เลี้ยงแมงสะดิ้ง อาชีพเสริมชาวนา จ.นครสวรรค์ ทางออกในยุคจำนำข้าว

แสดงความคิดเห็น

ลุงดำ กุมภาพันธ์ เจ้าของฟาร์มแมงสะดิ้ง

เวลานี้ถ้าไม่พูดถึงชาวนาก็ คงจะเหมือนตกเทรนด์ วันนี้จึงอยากนำเสนออาชีพเสริมของชาวนาท่านหนึ่ง “ลุงดำ กุมภาพันธ์” ลุงดำมีอาชีพหลักคือทำนา แต่รายได้จากการทำนาไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงหันมาเลี้ยงแมงสะดิ้ง หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ จิ้งหรีดขาว

เลี้ยงในขัน เพื่อให้แมลงลงไปไข่

ลุงดำเล่าว่า เดิมประกอบอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว มีรายได้พออยู่พอกิน กระทั่งลูกเขยได้จุดประกายแนะนำให้เลี้ยงแมงสะดิ้ง เนื่องจากทราบข่าวว่าเกษตรกรในหลายพื้นที่ภาคอีสานต่างมีรายได้อย่างงามจาก การเลี้ยงแมลงนี้ จึงได้เริ่มศึกษา และไปซื้อพันธุ์มาทดลองเลี้ยงในลังไม้ เริ่ม ต้นจาก 3 ลัง จนปัจจุบันมีแมงสะดิ้งเลี้ยงไว้ทั้งหมด 8 ลัง และสามารถสร้างรายได้จากการขายต่อ 1 รอบการเก็บ ในระยะเวลา 2 เดือน ประมาณ 15,000 บาท

สำหรับการขายจะนำแมลงมาทอด และนำมาบรรจุใส่ถุงพลาสติก ก่อนที่จะนำไปตระเวนขายเองตามท้องตลาด วันหนึ่งขายได้ประมาณ 30 ถุง ราคาถุงละ 20 บาท

เลี้ยงในขัน เพื่อให้แมลงลงไปไข่

ลุงดำเล่าถึงขั้นตอนการเลี้ยงแมงสะดิ้ง หรือจิ้งหรีดขาว ว่า ขั้น ตอนการเลี้ยงไม่มีอะไรยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมาก แต่ต้องจัดตั้งสถานที่เลี้ยงให้ดี โดยที่เลี้ยงจะต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้ ส่วนอาหารจะให้รำ หัวอาหารสัตว์ รวมถึงอาหารเสริมอย่างพืชผักและผลไม้เป็นหลัก ส่วนระยะเวลาในการเลี้ยงจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มฟักไข่ไปจนถึง 2 เดือนแมงสะดิ้งจึงจะโตเต็มวัย และเริ่มจับนำไปทอดขายได้ ซึ่งช่วงดังกล่าวจะสามารถจับได้ประมาณ 60 วัน เพราะหลังจากนั้นแมงสะดิ้งจะตายหมดเนื่องจากเต็มอายุขัยของมัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากหมดรอบการจับไปแล้ว จะนำไข่ของแมงสะดิ้งที่ทิ้งไว้ในขันมาทำการเพาะเลี้ยงต่อไป ซึ่งแต่ละปีสามารถเลี้ยงได้ 4-5 รุ่น และแต่ละรุ่น จะสามารถสร้างรายได้ประมาณ 10,000 บาทถึง 15,000 บาท ซึ่งถือว่ารายได้ดีกว่าอาชีพทำนาเพราะนอกจากจะสามารถนำไปทำเป็นอาหาร ยังสามารถนำมูลของมันไปทำปุ๋ยขายได้อีกด้วย

ขึงตาข่าย ป้องกันแมลงไต่ออกจิ้งจก ตุ๊กแก

“หากเกษตรกรในพื้นที่รายไหนต้องการจะหันมาเลี้ยงแมงสะดิ้งเพื่อ เสริมรายได้หรือให้เป็นอาชีพหลักสามารถปรึกษาได้ ผมยินดีให้คำแน่ะนำโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รับรองว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” นายดำกล่าว

สำหรับลุงดำ เป็น เกษตรกรอยู่ที่ตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มีอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงแมงสะดิ้งมานานหลายปี ด้วยการเลี้ยงในลังไม้ขนาด 3x1 เมตร จำนวน 8 ลัง ซึ่งใช้ตาข่ายโปร่งมาคลุมทับ เพื่อป้องกัน จิ้งจก ตุ๊กแก เข้ามาลักขโมยกิน และป้องกันแมลงไต่ออกมานอกลัง ภายในลังจะบรรจุแกลบไว้สำหรับวางไข่ และมีแผงไข่หลายสิบอันวางไว้เป็นแหล่งอาศัยของแมงสะดิ้งด้วย จุดเด่นของแมงสะดิ้งคือ เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง จึงได้รับความนิยมจากคนทั่วไป

แมงสะดิ้ง

ขอบคุณ http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016998 (ขนาดไฟล์: 172)

(manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57 )

ที่มา: manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 18/02/2557 เวลา 04:33:01 ดูภาพสไลด์โชว์ เลี้ยงแมงสะดิ้ง อาชีพเสริมชาวนา จ.นครสวรรค์ ทางออกในยุคจำนำข้าว

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ลุงดำ กุมภาพันธ์ เจ้าของฟาร์มแมงสะดิ้ง เวลานี้ถ้าไม่พูดถึงชาวนาก็ คงจะเหมือนตกเทรนด์ วันนี้จึงอยากนำเสนออาชีพเสริมของชาวนาท่านหนึ่ง “ลุงดำ กุมภาพันธ์” ลุงดำมีอาชีพหลักคือทำนา แต่รายได้จากการทำนาไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว จึงหันมาเลี้ยงแมงสะดิ้ง หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ จิ้งหรีดขาว เลี้ยงในขัน เพื่อให้แมลงลงไปไข่ ลุงดำเล่าว่า เดิมประกอบอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียว มีรายได้พออยู่พอกิน กระทั่งลูกเขยได้จุดประกายแนะนำให้เลี้ยงแมงสะดิ้ง เนื่องจากทราบข่าวว่าเกษตรกรในหลายพื้นที่ภาคอีสานต่างมีรายได้อย่างงามจาก การเลี้ยงแมลงนี้ จึงได้เริ่มศึกษา และไปซื้อพันธุ์มาทดลองเลี้ยงในลังไม้ เริ่ม ต้นจาก 3 ลัง จนปัจจุบันมีแมงสะดิ้งเลี้ยงไว้ทั้งหมด 8 ลัง และสามารถสร้างรายได้จากการขายต่อ 1 รอบการเก็บ ในระยะเวลา 2 เดือน ประมาณ 15,000 บาท สำหรับการขายจะนำแมลงมาทอด และนำมาบรรจุใส่ถุงพลาสติก ก่อนที่จะนำไปตระเวนขายเองตามท้องตลาด วันหนึ่งขายได้ประมาณ 30 ถุง ราคาถุงละ 20 บาท เลี้ยงในขัน เพื่อให้แมลงลงไปไข่ ลุงดำเล่าถึงขั้นตอนการเลี้ยงแมงสะดิ้ง หรือจิ้งหรีดขาว ว่า ขั้น ตอนการเลี้ยงไม่มีอะไรยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมาก แต่ต้องจัดตั้งสถานที่เลี้ยงให้ดี โดยที่เลี้ยงจะต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้ ส่วนอาหารจะให้รำ หัวอาหารสัตว์ รวมถึงอาหารเสริมอย่างพืชผักและผลไม้เป็นหลัก ส่วนระยะเวลาในการเลี้ยงจะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มฟักไข่ไปจนถึง 2 เดือนแมงสะดิ้งจึงจะโตเต็มวัย และเริ่มจับนำไปทอดขายได้ ซึ่งช่วงดังกล่าวจะสามารถจับได้ประมาณ 60 วัน เพราะหลังจากนั้นแมงสะดิ้งจะตายหมดเนื่องจากเต็มอายุขัยของมัน อย่างไรก็ตาม หลังจากหมดรอบการจับไปแล้ว จะนำไข่ของแมงสะดิ้งที่ทิ้งไว้ในขันมาทำการเพาะเลี้ยงต่อไป ซึ่งแต่ละปีสามารถเลี้ยงได้ 4-5 รุ่น และแต่ละรุ่น จะสามารถสร้างรายได้ประมาณ 10,000 บาทถึง 15,000 บาท ซึ่งถือว่ารายได้ดีกว่าอาชีพทำนาเพราะนอกจากจะสามารถนำไปทำเป็นอาหาร ยังสามารถนำมูลของมันไปทำปุ๋ยขายได้อีกด้วย ขึงตาข่าย ป้องกันแมลงไต่ออกจิ้งจก ตุ๊กแก “หากเกษตรกรในพื้นที่รายไหนต้องการจะหันมาเลี้ยงแมงสะดิ้งเพื่อ เสริมรายได้หรือให้เป็นอาชีพหลักสามารถปรึกษาได้ ผมยินดีให้คำแน่ะนำโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รับรองว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด” นายดำกล่าว สำหรับลุงดำ เป็น เกษตรกรอยู่ที่ตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ มีอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงแมงสะดิ้งมานานหลายปี ด้วยการเลี้ยงในลังไม้ขนาด 3x1 เมตร จำนวน 8 ลัง ซึ่งใช้ตาข่ายโปร่งมาคลุมทับ เพื่อป้องกัน จิ้งจก ตุ๊กแก เข้ามาลักขโมยกิน และป้องกันแมลงไต่ออกมานอกลัง ภายในลังจะบรรจุแกลบไว้สำหรับวางไข่ และมีแผงไข่หลายสิบอันวางไว้เป็นแหล่งอาศัยของแมงสะดิ้งด้วย จุดเด่นของแมงสะดิ้งคือ เป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง จึงได้รับความนิยมจากคนทั่วไป แมงสะดิ้ง ขอบคุณ… http://manager.co.th/iBizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016998 (manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ก.พ.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...