ข้อมูลผู้บริโภคกุญแจสร้างธุรกิจ
ข้อมูลของผู้บริโภคกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญต่อภาคธุรกิจเปรียบเสมือนเป็น "น้ำมัน" แห่งศตวรรษที่ 21
การเข้าถึงข้อมูลส่วน ตัวของผู้บริโภคจะช่วยก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจและการสร้างบริการรูปแบบ ใหม่ๆ ที่ตรงต่อความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้า อันนำมาซึ่งรายได้ของผู้ให้บริการ
ปัจจุบัน บริษัทห้างร้าน องค์กรต่างๆ รวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลมาทำให้เกิดประโยชน์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การใช้ข้อมูลประเภทนี้อย่างถูกวิธีจะช่วยสร้างรายได้และผลกำไรอันน่าทึ่ง
อีริคสัน คอนซูเมอร์แล็บ จัดทำรายงานเรื่อง “เศรษฐกิจของข้อมูลส่วนบุคคล” ปรากฎว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักว่าข้อมูลของตัวเองได้เปิดเผยในลักษณะใด และไม่เห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลจำนวนมากต่อสาธารณะ หากไม่ระบุชื่อที่เกี่ยวข้อง
คอนซูเมอร์แล็บ จึงให้คำอธิบายถึงความเข้าใจ ความจำเป็น พฤติกรรม และทัศนคติของผู้บริโภค ที่มีต่อแนวคิดที่ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสำหรับพวกเขา
การศึกษาในเชิงปริมาณ จัดทำขึ้นโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ของคอนซูเมอร์แล็บ ผ่านการสัมภาษณ์ผู้บริโภค บนช่องทางออนไลน์กว่า 23,000 ราย ช่วงอายุ 15-69 ปี ในประเทศออสเตรเลีย บราซิล จีน เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ สวีเดน อังกฤษ ยูเครน และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน พ.ค. 2555
รายงานระบุว่า ผู้บริโภคมากกว่า 50% ตระหนักถึงว่าข้อมูลของพวกเขาถูกรวบรวมและนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ แต่ยังขาดความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลและกระบวนการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้
ผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 40% อนุญาตให้บริษัทห้างร้านใช้ประโยชน์จากข้อมูลของ ตัวเองได้ หากพวกเขาจะได้รับข้อเสนอที่ตรงต่อความต้องการมากยิ่งขึ้นเป็นการตอบแทน เพื่อปรับปรุงบริการเดิมและพัฒนาสู่บริการใหม่ได้
ความกังวลใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคจะหมดไป หากเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูลนั้น การให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมโดยการขออนุญาตก่อนจะนำข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาไปใช้ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูล หรืออีกนัยหนึ่งหากองค์กรใดโปร่งใส โดยทำให้ผู้บริโภคได้เข้าใจถึงจุดประสงค์และกระบวนการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ จะทำให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรนั้น
นางรีเบคคา ซีเดอริง อังสตรอม ที่ปรึกษาอาวุโสของอีริคสัน คอนซูเมอร์ แล็บ กล่าวว่า ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญต่อภาคธุรกิจในการสร้างความสัมพันธ์ที่ในเชิงบวกกับผู้บริโภค
เมื่อบริษัทได้เข้าถึงข้อมูลส่วน บุคคลเกี่ยวกับลูกค้าก็จะทำให้บริษัทนั้นๆ สร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ โดยรวมไปถึงลักษณะและรูปแบบการติดต่อนำเสนอที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนได้ดี ยิ่งขึ้น ในที่สุดก็จะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ดีขึ้น การเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีต่อแบรนด์ ตลอดจนนำไปสู่เรื่องของยอดขายที่ดี
ทั้งนี้ผู้บริโภคจำนวนมากยังคงต้องการข้อเสนอและบริการที่ตรงต่อความต้อง การเฉพาะตัว แต่ขณะเดียวกันบริษัทต่างๆ ก็ควรระมัดระวังในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอย่างแท้จริง
อีริคสัน คอนซูเมอร์ แล็บ แสดงให้เห็นว่ามากกว่า 40% ของผู้บริโภคจะอนุญาตให้บริษัทใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาเพื่อปรับแต่งข้อเสนอ การปรับปรุงการให้บริการในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ดีขึ้น
นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสันประเทศไทย กล่าวเสริมว่า อีริคสันคาดการณ์ว่า ภายในปี 2563 โลกจะมีอุปกรณ์สารพัดชนิดกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นเชื่อมติดต่อสื่อสารถึงกันเพื่อส่งข้อมูลและ บริการต่างๆ ผ่านระบบนิเวศน์ของธุรกิจในรูปแบบต่างๆ แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ผู้บริโภคย่อมจะได้รับประโยชน์จากข้อเสนอและ บริการที่ดีขึ้น ตรงต่อความต้องการเฉพาะตัวมากขึ้น
"หมายความว่าโลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมเครือข่าย (Networked Society) อย่างสมบูรณ์แบบ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเชื่อมต่อสื่อสารกันได้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พวกเรา และภาคธุรกิจอีกด้วย"
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กลุ่มประชาชนจากหลากหลายอาชีพ ข้อมูลของผู้บริโภคกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญต่อภาคธุรกิจเปรียบเสมือนเป็น "น้ำมัน" แห่งศตวรรษที่ 21 การเข้าถึงข้อมูลส่วน ตัวของผู้บริโภคจะช่วยก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจและการสร้างบริการรูปแบบ ใหม่ๆ ที่ตรงต่อความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้า อันนำมาซึ่งรายได้ของผู้ให้บริการ ปัจจุบัน บริษัทห้างร้าน องค์กรต่างๆ รวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลมาทำให้เกิดประโยชน์อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การใช้ข้อมูลประเภทนี้อย่างถูกวิธีจะช่วยสร้างรายได้และผลกำไรอันน่าทึ่ง อีริคสัน คอนซูเมอร์แล็บ จัดทำรายงานเรื่อง “เศรษฐกิจของข้อมูลส่วนบุคคล” ปรากฎว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักว่าข้อมูลของตัวเองได้เปิดเผยในลักษณะใด และไม่เห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลจำนวนมากต่อสาธารณะ หากไม่ระบุชื่อที่เกี่ยวข้อง คอนซูเมอร์แล็บ จึงให้คำอธิบายถึงความเข้าใจ ความจำเป็น พฤติกรรม และทัศนคติของผู้บริโภค ที่มีต่อแนวคิดที่ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสำหรับพวกเขา การศึกษาในเชิงปริมาณ จัดทำขึ้นโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ของคอนซูเมอร์แล็บ ผ่านการสัมภาษณ์ผู้บริโภค บนช่องทางออนไลน์กว่า 23,000 ราย ช่วงอายุ 15-69 ปี ในประเทศออสเตรเลีย บราซิล จีน เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ สวีเดน อังกฤษ ยูเครน และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือน พ.ค. 2555 รายงานระบุว่า ผู้บริโภคมากกว่า 50% ตระหนักถึงว่าข้อมูลของพวกเขาถูกรวบรวมและนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ แต่ยังขาดความเข้าใจอย่างชัดเจนในเหตุผลและกระบวนการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ ผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 40% อนุญาตให้บริษัทห้างร้านใช้ประโยชน์จากข้อมูลของ ตัวเองได้ หากพวกเขาจะได้รับข้อเสนอที่ตรงต่อความต้องการมากยิ่งขึ้นเป็นการตอบแทน เพื่อปรับปรุงบริการเดิมและพัฒนาสู่บริการใหม่ได้ ความกังวลใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคจะหมดไป หากเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูลนั้น การให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมโดยการขออนุญาตก่อนจะนำข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาไปใช้ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูล หรืออีกนัยหนึ่งหากองค์กรใดโปร่งใส โดยทำให้ผู้บริโภคได้เข้าใจถึงจุดประสงค์และกระบวนการนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ จะทำให้พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรนั้น นางรีเบคคา ซีเดอริง อังสตรอม ที่ปรึกษาอาวุโสของอีริคสัน คอนซูเมอร์ แล็บ กล่าวว่า ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญต่อภาคธุรกิจในการสร้างความสัมพันธ์ที่ในเชิงบวกกับผู้บริโภค เมื่อบริษัทได้เข้าถึงข้อมูลส่วน บุคคลเกี่ยวกับลูกค้าก็จะทำให้บริษัทนั้นๆ สร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ โดยรวมไปถึงลักษณะและรูปแบบการติดต่อนำเสนอที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนได้ดี ยิ่งขึ้น ในที่สุดก็จะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์ของผู้บริโภคที่ดีขึ้น การเพิ่มความพึงพอใจและความภักดีต่อแบรนด์ ตลอดจนนำไปสู่เรื่องของยอดขายที่ดี ทั้งนี้ผู้บริโภคจำนวนมากยังคงต้องการข้อเสนอและบริการที่ตรงต่อความต้อง การเฉพาะตัว แต่ขณะเดียวกันบริษัทต่างๆ ก็ควรระมัดระวังในการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าอย่างแท้จริง อีริคสัน คอนซูเมอร์ แล็บ แสดงให้เห็นว่ามากกว่า 40% ของผู้บริโภคจะอนุญาตให้บริษัทใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาเพื่อปรับแต่งข้อเสนอ การปรับปรุงการให้บริการในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ที่ดีขึ้น นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ อีริคสันประเทศไทย กล่าวเสริมว่า อีริคสันคาดการณ์ว่า ภายในปี 2563 โลกจะมีอุปกรณ์สารพัดชนิดกว่า 5 หมื่นล้านชิ้นเชื่อมติดต่อสื่อสารถึงกันเพื่อส่งข้อมูลและ บริการต่างๆ ผ่านระบบนิเวศน์ของธุรกิจในรูปแบบต่างๆ แน่นอนว่าในสถานการณ์เช่นนี้ผู้บริโภคย่อมจะได้รับประโยชน์จากข้อเสนอและ บริการที่ดีขึ้น ตรงต่อความต้องการเฉพาะตัวมากขึ้น "หมายความว่าโลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมเครือข่าย (Networked Society) อย่างสมบูรณ์แบบ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเชื่อมต่อสื่อสารกันได้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พวกเรา และภาคธุรกิจอีกด้วย" ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130416/500144/ข้อมูลผู้บริโภคกุญแจสร้างธุรกิจ.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)