ลาซาด้า แนะเทคนิค เรียนรู้ ก่อนรวย ด้วย “ค้าขายออนไลน์”
คุณสิทธิพล พุทธยศ หัวหน้าฝ่ายอบรมและพัฒนาผู้ประกอบการ จากลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทย มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ราว 40 ล้านคน กรุงเทพฯมีประชากรที่ใช้เฟซบุ๊ก มากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันมีผู้ใช้ Line ราว 38 ล้านคน คิดเป็น 83 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ ส่วนอินสตาแกรมนั้น ประเทศไทยมีผู้ใช้ 8 ล้านคน และประเทศไทย ยังจัดอยู่ในอันดับหนึ่งของผู้ใช้ออนไลน์วิดีโอมากที่สุด
“ปัจจุบันการเข้าถึงโลกโซเชียล ง่ายมาก ช่องทางสำคัญ คือ ผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งนับวันจะราคาถูกลง บางยี่ห้อ โอปเรเตอร์บางแห่งถึงกับแจกฟรีเลยก็มี ยุคนี้จึงน่าจะเข้าสู่ยุคของการค้าขายออนไลน์แบบเต็มตัวแล้ว” ตัวแทนลาซาด้า ในฐานะ e Commerce Platform (อี คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม) แบรนด์ดังระดับโลก ว่ามาอย่างนั้น
ก่อนบอกต่อ สิ่งที่ผู้ประกอบการค้าขายออนไลน์ หรือ e Commerce (อี คอมเมิร์ซ) ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ แพลตฟอร์ม แบบไหนที่เหมาะกับสินค้าหรือบริการของตัวเอง หากเปิดเพจ เปิดเว็บไซต์ ขายสินค้าที่ผลิตเอง ต้องคำนึงด้วยว่าจะมีใครมารู้จัก ร้านเราบนแพลตฟอร์มนั้นหรือเปล่า ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราไม่ใช้ดีลเลอร์ดังๆ คงไม่มีคนรู้จัก ฉะนั้นต้องดูด้วยว่า แพลตฟอร์มแต่ละอย่าง สามารถช่วยสนับสนุนการขายสินค้าของเราอย่างไรบ้าง
“แพลตฟอร์มไหน ที่จะเหมาะกับสินค้าเรา ต้องพิจาณาให้ดี การสร้างเว็บไซต์เอง สร้างเพจเอง หรือขายในอินสตาแกรม จะมีลูกค้ารู้จักหรือเปล่า และถึงจะเสียตังค์สร้างเว็บไซต์อย่างสวยหรู แต่ถ้าไม่มีลูกค้าจัก ร้านเราก็ไม่มียอดขายกลับมาอยู่ดี ประเด็นนี้ผู้ประกอบการต้องไปศึกษาเพิ่มเติม ว่าควรใช้ช่องทางแพลตฟอร์มไหนถึงจะดี ควรซื้อเฟซบุ๊กแอด กูเกิลแอด หรือแอดอื่นๆซึ่งมีให้เลือกมากมาย”
คุณสิทธิพล บอดต่อ อีกไม่เกิน 1-2 ปีข้างหน้า ระบบ e Payment (อี เพย์เมนต์) จะเฃ้ามามีบทบาทอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการทุกระดับ โดยเฉพาะเอสเอมอี เพราะสร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก
“เมื่อก่อนการขายสินค้าออนไลน์ ต้องโอนเงินก่อนอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าสินค้าที่จะได้ตรงกับความต้องการที่สั่งไปหรือเปล่า ที่ผ่านมาเห็นข่าวกันหลายเคส สั่งมือถือ ได้ก้อนหิน หรือสั่งรองเท้า ได้ผ้าใบจริงๆ แต่รูปไม่เหมือนในเว็บที่ลูกค้าเข้าไปดู ฉะนั้นระบบ อี เพย์เมนต์ นี้ จะเข้ามาช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้มาก” หัวหน้าฝ่ายอบรมฯ ว่ามาอย่างนั้น
และว่า การเก็บ-การวิเคราะห์ข้อมูล (Cloud Computing) ที่ช่วยให้ร้านค้าอัพเดทสต๊อกให้ลูกค้าทราบตลอดเวลา และเรื่องของการขนส่งที่รวดเร็ว เป็นประเด็นที่ร้านค้าออนไลน์ ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ เป็นปัจจัยที่ช่วยให้ชื่อเสียงร้านค้ามีเพิ่มขึ้นด้วย สินค้าแบบเดียวกัน ถ้าร้านไหนให้คำตอบกลับมาไวและส่งได้เร็วกว่า ลูกค้าจะบอกต่อ สิ่งเหล่านี้มีผลต่อชื่อเสียงของร้านค้าอย่างแน่นอน
คุณสิทธิพล กล่าวต่อ เรื่องของการตั้ง “ราคาขาย” ในการค้าขายออนไลน์ นับว่ามีความสำคัญมากว่าควรตั้งที่เท่าไหร่ ถ้าไปตั้งขายราคาเท่าห้างฯ อาจเป็นไปได้ยากที่จะขายได้ หรือหากเปรียบเทียบกับร้านอื่นในออนไลน์ด้วยกัน แล้วของเราแพงว่า ลูกค้างคงไปซื้อร้านอื่น แม้จะต่างกันแค่บาทเดียวก็ตาม
“ก่อนหน้านี้ เคยมีร้านค้าหนึ่ง ซึ่งมาเปิดขายกับลาซาด้า ขายได้ดีมาก อยู่สามเดือน ยอดขาเดือนละหนึ่งหมื่นบาท พอเข้า เดือนที่สี่ไม่มีออร์เดอร์เลย เขาโทร.มาต่อว่า ลาซาด้า ว่าไปปิดเอสเคยู หรือเปล่า ทางเราจึงเข้าไปเช็คระบบหลังบ้านก็ไม่มีปัญหา พอค้นหาดูเพิ่มเติม พบร้านอื่นที่ขายของเหมือนกัน เขาลดราคานานแล้ว เพราะราคาตลาดมันลดลง แต่เขายังขายราคาเดิม แล้วจะขายได้ยังไง
กรณีนี้ เป็นเรื่องของการลืมเข้าไปอัพเดทราคา ไม่ดูราคาตลาด ทั้งที่ราคามันลงไปตั้งนานแล้ว ทำให้ร้านขายดีหลายร้านตกม้าตายกันเยอะ แต่สินค้าที่ผลิตเอง ปัญหาแบบนี้ มักเกิดกับสินค้าที่เป็นแมส แบบที่ซื้อมาขายไป”คุณสิทธิพล ยกตัวอย่าง
สนใจเรียนรู้ เคล็ดลับ การค้าขายออนไลน์กับลาซาด้า สอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ Facebook/Lazada Happy Selling , Line : @LazadaHappySelling และอีเมล Sittipol.p@lazada.co.th
ขอบคุณ... https://www.sentangsedtee.com/featured/article_38440