‘เลี้ยงจิ้งหรีดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง’
„ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้จัดอบรมหลักสูตร “การเลี้ยงจิ้งหรีดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยมีเกษตรกรจากบ้านไร่เก่า ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เข้ารับการอบรม เพื่อเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริม
ที่สำคัญเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่จะทำการเกษตรด้วยการปลูกพืช ซึ่งการใช้พื้นที่ว่างในแปลงปลูกทำการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดก็จะเป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญการมีจิ้งหรีดในพื้นที่เพาะปลูกจะเป็นการเอื้อต่อสังคมสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี แถมสภาพอากาศก็เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจิ้งหรีดด้วย
จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่ และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้
ปัจจุบันผู้คนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหารเพิ่มมากขึ้น เพราะมีโปรตีนสูง สำหรับจิ้งหรีดที่พบในประเทศไทยและแพร่หลาย มีหลายชนิด เช่น จิ้งหรีดดำ มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมด้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือง มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก หรือจิ้งหรีดม้า เป็นต้น หรือจิ้งหรีดเล็กมีขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางแห่งที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนึ่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง อีกชนิดคือจิ้งโก่งเป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังเอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็น ต้น และจิ้งหรีดทองแดงลายมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครึ่งตัว และชนิดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง
การเลี้ยงจิ้งหรีดจะเอื้อประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงหลายทางด้วยกัน อาทิ มีอาหารโปรตีนไว้บริโภค หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ หรือ ปลา และส่งจำหน่ายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ซึ่งปัจจุบันกำลังนิยมมากขึ้นในนามจิ้งหรีดกระป๋อง
ในการฝึกอบรมครั้งนี้ ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ยังได้มอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเลี้ยงจิ้งหรีดให้แก่เกษตรกร ที่เข้ารับการอบรม พร้อมพันธุ์จิ้งหรีดเพื่อนำไปเลี้ยงโดยผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีกด้วย เพื่อเป็นปัจจัยเริ่มต้นในการเพาะเลี้ยงของเกษตรกร
ประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด เทปกาวใช้ติดรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดออกนอกบ่อ ยางรัดปากวงบ่อ ตาข่ายไนลอนสีเขียว สำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีและป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีด วัสดุรองพื้นบ่อ ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ภาชนะให้น้ำ ใช้ที่ให้น้ำสำหรับลูกไก่ และถาดไข่ สำหรับใช้เป็นที่วางไข่ของจิ้งหรีด ซึ่งเป็นขันอาบน้ำทั่ว ๆ ไป
ซึ่งต้นทุน การเลี้ยงสำหรับ 1 บ่อ จะเป็นค่าอาหารไก่ 3 กก. กก.ละ 16 บาท รำอ่อน 3 กก. กก.ละ 8 บาท รวม 72 บาท ค่าแรงในการจัดการเลี้ยงคิดที่ 100 บ่อ แต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2 เดือน คิดเฉลี่ยทำงานวันละ 1 ชม. จะเท่ากับ 7.5 วัน คิดเป็นเงิน 9.75 บาท ค่าพันธุ์จิ้งหรีด 120 บาท กรณีที่เกษตรกรจะต้องหาซื้อเอง รวมบ่อละ 201.75 บาท
เมื่อจิ้งหรีดโตรายได้จิ้งหรีดต่อ 1 บ่อ จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 กก. กก. ละ 150-200 บาท รวมบ่อละ 300-600 บาท หากขายไข่จิ้งหรีดเพื่อการนำไปเลี้ยงของรายอื่น ๆ ถาดไข่ 4 อัน อันละ 60 บาท รวม 240 บาท รายได้ 1 บ่อ จะอยู่ที่ประมาณ 338.25-638.25 บาท ซึ่งนับเป็นรายได้เสริมที่ดีสำหรับเกษตรกรที่น่าสนใจทีเดียว.“
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/agriculture/323558 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด „ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้จัดอบรมหลักสูตร “การเลี้ยงจิ้งหรีดตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง” ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยมีเกษตรกรจากบ้านไร่เก่า ต.รำพัน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เข้ารับการอบรม เพื่อเป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริม ที่สำคัญเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่จะทำการเกษตรด้วยการปลูกพืช ซึ่งการใช้พื้นที่ว่างในแปลงปลูกทำการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดก็จะเป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ที่สำคัญการมีจิ้งหรีดในพื้นที่เพาะปลูกจะเป็นการเอื้อต่อสังคมสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี แถมสภาพอากาศก็เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจิ้งหรีดด้วย จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่ และแข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้ ปัจจุบันผู้คนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหารเพิ่มมากขึ้น เพราะมีโปรตีนสูง สำหรับจิ้งหรีดที่พบในประเทศไทยและแพร่หลาย มีหลายชนิด เช่น จิ้งหรีดดำ มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย ส่วนหัวเหนือขอบตารวมด้านบนแต่ละด้านมีแถบสีเหลือง มองดูคล้ายหมวกแก๊ป มีความว่องไวมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาถิ่นว่า จินาย อิเจ๊ก หรือจิ้งหรีดม้า เป็นต้น หรือจิ้งหรีดเล็กมีขนาดเล็กที่สุด สีน้ำตาล บางแห่งที่เรียกว่า จิลอ จิ้งหรีดผี หรือ แอ้ด ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยขนาดประมาณหนึ่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง อีกชนิดคือจิ้งโก่งเป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ สีน้ำตาล ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 3.50 ซม. ชอบอยู่ในรูลึก โดยจะขุดดินสร้างรังเอง และพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จิโปม จิ้งกุ่ง เป็น ต้น และจิ้งหรีดทองแดงลายมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีปีกครึ่งตัว และชนิดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวกว้างประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง การเลี้ยงจิ้งหรีดจะเอื้อประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงหลายทางด้วยกัน อาทิ มีอาหารโปรตีนไว้บริโภค หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น ไก่ กบ หรือ ปลา และส่งจำหน่ายเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ซึ่งปัจจุบันกำลังนิยมมากขึ้นในนามจิ้งหรีดกระป๋อง ในการฝึกอบรมครั้งนี้ ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ยังได้มอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเลี้ยงจิ้งหรีดให้แก่เกษตรกร ที่เข้ารับการอบรม พร้อมพันธุ์จิ้งหรีดเพื่อนำไปเลี้ยงโดยผู้เข้ารับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีกด้วย เพื่อเป็นปัจจัยเริ่มต้นในการเพาะเลี้ยงของเกษตรกร ประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด เทปกาวใช้ติดรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดออกนอกบ่อ ยางรัดปากวงบ่อ ตาข่ายไนลอนสีเขียว สำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีดป้องกันการบินหนีและป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีด วัสดุรองพื้นบ่อ ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ ภาชนะให้น้ำ ใช้ที่ให้น้ำสำหรับลูกไก่ และถาดไข่ สำหรับใช้เป็นที่วางไข่ของจิ้งหรีด ซึ่งเป็นขันอาบน้ำทั่ว ๆ ไป ซึ่งต้นทุน การเลี้ยงสำหรับ 1 บ่อ จะเป็นค่าอาหารไก่ 3 กก. กก.ละ 16 บาท รำอ่อน 3 กก. กก.ละ 8 บาท รวม 72 บาท ค่าแรงในการจัดการเลี้ยงคิดที่ 100 บ่อ แต่ละรุ่นใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2 เดือน คิดเฉลี่ยทำงานวันละ 1 ชม. จะเท่ากับ 7.5 วัน คิดเป็นเงิน 9.75 บาท ค่าพันธุ์จิ้งหรีด 120 บาท กรณีที่เกษตรกรจะต้องหาซื้อเอง รวมบ่อละ 201.75 บาท เมื่อจิ้งหรีดโตรายได้จิ้งหรีดต่อ 1 บ่อ จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 กก. กก. ละ 150-200 บาท รวมบ่อละ 300-600 บาท หากขายไข่จิ้งหรีดเพื่อการนำไปเลี้ยงของรายอื่น ๆ ถาดไข่ 4 อัน อันละ 60 บาท รวม 240 บาท รายได้ 1 บ่อ จะอยู่ที่ประมาณ 338.25-638.25 บาท ซึ่งนับเป็นรายได้เสริมที่ดีสำหรับเกษตรกรที่น่าสนใจทีเดียว.“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/agriculture/323558
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)