กรุงศรีคาดบาทแข็งค่าต่อ-มีสิทธิ์แตะ29บาท/ดอลลาร์เชื่อแบงก์ชาติไม่ขึ้นดอกเบี้ย
(18มี.ค.2556) - นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่กำลังแข็งค่าว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักมาจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ หลังจากที่คาดการณ์ว่าสหรัฐฯจะยังใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน หรือ QE อยู่ รวมถึงเศรษฐกิจไทยปีนี้มีอัตราการเติบโตที่ดี และดุลการชำระเงินของไทยเกินดุลในระดับที่สูง ทำให้คาดการณ์ว่าเงินบาทจะยังแข็งค่าต่อไป
ทั้งนี้ บาทใกล้จะแตะที่ระดับ 29.50 ซึ่งเป็นระดับที่หลายๆ คนจับตามอง แต่ก็เชื่อว่าอีกไม่กี่วันก็คงหลุด เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เองก็คงอยากจะใช้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น สอดคล้องกับดีมานต์และซัพพลายมากกว่าที่จะยันไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และแนวต้านต่อไปก็อยู่ที่ 29.30 แล้วก็ 29.00 บาท ซึ้งจุดนี้น่าจะได้เห็นในปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ และธปท. ด้วยว่าจะมีการบริหารไม่ให้หลุด 29.50 บาท/ดอลลาร์ได้อย่างไร ในส่วนของธนาคารคาดว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 29.50 บาท แต่ช่วง High กับ Low ก็อาจจะได้เห็น 29 บาท หรือ 30 บาทต้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหนจะเข้าซื้อหรือขายทำกำไร ทั้งในส่วนของค่าเงินและตลาดหุ้น
โดยตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาถึง 15 มี.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณ 3.27% ซึ่งนับว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนด้วยกัน เช่น ฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้น 1.25% จีน 0.35% ซึ่งการที่บาดแข็งก็มีทั้งผู้ที่มีส่วนได้ และส่วนเสีย ผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบ ได้แก่ กลุ่ม ผู้ส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตร อาหาร บริการ ซึ่งมียอดส่งออกสูงๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีให้ปิดความเสี่ยง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารจะแนะนำให้ซื้อสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าในสัดส่วนประมาณ 50%
“ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าควรรับมือกับความผันผวนของค่าเงินบาทนี้ให้ดี โดยให้เลือกใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในการรับและชำระค่าสินค้าเป็นหลัก ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบง่ายๆ เช่น สัญญาสว็อป, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าอัตราเดียว รวมถึงใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบซับซ้อน เช่น สัญญาออปชั่นแบบยูโรเปี้ยนหรือแบบอเมริกัน”
สำหรับ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับ 2.75% เนื่องจากปัจจัยที่จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อาทิ เงินเฟ้อก็ยังมีน้ำหนักไม่สูงนัก ขณะที่ปัจจัยที่จะทำให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เช่น ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจก็ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอเช่นกัน ทำให้ประเด็นของการลดดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอาจจะมีน้ำหนักไม่มากนัก เพราะจากการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับค่าเงินบาทเพียง 3%เท่านั้น ขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าเงินบาทมากสุด 18%ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุน รวมถึงการคาดการณ์การแข็งค่าของเงินบาท 15% แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 11% และแนวโน้มความผันผวนของค่าเงินบาท 10%
อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงได้เปรียบดุลการชำระเงิน (Balance of payment) และสะสมมากขึ้นถึงระดับกว่า 130 พันล้านเหรีญสหรัฐในปัจจุบัน โดยเป็นผลมาจาก R&D ของภาครัฐและภาคเอกชน และ Mega Projects รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน เช่น รถไฟความเร็ว, ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ระบบรถไฟสายใหม่, รถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง, การลงทุนขนส่งทางน้ำ และการลงทุนขนส่งทางอากาศ ซึ่งมองว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างการนำเข้าเครื่องจักร โดยเป็นการช่วยให้ค่าเงินบาทไม่ถึงกับ one way direction ได้
นอกจากนี้ นักลงทุนที่ได้รับประโยชน์จากดัชนีหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นจากเงินเข้ามาลงทุนในตลาด ได้ดันค่า P/E ตลาดให้สูงขึ้น และผู้นำเข้าที่จะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี, ธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจโรงพยาบาล, ผู้ผลิตเครื่องจักร, ธุรกิจเหล็ก, ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง-รับเหมาก่อสร้าง โดยจะมีต้นทุนการนำเข้าถูกลง ภาระหนี้สกุลเงินต่างประเทศลดลง ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้ส่งออก เช่น ข้าว, ยาง, น้ำตาล, ผลไม้-ผัก, กุ้งและอาหารแช่แข็ง, ไก่แช่แข็ง, เฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้า, รองเท้า, ชิ้นส่วน, โรงแรม, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยาง, เครื่องหนัง, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เครื่องประดับและอัญมณี
ขอบคุณ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373740
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(18มี.ค.2556) - นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)(BAY) กล่าวถึงค่าเงินบาทที่กำลังแข็งค่าว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักมาจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ หลังจากที่คาดการณ์ว่าสหรัฐฯจะยังใช้นโยบายผ่อนปรนทางการเงิน หรือ QE อยู่ รวมถึงเศรษฐกิจไทยปีนี้มีอัตราการเติบโตที่ดี และดุลการชำระเงินของไทยเกินดุลในระดับที่สูง ทำให้คาดการณ์ว่าเงินบาทจะยังแข็งค่าต่อไป ทั้งนี้ บาทใกล้จะแตะที่ระดับ 29.50 ซึ่งเป็นระดับที่หลายๆ คนจับตามอง แต่ก็เชื่อว่าอีกไม่กี่วันก็คงหลุด เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เองก็คงอยากจะใช้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น สอดคล้องกับดีมานต์และซัพพลายมากกว่าที่จะยันไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง และแนวต้านต่อไปก็อยู่ที่ 29.30 แล้วก็ 29.00 บาท ซึ้งจุดนี้น่าจะได้เห็นในปีนี้ ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ และธปท. ด้วยว่าจะมีการบริหารไม่ให้หลุด 29.50 บาท/ดอลลาร์ได้อย่างไร ในส่วนของธนาคารคาดว่าค่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 29.50 บาท แต่ช่วง High กับ Low ก็อาจจะได้เห็น 29 บาท หรือ 30 บาทต้นๆ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงไหนจะเข้าซื้อหรือขายทำกำไร ทั้งในส่วนของค่าเงินและตลาดหุ้น โดยตั้งแต่ปลายปีที่แล้วมาถึง 15 มี.ค.ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณ 3.27% ซึ่งนับว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียนด้วยกัน เช่น ฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้น 1.25% จีน 0.35% ซึ่งการที่บาดแข็งก็มีทั้งผู้ที่มีส่วนได้ และส่วนเสีย ผู้ที่ได้รับผลกระทบในด้านลบ ได้แก่ กลุ่ม ผู้ส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตร อาหาร บริการ ซึ่งมียอดส่งออกสูงๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีให้ปิดความเสี่ยง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารจะแนะนำให้ซื้อสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าในสัดส่วนประมาณ 50% “ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าควรรับมือกับความผันผวนของค่าเงินบาทนี้ให้ดี โดยให้เลือกใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในการรับและชำระค่าสินค้าเป็นหลัก ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบง่ายๆ เช่น สัญญาสว็อป, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า, สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าอัตราเดียว รวมถึงใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนแบบซับซ้อน เช่น สัญญาออปชั่นแบบยูโรเปี้ยนหรือแบบอเมริกัน” สำหรับ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนั้น ธนาคารคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับ 2.75% เนื่องจากปัจจัยที่จะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย อาทิ เงินเฟ้อก็ยังมีน้ำหนักไม่สูงนัก ขณะที่ปัจจัยที่จะทำให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เช่น ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจก็ยังมีน้ำหนักไม่เพียงพอเช่นกัน ทำให้ประเด็นของการลดดอกเบี้ยเพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอาจจะมีน้ำหนักไม่มากนัก เพราะจากการสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทแล้ว พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับค่าเงินบาทเพียง 3%เท่านั้น ขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าเงินบาทมากสุด 18%ได้แก่ ความกังวลของนักลงทุน รวมถึงการคาดการณ์การแข็งค่าของเงินบาท 15% แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 11% และแนวโน้มความผันผวนของค่าเงินบาท 10% อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงได้เปรียบดุลการชำระเงิน (Balance of payment) และสะสมมากขึ้นถึงระดับกว่า 130 พันล้านเหรีญสหรัฐในปัจจุบัน โดยเป็นผลมาจาก R&D ของภาครัฐและภาคเอกชน และ Mega Projects รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน เช่น รถไฟความเร็ว, ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน, ระบบรถไฟสายใหม่, รถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง, การลงทุนขนส่งทางน้ำ และการลงทุนขนส่งทางอากาศ ซึ่งมองว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างการนำเข้าเครื่องจักร โดยเป็นการช่วยให้ค่าเงินบาทไม่ถึงกับ one way direction ได้ นอกจากนี้ นักลงทุนที่ได้รับประโยชน์จากดัชนีหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นจากเงินเข้ามาลงทุนในตลาด ได้ดันค่า P/E ตลาดให้สูงขึ้น และผู้นำเข้าที่จะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า คือ ธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี, ธุรกิจสื่อสาร-โทรคมนาคม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจโรงพยาบาล, ผู้ผลิตเครื่องจักร, ธุรกิจเหล็ก, ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง-รับเหมาก่อสร้าง โดยจะมีต้นทุนการนำเข้าถูกลง ภาระหนี้สกุลเงินต่างประเทศลดลง ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้ส่งออก เช่น ข้าว, ยาง, น้ำตาล, ผลไม้-ผัก, กุ้งและอาหารแช่แข็ง, ไก่แช่แข็ง, เฟอร์นิเจอร์, เสื้อผ้า, รองเท้า, ชิ้นส่วน, โรงแรม, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยาง, เครื่องหนัง, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เครื่องประดับและอัญมณี ขอบคุณ http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373740
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)