กลยุทธ์ออกแบบ “โลโก้สินค้า” สร้างมูลค่าได้ทุกธุรกิจ
ยุคนี้ไม่ว่าธุรกิจอะไร ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ทุนน้อยหรือทุนหนาทุกคนต่างมองหา “โลโก้” ที่เป็นตัวแทนการขายสินค้า เพราะรายละเอียดในการใช้ชีวิตคนสมัยนี้มีมากเลยเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบ การต้องสร้างแบรนด์ตัวเองให้ผู้ซื้อกลับมาซื้อซ้ำอีกหน เช่นเดียวกับลูกค้าหน้าใหม่ที่ต้องสร้างแรงจูงใจเชื้อเชิญให้ลองใช้สินค้า แน่นอนว่าโลโก้คือ สิ่งเร้าหนึ่งในทั้งมวลอย่างปฏิเสธไม่ได้
ในยุทธจักรการแข่งขัน ตลาดนักออกแบบโลโก้ถือเป็นอีกสมรภูมิที่น่าสนใจ โดยตัวแทน บริษัท เอสกิโม สตูดิโอ (eskimo studio) ซึ่งรับออกแบบโลโก้ยอมรับถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะดูจากเว็บที่โฆษณาบนกูเกิ้ล และมีหน้าใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ ตลาดค่อนข้างเปิด มีลูกค้าที่ต้องการออกแบบโลโก้เพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง สู่ยุคใหม่ ที่เป็นยุคแห่งการสื่อสารบริษัทร้านค้าต่าง ๆ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้สร้างแบรนด์เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง รายอื่น ๆ
“ด้วยบริษัทไม่ได้ออกแบบโลโก้ตั้งแต่แรก เนื่องจากทำงานโฆษณามาก่อน แต่มีลูกค้าจำนวนมากมาให้ออกแบบโลโก้ จึงหันมาจับธุรกิจนี้เต็มตัว แต่ยังยึดแนวคิดการออกแบบเดิมคือ เน้นไอเดีย สร้างสรรค์ในงานออกแบบโลโก้ เป็นแนวความคิดที่ต้องนอกกรอบ”
มุมมองคนทำงานโลโก้ที่ดีจะส่งผลต่อสินค้าในแง่การจดจำ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างแบรนด์พอเห็นคนจำได้ แล้วเมื่อลูกค้าจดจำได้ ชอบในแบรนด์รักในแบรนด์ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อมากขึ้น
จากประสบการณ์การทำงาน โลโก้ที่ได้รับความนิยมของลูกค้าจะเน้นไอเดียสร้างสรรค์มีลูกเล่นในตัวโลโก้ ส่วนร้านค้าและธุรกิจที่นิยมมาออกแบบมีทั้งธุรกิจร้านค้าออนไลน์ที่กำลัง เติบโตหรือธุรกิจอาหารและบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างแบรนด์
แนวคิดการออกแบบโลโก้ส่งผลต่อการสร้างแบรนด์ ในการสร้างการจดจำ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี โลโก้ที่ดี สามารถทำให้คนชอบตั้งแต่แรกเห็น ปัญหาของคนออกแบบโลโก้ส่วนใหญ่คือ หมดไอเดีย เพราะนักออกแบบบางทีก็หมดไอเดียได้เหมือนกัน ในการออกแบบต้องหาไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากบางงานหลายวันคิดไม่ออก แต่บางงานทำไม่กี่นาทีก็ได้ผลงานออกมาแล้ว
การออกแบบโลโก้ต้องเปลี่ยนตามยุคสมัย เมื่อก่อนการออกแบบอาจใช้สีไม่กี่สี ตอนนี้เข้าสู่ยุคดิจิทัลมีการใช้สีสันมากมายหลายสี ไล่เฉดสี จนถึงโลโก้แบบ 3 มิติ โดยอนาคตการออกแบบโลโก้ในไทยมีความสำคัญมากขึ้น จากแต่ก่อนรูปแบบโลโก้จะเป็นทางการและมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน แต่ปัจจุบันร้านค้าต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้มากขึ้น
ความท้าทายในการออกแบบโลโก้คือ ต้องออกแบบ 1 รูป ให้สื่อสารได้ครบตามความต้องการและต้องให้คนเห็นแล้วรู้ทันทีว่าโลโก้นี้ขาย อะไรถ้าร้านค้าที่สนใจจะทำโลโก้ควรมีคอนเซปต์ของร้านหรือที่มาของชื่อ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตนของสินค้านั้น ๆ และต้องอธิบายสิ่งที่ต้องการให้ผู้ออกแบบรู้มากที่สุด เพื่อการออกแบบจะได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ
สำหรับเด็กยุคใหม่ที่อยากทำอาชีพนี้ ต้องเป็นคนที่ชอบคิดสร้างสรรค์หาสิ่งใหม่เรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาตนเอง และหารูปแบบแนวทางที่ตนชอบ บางคนชอบงานออกแบบสไตล์ญี่ปุ่น ก็ต้องดูผลงานของคนญี่ปุ่นมาก ๆ ดูงานดีไซเนอร์ต่างชาติมาก ๆ แล้วเริ่มออกแบบ วาดหาแนวทางจนเป็นสไตล์ของตนเอง
หันมามองในฟากขององค์รวมธุรกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ ขยายความถึงโลโก้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีการซื้อซ้ำ อันประกอบด้วยหลักคิดคือ 1. สาระรูป เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และผ่านการมองเห็น 2. สาระ เป็นองค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ที่ต้องการไปถึง เช่น นกแอร์มีแนวคิดให้เป็นนกสนุก การบริการและการสื่อสารต่าง ๆ ก็เน้นให้เห็นถึงความสนุกและสะดวก
สิ่งสำคัญของโลโก้พอเห็นแล้วต้องรู้ว่ากำลังขายหรือให้บริการอะไร และโลโก้ปัจจุบันลวดลายเริ่มน้อยลงกว่าแต่ก่อน เห็นได้จากตอนนี้จะเน้นการออกแบบที่ง่ายอย่าง เชลล์ แต่ก่อนเน้นให้เหมือนหอยอย่างจริงจังรายละเอียดถี่ แต่ตอนนี้เริ่มปรับให้ดูง่ายขึ้น และเอาชื่อภาษาอังกฤษด้านล่างออกเพราะคนรู้แล้วว่าถ้าเห็นสัญลักษณ์นี้คือ อะไร
การสร้างแบรนด์มีด้วยกัน 5 มิติ คือ 1. รูป เห็นโลโก้หรือสีอันเป็นเอกลักษณ์แล้วลูกค้าจำได้ ซึ่งสีเหล่านั้นเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งร้านได้ 2. รส ผ่านการสัมผัสด้วยลิ้น แม้บางสินค้าไม่ได้ขายของกิน แต่สามารถสร้างประสบการณ์ได้ เช่น โรงแรมที่มีเครื่องดื่มต้อนรับซึ่งพิเศษหาดื่มที่อื่นไม่ได้ เมื่อลูกค้าชิมแล้วติดใจครั้งหน้าจะมาใช้บริการใหม่
3. กลิ่น บางทีเกิดขึ้นไม่รู้ตัวอย่างกลิ่นของรถยนต์คันใหม่ ที่ผ่านการปรุงแต่งให้คนที่ใช้ได้กลิ่นและมีความรู้สึก แต่ต้องระวังอย่างมากเพราะหากเป็นกลิ่นที่ฉุนอาจสร้างความรำคาญให้กับลูกค้า 4. เสียง เป็นอีกสิ่งที่ผู้ประกอบการควรมี เพราะถ้าเสียง
เป็นเอกลักษณ์คนจะติด เช่น ไอศกรีมวอลล์ที่มีเสียงอันคุ้นชิน 5. สัมผัส แยกออกเป็นการสัมผัสจากสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการเมื่อรู้เป้าหมายแล้ว ต้องทำให้ตามเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ซื้อกลับมาใช้ใหม่
แนวคิดเหล่านี้แม้เป็นร้านค้าขนาดเล็กธรรมดาก็ทำได้ เพราะเราต้องเริ่มจุดเล็ก ๆ ไปหาใหญ่ ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการตั้งชื่อสินค้าของตัวเอง ต้องพยายามคิดว่าอนาคตเราจะขยายไปอะไรบ้าง แล้วตั้งชื่อที่น่าจะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น แบรนด์ ’ปังเว้ยเฮ้ย“ เป็นการตั้งชื่อที่ล้อมกรอบตัวเองไปหน่อย เพราะเมื่อขนมปังคนเริ่มมาซื้อไม่มากเหมือนเดิม อยากจะทำธุรกิจอื่นแต่ไม่สามารถใช้ชื่อแบรนด์นี้ได้ เนื่องจาก ตั้งชื่อนี้เท่ากับว่าต้องขายขนมปัง หรืออย่างบริษัทโรงงานฟุตบอลไทยฯ เดิมผลิตแต่อุปกรณ์ฟุตบอล พอเห็นลู่ทางทำอุปกรณ์กีฬาอย่างอื่นได้ก็มาใช้ชื่อใหม่ว่า ’เอฟบีที“
“ข้อควรคำนึงถึงการออกแบบโลโก้ คือ อย่าใช้สีมาก ควรมีแค่หนึ่งหรือสองสี เพราะเวลาพิมพ์ไปใช้งานจะเพิ่มต้นทุนในการผลิต และไม่ควรใช้สีพิเศษอย่างทองหรือเงิน เพราะสีพวกนี้ต้องเพลทในการพิมพ์เพิ่มซึ่งเป็นอีกราคาที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันอย่าดีไซน์ให้มีความซับซ้อนมากนัก รวมถึงผู้ประกอบการต้องดูว่ากลุ่มเป้า ตั้งชื่อนี้เท่ากับว่าต้องขายขนมปัง หรืออย่างบริษัทโรงงานฟุตบอลไทยฯ เดิมผลิตแต่อุปกรณ์ฟุตบอล พอเห็นลู่ทางทำอุปกรณ์กีฬาอย่างอื่นได้ก็มาใช้ชื่อใหม่ว่า “เอฟบีที”
“ข้อควรคำนึงถึงการออกแบบโลโก้ คือ อย่าใช้สีมาก ควรมีแค่หนึ่งหรือสองสี เพราะเวลาพิมพ์ไปใช้งานจะเพิ่มต้นทุนในการผลิต และไม่ควรใช้สีพิเศษอย่างทองหรือเงิน เพราะสีพวกนี้ต้องเพลทในการพิมพ์เพิ่มซึ่งเป็นอีกราคาที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันอย่าดีไซน์ให้มีความซับซ้อนมากนัก รวมถึงผู้ประกอบการต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายของสินค้าเป็นคนรุ่นไหน เพราะโลโก้มีส่วนสำคัญในการจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาซื้อ เห็นได้จากไก่เคเอฟซีในช่วงแรก โลโก้ผู้พันจะดูแก่มากในรายละเอียด แต่พอปรับไปปรับมาผู้พันดูหนุ่มขึ้นเพื่อเรียกกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น”
โลโก้ที่ดีอาจเอาแค่บางส่วนในโลโก้มาตกแต่งร้าน คนจะรู้ว่านี่แบรนด์อะไร เช่นเดียวกับสีที่ดีบนโลโก้ย่อมดึงดูดให้เกิดการจดจำ เช่น มีงานวิจัยว่าโลโก้ของโค้กมีคนจดจำได้มากที่สุด เนื่องจากสีแดงที่ตัดกับสีขาว ดูไม่ซับซ้อนแต่โดดเด่น โดยอนาคตเป็นเรื่องที่ต้องคิดว่าหากโลโก้อยู่บนหน้าเว็บโลโก้จะหมุนหรือ กลิ้งไปอย่างไรเพื่อเพิ่มมิติในการดึงดูด
การเปิดอาเซียนเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีขนาดเล็ก ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่การตั้งชื่อ โดยควรใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หรือหากอยากคงชื่อไทยไว้ให้ใช้ภาษาคาราโอเกะในการตั้งชื่อ แต่ควรหลีกเลี่ยงตัวที่เป็นการออกเสียงวรรณยุกต์ ที่บางทีคนต่างชาติพูดแล้วอาจผิดความหมาย
ดังนั้นโลโก้ถือเป็นอีกหัวใจหลักของธุรกิจ ที่ไม่ว่าจะขนาดใดหากมีเป้าหมายและพัฒนาตัวเองได้ย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า.
“มุมมองคนทำงานโลโก้ที่ดีจะส่งผลต่อสินค้าในแง่การจดจำ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างแบรนด์พอเห็นคนจำได้ แล้วเมื่อลูกค้าจดจำได้ ชอบในแบรนด์รักในแบรนด์ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อมากขึ้น”
4 ข้อควรรู้สำหรับนักออกแบบโลโก้
1. นอกจากรู้การดีไซน์แล้ว ต้องเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจเพื่อช่วยในการออกแบบ
2. รู้จักกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สิ่งที่ทำตรงความต้องการ
3. ติดตามเทรนด์โลก เพื่อให้รู้ทิศทางการออกแบบ แต่ไม่ควรเสพจนลืมความเป็นสไตล์ของตัวเอง
4. ต้องมีรสนิยม เพราะบางอย่างสอนกันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจของตนเอง
ทีมวาไรตี้
ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/224/194249 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ประชาชนซื้อสินค้าในซูปเปอร์มาเก็ตและโลโก้แบรนด์ต่างๆ ยุคนี้ไม่ว่าธุรกิจอะไร ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ทุนน้อยหรือทุนหนาทุกคนต่างมองหา “โลโก้” ที่เป็นตัวแทนการขายสินค้า เพราะรายละเอียดในการใช้ชีวิตคนสมัยนี้มีมากเลยเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้ประกอบ การต้องสร้างแบรนด์ตัวเองให้ผู้ซื้อกลับมาซื้อซ้ำอีกหน เช่นเดียวกับลูกค้าหน้าใหม่ที่ต้องสร้างแรงจูงใจเชื้อเชิญให้ลองใช้สินค้า แน่นอนว่าโลโก้คือ สิ่งเร้าหนึ่งในทั้งมวลอย่างปฏิเสธไม่ได้ ในยุทธจักรการแข่งขัน ตลาดนักออกแบบโลโก้ถือเป็นอีกสมรภูมิที่น่าสนใจ โดยตัวแทน บริษัท เอสกิโม สตูดิโอ (eskimo studio) ซึ่งรับออกแบบโลโก้ยอมรับถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะดูจากเว็บที่โฆษณาบนกูเกิ้ล และมีหน้าใหม่เข้ามาเรื่อย ๆ ตลาดค่อนข้างเปิด มีลูกค้าที่ต้องการออกแบบโลโก้เพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง สู่ยุคใหม่ ที่เป็นยุคแห่งการสื่อสารบริษัทร้านค้าต่าง ๆ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้สร้างแบรนด์เพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง รายอื่น ๆ “ด้วยบริษัทไม่ได้ออกแบบโลโก้ตั้งแต่แรก เนื่องจากทำงานโฆษณามาก่อน แต่มีลูกค้าจำนวนมากมาให้ออกแบบโลโก้ จึงหันมาจับธุรกิจนี้เต็มตัว แต่ยังยึดแนวคิดการออกแบบเดิมคือ เน้นไอเดีย สร้างสรรค์ในงานออกแบบโลโก้ เป็นแนวความคิดที่ต้องนอกกรอบ” มุมมองคนทำงานโลโก้ที่ดีจะส่งผลต่อสินค้าในแง่การจดจำ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างแบรนด์พอเห็นคนจำได้ แล้วเมื่อลูกค้าจดจำได้ ชอบในแบรนด์รักในแบรนด์ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อมากขึ้น จากประสบการณ์การทำงาน โลโก้ที่ได้รับความนิยมของลูกค้าจะเน้นไอเดียสร้างสรรค์มีลูกเล่นในตัวโลโก้ ส่วนร้านค้าและธุรกิจที่นิยมมาออกแบบมีทั้งธุรกิจร้านค้าออนไลน์ที่กำลัง เติบโตหรือธุรกิจอาหารและบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างแบรนด์ แนวคิดการออกแบบโลโก้ส่งผลต่อการสร้างแบรนด์ ในการสร้างการจดจำ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี โลโก้ที่ดี สามารถทำให้คนชอบตั้งแต่แรกเห็น ปัญหาของคนออกแบบโลโก้ส่วนใหญ่คือ หมดไอเดีย เพราะนักออกแบบบางทีก็หมดไอเดียได้เหมือนกัน ในการออกแบบต้องหาไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากบางงานหลายวันคิดไม่ออก แต่บางงานทำไม่กี่นาทีก็ได้ผลงานออกมาแล้ว การออกแบบโลโก้ต้องเปลี่ยนตามยุคสมัย เมื่อก่อนการออกแบบอาจใช้สีไม่กี่สี ตอนนี้เข้าสู่ยุคดิจิทัลมีการใช้สีสันมากมายหลายสี ไล่เฉดสี จนถึงโลโก้แบบ 3 มิติ โดยอนาคตการออกแบบโลโก้ในไทยมีความสำคัญมากขึ้น จากแต่ก่อนรูปแบบโลโก้จะเป็นทางการและมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน แต่ปัจจุบันร้านค้าต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการออกแบบโลโก้มากขึ้น ความท้าทายในการออกแบบโลโก้คือ ต้องออกแบบ 1 รูป ให้สื่อสารได้ครบตามความต้องการและต้องให้คนเห็นแล้วรู้ทันทีว่าโลโก้นี้ขาย อะไรถ้าร้านค้าที่สนใจจะทำโลโก้ควรมีคอนเซปต์ของร้านหรือที่มาของชื่อ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตนของสินค้านั้น ๆ และต้องอธิบายสิ่งที่ต้องการให้ผู้ออกแบบรู้มากที่สุด เพื่อการออกแบบจะได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ สำหรับเด็กยุคใหม่ที่อยากทำอาชีพนี้ ต้องเป็นคนที่ชอบคิดสร้างสรรค์หาสิ่งใหม่เรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาตนเอง และหารูปแบบแนวทางที่ตนชอบ บางคนชอบงานออกแบบสไตล์ญี่ปุ่น ก็ต้องดูผลงานของคนญี่ปุ่นมาก ๆ ดูงานดีไซเนอร์ต่างชาติมาก ๆ แล้วเริ่มออกแบบ วาดหาแนวทางจนเป็นสไตล์ของตนเอง หันมามองในฟากขององค์รวมธุรกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสริมยศ ธรรมรักษ์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ ขยายความถึงโลโก้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์ เพื่อให้ผู้บริโภคมีการซื้อซ้ำ อันประกอบด้วยหลักคิดคือ 1. สาระรูป เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และผ่านการมองเห็น 2. สาระ เป็นองค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ที่ต้องการไปถึง เช่น นกแอร์มีแนวคิดให้เป็นนกสนุก การบริการและการสื่อสารต่าง ๆ ก็เน้นให้เห็นถึงความสนุกและสะดวก สิ่งสำคัญของโลโก้พอเห็นแล้วต้องรู้ว่ากำลังขายหรือให้บริการอะไร และโลโก้ปัจจุบันลวดลายเริ่มน้อยลงกว่าแต่ก่อน เห็นได้จากตอนนี้จะเน้นการออกแบบที่ง่ายอย่าง เชลล์ แต่ก่อนเน้นให้เหมือนหอยอย่างจริงจังรายละเอียดถี่ แต่ตอนนี้เริ่มปรับให้ดูง่ายขึ้น และเอาชื่อภาษาอังกฤษด้านล่างออกเพราะคนรู้แล้วว่าถ้าเห็นสัญลักษณ์นี้คือ อะไร การสร้างแบรนด์มีด้วยกัน 5 มิติ คือ 1. รูป เห็นโลโก้หรือสีอันเป็นเอกลักษณ์แล้วลูกค้าจำได้ ซึ่งสีเหล่านั้นเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งร้านได้ 2. รส ผ่านการสัมผัสด้วยลิ้น แม้บางสินค้าไม่ได้ขายของกิน แต่สามารถสร้างประสบการณ์ได้ เช่น โรงแรมที่มีเครื่องดื่มต้อนรับซึ่งพิเศษหาดื่มที่อื่นไม่ได้ เมื่อลูกค้าชิมแล้วติดใจครั้งหน้าจะมาใช้บริการใหม่ 3. กลิ่น บางทีเกิดขึ้นไม่รู้ตัวอย่างกลิ่นของรถยนต์คันใหม่ ที่ผ่านการปรุงแต่งให้คนที่ใช้ได้กลิ่นและมีความรู้สึก แต่ต้องระวังอย่างมากเพราะหากเป็นกลิ่นที่ฉุนอาจสร้างความรำคาญให้กับลูกค้า 4. เสียง เป็นอีกสิ่งที่ผู้ประกอบการควรมี เพราะถ้าเสียง เป็นเอกลักษณ์คนจะติด เช่น ไอศกรีมวอลล์ที่มีเสียงอันคุ้นชิน 5. สัมผัส แยกออกเป็นการสัมผัสจากสินค้าและบริการที่ผู้ประกอบการเมื่อรู้เป้าหมายแล้ว ต้องทำให้ตามเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ซื้อกลับมาใช้ใหม่ แนวคิดเหล่านี้แม้เป็นร้านค้าขนาดเล็กธรรมดาก็ทำได้ เพราะเราต้องเริ่มจุดเล็ก ๆ ไปหาใหญ่ ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการตั้งชื่อสินค้าของตัวเอง ต้องพยายามคิดว่าอนาคตเราจะขยายไปอะไรบ้าง แล้วตั้งชื่อที่น่าจะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น แบรนด์ ’ปังเว้ยเฮ้ย“ เป็นการตั้งชื่อที่ล้อมกรอบตัวเองไปหน่อย เพราะเมื่อขนมปังคนเริ่มมาซื้อไม่มากเหมือนเดิม อยากจะทำธุรกิจอื่นแต่ไม่สามารถใช้ชื่อแบรนด์นี้ได้ เนื่องจาก ตั้งชื่อนี้เท่ากับว่าต้องขายขนมปัง หรืออย่างบริษัทโรงงานฟุตบอลไทยฯ เดิมผลิตแต่อุปกรณ์ฟุตบอล พอเห็นลู่ทางทำอุปกรณ์กีฬาอย่างอื่นได้ก็มาใช้ชื่อใหม่ว่า ’เอฟบีที“ “ข้อควรคำนึงถึงการออกแบบโลโก้ คือ อย่าใช้สีมาก ควรมีแค่หนึ่งหรือสองสี เพราะเวลาพิมพ์ไปใช้งานจะเพิ่มต้นทุนในการผลิต และไม่ควรใช้สีพิเศษอย่างทองหรือเงิน เพราะสีพวกนี้ต้องเพลทในการพิมพ์เพิ่มซึ่งเป็นอีกราคาที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันอย่าดีไซน์ให้มีความซับซ้อนมากนัก รวมถึงผู้ประกอบการต้องดูว่ากลุ่มเป้า ตั้งชื่อนี้เท่ากับว่าต้องขายขนมปัง หรืออย่างบริษัทโรงงานฟุตบอลไทยฯ เดิมผลิตแต่อุปกรณ์ฟุตบอล พอเห็นลู่ทางทำอุปกรณ์กีฬาอย่างอื่นได้ก็มาใช้ชื่อใหม่ว่า “เอฟบีที” “ข้อควรคำนึงถึงการออกแบบโลโก้ คือ อย่าใช้สีมาก ควรมีแค่หนึ่งหรือสองสี เพราะเวลาพิมพ์ไปใช้งานจะเพิ่มต้นทุนในการผลิต และไม่ควรใช้สีพิเศษอย่างทองหรือเงิน เพราะสีพวกนี้ต้องเพลทในการพิมพ์เพิ่มซึ่งเป็นอีกราคาที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันอย่าดีไซน์ให้มีความซับซ้อนมากนัก รวมถึงผู้ประกอบการต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายของสินค้าเป็นคนรุ่นไหน เพราะโลโก้มีส่วนสำคัญในการจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาซื้อ เห็นได้จากไก่เคเอฟซีในช่วงแรก โลโก้ผู้พันจะดูแก่มากในรายละเอียด แต่พอปรับไปปรับมาผู้พันดูหนุ่มขึ้นเพื่อเรียกกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น” โลโก้ที่ดีอาจเอาแค่บางส่วนในโลโก้มาตกแต่งร้าน คนจะรู้ว่านี่แบรนด์อะไร เช่นเดียวกับสีที่ดีบนโลโก้ย่อมดึงดูดให้เกิดการจดจำ เช่น มีงานวิจัยว่าโลโก้ของโค้กมีคนจดจำได้มากที่สุด เนื่องจากสีแดงที่ตัดกับสีขาว ดูไม่ซับซ้อนแต่โดดเด่น โดยอนาคตเป็นเรื่องที่ต้องคิดว่าหากโลโก้อยู่บนหน้าเว็บโลโก้จะหมุนหรือ กลิ้งไปอย่างไรเพื่อเพิ่มมิติในการดึงดูด การเปิดอาเซียนเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่มีขนาดเล็ก ควรเริ่มวางแผนตั้งแต่การตั้งชื่อ โดยควรใช้ชื่อภาษาอังกฤษ หรือหากอยากคงชื่อไทยไว้ให้ใช้ภาษาคาราโอเกะในการตั้งชื่อ แต่ควรหลีกเลี่ยงตัวที่เป็นการออกเสียงวรรณยุกต์ ที่บางทีคนต่างชาติพูดแล้วอาจผิดความหมาย ดังนั้นโลโก้ถือเป็นอีกหัวใจหลักของธุรกิจ ที่ไม่ว่าจะขนาดใดหากมีเป้าหมายและพัฒนาตัวเองได้ย่อมนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า. “มุมมองคนทำงานโลโก้ที่ดีจะส่งผลต่อสินค้าในแง่การจดจำ การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างแบรนด์พอเห็นคนจำได้ แล้วเมื่อลูกค้าจดจำได้ ชอบในแบรนด์รักในแบรนด์ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อมากขึ้น” 4 ข้อควรรู้สำหรับนักออกแบบโลโก้ 1. นอกจากรู้การดีไซน์แล้ว ต้องเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจเพื่อช่วยในการออกแบบ 2. รู้จักกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สิ่งที่ทำตรงความต้องการ 3. ติดตามเทรนด์โลก
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)