ให้อาชีพ สร้างโอกาส พัฒนาวิถี ‘ผู้ลี้ภัย’
“ความกลัว ความไม่แน่นอน ความรู้สึกไร้อนาคต และไร้อำนาจ” คือสิ่งที่ยังคงติดค้างอยู่ในใจของผู้ลี้ภัย
“อยู่ในศูนย์ฯ ก็นั่งกิน นอนกิน บ้างก็ลักลอบออกมาตัดไม้ ขโมยของ หรือหนีออกมาทำงานนอกพื้นที่” เป็นเสียงสะท้อนจากชาวบ้านบางส่วน ที่มองผู้อพยพหนีภัยสงคราม และปัญหาความยากจน จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ที่เข้ามาอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวบริเวณ ชายแดนไทย
นานหลายทศวรรษแล้วที่ประเทศไทยได้ให้ที่พักพิงแก่ “ผู้ลี้ภัย” บุคคลที่ต้องหนีออกนอกประเทศบ้านเกิดของตนเอง เพราะหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต โดยปัจจุบันรัฐบาลไทยได้เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 ศูนย์ กระจายอยู่ใน 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี เพื่อรองรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่หนีภัยการสู้รบมากกว่า 100,000 คน ซึ่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้นอกจากจะได้ที่พักพิงแล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค และการศึกษา จากหน่วยงานภาครัฐ องค์การพัฒนาภาคเอกชน ( NGO ) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR ) อย่างต่อเนื่อง
คำตอบหนึ่งที่นำมาใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และสร้างพื้นฐานการดำเนินชีวิตแก่ผู้ลี้ภัย คือ “การให้อาชีพ” ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับ สมาคมความช่วยเหลือเพื่อความร่วมมือและเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือ ACTED จัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพและเพิ่มทักษะ เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเริ่มที่ศูนย์พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
นายไพรัช วิมาลา ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้เล่าถึงการดำเนินโครงการฝึกอบรมวิชาชีพและเพิ่มทักษะเพื่อเตรียมความ พร้อมสำหรับผู้ลี้ภัยว่า ก่อนการจัดอบรมทาง ACTED จะสำรวจความต้องการเกี่ยวกับตลาดแรงงานที่ประเทศพม่า โดยพบว่ามี 10 อาชีพที่พม่าให้ความสนใจ จึงได้นำมาจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก ก่อสร้าง การจัดการด้านโรงแรม การบริหารสำนักงาน/การควบคุมด้านคอมพิวเตอร์ ช่างเสริมสวย ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ช่างตกแต่งภายใน และคหกรรม จากนั้นจะคัดเลือกผู้ลี้ภัยในศูนย์มาฝึกอบรมอาชีพละ 1 คน โดยประกอบด้วยครู หรือวิทยากรผู้สอน 1 คน และล่ามแปลภาษาอีก 1 คน เรียกได้ว่า อบรมทักษะวิชาชีพแบบเข้มข้น 1 ต่อ 2 เพื่อเป็น “แม่ไก่” ไปขยายถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาชีพที่ตนได้รับให้แก่ “ลูกไก่” หรือเพื่อนร่วมศูนย์พักพิงฯ ให้ได้รับความรู้ในทักษะวิชาชีพที่สนใจเช่นเดียวกัน
“หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมให้แก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับมาตรฐานด้านวิชาชีพของไทย พม่า และนานาชาติ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มทักษะชีวิต เช่น การตัดสินใจ การจัดการเวลา การแก้ปัญหาควบคู่ไปด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเป็นแรงงานที่ดีในอนาคต โดยผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองมีทั้งภาษาอังกฤษ ไทย และพม่า เพื่อสามารถนำกลับไปทำงานได้ และได้รับความเชื่อมั่นว่าได้ผ่านหลักสูตรการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ของไทยแล้ว ซึ่งการอบรมแม่ไก่จะมีระยะเวลาการฝึกอบรม 150 ชั่วโมง หรือ 25 วัน โดยสอนที่วิทยาลัย 6 สาขาวิชา และสอนที่สถานประกอบการ 4 สาขาวิชา ทั้งนี้แม่ไก่ทั้ง 10 คน จะได้รับการติวเข้มเติมเต็มในเรื่องเทคนิคการสอน ก่อนที่จะไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกไก่ที่อยู่ในศูนย์พักพิงฯที่จะจัดขึ้น ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้ และระหว่างที่แม่ไก่ทำหน้าที่ภายในศูนย์พักพิงฯ จะมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามให้คำปรึกษา ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้วย โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 ปี แม่ไก่เหล่านี้จะไปขยายผลให้ผู้ลี้ภัยที่มีอายุ 20-35 ปี ให้เป็นผู้ที่ได้เพิ่มทักษะทางด้านวิชาชีพไม่น้อยกว่า 1,400 คน” ผอ.ไพรัช บอกถึงจุดมุ่งหมาย
“อุ่แหละ” หรือ นายอุ่ อายุ 28 ปี ชาวกะเหรี่ยง ผู้ลี้ภัยในศูนย์พักพิงฯ ที่เป็นแม่ไก่ เข้ารับการอบรมในสาขาวิชาช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ เล่าว่า อยู่ในศูนย์พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย มากว่า 11 ปีแล้ว อยู่ในศูนย์ก็เป็นครูสอนภาษากะเหรี่ยง สนใจอาชีพซ่อมรถจักรยานยนต์ เพราะในศูนย์มีคนใช้รถมอเตอร์ไซค์เยอะ ถ้ามีทุนก็อยากจะเปิดร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ในศูนย์พักพิงฯพร้อมกับสอนการ ซ่อมรถให้แก่ผู้ที่สนใจด้วย ซึ่งตนดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอบรม และรู้สึกมีความหวังมากขึ้น ถ้าไม่มีโครงการนี้ก็ยังมองไม่เห็นอนาคตตัวเอง คงอยู่ในศูนย์ไปวัน ๆ
ขณะที่ “บอแหละ” หรือ นายบอ อายุ 20 ปี เข้ารับการอบรมในสาขาวิชาก่อสร้าง บอกว่า ไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน รู้สึกสนใจในงานก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้สามารถก่ออิฐและปูกระเบื้องได้แล้ว มั่นใจว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่พำนักอยู่ ในศูนย์พักพิงฯ ได้ อย่างไรก็ตามเคยฝันว่าอยากเป็นช่างปูน และจะกลับไปทำงานที่พม่า
ความหวังในชีวิตของผู้ลี้ภัยนี้ นายสุทธา สายวาณิชย์รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนบอกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามในการเจรจาส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศมา โดยตลอด ซึ่งการฝึกทักษะวิชาชีพให้แก่ผู้ลี้ภัย ถือเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ลี้ภัยเองมาก เพราะหากวันหนึ่งข้างหน้าผู้ลี้ภัยได้กลับไปตั้งถิ่นฐานในประเทศของตนเอง หรือไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม หรือแม้จะยังคงอยู่ในศูนย์พักพิงฯในไทย
ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็จะเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือ มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และบางส่วนอาจได้รับการพิจารณาอะลุ้มอล่วยให้ออกมาทำงานนอกศูนย์พักพิงฯได้ ทั้งนี้ แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่กว่า 40,000 คน ในศูนย์พักพิงฯ 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย ศูนย์พักพิงฯบ้านแม่สุริน ศูนย์พักพิงฯบ้านแม่ลามาหลวง และศูนย์พักพิงฯบ้านแม่ละอูน ซึ่งส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า โดยเป็นชาวกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงแดง หรือกะยาห์ และหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็จะมีการขยายการฝึกอบรมไปยังศูนย์พักพิงฯ อื่น ๆ ต่อไป
“การฝึกอบรมครั้งนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้คนในศูนย์พักพิงฯมีความกระตือ รือร้นที่จะพัฒนาตนเอง เพราะเห็นเพื่อนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากยังคงเพิกเฉยไม่พัฒนาตนเอง ในอนาคตก็จะเป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือไปตลอด”
ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ยังบอกด้วยว่า สอศ.มีหน้าที่จัดการศึกษาและฝึกอบรมอาชีพให้แก่คนในแผ่นดินไทย โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ หรือ สัญชาติ จะเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ เพราะเราถือว่าเรื่องการศึกษาและการฝึกอบรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และเป็นสิทธิมนุษยชน ดังนั้นจึงเป็นอีกมุมหนึ่งที่ สอศ.ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
แหละนี่เป็นอีกโครงการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันยื่นโอกาสให้แก่…ผู้ลี้ภัย.
ณัชชารีย์ วิเชียรรัตน์
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/205787 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รวมภาพอาชีพต่างๆ ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 ศูนย์ ฝึกอบรมให้ผู้ลี้ภัย “ความกลัว ความไม่แน่นอน ความรู้สึกไร้อนาคต และไร้อำนาจ” คือสิ่งที่ยังคงติดค้างอยู่ในใจของผู้ลี้ภัย “อยู่ในศูนย์ฯ ก็นั่งกิน นอนกิน บ้างก็ลักลอบออกมาตัดไม้ ขโมยของ หรือหนีออกมาทำงานนอกพื้นที่” เป็นเสียงสะท้อนจากชาวบ้านบางส่วน ที่มองผู้อพยพหนีภัยสงคราม และปัญหาความยากจน จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ที่เข้ามาอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวบริเวณ ชายแดนไทย นานหลายทศวรรษแล้วที่ประเทศไทยได้ให้ที่พักพิงแก่ “ผู้ลี้ภัย” บุคคลที่ต้องหนีออกนอกประเทศบ้านเกิดของตนเอง เพราะหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต โดยปัจจุบันรัฐบาลไทยได้เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราว 9 ศูนย์ กระจายอยู่ใน 4 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี และราชบุรี เพื่อรองรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่หนีภัยการสู้รบมากกว่า 100,000 คน ซึ่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้นอกจากจะได้ที่พักพิงแล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค และการศึกษา จากหน่วยงานภาครัฐ องค์การพัฒนาภาคเอกชน ( NGO ) และสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR ) อย่างต่อเนื่อง คำตอบหนึ่งที่นำมาใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และสร้างพื้นฐานการดำเนินชีวิตแก่ผู้ลี้ภัย คือ “การให้อาชีพ” ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกับ สมาคมความช่วยเหลือเพื่อความร่วมมือและเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือ ACTED จัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพและเพิ่มทักษะ เตรียมความพร้อมสำหรับผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเริ่มที่ศูนย์พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายไพรัช วิมาลา ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน ได้เล่าถึงการดำเนินโครงการฝึกอบรมวิชาชีพและเพิ่มทักษะเพื่อเตรียมความ พร้อมสำหรับผู้ลี้ภัยว่า ก่อนการจัดอบรมทาง ACTED จะสำรวจความต้องการเกี่ยวกับตลาดแรงงานที่ประเทศพม่า โดยพบว่ามี 10 อาชีพที่พม่าให้ความสนใจ จึงได้นำมาจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก ก่อสร้าง การจัดการด้านโรงแรม การบริหารสำนักงาน/การควบคุมด้านคอมพิวเตอร์ ช่างเสริมสวย ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ช่างตกแต่งภายใน และคหกรรม จากนั้นจะคัดเลือกผู้ลี้ภัยในศูนย์มาฝึกอบรมอาชีพละ 1 คน โดยประกอบด้วยครู หรือวิทยากรผู้สอน 1 คน และล่ามแปลภาษาอีก 1 คน เรียกได้ว่า อบรมทักษะวิชาชีพแบบเข้มข้น 1 ต่อ 2 เพื่อเป็น “แม่ไก่” ไปขยายถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาชีพที่ตนได้รับให้แก่ “ลูกไก่” หรือเพื่อนร่วมศูนย์พักพิงฯ ให้ได้รับความรู้ในทักษะวิชาชีพที่สนใจเช่นเดียวกัน “หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมให้แก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับมาตรฐานด้านวิชาชีพของไทย พม่า และนานาชาติ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มทักษะชีวิต เช่น การตัดสินใจ การจัดการเวลา การแก้ปัญหาควบคู่ไปด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเป็นแรงงานที่ดีในอนาคต โดยผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองมีทั้งภาษาอังกฤษ ไทย และพม่า เพื่อสามารถนำกลับไปทำงานได้ และได้รับความเชื่อมั่นว่าได้ผ่านหลักสูตรการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ของไทยแล้ว ซึ่งการอบรมแม่ไก่จะมีระยะเวลาการฝึกอบรม 150 ชั่วโมง หรือ 25 วัน โดยสอนที่วิทยาลัย 6 สาขาวิชา และสอนที่สถานประกอบการ 4 สาขาวิชา ทั้งนี้แม่ไก่ทั้ง 10 คน จะได้รับการติวเข้มเติมเต็มในเรื่องเทคนิคการสอน ก่อนที่จะไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกไก่ที่อยู่ในศูนย์พักพิงฯที่จะจัดขึ้น ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้ และระหว่างที่แม่ไก่ทำหน้าที่ภายในศูนย์พักพิงฯ จะมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามให้คำปรึกษา ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้วย โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 ปี แม่ไก่เหล่านี้จะไปขยายผลให้ผู้ลี้ภัยที่มีอายุ 20-35 ปี ให้เป็นผู้ที่ได้เพิ่มทักษะทางด้านวิชาชีพไม่น้อยกว่า 1,400 คน” ผอ.ไพรัช บอกถึงจุดมุ่งหมาย “อุ่แหละ” หรือ นายอุ่ อายุ 28 ปี ชาวกะเหรี่ยง ผู้ลี้ภัยในศูนย์พักพิงฯ ที่เป็นแม่ไก่ เข้ารับการอบรมในสาขาวิชาช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ เล่าว่า อยู่ในศูนย์พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย มากว่า 11 ปีแล้ว อยู่ในศูนย์ก็เป็นครูสอนภาษากะเหรี่ยง สนใจอาชีพซ่อมรถจักรยานยนต์ เพราะในศูนย์มีคนใช้รถมอเตอร์ไซค์เยอะ ถ้ามีทุนก็อยากจะเปิดร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ในศูนย์พักพิงฯพร้อมกับสอนการ ซ่อมรถให้แก่ผู้ที่สนใจด้วย ซึ่งตนดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอบรม และรู้สึกมีความหวังมากขึ้น ถ้าไม่มีโครงการนี้ก็ยังมองไม่เห็นอนาคตตัวเอง คงอยู่ในศูนย์ไปวัน ๆ ขณะที่ “บอแหละ” หรือ นายบอ อายุ 20 ปี เข้ารับการอบรมในสาขาวิชาก่อสร้าง บอกว่า ไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน รู้สึกสนใจในงานก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้สามารถก่ออิฐและปูกระเบื้องได้แล้ว มั่นใจว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่พำนักอยู่ ในศูนย์พักพิงฯ ได้ อย่างไรก็ตามเคยฝันว่าอยากเป็นช่างปูน และจะกลับไปทำงานที่พม่า ความหวังในชีวิตของผู้ลี้ภัยนี้ นายสุทธา สายวาณิชย์รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนบอกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ได้มีความพยายามในการเจรจาส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศมา โดยตลอด ซึ่งการฝึกทักษะวิชาชีพให้แก่ผู้ลี้ภัย ถือเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ลี้ภัยเองมาก เพราะหากวันหนึ่งข้างหน้าผู้ลี้ภัยได้กลับไปตั้งถิ่นฐานในประเทศของตนเอง หรือไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม หรือแม้จะยังคงอยู่ในศูนย์พักพิงฯในไทย ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็จะเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือ มีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และบางส่วนอาจได้รับการพิจารณาอะลุ้มอล่วยให้ออกมาทำงานนอกศูนย์พักพิงฯได้ ทั้งนี้ แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่กว่า 40,000 คน ในศูนย์พักพิงฯ 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พักพิงฯ บ้านใหม่ในสอย ศูนย์พักพิงฯบ้านแม่สุริน ศูนย์พักพิงฯบ้านแม่ลามาหลวง และศูนย์พักพิงฯบ้านแม่ละอูน ซึ่งส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า โดยเป็นชาวกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงแดง หรือกะยาห์ และหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็จะมีการขยายการฝึกอบรมไปยังศูนย์พักพิงฯ อื่น ๆ ต่อไป “การฝึกอบรมครั้งนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้คนในศูนย์พักพิงฯมีความกระตือ รือร้นที่จะพัฒนาตนเอง เพราะเห็นเพื่อนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากยังคงเพิกเฉยไม่พัฒนาตนเอง ในอนาคตก็จะเป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือไปตลอด” ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ยังบอกด้วยว่า สอศ.มีหน้าที่จัดการศึกษาและฝึกอบรมอาชีพให้แก่คนในแผ่นดินไทย โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ หรือ สัญชาติ จะเป็นผู้ลี้ภัยหรือไม่ เพราะเราถือว่าเรื่องการศึกษาและการฝึกอบรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และเป็นสิทธิมนุษยชน ดังนั้นจึงเป็นอีกมุมหนึ่งที่ สอศ.ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แหละนี่เป็นอีกโครงการที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันยื่นโอกาสให้แก่…ผู้ลี้ภัย. ณัชชารีย์ วิเชียรรัตน์ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/205787
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)