CSV: กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม

แสดงความคิดเห็น

แนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ คำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน

ในปี พ.ศ.2548 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและพัฒนาบนพื้นฐานของภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นนั้น ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการใช้ตัวกระบวนการธุรกิจเป็นเครื่องมือ

ในการจำแนก CSR ออกเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมีผู้ใช้คำเรียกแทนว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” แม้จะไม่ค่อยตรงความหมายมากนัก แต่เพื่อต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่างกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมใน รูปของกิจกรรมที่แยกต่างหากจากกระบวนการธุรกิจและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือ “CSR-after-process” และมีการใช้คำเรียก CSR จำพวกนี้ว่า “กิจกรรมเพื่อสังคม”

ปัจจุบัน คำว่า “CSR-in-process” ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการประกอบธุรกิจที่ทำอยู่ปกติอย่างรับผิดชอบ ด้วยการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภาย นอกองค์กร อันนำไปสู่ความยั่งยืน นอกเหนือจากการเติบโตของกิจการ

การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียในกรอบของการ “ทำก็ต่อเมื่อเกิดเรื่อง” ในลักษณะเชิงรับหรือเชิงตอบสนองเพื่อมุ่งจัดการกับผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าเป็น Responsive CSR มาสู่กรอบของการ “ทำโดยไม่รอให้เกิดเรื่อง” ในลักษณะเชิงรุกหรือเชิงป้องกันเพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าหรือผลกระทบ ทางบวก ด้วยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญที่องค์กรมีอยู่ หรือที่เรียกว่าเป็น Strategic CSR

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วิธีการทางธุรกิจเพื่อใช้สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจากแนวคิด Strategic CSR จนกลายมาเป็น Creating Shared Value (CSV) หรือการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน โดยไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ผู้ที่เป็นต้นตำรับของแนวคิดดังกล่าว ล่าสุดได้ก่อตั้งเป็น Shared Value Initiative เมื่อปี 2555 เพื่อนำแนวคิด CSV ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ไปใช้ในองค์กรและทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

ในประเทศไทย องค์กรภาคธุรกิจหลายแห่ง ได้ทำการศึกษาและนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับองค์กร ถึงขนาดที่ว่า มีองค์กรบางแห่งประกาศจะนำมาใช้แทนเรื่อง CSR ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีความเข้าใจที่มีความแตกต่างหรือมีความคลาดเคลื่อนในหมู่ของผู้ที่นำแนว คิด CSV มาใช้

การสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ ให้ความสำคัญกับการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ถือเป็นส่วนที่มาขยายหรือเติมเต็มการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้วิถี ของการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ในบริบทของ CSR-in-process นั่นเอง

สถาบันไทยพัฒน์ เห็นว่าเรื่อง CSV จะเป็นแนวคิดที่ภาคธุรกิจให้ความสนใจนำมาใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “CSV: กลยุทธ์สร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจกับสังคม” ในงานแถลง “ทิศทาง CSR ปี 2557” ในวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก โดยการเสวนาครั้งนี้ จะมีวิทยากรที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจาก Shared Value Initiative มาเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิดและมุมมอง พร้อมตัวอย่าง CSV ขององค์กรธุรกิจไทย

บริษัทจดทะเบียนและองค์กรภาคธุรกิจที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งฟรี (จำนวนจำกัด) ได้ที่ www.thaicsr.com...โดย : ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ

ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/pipat/20140220/564532/CSV:-กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม.htm (ขนาดไฟล์: 167)

(กรุงเทพฯออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.พ.57 )

ที่มา: กรุงเทพฯออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 24/02/2557 เวลา 03:58:16

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ คำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ในปี พ.ศ.2548 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนา CSR ในกระบวนการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ เพื่อศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของ CSR ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและพัฒนาบนพื้นฐานของภูมิปัญญาตะวันออก ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลลัพธ์จากงานวิจัยชิ้นนั้น ก่อให้เกิดคำว่า “CSR-in-process” ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการใช้ตัวกระบวนการธุรกิจเป็นเครื่องมือ ในการจำแนก CSR ออกเป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการธุรกิจ ซึ่งมีผู้ใช้คำเรียกแทนว่า “ธุรกิจเพื่อสังคม” แม้จะไม่ค่อยตรงความหมายมากนัก แต่เพื่อต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่างกับการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมใน รูปของกิจกรรมที่แยกต่างหากจากกระบวนการธุรกิจและมักเกิดขึ้นภายหลัง หรือ “CSR-after-process” และมีการใช้คำเรียก CSR จำพวกนี้ว่า “กิจกรรมเพื่อสังคม” ปัจจุบัน คำว่า “CSR-in-process” ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อแสดงให้เห็นถึงการประกอบธุรกิจที่ทำอยู่ปกติอย่างรับผิดชอบ ด้วยการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภาย นอกองค์กร อันนำไปสู่ความยั่งยืน นอกเหนือจากการเติบโตของกิจการ การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียในกรอบของการ “ทำก็ต่อเมื่อเกิดเรื่อง” ในลักษณะเชิงรับหรือเชิงตอบสนองเพื่อมุ่งจัดการกับผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าเป็น Responsive CSR มาสู่กรอบของการ “ทำโดยไม่รอให้เกิดเรื่อง” ในลักษณะเชิงรุกหรือเชิงป้องกันเพื่อสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าหรือผลกระทบ ทางบวก ด้วยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญที่องค์กรมีอยู่ หรือที่เรียกว่าเป็น Strategic CSR ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา วิธีการทางธุรกิจเพื่อใช้สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ได้ถูกพัฒนาต่อยอดจากแนวคิด Strategic CSR จนกลายมาเป็น Creating Shared Value (CSV) หรือการสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน โดยไมเคิล อี พอร์เตอร์ และมาร์ค เครเมอร์ ผู้ที่เป็นต้นตำรับของแนวคิดดังกล่าว ล่าสุดได้ก่อตั้งเป็น Shared Value Initiative เมื่อปี 2555 เพื่อนำแนวคิด CSV ที่ทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ไปใช้ในองค์กรและทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ในประเทศไทย องค์กรภาคธุรกิจหลายแห่ง ได้ทำการศึกษาและนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับองค์กร ถึงขนาดที่ว่า มีองค์กรบางแห่งประกาศจะนำมาใช้แทนเรื่อง CSR ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีความเข้าใจที่มีความแตกต่างหรือมีความคลาดเคลื่อนในหมู่ของผู้ที่นำแนว คิด CSV มาใช้ การสร้างคุณค่าร่วม หรือ CSV ตามแนวทางของไมเคิล อี พอร์เตอร์ ให้ความสำคัญกับการนำวิธีการทางธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคม โดยคำนึงถึงการนำทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักของกิจการ มาสร้างให้เกิดเป็นคุณค่าเชิงเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน ถือเป็นส่วนที่มาขยายหรือเติมเต็มการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้วิถี ของการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ในบริบทของ CSR-in-process นั่นเอง สถาบันไทยพัฒน์ เห็นว่าเรื่อง CSV จะเป็นแนวคิดที่ภาคธุรกิจให้ความสนใจนำมาใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “CSV: กลยุทธ์สร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจกับสังคม” ในงานแถลง “ทิศทาง CSR ปี 2557” ในวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 9.00-12.00 น. ณ หอประชุมศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ชั้น 3 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก โดยการเสวนาครั้งนี้ จะมีวิทยากรที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจาก Shared Value Initiative มาเป็นผู้ถ่ายทอดแนวคิดและมุมมอง พร้อมตัวอย่าง CSV ขององค์กรธุรกิจไทย บริษัทจดทะเบียนและองค์กรภาคธุรกิจที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งฟรี (จำนวนจำกัด) ได้ที่ www.thaicsr.com...โดย : ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ขอบคุณ http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/pipat/20140220/564532/CSV:-กลยุทธ์ธุรกิจคู่สังคม.htm (กรุงเทพฯออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...