ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกาฬสินธุ์ จับมือ อปท. สร้างอาชีพกลุ่มแม่บ้านผลิตอาหารไทยไปครัว
หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้น ที่แต่เดิมจะเกิดปัญหาการว่างงาน และอพยพแรงงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนและชลประทานเป็นหลัก เมื่อขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตภาคการเกษตรกรรม ภาพการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมืองและย่านอุตสาหกรรมจึงเกิดขึ้น เหลือเพียงผู้สูงอายุอยู่เฝ้าบ้านเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน
นั่นเป็นภาพในอดีตที่ผ่านมา จึงเป็นภารกิจที่ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมองหาจุดแก้ไข เพื่อลดปัญหาความแออัดในสังคมชุมชนเมือง และปัญหาอาชญากรรม รวมทั้งปลูกจิตสำนักรักพื้นถิ่น มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้เกิดคุณค่า สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคม เศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีการใช้ภูมิคุ้มกันตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เป็นต้น
นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด โดยมอบหมายแต่ละหน่วยงานทำการขับเคลื่อนตามตัวชี้วัดที่สอดคล้องเหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ มีการบูรณาการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการขับเคลื่อน เพื่อให้ชุมชน ชาวบ้าน ได้รับประโยชน์ เกิดคุณค่า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความอยู่ดี กินดี อย่างยั่งยืน
“ปีที่แล้ว ได้ชูโครงการ 3 ดี คือคนดี สุขภาพดี รายได้ดี เพื่อมุ่งสู่เมืองแห่งความสุข ซึ่งตัวชี้วัดคนดีประกอบด้วยชุมชนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมจารีต ประเพณี ทำให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ลด ละ เลิก อบายมุข ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดและสิ่งของมึนเมา ขณะที่ด้านสุขภาพดีนั้น มีการรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตร โดยพึ่งเกษตรอินทรีย์ ทำให้ลดสารพิษตกค้าง มีการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ส่วนด้านรายได้ดีนั้น ให้ยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่ใช้สอย เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น การสร้างอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ต่อยอดโครงการให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ อย่างที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ได้จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก”
นายวีรศักดิ์ สุราสา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน ในการส่งเสริม พัฒนาฝีมือแรงงาน สอดคล้องกับที่ได้รับนโยบายจาก ผวจ.กาฬสินธุ์ ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน และกลุ่มอาชีพต่างๆ จึงได้จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก โดยจัดหาอุปกรณ์และวิทยากร ในการดำเนินโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก หลักสูตรยกระดับฝีมือ สาขาการประกอบอาหารไทยและอาหารว่าง จำนวน 30 ชั่วโมง ประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่าย เช่น ส่วนราชการต่างๆ และ อปท. หากลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ สถานศึกษา ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยในรุ่นที่ 1 มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 26 คน ซึ่งมาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเนื้อสัตว์ เทศบาลตำบลสมเด็จ อ.สมเด็จ และผู้ประกอบอาชีพด้านอาหาร ที่ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาว
“โดยได้จัดโครงการที่ห้องดอกพะยอม ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนายฐานวัฒน์ ธน
โชคชัยอนันต์ นายอำเภอยางตลาด เป็นประธานเปิด และปิดการอบรม มีการมอบวุฒิบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรม มีตัวแทนส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วยแรงงานจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด จัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่ วิทยากร ร่วมงานเป็นจำนวนมาก”
ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานในสถานประกอบการ และแรงงานนอกระบบ แรงงานใหม่ หรือผู้ที่สนใจประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร ที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน ให้มีพัฒนาทักษะการประกอบอาหารไทยได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การอบรมครั้งนี้มีวิทยากรจากวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ ให้ความรู้การประกอบอาหารไทย เช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงจืดสามกษัตริย์ ข้าวคลุกกะปิ หลนเต้าเจี้ยว รวมทั้งอาหารว่าง ขนมไทยชนิดต่างๆ ซึ่งคาดว่าผู้ผ่านการอบรมจะทำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ แก้ไขปัญหาว่างงานในฤดูแล้ง และสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน รวมทั้งเปิดช่องทางการแปรรูปหรือผลิตอาหารอย่างกว้างขวาง สามารถที่จะก้าวไกลสู่ครัวโลก และเตรียมความพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะรสชาติของอาหารไทยนั้น ถูกปากทั้งคนไทยและนานาชาติ ดังที่ทราบกันดี
ด้านนายชวลิต ธนิตกุล นายกเทศมนตรีตำบลสมเด็จ อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่หลากหลาย และมีความเข้มแข็ง เช่น แปรรูปปลา เนื้อสัตว์ ทำขนมไทย เพาะเห็ด ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการต่อยอดกิจกรรมของกลุ่ม ให้เกิดความยั่งยืนและมีการพัฒนาฝีมือ จึงได้จัดให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเนื้อสัตว์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการการันตีคุณภาพในระดับ 4 ดาว และผู้ประอบการทำขนมไทย เข้าร่วมโครงการกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์
“ผลที่ได้รับจากการอบรม ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือเท่านั้น ยังจะเป็นการเพิ่มคุณภาพอาหาร และมาตรฐานสินค้า เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด ขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะในอนาคตเราต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องมีจุดเด่น มีจุดแข็ง ผลิตภัณฑ์ รสชาติอาหารและขนมต้องมีเสน่ห์ สามารถดึงดูดลูกค้าให้หันมานิยมชมชอบ ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินความคาดหวัง ที่เราจะมองข้ามช็อตไปถึงตลาดนานาประเทศ มีแบรนด์ที่เป็นของคนไทย ที่นักช็อปนักชิมต่างชาติถามหา ซึ่งหากมีฝีมือ มีคุณภาพ มีความประสงค์จะจัดทำนำส่งเป็นสินค้าออก หรือไปประกอบการที่ต่างประเทศ เทศบาลสมเด็จก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ตามเจตนารมณ์ของโครงการที่ว่าอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก” นายชวลิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ยังมีเป้าหมายที่จะดำเนินโครงการอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ ครัวโลกอย่างต่อเนื่อง ประชาชน กลุ่มวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นใดที่สนใจ จะเข้าร่วมโครงการ หรือนำกลุ่มอาชีพเข้ารับการอบรม สามารถแจ้งความประสงค์ได้ในวันเวลาราชการ…โดย กฤษณ์ ทิพเลิศ
ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/nnd/1838330
(แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้น ที่แต่เดิมจะเกิดปัญหาการว่างงาน และอพยพแรงงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนและชลประทานเป็นหลัก เมื่อขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตภาคการเกษตรกรรม ภาพการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมืองและย่านอุตสาหกรรมจึงเกิดขึ้น เหลือเพียงผู้สูงอายุอยู่เฝ้าบ้านเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน นั่นเป็นภาพในอดีตที่ผ่านมา จึงเป็นภารกิจที่ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมองหาจุดแก้ไข เพื่อลดปัญหาความแออัดในสังคมชุมชนเมือง และปัญหาอาชญากรรม รวมทั้งปลูกจิตสำนักรักพื้นถิ่น มีการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตให้เกิดคุณค่า สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคม เศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีการใช้ภูมิคุ้มกันตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เป็นต้น นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผวจ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ได้กำหนดยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด โดยมอบหมายแต่ละหน่วยงานทำการขับเคลื่อนตามตัวชี้วัดที่สอดคล้องเหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ มีการบูรณาการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการขับเคลื่อน เพื่อให้ชุมชน ชาวบ้าน ได้รับประโยชน์ เกิดคุณค่า เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้มีความอยู่ดี กินดี อย่างยั่งยืน “ปีที่แล้ว ได้ชูโครงการ 3 ดี คือคนดี สุขภาพดี รายได้ดี เพื่อมุ่งสู่เมืองแห่งความสุข ซึ่งตัวชี้วัดคนดีประกอบด้วยชุมชนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมจารีต ประเพณี ทำให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ลด ละ เลิก อบายมุข ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดและสิ่งของมึนเมา ขณะที่ด้านสุขภาพดีนั้น มีการรณรงค์ลดการใช้สารเคมีในแปลงเกษตร โดยพึ่งเกษตรอินทรีย์ ทำให้ลดสารพิษตกค้าง มีการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ส่วนด้านรายได้ดีนั้น ให้ยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่ใช้สอย เกิดมูลค่าเพิ่ม เช่น การสร้างอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน ต่อยอดโครงการให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ อย่างที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ได้จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก” นายวีรศักดิ์ สุราสา ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน ในการส่งเสริม พัฒนาฝีมือแรงงาน สอดคล้องกับที่ได้รับนโยบายจาก ผวจ.กาฬสินธุ์ ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน และกลุ่มอาชีพต่างๆ จึงได้จัดโครงการอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก โดยจัดหาอุปกรณ์และวิทยากร ในการดำเนินโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก หลักสูตรยกระดับฝีมือ สาขาการประกอบอาหารไทยและอาหารว่าง จำนวน 30 ชั่วโมง ประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่าย เช่น ส่วนราชการต่างๆ และ อปท. หากลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ สถานศึกษา ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยในรุ่นที่ 1 มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 26 คน ซึ่งมาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเนื้อสัตว์ เทศบาลตำบลสมเด็จ อ.สมเด็จ และผู้ประกอบอาชีพด้านอาหาร ที่ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาว “โดยได้จัดโครงการที่ห้องดอกพะยอม ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ โดยมีนายฐานวัฒน์ ธน โชคชัยอนันต์ นายอำเภอยางตลาด เป็นประธานเปิด และปิดการอบรม มีการมอบวุฒิบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรม มีตัวแทนส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วยแรงงานจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด จัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และเจ้าหน้าที่ วิทยากร ร่วมงานเป็นจำนวนมาก” ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานในสถานประกอบการ และแรงงานนอกระบบ แรงงานใหม่ หรือผู้ที่สนใจประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องด้านอาหาร ที่จะเข้าสู่ระบบการทำงาน ให้มีพัฒนาทักษะการประกอบอาหารไทยได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ การอบรมครั้งนี้มีวิทยากรจากวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ ให้ความรู้การประกอบอาหารไทย เช่น แกงเขียวหวานไก่ แกงจืดสามกษัตริย์ ข้าวคลุกกะปิ หลนเต้าเจี้ยว รวมทั้งอาหารว่าง ขนมไทยชนิดต่างๆ ซึ่งคาดว่าผู้ผ่านการอบรมจะทำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ แก้ไขปัญหาว่างงานในฤดูแล้ง และสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน รวมทั้งเปิดช่องทางการแปรรูปหรือผลิตอาหารอย่างกว้างขวาง สามารถที่จะก้าวไกลสู่ครัวโลก และเตรียมความพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะรสชาติของอาหารไทยนั้น ถูกปากทั้งคนไทยและนานาชาติ ดังที่ทราบกันดี ด้านนายชวลิต ธนิตกุล นายกเทศมนตรีตำบลสมเด็จ อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในเขตเทศบาลตำบลสมเด็จ มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่หลากหลาย และมีความเข้มแข็ง เช่น แปรรูปปลา เนื้อสัตว์ ทำขนมไทย เพาะเห็ด ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น เพื่อเป็นการต่อยอดกิจกรรมของกลุ่ม ให้เกิดความยั่งยืนและมีการพัฒนาฝีมือ จึงได้จัดให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเนื้อสัตว์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการการันตีคุณภาพในระดับ 4 ดาว และผู้ประอบการทำขนมไทย เข้าร่วมโครงการกับศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ “ผลที่ได้รับจากการอบรม ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือเท่านั้น ยังจะเป็นการเพิ่มคุณภาพอาหาร และมาตรฐานสินค้า เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด ขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะในอนาคตเราต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงต้องมีจุดเด่น มีจุดแข็ง ผลิตภัณฑ์ รสชาติอาหารและขนมต้องมีเสน่ห์ สามารถดึงดูดลูกค้าให้หันมานิยมชมชอบ ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินความคาดหวัง ที่เราจะมองข้ามช็อตไปถึงตลาดนานาประเทศ มีแบรนด์ที่เป็นของคนไทย ที่นักช็อปนักชิมต่างชาติถามหา ซึ่งหากมีฝีมือ มีคุณภาพ มีความประสงค์จะจัดทำนำส่งเป็นสินค้าออก หรือไปประกอบการที่ต่างประเทศ เทศบาลสมเด็จก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุน ตามเจตนารมณ์ของโครงการที่ว่าอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ครัวโลก” นายชวลิตกล่าว อย่างไรก็ตาม ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.กาฬสินธุ์ ยังมีเป้าหมายที่จะดำเนินโครงการอบรมผู้ประกอบการอาหารไทยรองรับครัวไทยสู่ ครัวโลกอย่างต่อเนื่อง ประชาชน กลุ่มวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นใดที่สนใจ จะเข้าร่วมโครงการ หรือนำกลุ่มอาชีพเข้ารับการอบรม สามารถแจ้งความประสงค์ได้ในวันเวลาราชการ…โดย กฤษณ์ ทิพเลิศ ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/nnd/1838330 (แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)