เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข
โดย :รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คอลัมน์ "ปฏิรูปประเทศไทย แบบไหน อย่างไร"
ชื่อบทความนี้คือชื่อหนังสือเล่มใหม่ของผมที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ในที่นี้คือ เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศ
ที่ ต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าที่เน้นการเพิ่มผลผลิตอย่างมี ประสิทธิภาพของผู้ผลิต และกำไรสูงสุดของผู้ผลิตและผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงแค่ระบบย่อย (Subsystem) ของระบบนิเวศ (Ecosystem) และเน้นความสำคัญและปกป้องรักษาทุนทางธรรมชาติ (Natural Capital) เช่นป่าไม้ ที่ดิน น้ำจืด แหล่งอาหารในน้ำ พลังงาน แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ของฟรีหรือมีเหลือเฟืออย่างที่เศรษฐศาสตร์แบบเก่าเข้าใจ เน้นการจัดสรรและกระจายทรัพยากรใหม่ อย่างเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่ และอย่างยั่งยืนอยู่ได้ยาวนาน การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง การมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม ซึ่งต่างจากคำว่าประสิทธิภาพเฉยๆ ที่กลายเป็นการมุ่งต้นทุนต่ำเพื่อกำไรมากของผู้ผลิตเอกชน
เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศก้าวหน้ากว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Economics) ที่ยังมองปัญหาแบบแยกส่วนและใช้การวิเคราะห์ตามเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เพียงแต่นำเอาต้นทุนการที่ธุรกิจทำให้ธรรมชาติร่อยหรอและสภาพแวดล้อมเกิด มลพิษมาคิดรวมไว้ในต้นทุนที่ผู้ผลิตผู้บริโภคต้องรับผิดชอบด้วย แม้นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะก้าวหน้าหรือเป็นนักปฏิรูปมากกว่านัก เศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีล้วน ๆ แต่พวกเขายังเชื่อในเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น ประสิทธิภาพของกลไกตลาด และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ว่าสามารถเดินคู่กันไปได้กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้
นักเศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีหรือแนวกระแสหลัก (Mainstream) ที่สนใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนักนิเวศวิทยาที่มองปัญหาแบบแยกส่วนมักจะมองว่าเรื่องมลพิษเป็นปัญหา ทางเทคนิคมากกว่าปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจการเมืองและระบบนิเวศ พวกเขาเชื่อว่า ด้วยความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมนุษย์ เราจะสามารถเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทดแทนทุนทางธรรมชาติที่ร่อยหรอไป ได้ ทำให้ทุนโดยรวมยังเพิ่มขึ้นได้ พวกเขามองโลกในแง่ดี (เกินจริง) ว่าถ้าธุรกิจเอกชนยอมลงทุนเรื่องการกำจัดมลพิษและการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะ ประหยัดพลังงาน, ประหยัดวัสดุเพิ่มขึ้นได้ เราก็ยังสามารถทำให้เศรษฐกิจของโลกเจริญเติบโตต่อไปได้
นักเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองต่างออกไปว่า ทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น (เครื่องจักร,เครื่องมือ ฯลฯ) ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนทุนธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ได้ พวกเขาวิเคราะห์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจโลกโดยรวมในวันนี้ได้เลยจุดคุ้มทุนทางสังคมไปแล้ว คือถ้าเราวัดผลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมด้วยดัชนีชี้วัดสวัสดิการทาง สังคมหรือดัชนีความก้าวหน้าที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่ใช่วัดแค่มูลค่าการบริโภคสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น เราจะพบว่าผลตอบแทนทางสังคมในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบันลดลงเหลือต่ำ กว่าผลเสียหายทางสังคมที่เกิดขึ้น
คำว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่วัดในเชิงมูลค่าสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นภาพลวงตา เพราะถ้าเราวัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในแง่คุณภาพชีวิตและสังคม ประเทศและประชาชนจำนวนมากมีคุณภาพทางชีวิตและสังคมรวมทั้งความสุขความพอใจ ที่ลดลง
เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศคิดก้าวหน้าไปไกลถึงขนาดว่าจริงๆ แล้วเราต้องจำกัดขนาดเศรษฐกิจ ด้วยการลดปริมาณการผลิตการบริโภคโดยเฉพาะส่วนที่ฟุ่มเฟือยอย่างจริงจัง และออกแบบวิถีชีวิตการผลิตและการบริโภค การใช้ชีวิตแบบใหม่ จึงจะช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น
การจะพัฒนาสังคมให้เจริญในด้านคุณภาพชีวิต ความสันติสุขของมนุษย์ได้ เราจำเป็นต้องปกป้องดูแลธรรมชาติอย่างแข็งขัน ด้วยการลดอัตราการใช้ทุนทางธรรมชาติ (ลดปริมาณการผลิต, หาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ทุนทางธรรมชาติเท่าเดิม) และลดการบริโภคสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นที่พอเพียง เพื่อลดอัตราทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงอย่างจริงจัง เราจึงจะป้องกันมหันตภัยจากภาวะโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงชนิดที่จะทำให้น้ำท่วมโลกบางส่วน ผลผลิตเกษตรเสียหาย การขาดแคลนอาหาร น้ำจืด และเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ได้
ปัญญาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าที่สุดมองว่า ตัวระบบทุนนิยมเองซึ่งเน้นประโยชน์/กำไรส่วนตัวของคนกลุ่มน้อย คือตัวการสำคัญในการทำลายระบบนิเวศของโลก เราไม่อาจพัฒนาทั้งทุนนิยม และระบบนิเวศที่ยั่งยืนพร้อมกันได้ ทางเลือกคือต้องพัฒนาระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ (Eco-Socialism) ที่เน้นการปกป้องและแบ่งปันทรัพยากรส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และอย่างฉลาดเท่านั้น เราจึงจะแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผล เพราะถ้าเราปล่อยให้ระบบทุนนิยมโลกเติบโตอย่างไม่ควบคุม วันหนึ่งโลกก็จะถอยกลับไปสู่ยุคป่าเถื่อน (barbarism) ที่ผู้คนจะทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรกันเพื่อความอยู่รอดสั้นๆ ของคนที่มีอำนาจและรวยที่สุด ที่ถึงใครจะชนะมนุษย์ก็ไม่มีอนาคตที่ยั่งยืน
หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 11 บท 3 บทแรกชี้ว่าธรรมชาติหรือระบบนิเวศสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมและวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าสร้าง ปัญหาให้เราอย่างไร บทที่ 4-6 อธิบายแนวคิดทฤษฎี หลักการของเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศที่ก้าวไปไกลกว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเมือง บทที่ 7-11 กล่าวถึงนโยบายและแนวทางการทำงานของขบวนการทางสังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ระบบนิเวศในประเทศต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ ที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาระบบนิเวศได้จริงจัง มากกว่าแค่การรณรงค์จัดงานเรื่องรักสิ่งแวดล้อมแบบจุ๋มจิ๋มที่มักทำกันพอ เป็นพิธีกรรม เป็นการสร้างภาพ มากกว่าจะเกิดผลจริงจังต่อเนื่อง
หนังสือเล่มนี้ยังคัดสรรคำคมแสดงถึงภูมิปัญญาที่เข้าใจเรื่องระบบนิเวศ อย่างลึกซึ้งและงดงามของ ชีฟ ซีแอทเทิล ผู้นำชาวอเมริกันอินเดียน, เฟเดอริค เองเกลส์ และนักคิดคนอื่นไว้อีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โดย :รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต คอลัมน์ "ปฏิรูปประเทศไทย แบบไหน อย่างไร" ชื่อบทความนี้คือชื่อหนังสือเล่มใหม่ของผมที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ในที่นี้คือ เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศ ที่ ต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าที่เน้นการเพิ่มผลผลิตอย่างมี ประสิทธิภาพของผู้ผลิต และกำไรสูงสุดของผู้ผลิตและผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองว่าเศรษฐกิจเป็นเพียงแค่ระบบย่อย (Subsystem) ของระบบนิเวศ (Ecosystem) และเน้นความสำคัญและปกป้องรักษาทุนทางธรรมชาติ (Natural Capital) เช่นป่าไม้ ที่ดิน น้ำจืด แหล่งอาหารในน้ำ พลังงาน แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่ของฟรีหรือมีเหลือเฟืออย่างที่เศรษฐศาสตร์แบบเก่าเข้าใจ เน้นการจัดสรรและกระจายทรัพยากรใหม่ อย่างเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่ และอย่างยั่งยืนอยู่ได้ยาวนาน การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง การมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม ซึ่งต่างจากคำว่าประสิทธิภาพเฉยๆ ที่กลายเป็นการมุ่งต้นทุนต่ำเพื่อกำไรมากของผู้ผลิตเอกชน เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศก้าวหน้ากว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Economics) ที่ยังมองปัญหาแบบแยกส่วนและใช้การวิเคราะห์ตามเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เพียงแต่นำเอาต้นทุนการที่ธุรกิจทำให้ธรรมชาติร่อยหรอและสภาพแวดล้อมเกิด มลพิษมาคิดรวมไว้ในต้นทุนที่ผู้ผลิตผู้บริโภคต้องรับผิดชอบด้วย แม้นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะก้าวหน้าหรือเป็นนักปฏิรูปมากกว่านัก เศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีล้วน ๆ แต่พวกเขายังเชื่อในเรื่องการพัฒนาทางเทคโนโลยี การเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น ประสิทธิภาพของกลไกตลาด และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ว่าสามารถเดินคู่กันไปได้กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ นักเศรษฐศาสตร์แนวแบบตลาดเสรีหรือแนวกระแสหลัก (Mainstream) ที่สนใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนักนิเวศวิทยาที่มองปัญหาแบบแยกส่วนมักจะมองว่าเรื่องมลพิษเป็นปัญหา ทางเทคนิคมากกว่าปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจการเมืองและระบบนิเวศ พวกเขาเชื่อว่า ด้วยความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมนุษย์ เราจะสามารถเพิ่มทุนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทดแทนทุนทางธรรมชาติที่ร่อยหรอไป ได้ ทำให้ทุนโดยรวมยังเพิ่มขึ้นได้ พวกเขามองโลกในแง่ดี (เกินจริง) ว่าถ้าธุรกิจเอกชนยอมลงทุนเรื่องการกำจัดมลพิษและการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะ ประหยัดพลังงาน, ประหยัดวัสดุเพิ่มขึ้นได้ เราก็ยังสามารถทำให้เศรษฐกิจของโลกเจริญเติบโตต่อไปได้ นักเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศมองต่างออกไปว่า ทุนที่มนุษย์สร้างขึ้น (เครื่องจักร,เครื่องมือ ฯลฯ) ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนทุนธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศ ได้ พวกเขาวิเคราะห์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจโลกโดยรวมในวันนี้ได้เลยจุดคุ้มทุนทางสังคมไปแล้ว คือถ้าเราวัดผลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมด้วยดัชนีชี้วัดสวัสดิการทาง สังคมหรือดัชนีความก้าวหน้าที่แท้จริงของมนุษย์ ไม่ใช่วัดแค่มูลค่าการบริโภคสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น เราจะพบว่าผลตอบแทนทางสังคมในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมในปัจจุบันลดลงเหลือต่ำ กว่าผลเสียหายทางสังคมที่เกิดขึ้น คำว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่วัดในเชิงมูลค่าสินค้าและบริการ (GDP) ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นภาพลวงตา เพราะถ้าเราวัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในแง่คุณภาพชีวิตและสังคม ประเทศและประชาชนจำนวนมากมีคุณภาพทางชีวิตและสังคมรวมทั้งความสุขความพอใจ ที่ลดลง เศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศคิดก้าวหน้าไปไกลถึงขนาดว่าจริงๆ แล้วเราต้องจำกัดขนาดเศรษฐกิจ ด้วยการลดปริมาณการผลิตการบริโภคโดยเฉพาะส่วนที่ฟุ่มเฟือยอย่างจริงจัง และออกแบบวิถีชีวิตการผลิตและการบริโภค การใช้ชีวิตแบบใหม่ จึงจะช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้น การจะพัฒนาสังคมให้เจริญในด้านคุณภาพชีวิต ความสันติสุขของมนุษย์ได้ เราจำเป็นต้องปกป้องดูแลธรรมชาติอย่างแข็งขัน ด้วยการลดอัตราการใช้ทุนทางธรรมชาติ (ลดปริมาณการผลิต, หาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ทุนทางธรรมชาติเท่าเดิม) และลดการบริโภคสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็นที่พอเพียง เพื่อลดอัตราทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลงอย่างจริงจัง เราจึงจะป้องกันมหันตภัยจากภาวะโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงชนิดที่จะทำให้น้ำท่วมโลกบางส่วน ผลผลิตเกษตรเสียหาย การขาดแคลนอาหาร น้ำจืด และเกิดปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ได้ ปัญญาชนกลุ่มที่ก้าวหน้าที่สุดมองว่า ตัวระบบทุนนิยมเองซึ่งเน้นประโยชน์/กำไรส่วนตัวของคนกลุ่มน้อย คือตัวการสำคัญในการทำลายระบบนิเวศของโลก เราไม่อาจพัฒนาทั้งทุนนิยม และระบบนิเวศที่ยั่งยืนพร้อมกันได้ ทางเลือกคือต้องพัฒนาระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ (Eco-Socialism) ที่เน้นการปกป้องและแบ่งปันทรัพยากรส่วนรวมอย่างเป็นธรรม และอย่างฉลาดเท่านั้น เราจึงจะแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจการเมืองและสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผล เพราะถ้าเราปล่อยให้ระบบทุนนิยมโลกเติบโตอย่างไม่ควบคุม วันหนึ่งโลกก็จะถอยกลับไปสู่ยุคป่าเถื่อน (barbarism) ที่ผู้คนจะทำสงครามแย่งชิงทรัพยากรกันเพื่อความอยู่รอดสั้นๆ ของคนที่มีอำนาจและรวยที่สุด ที่ถึงใครจะชนะมนุษย์ก็ไม่มีอนาคตที่ยั่งยืน หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 11 บท 3 บทแรกชี้ว่าธรรมชาติหรือระบบนิเวศสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร การพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมและวิชาเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแนวเก่าสร้าง ปัญหาให้เราอย่างไร บทที่ 4-6 อธิบายแนวคิดทฤษฎี หลักการของเศรษฐศาสตร์แนวระบบนิเวศที่ก้าวไปไกลกว่าเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเมือง บทที่ 7-11 กล่าวถึงนโยบายและแนวทางการทำงานของขบวนการทางสังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ระบบนิเวศในประเทศต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวระบบนิเวศ ที่จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาระบบนิเวศได้จริงจัง มากกว่าแค่การรณรงค์จัดงานเรื่องรักสิ่งแวดล้อมแบบจุ๋มจิ๋มที่มักทำกันพอ เป็นพิธีกรรม เป็นการสร้างภาพ มากกว่าจะเกิดผลจริงจังต่อเนื่อง หนังสือเล่มนี้ยังคัดสรรคำคมแสดงถึงภูมิปัญญาที่เข้าใจเรื่องระบบนิเวศ อย่างลึกซึ้งและงดงามของ ชีฟ ซีแอทเทิล ผู้นำชาวอเมริกันอินเดียน, เฟเดอริค เองเกลส์ และนักคิดคนอื่นไว้อีกด้วย ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/wittayakorn_c/20130408/498948/เศรษฐศาสตร์แนวใหม่-เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)