เผยสำรวจนักธุรกิจไทยไม่พร้อมลุยอาเซียน

แสดงความคิดเห็น

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 1 มีนาคม 2556 08:23

A.E.C

ขอบคุณ http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000025971 (ขนาดไฟล์: 166)

ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจพบคนไทยไม่พร้อมลุยทั้งค้าและลงทุนในอาเซียน เหตุขาดข้อมูล-อุปสรรคทางภาษา-ขาดเงินทุน

นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการไทยถึงความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนในเออีซี 800 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-22 ก.พ.2556 พบว่า 40.7% ระบุว่าไม่พร้อมทำการค้า และ 69.6% ไม่พร้อมด้านการลงทุนในอาเซียน

ทั้งนี้เมื่อถามถึงปัจจัยที่ทำให้ไม่พร้อมทำการค้า 27.5% ตอบว่าความไม่พร้อมด้านภาษา รองลงมา 15.3% ไม่มีคนแนะนำ และ12.4% ไม่พร้อมด้านกฎระเบียบ ส่วนสาเหตุความไม่พร้อมด้านการลงทุน 26.7% เป็นเรื่องเงินลงทุน รองลงมา 18.1% ภาษา และ17.6% ไม่มีคนแนะนำ เมื่อถามถึงประเทศที่มีโอกาสทำการค้ามากที่สุด 21.1% ระบุว่า เป็น พม่า รองลงมา16.5% เป็นสปป.ลาว และ15.4% กัมพูชา ส่วนด้านการลงทุน ส่วนใหญ่ 18.7% ตอบว่าพม่าเช่นกัน รองลงมา 18.1% ตอบว่าลาว และ16.6% อินโดนีเซีย

"เหตุผลที่นักลงทุนใช้ในการตัดสินใจเลือกทำการค้า 22.4%บอกว่าเป็นประเทศที่อยู่ติดกับไทย 18.6% บอกว่าต้นทุนการขนส่งต่ำ และ14.3% บอกว่าขึ้นกับรายได้คนประเทศนั้นๆ ซึ่งต่างจากปัจจัยพิจารณาด้านการลงทุนที่ ส่วนใหญ่16.5%บอกว่าต้องมีแนวโน้มการเติบโตดี 15.2%รัฐบาลสนับสนุน และ14.3%บอกว่าต้องดูสิทธิพิเศษด้านการลงทุนและจีเอสพี"นางเสาวณีย์กล่าว

นางสาวนิ่มนวล ผิวทองงาม ผู้อำนวยการ AEC Stretegy Center-UTCC กล่าวว่า กฎหมายสำคัญที่พม่าได้แก้ไขแล้ว ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของคนต่างชาติ และกฎระเบียบและกฎเกณฑ์ ว่าด้วยการลงทุนตามกฎหมายด้วยการลงทุนของคนต่างชาติ แก้ไขเมื่อ 31ม.ค.2556 ที่ผ่านมา ซึ่งให้ความสำคัญกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของพม่าในการอนุญาตธุรกิจให้ลงทุน ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจเป็นอุปสรรคในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่นที่กำลังแก้ไข ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน ภาษี ศุลกากร คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนักลงทุนไทยต้องศึกษาให้เข้าใจ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่โพสต์: 2/03/2556 เวลา 03:36:45 ดูภาพสไลด์โชว์ เผยสำรวจนักธุรกิจไทยไม่พร้อมลุยอาเซียน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 1 มีนาคม 2556 08:23 A.E.C ขอบคุณ http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000025971 ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจพบคนไทยไม่พร้อมลุยทั้งค้าและลงทุนในอาเซียน เหตุขาดข้อมูล-อุปสรรคทางภาษา-ขาดเงินทุน นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจทัศนะของผู้ประกอบการไทยถึงความพร้อมด้านการค้าและการลงทุนในเออีซี 800 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-22 ก.พ.2556 พบว่า 40.7% ระบุว่าไม่พร้อมทำการค้า และ 69.6% ไม่พร้อมด้านการลงทุนในอาเซียน ทั้งนี้เมื่อถามถึงปัจจัยที่ทำให้ไม่พร้อมทำการค้า 27.5% ตอบว่าความไม่พร้อมด้านภาษา รองลงมา 15.3% ไม่มีคนแนะนำ และ12.4% ไม่พร้อมด้านกฎระเบียบ ส่วนสาเหตุความไม่พร้อมด้านการลงทุน 26.7% เป็นเรื่องเงินลงทุน รองลงมา 18.1% ภาษา และ17.6% ไม่มีคนแนะนำ เมื่อถามถึงประเทศที่มีโอกาสทำการค้ามากที่สุด 21.1% ระบุว่า เป็น พม่า รองลงมา16.5% เป็นสปป.ลาว และ15.4% กัมพูชา ส่วนด้านการลงทุน ส่วนใหญ่ 18.7% ตอบว่าพม่าเช่นกัน รองลงมา 18.1% ตอบว่าลาว และ16.6% อินโดนีเซีย "เหตุผลที่นักลงทุนใช้ในการตัดสินใจเลือกทำการค้า 22.4%บอกว่าเป็นประเทศที่อยู่ติดกับไทย 18.6% บอกว่าต้นทุนการขนส่งต่ำ และ14.3% บอกว่าขึ้นกับรายได้คนประเทศนั้นๆ ซึ่งต่างจากปัจจัยพิจารณาด้านการลงทุนที่ ส่วนใหญ่16.5%บอกว่าต้องมีแนวโน้มการเติบโตดี 15.2%รัฐบาลสนับสนุน และ14.3%บอกว่าต้องดูสิทธิพิเศษด้านการลงทุนและจีเอสพี"นางเสาวณีย์กล่าว นางสาวนิ่มนวล ผิวทองงาม ผู้อำนวยการ AEC Stretegy Center-UTCC กล่าวว่า กฎหมายสำคัญที่พม่าได้แก้ไขแล้ว ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของคนต่างชาติ และกฎระเบียบและกฎเกณฑ์ ว่าด้วยการลงทุนตามกฎหมายด้วยการลงทุนของคนต่างชาติ แก้ไขเมื่อ 31ม.ค.2556 ที่ผ่านมา ซึ่งให้ความสำคัญกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของพม่าในการอนุญาตธุรกิจให้ลงทุน ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจเป็นอุปสรรคในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่นที่กำลังแก้ไข ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน ภาษี ศุลกากร คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนักลงทุนไทยต้องศึกษาให้เข้าใจ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...