ขอแค่โอกาส! พลังคนพิการในองค์กร! เรื่องราวที่คนอาการครบ 32 ต้องอ่าน!
"โอกาส" คำๆ นี้ บางคนเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง ขณะที่หลายคนอาจมองไม่เห็น หรือไม่เคยได้รับ จึงอาจทำให้ไม่สามารถเข้าใจมันอย่างถ่องแท้... "ไทยรัฐออนไลน์" จึงขอนำเสนอคำว่า "โอกาส" แบบง่ายๆ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวดีๆ ผ่านบุคคลพิเศษ ที่จะช่วยให้ทุกคนเห็นภาพมันได้ชัดเจนมากขึ้น โดยหวังจะสร้างกำลังใจให้แก่พวกเขาเหล่านั้น คนพิการ ใช่ว่าจะต้องขายแต่ลอตเตอรี่ อาชีพที่พร้อมเปิดรับ ก็มีอยู่ไม่น้อย กฎหมายการจ้างงานคนพิการ ตามกฎหมายแรงงาน กำหนดไว้อย่างชัดเจน เราขออธิบายสั้นๆ ว่า
1. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ จะต้องจ้างคนพิการ ในอัตราส่วนพนักงานไม่พิการ 100 คน ต่อคนพิการ1คนเศษเกิน50คนต้องจ้างคนพิการเพิ่ม1คน
2. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ สามารถส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแทนการจ้างงานได้ แต่ต้องภายในวันที่ 31 ม.ค. ของทุกปี
3. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ สามารถจัดสัมปทาน หรือจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือหรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้เช่นกัน
เราจะเห็นได้ชัดว่า กฎหมายสามารถให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเลือกปฏิบัติได้ หากไม่ประสงค์รับคนพิการเข้าทำงาน ด้วยเหตุผลที่ธุรกิจไม่เอื้ออำนวยกับการจ้างงาน บริษัทหลายแห่งก็เลือกปฏิบัติเช่นนั้น แต่ก็มีอีกหลายที่ ซึ่งพร้อมเปิดโอกาสให้คนพิการร่วมทำงานด้วย โดยเฉพาะอย่างงานร้านอาหาร งานเสิร์ฟ "ไทยรัฐออนไลน์" จะพาไปเยี่ยมชมร้านอาหารที่เปิดให้คนพิเศษได้มีโอกาสทำงาน และมีรายได้เลี้ยงชีพตัวเอง
ร้านแรกเป็นร้านเคเอฟซี ที่สาขาไทม์สแควร์ ซึ่งพนักงานภายในร้าน เป็นพนักงานที่บกพร่องทางการได้ยินทั้งหมด 70% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด โดยพนักงานส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ให้ส่วนของแคชเชียร์ ในการรับออร์เดอร์ของลูกค้า และทำหน้าที่บริการลูกค้าที่นั่งรับประทานอาหารภายในร้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้าจะรับทราบว่า พนักงานของสาขานี้มีความพิการทางการได้ยิน
"ไทยรัฐออนไลน์" ได้ไปยืนต่อแถวซื้อสินค้าเช่นลูกค้าทั่วๆ ไป และสังเกตพบว่า การให้บริการของพนักงานที่บกพร่องทางการได้ยิน ไม่มีผลกระทบการสั่งออเดอร์ของลูกค้าแต่อย่างใด โดยพนักงานยังสามารถให้บริการที่ดี พร้อมกับแนะนำสินค้าในชุดที่คุ้มค่า เพื่อเพิ่มทางเลือกที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย แม้กระทั่งกับชาวต่างชาติ หรือเด็กๆ พนักงานก็ทำหน้าที่ได้โดยไม่บกพร่อง สื่อสารกันได้อย่างดี สร้างความประทับให้ลูกค้าไม่น้อย
ด้านนางสาวอนิต้า โซนี่ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะรองประธานโครงการกิจการเพื่อสังคม เคเอฟซี ประเทศไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการเคเอฟซี เราได้ยินทุกความฝัน ว่า ทางเราต้องการส่งเสริมให้ผู้พิการทางการได้ยินเหล่านี้ มีโอกาสเป็นพนักงานขององค์กรเอกชน มีรายได้เพียงพอสำหรับดูแลครอบครัว และมีโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเอง โดยพนักงานทุกๆ คน จะได้รับโอกาสในการก้าวหน้าทางสายอาชีพของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งโครงการดังกล่าว เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว
"ทางร้านได้จัดทำสื่อ เพื่อสื่อสารให้ลูกค้าทราบ รวมถึงสามารถสื่อสารแบบง่ายๆ กับพนักงาน ขณะที่พนักงานผู้พิการ ก็จะติดป้ายสัญลักษณ์ที่ชัดเจนให้ลูกค้าได้ทราบว่า เป็นพนักงานผู้พิการทางการได้ยิน ที่พร้อมให้บริการเสิร์ฟความอิ่มอร่อยให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ"
ทั้งนี้ ผู้พิการทางการได้ยิน หรือผู้ที่สนใจร่วมงาน สามารถสมัครงานได้ที่บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2653-2900 ต่อ 9402 หรือ 9404 เฉกเช่นเดียวกับร้านอาหารญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่ง คือร้านโยชิโนยะ ที่รับผู้พิการทางการได้ยินร่วมทำงานด้วย
นายพรชัย พิมภักดี หรือเอก อายุ 21 ปี พนักงานประจำ กล่าวถึงการทำงานภายในร้านดังกล่าวตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ว่า ผมประสบความสำเร็จในการทำงานอย่างมาก คือผมตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และในทุกๆ งานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อตอบแทนความไว้วางใจที่ให้ผมได้เข้าทำงานที่นี่ ถึงแม้ว่าผมจะต้องพยายามมากกว่าคนอื่นนิดหน่อย ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับงาน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพัฒนาตัวเองด้วยครับ
นายพรชัย ยังระบุถึงอุปสรรคในการทำงาน โดยบอกว่า การสื่อสารเป็นอุปสรรคครับ แต่ทุกๆ คนในร้าน ก็มีความตั้งใจและมีความพยายามที่จะสื่อสารกับผม ทำให้เราเลยสามารถทำงานด้วยกันได้ โดยผมจะใช้เทคนิคการสื่อสาร ด้วยการเขียนและใช้ภาษามือในการสื่อสารง่ายๆ ประกอบกับงานภายในร้าน ก็ค่อนข้างเป็นระบบอยู่แล้ว เลยทำให้เราเข้าใจกันง่ายขึ้น
"ทุกวันนี้ผมคิดตลอดเวลาที่ผมทำงาน คือ ผมจะทำวันนี้ให้ดีที่สุด และสุดความสามารถ นั่นแหละ...เคล็ดลับการทำงานอย่างมีความสุขของผม"
ฟังแล้วก็รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาทันที ใครที่กำลังท้อถอย เบื่องาน หรือใครที่กำลังหางาน รวมถึงผู้พิการที่ต้องการหางานทำ พวกเราก็ช่วยกันร่วมบอกต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้กับพวกเขาได้ อย่างน้อยก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อสังคมที่ดีขึ้น และที่สำคัญอย่าลืมมอบโอกาสให้พวกคนพิการ เพราะเราเชื่อว่าคนเท่ากัน.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/498811 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พนักงานร้าน KFC เป็นผู้พิการหูหนวก กำลังสื่อสารภาษามือ "โอกาส" คำๆ นี้ บางคนเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง ขณะที่หลายคนอาจมองไม่เห็น หรือไม่เคยได้รับ จึงอาจทำให้ไม่สามารถเข้าใจมันอย่างถ่องแท้... "ไทยรัฐออนไลน์" จึงขอนำเสนอคำว่า "โอกาส" แบบง่ายๆ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวดีๆ ผ่านบุคคลพิเศษ ที่จะช่วยให้ทุกคนเห็นภาพมันได้ชัดเจนมากขึ้น โดยหวังจะสร้างกำลังใจให้แก่พวกเขาเหล่านั้น คนพิการ ใช่ว่าจะต้องขายแต่ลอตเตอรี่ อาชีพที่พร้อมเปิดรับ ก็มีอยู่ไม่น้อย กฎหมายการจ้างงานคนพิการ ตามกฎหมายแรงงาน กำหนดไว้อย่างชัดเจน เราขออธิบายสั้นๆ ว่า 1. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ จะต้องจ้างคนพิการ ในอัตราส่วนพนักงานไม่พิการ 100 คน ต่อคนพิการ1คนเศษเกิน50คนต้องจ้างคนพิการเพิ่ม1คน 2. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ สามารถส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแทนการจ้างงานได้ แต่ต้องภายในวันที่ 31 ม.ค. ของทุกปี 3. นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ สามารถจัดสัมปทาน หรือจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือหรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้เช่นกัน เราจะเห็นได้ชัดว่า กฎหมายสามารถให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเลือกปฏิบัติได้ หากไม่ประสงค์รับคนพิการเข้าทำงาน ด้วยเหตุผลที่ธุรกิจไม่เอื้ออำนวยกับการจ้างงาน บริษัทหลายแห่งก็เลือกปฏิบัติเช่นนั้น แต่ก็มีอีกหลายที่ ซึ่งพร้อมเปิดโอกาสให้คนพิการร่วมทำงานด้วย โดยเฉพาะอย่างงานร้านอาหาร งานเสิร์ฟ "ไทยรัฐออนไลน์" จะพาไปเยี่ยมชมร้านอาหารที่เปิดให้คนพิเศษได้มีโอกาสทำงาน และมีรายได้เลี้ยงชีพตัวเอง สื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายการอาหารภายในร้าน KFC และคำชี้แจงถึงวิธีการสั่งอาหาร ร้านแรกเป็นร้านเคเอฟซี ที่สาขาไทม์สแควร์ ซึ่งพนักงานภายในร้าน เป็นพนักงานที่บกพร่องทางการได้ยินทั้งหมด 70% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด โดยพนักงานส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ให้ส่วนของแคชเชียร์ ในการรับออร์เดอร์ของลูกค้า และทำหน้าที่บริการลูกค้าที่นั่งรับประทานอาหารภายในร้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้าจะรับทราบว่า พนักงานของสาขานี้มีความพิการทางการได้ยิน "ไทยรัฐออนไลน์" ได้ไปยืนต่อแถวซื้อสินค้าเช่นลูกค้าทั่วๆ ไป และสังเกตพบว่า การให้บริการของพนักงานที่บกพร่องทางการได้ยิน ไม่มีผลกระทบการสั่งออเดอร์ของลูกค้าแต่อย่างใด โดยพนักงานยังสามารถให้บริการที่ดี พร้อมกับแนะนำสินค้าในชุดที่คุ้มค่า เพื่อเพิ่มทางเลือกที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย แม้กระทั่งกับชาวต่างชาติ หรือเด็กๆ พนักงานก็ทำหน้าที่ได้โดยไม่บกพร่อง สื่อสารกันได้อย่างดี สร้างความประทับให้ลูกค้าไม่น้อย ด้านนางสาวอนิต้า โซนี่ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะรองประธานโครงการกิจการเพื่อสังคม เคเอฟซี ประเทศไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการเคเอฟซี เราได้ยินทุกความฝัน ว่า ทางเราต้องการส่งเสริมให้ผู้พิการทางการได้ยินเหล่านี้ มีโอกาสเป็นพนักงานขององค์กรเอกชน มีรายได้เพียงพอสำหรับดูแลครอบครัว และมีโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเอง โดยพนักงานทุกๆ คน จะได้รับโอกาสในการก้าวหน้าทางสายอาชีพของตนเองอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งโครงการดังกล่าว เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว "ทางร้านได้จัดทำสื่อ เพื่อสื่อสารให้ลูกค้าทราบ รวมถึงสามารถสื่อสารแบบง่ายๆ กับพนักงาน ขณะที่พนักงานผู้พิการ ก็จะติดป้ายสัญลักษณ์ที่ชัดเจนให้ลูกค้าได้ทราบว่า เป็นพนักงานผู้พิการทางการได้ยิน ที่พร้อมให้บริการเสิร์ฟความอิ่มอร่อยให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ" ทั้งนี้ ผู้พิการทางการได้ยิน หรือผู้ที่สนใจร่วมงาน สามารถสมัครงานได้ที่บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โทร. 0-2653-2900 ต่อ 9402 หรือ 9404 เฉกเช่นเดียวกับร้านอาหารญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่ง คือร้านโยชิโนยะ ที่รับผู้พิการทางการได้ยินร่วมทำงานด้วย นายพรชัย พิมภักดี หรือเอก อายุ 21 ปี พนักงานประจำ กล่าวถึงการทำงานภายในร้านดังกล่าวตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ว่า ผมประสบความสำเร็จในการทำงานอย่างมาก คือผมตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และในทุกๆ งานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อตอบแทนความไว้วางใจที่ให้ผมได้เข้าทำงานที่นี่ ถึงแม้ว่าผมจะต้องพยายามมากกว่าคนอื่นนิดหน่อย ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับงาน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการพัฒนาตัวเองด้วยครับ พนักงาน KFC กำลังต้อนรับลูกค้าที่มาสั่งอาหารภายในร้าน นายพรชัย ยังระบุถึงอุปสรรคในการทำงาน โดยบอกว่า การสื่อสารเป็นอุปสรรคครับ แต่ทุกๆ คนในร้าน ก็มีความตั้งใจและมีความพยายามที่จะสื่อสารกับผม ทำให้เราเลยสามารถทำงานด้วยกันได้ โดยผมจะใช้เทคนิคการสื่อสาร ด้วยการเขียนและใช้ภาษามือในการสื่อสารง่ายๆ ประกอบกับงานภายในร้าน ก็ค่อนข้างเป็นระบบอยู่แล้ว เลยทำให้เราเข้าใจกันง่ายขึ้น "ทุกวันนี้ผมคิดตลอดเวลาที่ผมทำงาน คือ ผมจะทำวันนี้ให้ดีที่สุด และสุดความสามารถ นั่นแหละ...เคล็ดลับการทำงานอย่างมีความสุขของผม" ฟังแล้วก็รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาทันที ใครที่กำลังท้อถอย เบื่องาน หรือใครที่กำลังหางาน รวมถึงผู้พิการที่ต้องการหางานทำ พวกเราก็ช่วยกันร่วมบอกต่อสิ่งดีๆ เหล่านี้ให้กับพวกเขาได้ อย่างน้อยก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อสังคมที่ดีขึ้น และที่สำคัญอย่าลืมมอบโอกาสให้พวกคนพิการ เพราะเราเชื่อว่าคนเท่ากัน. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/498811
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)