เปิดใจสตรีหลังรับอบรมปูเส้นทางอาชีพวิจัย
ลอรีอัล- เปิดใจสตรีไทยหลังรับอบรมปูเส้นทางอาชีพวิจัย โดยเวิร์กชอปสร้างแรงบันดาลใจ เครือข่าย และแนวทางสู่ความสำเร็จในสายงานวิทยาศาสตร์
ลอรีอัล ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Career Building For Women in Science” ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ชี้แนะแนวทางการเป็นนักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ พร้อมสร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนและมอบโอกาสให้
การอบรมที่เพิ่งผ่านไป จัดขึ้น ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.เจอราดีน ริชมอนด์ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยโอเรกอน ศ.ดร.ลอร่า กรีน จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และ ศ.ดร.สุภาพรรณ เสราภิน จากภาควิศวกรรม-วัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยแอริโซนา ในฐานะตัวแทนกลุ่ม COACh for Scientists จากสหรัฐฯ องค์กรอิสระด้านการส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนบทบาทของสตรีในวงการวิทยา ศาสตร์ทั่วโลก มาร่วมติวเข้มนักวิทยาศาสตร์สตรีไทย อาจารย์ และนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องร่วม 120 คน
“วิทยาศาสตร์เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และจะพัฒนาไปได้ต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่แข็งแกร่ง มีทักษะ ความรู้ความเชี่ยวชาญ การเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในฐานะองค์กรด้านความงามที่ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานงานวิจัยจึงเห็นความสำคัญ ตรงจุดนี้” ลอรีอัลระบุเหตุผลในการจัดอบรมดังกล่าว
เนื้อหาของเวิร์กชอปดังกล่าวแบ่งเป็น 4 หัวข้อ คือ การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ พลังในการจูงใจและต่อรอง การเขียนและนำเสนอโครงการ และการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับสากล โดยทีม COACh for Scientists ได้แนะนำเคล็ดลับความสำเร็จในแต่ละหัวข้อ ดังนี้
1.การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำ ควรคิดเสมอว่า “ทีมเวิร์กที่ดีคือพื้นฐานของความสำเร็จ” เพราะผู้นำที่ดี ควรให้ทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็น แล้วนำมาตกผลึกจนเป็นแนวทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับวิธีการทำงานของคนในทีม เพื่อให้งานลุล่วงและทุกคนมีความสุขกับการทำงาน ลดช่องว่างทางลำดับชั้น ทุกคนล้วนมีความสำคัญต่อทีมแม้ไม่ได้ผู้กุมบังเหียน นอกจากนั้น หัวหน้าที่ประสบความสำเร็จมักเป็นคนทุ่มเทให้กับทีมและงานและซื่อสัตย์ต่อ สิ่งที่ทำ ทั้งการตัดสินใจและวิธีการทำงาน ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็น จึงจะทำให้ทุกคนเคารพและอยากปฏิบัติตาม
2.พลังในการจูงใจและต่อรอง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของอาชีพนักวิจัย การเจรจาที่ดีนั้นไม่ใช่การเถียงหรือโต้วาทีเพื่อให้ตนเองชนะ แต่เป็นการยกเหตุผลมาอธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายคล้อยตามและยอมลงมือปฏิบัติ ควรพยายามหาทางออกที่ทำให้ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ เพื่อโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเห็นด้วย อย่าหาทางออกที่เราเป็นฝ่ายได้แต่เพียงผู้เดียว การต่อรองที่ดีไม่ใช่เรื่องที่คุณมีแต่ได้กับได้ แต่เป็นเรื่องของการรู้จักให้และรับอย่างพอดี กอปรกับควรศึกษาความต้องการของอีกฝ่ายและรู้ในศักยภาพของอีกฝ่ายว่าสามารถ ให้ได้มากเท่าไร เพื่อให้สามารถหาจุดสมดุล ที่ทุกฝ่ายจะได้ในสิ่งที่ต้องการ
3.การเขียนและนำเสนอโครงการ เป็นหัวใจสำคัญของอาชีพนักวิจัย โดยการขอการสนับสนุนทุนวิจัยให้ประสบความสำเร็จนั้น นักวิจัยควรต้องรู้จักผู้มอบทุนวิจัย ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้มอบทุน เพื่อให้ได้ทราบถึงเกณฑ์การตัดสินและสิ่งที่สนใจ และต้องรู้ไว้ว่าผู้มอบทุนมักไม่พิจารณาไอเดียหรือโครงการเดียวกันซ้ำสอง ครั้ง นอกจากนั้น ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ทำไมผู้มอบทุนจะต้องมอบทุนให้แก่งานวิจัยของคุณ
“การตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับสากล ขั้นตอนและเทคนิคนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ควรใช้รูปแบบภาษาทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสม ซึ่งเกณฑ์การตัดสินของวารสารแต่ละเล่มนั้นจะพิจารณาจาก ความเหมาะสมของงานวิจัยกับรูปแบบของวารสาร งานวิจัยของเราตรงกับกลุ่มเป้าหมายของวารสารหรือไม่” หนึ่งในคำแนะนำจาก ทีม COACh for Scientists
“เวิร์กชอปมีประโยชน์ และประยุกต์หลักสูตรสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ อย่างหัวข้อ Leadership ก็มีคำแนะนำให้ผู้หญิงว่า เราต้องเป็น leader as a learner หรือมีคำแนะนำในการเจรจาต่อรองกับผู้ชาย ช่วยทำให้เรามั่นใจว่าผู้หญิงก็สามารถเป็นผู้นำได้ ในส่วนของงานเขียน proposal ก็เป็นหลักสูตรสำหรับงานเขียนด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ สมกับชื่องานที่ว่า ‘Career Building For Women in Science’ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์มากค่ะ” ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมอบรม กล่าว
“โดยปกตินักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อย่างเราก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์ทางด้านการเจรจาต่อรอง หรือบางครั้งก็ขาดประสบการณ์การเป็นผู้นำ การได้ฟังผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ช่วยเปิดโลกทัศน์ ทำให้เราได้เห็นว่าประเทศอื่นๆ หรือในระดับสากลเขามีมุมมอง มีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้ สำหรับการทำงานวิจัย ที่ผ่านมาการติดต่อสื่อสารของนักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์ อาจจะดูแข็ง ไม่นุ่มนวล การอบรมนี้ก็ได้สอนให้เรารู้วิธีการสื่อสารอย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคล” ผศ.ดร.ปุณณมา ศิริพันธ์โนน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เข้าร่วมอีกคนกล่าว
ผศ.ดร.ปุณณมา เสริมอีกว่าในเรื่องงานเขียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานวิจัยนั้น การอบรมได้เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนงานวิจัยและการตีพิมพ์ผล งานในระดับสากล เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเพื่อให้ทัดเทียมระดับนานาชาติได้ใน อนาคต
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016733 (ขนาดไฟล์: 168)
(manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.พ.57 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ และ ผศ.ดร.ปุณณมา ศิริพันธ์โนน ลอรีอัล- เปิดใจสตรีไทยหลังรับอบรมปูเส้นทางอาชีพวิจัย โดยเวิร์กชอปสร้างแรงบันดาลใจ เครือข่าย และแนวทางสู่ความสำเร็จในสายงานวิทยาศาสตร์ ลอรีอัล ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Career Building For Women in Science” ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ชี้แนะแนวทางการเป็นนักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จ พร้อมสร้างเครือข่ายที่จะสนับสนุนและมอบโอกาสให้ ศ.ดร. สุภาพรรณ เสราภิน การอบรมที่เพิ่งผ่านไป จัดขึ้น ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.เจอราดีน ริชมอนด์ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยโอเรกอน ศ.ดร.ลอร่า กรีน จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และ ศ.ดร.สุภาพรรณ เสราภิน จากภาควิศวกรรม-วัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยแอริโซนา ในฐานะตัวแทนกลุ่ม COACh for Scientists จากสหรัฐฯ องค์กรอิสระด้านการส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนบทบาทของสตรีในวงการวิทยา ศาสตร์ทั่วโลก มาร่วมติวเข้มนักวิทยาศาสตร์สตรีไทย อาจารย์ และนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องร่วม 120 คน “วิทยาศาสตร์เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และจะพัฒนาไปได้ต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่แข็งแกร่ง มีทักษะ ความรู้ความเชี่ยวชาญ การเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในฐานะองค์กรด้านความงามที่ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานงานวิจัยจึงเห็นความสำคัญ ตรงจุดนี้” ลอรีอัลระบุเหตุผลในการจัดอบรมดังกล่าว เปิดใจสตรีหลังรับอบรมปูเส้นทางอาชีพวิจัย เนื้อหาของเวิร์กชอปดังกล่าวแบ่งเป็น 4 หัวข้อ คือ การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ พลังในการจูงใจและต่อรอง การเขียนและนำเสนอโครงการ และการตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับสากล โดยทีม COACh for Scientists ได้แนะนำเคล็ดลับความสำเร็จในแต่ละหัวข้อ ดังนี้ 1.การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่จะก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำ ควรคิดเสมอว่า “ทีมเวิร์กที่ดีคือพื้นฐานของความสำเร็จ” เพราะผู้นำที่ดี ควรให้ทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็น แล้วนำมาตกผลึกจนเป็นแนวทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับวิธีการทำงานของคนในทีม เพื่อให้งานลุล่วงและทุกคนมีความสุขกับการทำงาน ลดช่องว่างทางลำดับชั้น ทุกคนล้วนมีความสำคัญต่อทีมแม้ไม่ได้ผู้กุมบังเหียน นอกจากนั้น หัวหน้าที่ประสบความสำเร็จมักเป็นคนทุ่มเทให้กับทีมและงานและซื่อสัตย์ต่อ สิ่งที่ทำ ทั้งการตัดสินใจและวิธีการทำงาน ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม ให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็น จึงจะทำให้ทุกคนเคารพและอยากปฏิบัติตาม 2.พลังในการจูงใจและต่อรอง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานของอาชีพนักวิจัย การเจรจาที่ดีนั้นไม่ใช่การเถียงหรือโต้วาทีเพื่อให้ตนเองชนะ แต่เป็นการยกเหตุผลมาอธิบายเพื่อให้อีกฝ่ายคล้อยตามและยอมลงมือปฏิบัติ ควรพยายามหาทางออกที่ทำให้ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ เพื่อโน้มน้าวให้อีกฝ่ายเห็นด้วย อย่าหาทางออกที่เราเป็นฝ่ายได้แต่เพียงผู้เดียว การต่อรองที่ดีไม่ใช่เรื่องที่คุณมีแต่ได้กับได้ แต่เป็นเรื่องของการรู้จักให้และรับอย่างพอดี กอปรกับควรศึกษาความต้องการของอีกฝ่ายและรู้ในศักยภาพของอีกฝ่ายว่าสามารถ ให้ได้มากเท่าไร เพื่อให้สามารถหาจุดสมดุล ที่ทุกฝ่ายจะได้ในสิ่งที่ต้องการ 3.การเขียนและนำเสนอโครงการ เป็นหัวใจสำคัญของอาชีพนักวิจัย โดยการขอการสนับสนุนทุนวิจัยให้ประสบความสำเร็จนั้น นักวิจัยควรต้องรู้จักผู้มอบทุนวิจัย ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้มอบทุน เพื่อให้ได้ทราบถึงเกณฑ์การตัดสินและสิ่งที่สนใจ และต้องรู้ไว้ว่าผู้มอบทุนมักไม่พิจารณาไอเดียหรือโครงการเดียวกันซ้ำสอง ครั้ง นอกจากนั้น ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ทำไมผู้มอบทุนจะต้องมอบทุนให้แก่งานวิจัยของคุณ “การตีพิมพ์ผลงานในวารสารระดับสากล ขั้นตอนและเทคนิคนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ควรใช้รูปแบบภาษาทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสม ซึ่งเกณฑ์การตัดสินของวารสารแต่ละเล่มนั้นจะพิจารณาจาก ความเหมาะสมของงานวิจัยกับรูปแบบของวารสาร งานวิจัยของเราตรงกับกลุ่มเป้าหมายของวารสารหรือไม่” หนึ่งในคำแนะนำจาก ทีม COACh for Scientists ศ.ดร.ลอร่า กรีน , ศ.ดร. เจอราดีน ริชมอนด์ และ ศ.ดร. สุภาพรรณ “เวิร์กชอปมีประโยชน์ และประยุกต์หลักสูตรสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ อย่างหัวข้อ Leadership ก็มีคำแนะนำให้ผู้หญิงว่า เราต้องเป็น leader as a learner หรือมีคำแนะนำในการเจรจาต่อรองกับผู้ชาย ช่วยทำให้เรามั่นใจว่าผู้หญิงก็สามารถเป็นผู้นำได้ ในส่วนของงานเขียน proposal ก็เป็นหลักสูตรสำหรับงานเขียนด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ สมกับชื่องานที่ว่า ‘Career Building For Women in Science’ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์มากค่ะ” ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เข้าร่วมอบรม กล่าว “โดยปกตินักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ อย่างเราก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์ทางด้านการเจรจาต่อรอง หรือบางครั้งก็ขาดประสบการณ์การเป็นผู้นำ การได้ฟังผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ช่วยเปิดโลกทัศน์ ทำให้เราได้เห็นว่าประเทศอื่นๆ หรือในระดับสากลเขามีมุมมอง มีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้ สำหรับการทำงานวิจัย ที่ผ่านมาการติดต่อสื่อสารของนักวิจัย-นักวิทยาศาสตร์ อาจจะดูแข็ง ไม่นุ่มนวล การอบรมนี้ก็ได้สอนให้เรารู้วิธีการสื่อสารอย่างเหมาะสมกับแต่ละบุคคล” ผศ.ดร.ปุณณมา ศิริพันธ์โนน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เข้าร่วมอีกคนกล่าว ผศ.ดร.ปุณณมา เสริมอีกว่าในเรื่องงานเขียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานวิจัยนั้น การอบรมได้เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนงานวิจัยและการตีพิมพ์ผล งานในระดับสากล เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเพื่อให้ทัดเทียมระดับนานาชาติได้ใน อนาคต ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9570000016733 (manager.co.th ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.พ.57 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)