เครดิตประเทศติดหล่ม
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 ที่ผ่านมาจะขยายตัวได้ 6.40% ต่อปี ดีเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้แค่ 5.50% ต่อปี แต่ก็ไม่สามารถเป็นแรงดึงดูดให้สถาบันจัดอันดับชั้นนำต่างๆ ของโลกปรับเพิ่มเครดิตให้กับไทยได้
ปรากฏการณ์เช่นนี้ฟ้องว่าเศรษฐกิจไทยข้างนอกดูดี แต่ข้างในยังมีปัญหาและเต็มไปด้วยความเสี่ยง
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะเศรษฐกิจปี 2555 ขยายตัวได้ดี เพราะฐานการขยายตัวเศรษฐกิจปี 2554 อยู่ในระดับต่ำมาก 0.10% ต่อปีเท่านั้น เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่
นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจ ปี 2555 สูง มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากการอัดฉีดเงินผ่านโครงการประชานิยมจำนวน มากหลายแสนล้านบาทผ่านโครงการต่างๆ ทั้งรถคันแรก บ้านหลังแรก จำนำข้าว เป็นเหมือนการโด๊ปยาให้เศรษฐกิจโตขึ้นมา แต่ไม่ได้เติบโตจากพื้นฐานที่แท้จริง
เพราะหากไปดูแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย ปี 2555 ด้านการส่งออก ที่ขยายตัวได้เพียง 4% จากที่ประมาณการไว้ 15% เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
เมื่อไส้ในเศรษฐกิจของไทยยังอ่อนยวบ แม้ภายนอกจะดูเติบโตได้ดี ทำให้สถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยไม่ถูกปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามเดินสายล็อบบี้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ ถือให้ปรับเพิ่มเครดิตให้ไทยแต่ก็ไม่เป็นผล
ปัจจุบันสถาบันจัดอันดับเครดิตประกอบด้วย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้เครดิตไทยอยู่ที่ Baa1 สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ให้เครดิตไทยที่ BBB+ และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ให้เครดิตไทยอยู่ที่ BBB+
ในส่วนของฟิทช์นั้นได้ปรับเครดิตของไทยเพิ่มขึ้นจาก BBB เป็น BBB+ เมื่อต้นปี ซึ่งดูผิวเผินแล้วเหมือนเครดิตของไทยได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูเทียบกับสถาบันจัดอันดับอื่นๆ แล้ว จะเห็นว่าการปรับขึ้นของฟิทช์เป็นการปรับเครดิตของไทยให้มาอยู่ในระดับเดียว กับมูดี้ส์และเอสแอนด์พีเท่านั้น
อันดับเครดิตประเทศของไทยนั้นถือว่าต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียที่เป็นคู่แข่งอยู่ถึง 2 ขั้น
หากย้อนหลังไปตั้งแต่ไทยจ้างสถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยตั้งแต่ปี 2530 เครดิตของไทยถูกจัดอยู่ที่ A แต่หลังจากวิกฤตปี 2540 เครดิตของไทยถูกปรับลดลงต่ำจนเกือบเป็นประเทศที่ไม่น่าลงทุน หรือได้เครดิตต่ำกว่า B แต่โชคดีที่ยังรักษาเครดิตได้ และปรับเพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ในระดับ BBB+ ได้ในหลายปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของหลายรัฐบาลที่จะพยายามทำให้เครดิตของไทยกลับไปอยู่ที่ A เหมือนก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งยังไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าจะเหลือเพื่อแค่ปรับขึ้นแค่หนึ่งระดับเท่านั้น
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเครดิตของไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาติดหล่มอยู่ กับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเชื่อว่ายังมีความขัดแย้งรุนแรงทำให้การ เมืองยังมีความอ่อนไหว และส่งผลต่อการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ
ยิ่งในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนตามเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัญหาภายหลังเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลทำให้เกิดภาระการคลังกองโต อย่างโครงการรับจำนำข้าว กำลังเป็นจุดตายเศรษฐกิจและจุดสลบของเครดิตประเทศ
หากเป็นเช่นนี้เครดิตของไทยนอกจากไม่สามารถขึ้นไปอยู่ที่ระดับ A ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลงกว่าที่เป็นอยู่ ปัจจุบัน
นั่นหมายถึงต้นทุนทางการเงินของไทยที่เพิ่มขึ้น
หากพิจารณาเศรษฐกิจไทยเองก็พบว่า มีปัญหาเรื่องการขยายตัวตั้งแต่เริ่มปี 2556 เพราะการขยายตัวไตรมาสแรกทำได้ 5.30% ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทำให้ทั้งปีโตไม่ถึง 54.505.50% ตามที่ตั้งไว้ โดยเหลือ 4.205.20% ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้เครดิตของประเทศเปราะบางมากขึ้น
ที่สำคัญปัญหาการคลังที่ถูกเตือนจากมูดี้ส์ ในโครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท จะเป็นภาระงบประมาณจนทำให้ทำงบสมดุลไม่ได้ตามเป้าในปี 2560 และพอกหนี้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น จนหนีไม่พ้นกระทบกับเครดิตของประเทศในที่สุด
เสียงเตือนจากมูดี้ส์ทำให้รัฐบาลถึงกับนั่งไม่ติด ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว ต่างพยายามชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง แต่กลับทำให้สถานการณ์เครดิตของประเทศเลวร้ายลงไปอีก
เพราะถึงตอนนี้กลับไม่มีใครชี้แจงได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากโครงการที่ แท้จริงเป็นเท่าไร แม้แต่นักวิเคราะห์ต่างประเทศยังออกมาระบุ ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเสียไปแล้ว ถึงจะยังไม่ถูกสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเครดิตของประเทศก็ตาม
สัญญาณร้ายของอันดับเครดิตของไทยที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว ยังอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เครดิตของประเทศตกอยู่ในความเสี่ยงจากนโยบาย ของรัฐบาล
หากย้อนกลับไปดูในอดีต ตั้งแต่เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 เครดิตของไทยก็ยังสามารถยืนอยู่ได้ หรือจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ปี 2540 เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจและทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านบาท เครดิตของไทยก็ยังไม่ถูกลด
แต่นโยบายรับจำนำข้าวที่ผลขาดทุนยังไม่เป็นทางการเบื้องต้น 2.6 แสนล้านบาท เขย่าเครดิตของไทยให้ทรุดลงได้ เพราะสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมองว่า เป็นโครงการปลายเปิดไม่มีที่สิ้นสุดของโครงการ จะสร้างภาระการคลังและความเสียหายให้กับประเทศไม่มีวันจบเช่นกัน
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ดำเนินการมาไม่ถึง 2 ปี ใช้เงินไปแล้ว 6.6 แสนล้านบาท เกินจากเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะใช้เงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท มีข้าวค้างสต๊อกอีกกว่า 1618 ล้านตันข้าวสาร ที่ยิ่งระบายขายออกได้ช้ายิ่งขาดทุนเพิ่มมากขึ้น
เพราะ บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า การระบายข้าวต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี นั้น หมายความว่าการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปี ยิ่งทำให้ข้าวเสื่อมสภาพขายได้ราคาน้อยลงเท่านั้น
ขณะที่ นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่เกาะติดข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ออกมาระบุว่า การระบายข้าวสารของรัฐบาลได้ตันละ 1 หมื่นบาท น้อยกว่าราคาจำนำข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท ทำให้ขาดทุนจำนวนมโหฬาร
ที่น่าเป็นห่วงกว่าผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นทุกนาที ทุกวัน คือ การรับจำนำข้าวนาปีรอบใหม่ฤดูกาลผลิตปี 2556/2557 และข้าวนาปรังปี 2557 รัฐบาลจะใช้เงินจากไหน หากการระบายข้าวของรัฐบาลยังโคม่า การรับจำนำสูงกว่าราคาตลาดเกือบเท่าตัว ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่ารัฐบาลหนีไม่พ้นต้องกู้เงินมาเพิ่ม
หากเป็นเช่นนั้นทำให้แนวโน้มการใช้เงินกู้ในโครงการรับจำนำของ รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากกว่า 6 แสนล้านบาท เป็นกว่า 1 ล้านล้านบาท เท่ากับหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มีภาระ ดอกเบี้ยจ่ายที่สูงถึงปีละ 67 หมื่นล้านบาท จนกัดกินฐานะของรัฐบาลเหลือแต่กระดูก
แนวโน้มดังกล่าวทำให้สถาบันจัดอันดับเป็นห่วงฐานะการคลังของประเทศ การทำงบประมาณสมดุลไม่ได้ และการเร่งตัวของหนี้สาธารณะจนเลยกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ กระทบเครดิตของไทยให้ทรุดในที่สุด
หากเทียบในอดีต เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ฐานะการคลังไม่มีปัญหา ติดแค่ปัญหาการเมือง ที่ทำให้เครดิตประเทศยังไม่ขยับ
แต่วันนี้เศรษฐกิจเริ่มมีแรงแผ่ว ฐานะการคลังมีความเสี่ยงจากโครงการรับจำนำที่เป็นฝีที่ใกล้แตกและแผ่เชื้อโรคไปทั่ว
ขณะที่ปัญหาการเมืองก็ปะทุร้อนแรงวิ่งเข้าหาจุดแตกหักอยู่ทุกวัน ทุกปัจจัยล้วนแต่เป็นความเสี่ยงที่เป็นฟืนสุมไฟ ทำให้เครดิตของประเทศอาจถูกปรับลดลงได้ง่ายขึ้น…โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง
ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/227933/เครดิตประเทศติดหล่ม (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แม้ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2555 ที่ผ่านมาจะขยายตัวได้ 6.40% ต่อปี ดีเกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้แค่ 5.50% ต่อปี แต่ก็ไม่สามารถเป็นแรงดึงดูดให้สถาบันจัดอันดับชั้นนำต่างๆ ของโลกปรับเพิ่มเครดิตให้กับไทยได้ ปรากฏการณ์เช่นนี้ฟ้องว่าเศรษฐกิจไทยข้างนอกดูดี แต่ข้างในยังมีปัญหาและเต็มไปด้วยความเสี่ยง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะเศรษฐกิจปี 2555 ขยายตัวได้ดี เพราะฐานการขยายตัวเศรษฐกิจปี 2554 อยู่ในระดับต่ำมาก 0.10% ต่อปีเท่านั้น เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่ นอกจากนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจ ปี 2555 สูง มาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากการอัดฉีดเงินผ่านโครงการประชานิยมจำนวน มากหลายแสนล้านบาทผ่านโครงการต่างๆ ทั้งรถคันแรก บ้านหลังแรก จำนำข้าว เป็นเหมือนการโด๊ปยาให้เศรษฐกิจโตขึ้นมา แต่ไม่ได้เติบโตจากพื้นฐานที่แท้จริง เพราะหากไปดูแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย ปี 2555 ด้านการส่งออก ที่ขยายตัวได้เพียง 4% จากที่ประมาณการไว้ 15% เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เมื่อไส้ในเศรษฐกิจของไทยยังอ่อนยวบ แม้ภายนอกจะดูเติบโตได้ดี ทำให้สถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยไม่ถูกปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะพยายามเดินสายล็อบบี้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อ ถือให้ปรับเพิ่มเครดิตให้ไทยแต่ก็ไม่เป็นผล ปัจจุบันสถาบันจัดอันดับเครดิตประกอบด้วย มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ให้เครดิตไทยอยู่ที่ Baa1 สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ให้เครดิตไทยที่ BBB+ และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ ให้เครดิตไทยอยู่ที่ BBB+ ในส่วนของฟิทช์นั้นได้ปรับเครดิตของไทยเพิ่มขึ้นจาก BBB เป็น BBB+ เมื่อต้นปี ซึ่งดูผิวเผินแล้วเหมือนเครดิตของไทยได้ปรับเพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูเทียบกับสถาบันจัดอันดับอื่นๆ แล้ว จะเห็นว่าการปรับขึ้นของฟิทช์เป็นการปรับเครดิตของไทยให้มาอยู่ในระดับเดียว กับมูดี้ส์และเอสแอนด์พีเท่านั้น อันดับเครดิตประเทศของไทยนั้นถือว่าต่ำกว่าสิงคโปร์และมาเลเซียที่เป็นคู่แข่งอยู่ถึง 2 ขั้น หากย้อนหลังไปตั้งแต่ไทยจ้างสถาบันจัดอันดับเครดิตของไทยตั้งแต่ปี 2530 เครดิตของไทยถูกจัดอยู่ที่ A แต่หลังจากวิกฤตปี 2540 เครดิตของไทยถูกปรับลดลงต่ำจนเกือบเป็นประเทศที่ไม่น่าลงทุน หรือได้เครดิตต่ำกว่า B แต่โชคดีที่ยังรักษาเครดิตได้ และปรับเพิ่มขึ้นกลับมาอยู่ในระดับ BBB+ ได้ในหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของหลายรัฐบาลที่จะพยายามทำให้เครดิตของไทยกลับไปอยู่ที่ A เหมือนก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งยังไม่ใช่เรื่องง่าย แม้ว่าจะเหลือเพื่อแค่ปรับขึ้นแค่หนึ่งระดับเท่านั้น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเครดิตของไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาติดหล่มอยู่ กับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือเชื่อว่ายังมีความขัดแย้งรุนแรงทำให้การ เมืองยังมีความอ่อนไหว และส่งผลต่อการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ ยิ่งในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนตามเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัญหาภายหลังเศรษฐกิจที่เกิดจากนโยบายของรัฐบาลทำให้เกิดภาระการคลังกองโต อย่างโครงการรับจำนำข้าว กำลังเป็นจุดตายเศรษฐกิจและจุดสลบของเครดิตประเทศ หากเป็นเช่นนี้เครดิตของไทยนอกจากไม่สามารถขึ้นไปอยู่ที่ระดับ A ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ลดลงกว่าที่เป็นอยู่ ปัจจุบัน นั่นหมายถึงต้นทุนทางการเงินของไทยที่เพิ่มขึ้น หากพิจารณาเศรษฐกิจไทยเองก็พบว่า มีปัญหาเรื่องการขยายตัวตั้งแต่เริ่มปี 2556 เพราะการขยายตัวไตรมาสแรกทำได้ 5.30% ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ทำให้ทั้งปีโตไม่ถึง 54.505.50% ตามที่ตั้งไว้ โดยเหลือ 4.205.20% ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้เครดิตของประเทศเปราะบางมากขึ้น ที่สำคัญปัญหาการคลังที่ถูกเตือนจากมูดี้ส์ ในโครงการรับจำนำข้าวที่มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท จะเป็นภาระงบประมาณจนทำให้ทำงบสมดุลไม่ได้ตามเป้าในปี 2560 และพอกหนี้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น จนหนีไม่พ้นกระทบกับเครดิตของประเทศในที่สุด เสียงเตือนจากมูดี้ส์ทำให้รัฐบาลถึงกับนั่งไม่ติด ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว ต่างพยายามชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง แต่กลับทำให้สถานการณ์เครดิตของประเทศเลวร้ายลงไปอีก เพราะถึงตอนนี้กลับไม่มีใครชี้แจงได้ว่าความเสียหายที่เกิดจากโครงการที่ แท้จริงเป็นเท่าไร แม้แต่นักวิเคราะห์ต่างประเทศยังออกมาระบุ ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยเสียไปแล้ว ถึงจะยังไม่ถูกสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดเครดิตของประเทศก็ตาม สัญญาณร้ายของอันดับเครดิตของไทยที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว ยังอาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เครดิตของประเทศตกอยู่ในความเสี่ยงจากนโยบาย ของรัฐบาล หากย้อนกลับไปดูในอดีต ตั้งแต่เกิดปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 เครดิตของไทยก็ยังสามารถยืนอยู่ได้ หรือจะเป็นน้ำท่วมใหญ่ปี 2540 เกิดความเสียหายกับเศรษฐกิจและทรัพย์สินกว่า 1 ล้านล้านบาท เครดิตของไทยก็ยังไม่ถูกลด แต่นโยบายรับจำนำข้าวที่ผลขาดทุนยังไม่เป็นทางการเบื้องต้น 2.6 แสนล้านบาท เขย่าเครดิตของไทยให้ทรุดลงได้ เพราะสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมองว่า เป็นโครงการปลายเปิดไม่มีที่สิ้นสุดของโครงการ จะสร้างภาระการคลังและความเสียหายให้กับประเทศไม่มีวันจบเช่นกัน โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดนี้ดำเนินการมาไม่ถึง 2 ปี ใช้เงินไปแล้ว 6.6 แสนล้านบาท เกินจากเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะใช้เงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท มีผลขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท มีข้าวค้างสต๊อกอีกกว่า 1618 ล้านตันข้าวสาร ที่ยิ่งระบายขายออกได้ช้ายิ่งขาดทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะ บุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า การระบายข้าวต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี นั้น หมายความว่าการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ต้องใช้เวลานานถึง 4 ปี ยิ่งทำให้ข้าวเสื่อมสภาพขายได้ราคาน้อยลงเท่านั้น ขณะที่ นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่เกาะติดข้อมูลโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ออกมาระบุว่า การระบายข้าวสารของรัฐบาลได้ตันละ 1 หมื่นบาท น้อยกว่าราคาจำนำข้าวเปลือกตันละ 1.5 หมื่นบาท ทำให้ขาดทุนจำนวนมโหฬาร ที่น่าเป็นห่วงกว่าผลขาดทุนที่เพิ่มขึ้นทุกนาที ทุกวัน คือ การรับจำนำข้าวนาปีรอบใหม่ฤดูกาลผลิตปี 2556/2557 และข้าวนาปรังปี 2557 รัฐบาลจะใช้เงินจากไหน หากการระบายข้าวของรัฐบาลยังโคม่า การรับจำนำสูงกว่าราคาตลาดเกือบเท่าตัว ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่ารัฐบาลหนีไม่พ้นต้องกู้เงินมาเพิ่ม หากเป็นเช่นนั้นทำให้แนวโน้มการใช้เงินกู้ในโครงการรับจำนำของ รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากกว่า 6 แสนล้านบาท เป็นกว่า 1 ล้านล้านบาท เท่ากับหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มีภาระ ดอกเบี้ยจ่ายที่สูงถึงปีละ 67 หมื่นล้านบาท จนกัดกินฐานะของรัฐบาลเหลือแต่กระดูก แนวโน้มดังกล่าวทำให้สถาบันจัดอันดับเป็นห่วงฐานะการคลังของประเทศ การทำงบประมาณสมดุลไม่ได้ และการเร่งตัวของหนี้สาธารณะจนเลยกรอบความยั่งยืนทางการคลัง จนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ กระทบเครดิตของไทยให้ทรุดในที่สุด หากเทียบในอดีต เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ฐานะการคลังไม่มีปัญหา ติดแค่ปัญหาการเมือง ที่ทำให้เครดิตประเทศยังไม่ขยับ แต่วันนี้เศรษฐกิจเริ่มมีแรงแผ่ว ฐานะการคลังมีความเสี่ยงจากโครงการรับจำนำที่เป็นฝีที่ใกล้แตกและแผ่เชื้อโรคไปทั่ว ขณะที่ปัญหาการเมืองก็ปะทุร้อนแรงวิ่งเข้าหาจุดแตกหักอยู่ทุกวัน ทุกปัจจัยล้วนแต่เป็นความเสี่ยงที่เป็นฟืนสุมไฟ ทำให้เครดิตของประเทศอาจถูกปรับลดลงได้ง่ายขึ้น…โดย...เกียรติศักดิ์ ผิวเกลี้ยง ขอบคุณ... http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/เศรษฐกิจ/227933/เครดิตประเทศติดหล่ม
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)