทยได้น้อมนำใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและภายในทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาตนเอง รวมทั้งเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ด้วยการให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียร รวมถึงใช้ความรู้อย่างรอบคอบมีสติปัญญาและแบ่งปัน

อย่างไรก็ดีความร่วมมือนี้ขยายโมเดลซีเอสอาร์ไปใช้ใน สปป.ลาว ด้วย แต่สิ่งสำคัญในการทำซีเอสอาร์ที่ควรคำนึงถึง คือความต้องการของผู้รับ ไม่ใช่มองแค่ว่าอยากไปให้อะไร แต่ต้องดูว่า ผู้รับอยากได้อะไรมากกว่า! และการให้ควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา

การทำซีเอสอาร์อย่างแท้จริงนั้นสามารถทำได้ง่ายมาก โดยเริ่มจากภายในองค์กรก่อน เช่น มีการบริหารจัดการภายในอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และจ่ายผลตอบแทนแก่พนักงานอย่างเหมาะสม แบบนี้เท่ากับว่าได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อบุคคลในองค์กร หรือการมุ่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ถือเป็นซีเอสอาร์เช่นกัน

ดังนั้น…ในทุกวันนี้ ซีเอสอาร์ จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อธุรกิจในโลกยุคใหม่ อย่างหลายประเทศในอาเซียนออกกฎบังคับให้ซีเอสอาร์เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ และต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมรวมด้วย และยิ่งไปกว่านั้น การทำซีเอสอาร์ ที่ประสบความสำเร็จ ยังกลายเป็นดัชนีที่นักลงทุน ภาคธุรกิจจะใช้วัดความน่าสนใจในการเข้าทำการค้าและลงทุนด้วย

ดังนั้นซีเอสอาร์จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และภาคธุรกิจควรเข้ามามีส่วนในการรับผิดชอบกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน....โดย ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/businesss/190063 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 14/03/2556 เวลา 04:36:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจแบบซีเอสอาร์ หรือการทำธุรกิจแบบมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ระดับประเทศ เพราะมีผลดีต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กรออกไปสู่สายตาสาธารณชน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำซีเอสอาร์ไม่ได้จำกัดแค่การทำกิจกรรมคืนกำไรสังคมเพียงอย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมงานอีกหลายด้าน โดย “รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์” อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านซีเอสอาร์ระดับประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เศรษฐกิจติดจอ” ทางเดลินิวส์ทีวี เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ผ่านมา ถึงความสำคัญของการทำซีเอสอาร์ที่ส่งผลดีต่อการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการเข้าไปรุกตลาดเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ รศ.ทองทิพภา เริ่มต้นให้ฟังว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าการทำซีเอสอาร์ ไม่ใช่แค่การประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณาให้บริษัท แต่ซีเอสอาร์เป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโต อย่างยั่งยืน เคียงข้างไปกับการมีส่วนร่วมดูแลรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญซีเอสอาร์ยังไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหน้าที่ของบริษัทขนาดใหญ่หรือ ที่ร่ำรวยอย่างเดียว บริษัทเล็ก ๆ หรือเอสเอ็มอีก็สามารถใช้ซีเอสอาร์ เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจได้ เพราะการคืนกำไรแก่สังคม ไม่ได้เป็นตัวเงินเสมอไป อย่างเช่น…บริษัทขนาดใหญ่ อาจช่วยเหลือด้วยการสร้างฝายกั้นน้ำ สร้างห้องสมุด แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็ก อาจไปช่วยให้ความรู้ การนำสิ่งของที่มีอยู่แล้วไปให้โดยไม่ต้องลงทุนมาก สิ่งเหล่านี้…ถือเป็นซีเอสอาร์เช่นกัน ที่สำคัญการขยายธุรกิจใหม่ไปต่างประเทศ การใช้ซีเอสอาร์…จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะช่วยเพิ่มความไว้เนื้อเชื่อใจในการทำธุรกิจ และเพิ่มโอกาสทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเป็นคนต่างชาติ พอเข้าไปทำธุรกิจในประเทศอื่น ย่อมเกิดความหวาดระแวงจากคนท้องถิ่นว่าจะเข้ามากอบโกยทำกำไร ดังนั้นหากเข้าไปในลักษณะ “มิตรสหาย” ไปแบ่งปันให้ความช่วยเหลือจะทำให้เกิดความไว้วางใจยอมรับซึ่งกันและกัน รศ.ทองทิพภา บอกว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นำคณะนักธุรกิจเอสเอ็มอีไทยเดินทางไปเยือนเจรจาจับคู่ทางธุรกิจกับพม่า ได้มีการใช้โมเดลซีเอสอาร์เข้าไปช่วยเปิดตลาด ด้วยการสอบถามนักธุรกิจพม่าก่อนว่าต้องการรับความช่วยเหลืออะไร จากนั้นได้แจ้งมาให้กลุ่มนักธุรกิจไทยนำความช่วยเหลือเข้าไปให้ ซึ่งปรากฏว่าผลลัพธ์การเจรจาธุรกิจ… ประสบความสำเร็จดีเยี่ยม ทั้งนี้ทางหอการค้าไทยได้น้อมนำใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกและภายในทั้ง 4 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถพึ่งพาตนเอง รวมทั้งเป็นที่พึ่งแก่ผู้อื่นได้ด้วยการให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียร รวมถึงใช้ความรู้อย่างรอบคอบมีสติปัญญาและแบ่งปัน อย่างไรก็ดีความร่วมมือนี้ขยายโมเดลซีเอสอาร์ไปใช้ใน สปป.ลาว ด้วย แต่สิ่งสำคัญในการทำซีเอสอาร์ที่ควรคำนึงถึง คือความต้องการของผู้รับ ไม่ใช่มองแค่ว่าอยากไปให้อะไร แต่ต้องดูว่า ผู้รับอยากได้อะไรมากกว่า! และการให้ควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา การทำซีเอสอาร์อย่างแท้จริงนั้นสามารถทำได้ง่ายมาก โดยเริ่มจากภายในองค์กรก่อน เช่น มีการบริหารจัดการภายในอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และจ่ายผลตอบแทนแก่พนักงานอย่างเหมาะสม แบบนี้เท่ากับว่าได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อบุคคลในองค์กร หรือการมุ่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ถือเป็นซีเอสอาร์เช่นกัน ดังนั้น…ในทุกวันนี้ ซีเอสอาร์ จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อธุรกิจในโลกยุคใหม่ อย่างหลายประเทศในอาเซียนออกกฎบังคับให้ซีเอสอาร์เป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ และต้องส่งรายงานประจำปีเกี่ยวกับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมรวมด้วย และยิ่งไปกว่านั้น การทำซีเอสอาร์ ที่ประสบความสำเร็จ ยังกลายเป็นดัชนีที่นักลงทุน ภาคธุรกิจจะใช้วัดความน่าสนใจในการเข้าทำการค้าและลงทุนด้วย ดังนั้นซีเอสอาร์จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และภาคธุรกิจควรเข้ามามีส่วนในการรับผิดชอบกันอย่างจริงจัง เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน....โดย ศักดิ์ชัย อินทร์จันทร์ ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/businesss/190063

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...