‘ผู้หญิงบ้านป่า’ ในอินเดียตั้ง ‘สหกรณ์ทำธุรกิจสมุนไพร’

แสดงความคิดเห็น

‘ผู้หญิงบ้านป่า’ ในอินเดียตั้ง ‘สหกรณ์ทำธุรกิจสมุนไพร’

ชาวเผ่าโคยา และเผ่าคอนด์ส ในเทือกเขากัตตะวันออก ทางภาคใต้ของอินเดีย อาศัยป่าเป็นแหล่งหาอยู่หากินกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว และรู้จักผลผลิตจากป่าเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น สมุนไพรที่กินได้, พืชที่ใช้เป็นยา, เห็ด, ตลอดจนใบไม้, เมล็ด, และรากไม้ ของพืชหลายๆ ชนิด เวลานี้ สหกรณ์ของสตรีชาวบ้านป่าเหล่านี้ ยังกำลังใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ที่สาดส่องผ่านผืนป่า มาทำให้ธุรกิจของพวกเธอเติบโตขยายตัวอีกด้วย

อนานาตากิรี (ANANATAGIRI), อินเดีย – จินตภัคคา ชัมบูลัมมา (Chintapakka Jambulamma) มองดูตู้อบพลังแสงอาทิตย์ที่อยู่ตรงหน้าเธอด้วยความชื่นชม มันเป็นทรัพย์สินมีค่าของสหกรณ์สตรีชาวชนเผ่าอัดวิตัลลี (Advitalli Tribal Women’s Co-operative Society) ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการผู้หญิงซึ่งมีเธอเป็นผู้นำ

ประธานสหกรณ์วัย 34 ปีผู้นี้เลื่อนเปิดลิ้นชักของตู้อบ พร้อมกับหยิบเอาต้นฟ้าทะลายโจร (Kalmegh) ออกมากำมือหนึ่ง และร้องอุทานว่า “ดูสิ มันแห้งเร็วจังเลย”

พวกผู้หญิงจากสหกรณ์ที่รายล้อมอยู่รอบๆ ตัวเธอพากันหัวเราะลั่น ผู้หญิงเหล่านี้เป็นชาวเผ่าโคยา (Koya) และเผ่าคอนด์ส (Konds) ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในแถบเทือกเขากัตตะวันออก (Eastern Ghat) ทางภาคใต้ของอินเดีย สำหรับพวกเธอแล้ว ป่าก็คือบ้าน และเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากรอันมีค่าสำหรับการดำรงชีวิต เวลานี้ผู้หญิงเหล่านี้ยังกำลังใช้ประโยชน์จากแสงตะวันที่สาดส่องผ่านผืนป่า ลงมาอีกด้วย

ตู้อบพลังแสงอาทิตย์นี้มีหน้าต่างกระจก 6 บานเชื่อมต่อกัน ทางมูลนิธิโคเวล (Kovel Foundation) เป็นผู้นำมาติดตั้งให้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มูลนิธิแห่งนี้มุ่งช่วยเหลือชาวเผ่าที่อาศัยตามบ้านป่าให้สามารถปกป้องสิทธิ ต่างๆ ของตนเองและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

ตู้อบนี้ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ตู้ที่ทางมูลนิธินำไปติดตั้งให้ชาวบ้านป่าในเวลานี้ มีมูลค่าประมาณ 1 ล้านรูปี (ราว 525,000 บาท) กฤษณะ ราว (Krishna Rao) ผู้อำนวยการมูลนิธิระบุ

เขาบอกว่ามันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะสตรีชาวบ้านป่าเหล่านี้กำลังใช้มันมาช่วยดำเนินธุรกิจของพวกเธอให้เกิด ความยั่งยืน “สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกผู้หญิง 2,500 คนจาก 20 หมู่บ้าน ไม่มีคนไหนเลยที่ร่ำเรียนสูงกว่าชั้นมัธยมต้น แต่เวลานี้พวกเธอรู้วิธีทำธุรกิจเป็นอย่างดี” ราว บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS)

“พวกเธอรวมตัวรวมกลุ่มกัน และทำงานกันเป็นทีมได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น พวกเธอยังกำลังเรียนรู้เพิ่มเติมถึงวิธีการในการเก็บพวกรากไม้, ใบไม้, และผลของพืชชนิดต่างๆ ซึ่งจะไม่ไปกระทบกระเทือนต้นแม่ของมัน และจะทำให้พวกเธอมีทรัพยากรที่จะเก็บไปได้เรื่อยๆ ไม่มีหมด”

ป่าให้ประโยชน์มากกว่าเพียงแค่การตัดไม้เอาเนื้อไม้มาใช้ ผืนป่าแถบนี้ให้ผลิตผลต่างๆ มากกว่า 700 อย่าง ในรูปของสมุนไพรที่กินได้, พืชที่ใช้เป็นยา, เห็ด, ตลอดจนใบไม้, เมล็ด, และรากไม้ ของพืชหลายๆ ชนิดซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลายหลาก ทั้งนี้ของป่าในแถบนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากที่สุดย่อมได้แก่ น้ำผึ้ง, ยางไม้, มะขามป้อม (Amla), ใบเทนดู (Tendu leaves), ดอกมาฮัว (Mahua flowers), และเม็ดประคำดีควาย (soap nuts)

ชาวเผ่าคอนยาและเผ่าคอนด์ส ใช้ชีวิตหาอยู่หากินโดยอาศัยของป่าเหล่านี้มาหลายร้อยปีแล้ว เปนิกาลา อิศวรามมา (Penikala Ishwaramma) หญิงวัย 23 ปี เป็นนักเก็บสมุนไพรป่าคนหนึ่งของพื้นที่นี้ ในวันที่ทำงานได้ราบรื่น เธอจะรวบรวมสมุนไพรได้ถึงราว 20-25 กิโลกรัมทีเดียว สำหรับปีนี้นับเป็นปีที่สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในป่าเติบโตดีมาก และอิศวรามมา ก็เก็บได้มากถึง 116 กิโลกรัมทีเดียว

ที่ผ่านมา กรมป่าไม้เป็นผู้รับซื้อผลิตผลเหล่านี้เอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยที่มีของป่ารวม 25 ชนิดซึ่งมีระเบียบกำหนดว่าต้องนำมาขายให้กรมป่าไม้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านชนเผ่าพบว่ากระบวนการจัดซื้อของทางกรมดำเนินไปตามระบบราชการซึ่งล่า ช้ามาก แถมยังให้ราคาต่ำกว่าราคาตลาดเสียอีก เป็นต้นว่า มะขามป้อม 1 กิโลกรัม กรมป่าไม้ให้ราคา 45 รูปี ขณะที่ราคาตามตลาดนั้นสูงกว่า 60 รูปีด้วยซ้ำ

ด้วยความผิดหวังกับราคาของรัฐบาลเช่นนี้เอง ที่ผลักดันให้สตรีชาวชนเผ่าหันมารวมกลุ่มสร้างธุรกิจขายของป่าของพวกเธอเอง ขึ้นมา และปรากฏว่าภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี พวกเธอก็สามารถทำรายได้เกือบๆ จะถึง 200,000 รูปี (ราว 105,000 บาท) ซึ่งทางมูลนิธิโคเวลให้พวกเธอกู้ยืมมา

มูลนิธิแห่งนี้ยังให้ความรู้เสริมทักษะพื้นฐานทางด้านการเป็นผู้ ประกอบการ ทุกๆ วันสตรีเฉกเช่นอิศวรามมา จะนำของป่าที่เก็บรวบรวมได้มาที่สหกรณ์โดยตรง ซึ่งทีมงานบริหารจะชั่งน้ำหนักและรับซื้อ โดยที่ให้ราคาสูงกว่าอัตราของรัฐบาล

“พวกเราทำงานหนัก เก็บสมุนไพรและเม็ดพืชต่างๆ ที่มีคุณภาพ” อิศวรามมา กล่าว “ชีวิตของพวกเราต้องพึ่งพาอาศัยเงินที่ขายได้นี้ แล้วทำไมเราต้องยอมขายในราคาต่ำๆ ล่ะ”

แต่การที่สหกรณ์จะทำกำไรจากธุรกิจเช่นนี้ได้ ต้องอาศัยการผลิตสมุนไพรคุณภาพสูงให้ได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเป็นงานที่ยากลำบากมากสำหรับสตรีเหล่านี้ซึ่งขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่ เหมาะสมสำหรับเก็บหรือตากผลิตผลของพวกเธอ นอกจากนั้น หมู่บ้านป่าแถบนี้ยังต้องเผชิญสภาพอากาศที่เลวร้ายมากอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุไซโคลน

ตามข้อมูลของกรมการบริหารจัดการวินาศภัย (Disaster Management department) ของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ในภาคใต้ของอินเดีย อาณาบริเวณนี้เผชิญกับพายุไซโคลนมากกว่า 60 ลูกในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา และความถี่ที่พายุพัดผ่านเข้ามาก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาอบสมุนไพรของพวกเธอให้แห้ง ช่วยให้ผู้หญิงเหล่านี้สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายลงไปได้มาก ในปี 2013 ที่ผ่านมา ป่าที่พวกเธออาศัยทำกินต้องเผชิญกับพายุไซโคลนใหญ่ถึง 5 ลูก ทว่าทางสหกรณ์ไม่ได้สูญเสียผลผลิตอะไรไปนักหนาเลย

“ก่อนที่พายุจะพัดเข้ามาถึง พวกเราจะพยายามอบสมุนไพรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรีบนำออกมาบรรจุให้เสร็จอย่างรวดเร็ว” ชัมบูลัมมา เล่า “เราไม่จำเป็นต้องนำเอาสมุนไพรมาตากแห้งในลานอีกต่อไปแล้ว”

เมื่อกระบวนการในการอบแห้งและในการบรรจุไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย สภาพอากาศอีกต่อไป เวลานี้ทางกลุ่มก็สามารถหันมาเน้นหนักเรื่องการสร้างเครือข่ายลูกค้าประจำ โดยเฉพาะผู้ซื้อรายใหญ่ ซึ่งจะช่วยทำให้พวกเธอมีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น

โภกยา ลักษมี (Bhagya Lakshmi) ผู้จัดการโครงการของมูลนิธิโคเวล ซึ่งเป็นผู้ติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มสตรีที่ทำผลผลิตสมุนไพรเหล่านี้กับ พวกโรงงานผลิต กล่าวเสริมว่า “ตอนนี้พวกเธอได้ลูกค้ารายใหญ่รายแรกแล้ว ซึ่งก็คือ บริษัทยาสมุนไพรซึ่งตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ชื่อ บริษัทเนเจอรัล เรเมดีส์ จำกัด (Natural Remedies) ขณะนี้บริษัทขอซื้อฟ้าทะลายโจรทีนึงเป็นจำนวนมากๆ เลย เรายังกำลังพยายามหาบริษัทอื่นๆ มากขึ้นอีกที่จะมาซื้อผลผลิตจากพวกเธอ”

นอกเหนือจากหาเครือข่ายลูกค้าแล้ว สตรีกลุ่มนี้ยังกำลังวางแผนการปรับปรุงยกระดับเทคโนโลยีของพวกเธออีกด้วย ครุปา ชานติ (Krupa Shanti) เป็นหัวหน้ากลุ่มของหมู่บ้านป่า 5 แห่งในพื้นที่นี้ ชานติบอกว่าเธอรู้สึกภาคภูมิใจกับสหกรณ์ของผู้หญิงแห่งนี้มาก และต้องการให้มันเติบโตขยายใหญ่ขึ้นไปอีก

รัฐบาลได้มาจัดตั้งสถานีผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นที่โรงเรียน ใกล้ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถผลิตและเก็บไฟฟ้าแสงอาทิตย์ได้ ชานติจึงกำลังวิ่งเต้นติดต่อกับพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้มาติดตั้งสถานี เช่นนี้สักแห่งหนึ่งที่หมู่บ้านของเธอบ้าง

“รัฐบาลมีโครงการด้านสวัสดิการด้านการพัฒนาเยอะแยะมากมายไปหมด แต่สำหรับผู้หญิงบ้านป่าอย่างพวกเราแล้ว โครงการที่ดีที่สุดคืออันที่จะช่วยให้เรามีอิสระทางเศรษฐกิจ ถ้ารัฐบาลติดตั้งสถานีทำไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขึ้นที่หมู่บ้านของพวกเราทุกๆ แห่งแล้ว เราก็จะสามารถขยายธุรกิจนี้และเปลี่ยนแปลงอนาคตของเราได้อย่างแน่นอน”

ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็น แกนกลาง ไอพีเอสซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ในแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000030514 (ขนาดไฟล์: 167)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.57

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 18/03/2557 เวลา 01:54:40 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘ผู้หญิงบ้านป่า’ ในอินเดียตั้ง ‘สหกรณ์ทำธุรกิจสมุนไพร’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

‘ผู้หญิงบ้านป่า’ ในอินเดียตั้ง ‘สหกรณ์ทำธุรกิจสมุนไพร’ ชาวเผ่าโคยา และเผ่าคอนด์ส ในเทือกเขากัตตะวันออก ทางภาคใต้ของอินเดีย อาศัยป่าเป็นแหล่งหาอยู่หากินกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว และรู้จักผลผลิตจากป่าเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น สมุนไพรที่กินได้, พืชที่ใช้เป็นยา, เห็ด, ตลอดจนใบไม้, เมล็ด, และรากไม้ ของพืชหลายๆ ชนิด เวลานี้ สหกรณ์ของสตรีชาวบ้านป่าเหล่านี้ ยังกำลังใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ที่สาดส่องผ่านผืนป่า มาทำให้ธุรกิจของพวกเธอเติบโตขยายตัวอีกด้วย อนานาตากิรี (ANANATAGIRI), อินเดีย – จินตภัคคา ชัมบูลัมมา (Chintapakka Jambulamma) มองดูตู้อบพลังแสงอาทิตย์ที่อยู่ตรงหน้าเธอด้วยความชื่นชม มันเป็นทรัพย์สินมีค่าของสหกรณ์สตรีชาวชนเผ่าอัดวิตัลลี (Advitalli Tribal Women’s Co-operative Society) ที่เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการผู้หญิงซึ่งมีเธอเป็นผู้นำ ประธานสหกรณ์วัย 34 ปีผู้นี้เลื่อนเปิดลิ้นชักของตู้อบ พร้อมกับหยิบเอาต้นฟ้าทะลายโจร (Kalmegh) ออกมากำมือหนึ่ง และร้องอุทานว่า “ดูสิ มันแห้งเร็วจังเลย” พวกผู้หญิงจากสหกรณ์ที่รายล้อมอยู่รอบๆ ตัวเธอพากันหัวเราะลั่น ผู้หญิงเหล่านี้เป็นชาวเผ่าโคยา (Koya) และเผ่าคอนด์ส (Konds) ซึ่งพำนักอาศัยอยู่ในแถบเทือกเขากัตตะวันออก (Eastern Ghat) ทางภาคใต้ของอินเดีย สำหรับพวกเธอแล้ว ป่าก็คือบ้าน และเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากรอันมีค่าสำหรับการดำรงชีวิต เวลานี้ผู้หญิงเหล่านี้ยังกำลังใช้ประโยชน์จากแสงตะวันที่สาดส่องผ่านผืนป่า ลงมาอีกด้วย ตู้อบพลังแสงอาทิตย์นี้มีหน้าต่างกระจก 6 บานเชื่อมต่อกัน ทางมูลนิธิโคเวล (Kovel Foundation) เป็นผู้นำมาติดตั้งให้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มูลนิธิแห่งนี้มุ่งช่วยเหลือชาวเผ่าที่อาศัยตามบ้านป่าให้สามารถปกป้องสิทธิ ต่างๆ ของตนเองและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตู้อบนี้ ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ตู้ที่ทางมูลนิธินำไปติดตั้งให้ชาวบ้านป่าในเวลานี้ มีมูลค่าประมาณ 1 ล้านรูปี (ราว 525,000 บาท) กฤษณะ ราว (Krishna Rao) ผู้อำนวยการมูลนิธิระบุ เขาบอกว่ามันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะสตรีชาวบ้านป่าเหล่านี้กำลังใช้มันมาช่วยดำเนินธุรกิจของพวกเธอให้เกิด ความยั่งยืน “สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกผู้หญิง 2,500 คนจาก 20 หมู่บ้าน ไม่มีคนไหนเลยที่ร่ำเรียนสูงกว่าชั้นมัธยมต้น แต่เวลานี้พวกเธอรู้วิธีทำธุรกิจเป็นอย่างดี” ราว บอกกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service ใช้อักษรย่อว่า IPS) “พวกเธอรวมตัวรวมกลุ่มกัน และทำงานกันเป็นทีมได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น พวกเธอยังกำลังเรียนรู้เพิ่มเติมถึงวิธีการในการเก็บพวกรากไม้, ใบไม้, และผลของพืชชนิดต่างๆ ซึ่งจะไม่ไปกระทบกระเทือนต้นแม่ของมัน และจะทำให้พวกเธอมีทรัพยากรที่จะเก็บไปได้เรื่อยๆ ไม่มีหมด” ป่าให้ประโยชน์มากกว่าเพียงแค่การตัดไม้เอาเนื้อไม้มาใช้ ผืนป่าแถบนี้ให้ผลิตผลต่างๆ มากกว่า 700 อย่าง ในรูปของสมุนไพรที่กินได้, พืชที่ใช้เป็นยา, เห็ด, ตลอดจนใบไม้, เมล็ด, และรากไม้ ของพืชหลายๆ ชนิดซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลายหลาก ทั้งนี้ของป่าในแถบนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากที่สุดย่อมได้แก่ น้ำผึ้ง, ยางไม้, มะขามป้อม (Amla), ใบเทนดู (Tendu leaves), ดอกมาฮัว (Mahua flowers), และเม็ดประคำดีควาย (soap nuts) ชาวเผ่าคอนยาและเผ่าคอนด์ส ใช้ชีวิตหาอยู่หากินโดยอาศัยของป่าเหล่านี้มาหลายร้อยปีแล้ว เปนิกาลา อิศวรามมา (Penikala Ishwaramma) หญิงวัย 23 ปี เป็นนักเก็บสมุนไพรป่าคนหนึ่งของพื้นที่นี้ ในวันที่ทำงานได้ราบรื่น เธอจะรวบรวมสมุนไพรได้ถึงราว 20-25 กิโลกรัมทีเดียว สำหรับปีนี้นับเป็นปีที่สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในป่าเติบโตดีมาก และอิศวรามมา ก็เก็บได้มากถึง 116 กิโลกรัมทีเดียว ที่ผ่านมา กรมป่าไม้เป็นผู้รับซื้อผลิตผลเหล่านี้เอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยที่มีของป่ารวม 25 ชนิดซึ่งมีระเบียบกำหนดว่าต้องนำมาขายให้กรมป่าไม้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านชนเผ่าพบว่ากระบวนการจัดซื้อของทางกรมดำเนินไปตามระบบราชการซึ่งล่า ช้ามาก แถมยังให้ราคาต่ำกว่าราคาตลาดเสียอีก เป็นต้นว่า มะขามป้อม 1 กิโลกรัม กรมป่าไม้ให้ราคา 45 รูปี ขณะที่ราคาตามตลาดนั้นสูงกว่า 60 รูปีด้วยซ้ำ ด้วยความผิดหวังกับราคาของรัฐบาลเช่นนี้เอง ที่ผลักดันให้สตรีชาวชนเผ่าหันมารวมกลุ่มสร้างธุรกิจขายของป่าของพวกเธอเอง ขึ้นมา และปรากฏว่าภายในเวลาไม่ถึง 2 ปี พวกเธอก็สามารถทำรายได้เกือบๆ จะถึง 200,000 รูปี (ราว 105,000 บาท) ซึ่งทางมูลนิธิโคเวลให้พวกเธอกู้ยืมมา มูลนิธิแห่งนี้ยังให้ความรู้เสริมทักษะพื้นฐานทางด้านการเป็นผู้ ประกอบการ ทุกๆ วันสตรีเฉกเช่นอิศวรามมา จะนำของป่าที่เก็บรวบรวมได้มาที่สหกรณ์โดยตรง ซึ่งทีมงานบริหารจะชั่งน้ำหนักและรับซื้อ โดยที่ให้ราคาสูงกว่าอัตราของรัฐบาล “พวกเราทำงานหนัก เก็บสมุนไพรและเม็ดพืชต่างๆ ที่มีคุณภาพ” อิศวรามมา กล่าว “ชีวิตของพวกเราต้องพึ่งพาอาศัยเงินที่ขายได้นี้ แล้วทำไมเราต้องยอมขายในราคาต่ำๆ ล่ะ” แต่การที่สหกรณ์จะทำกำไรจากธุรกิจเช่นนี้ได้ ต้องอาศัยการผลิตสมุนไพรคุณภาพสูงให้ได้ด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันเป็นงานที่ยากลำบากมากสำหรับสตรีเหล่านี้ซึ่งขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่ เหมาะสมสำหรับเก็บหรือตากผลิตผลของพวกเธอ นอกจากนั้น หมู่บ้านป่าแถบนี้ยังต้องเผชิญสภาพอากาศที่เลวร้ายมากอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพายุไซโคลน ตามข้อมูลของกรมการบริหารจัดการวินาศภัย (Disaster Management department) ของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ในภาคใต้ของอินเดีย อาณาบริเวณนี้เผชิญกับพายุไซโคลนมากกว่า 60 ลูกในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา และความถี่ที่พายุพัดผ่านเข้ามาก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาอบสมุนไพรของพวกเธอให้แห้ง ช่วยให้ผู้หญิงเหล่านี้สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายลงไปได้มาก ในปี 2013 ที่ผ่านมา ป่าที่พวกเธออาศัยทำกินต้องเผชิญกับพายุไซโคลนใหญ่ถึง 5 ลูก ทว่าทางสหกรณ์ไม่ได้สูญเสียผลผลิตอะไรไปนักหนาเลย “ก่อนที่พายุจะพัดเข้ามาถึง พวกเราจะพยายามอบสมุนไพรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรีบนำออกมาบรรจุให้เสร็จอย่างรวดเร็ว” ชัมบูลัมมา เล่า “เราไม่จำเป็นต้องนำเอาสมุนไพรมาตากแห้งในลานอีกต่อไปแล้ว” เมื่อกระบวนการในการอบแห้งและในการบรรจุไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย สภาพอากาศอีกต่อไป เวลานี้ทางกลุ่มก็สามารถหันมาเน้นหนักเรื่องการสร้างเครือข่ายลูกค้าประจำ โดยเฉพาะผู้ซื้อรายใหญ่ ซึ่งจะช่วยทำให้พวกเธอมีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น โภกยา ลักษมี (Bhagya Lakshmi) ผู้จัดการโครงการของมูลนิธิโคเวล ซึ่งเป็นผู้ติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มสตรีที่ทำผลผลิตสมุนไพรเหล่านี้กับ พวกโรงงานผลิต กล่าวเสริมว่า “ตอนนี้พวกเธอได้ลูกค้ารายใหญ่รายแรกแล้ว ซึ่งก็คือ บริษัทยาสมุนไพรซึ่งตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ชื่อ บริษัทเนเจอรัล เรเมดีส์ จำกัด (Natural Remedies) ขณะนี้บริษัทขอซื้อฟ้าทะลายโจรทีนึงเป็นจำนวนมากๆ เลย เรายังกำลังพยายามหาบริษัทอื่นๆ มากขึ้นอีกที่จะมาซื้อผลผลิตจากพวกเธอ” นอกเหนือจากหาเครือข่ายลูกค้าแล้ว สตรีกลุ่มนี้ยังกำลังวางแผนการปรับปรุงยกระดับเทคโนโลยีของพวกเธออีกด้วย ครุปา ชานติ (Krupa Shanti) เป็นหัวหน้ากลุ่มของหมู่บ้านป่า 5 แห่งในพื้นที่นี้ ชานติบอกว่าเธอรู้สึกภาคภูมิใจกับสหกรณ์ของผู้หญิงแห่งนี้มาก และต้องการให้มันเติบโตขยายใหญ่ขึ้นไปอีก รัฐบาลได้มาจัดตั้งสถานีผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นที่โรงเรียน ใกล้ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งสามารถผลิตและเก็บไฟฟ้าแสงอาทิตย์ได้ ชานติจึงกำลังวิ่งเต้นติดต่อกับพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบให้มาติดตั้งสถานี เช่นนี้สักแห่งหนึ่งที่หมู่บ้านของเธอบ้าง “รัฐบาลมีโครงการด้านสวัสดิการด้านการพัฒนาเยอะแยะมากมายไปหมด แต่สำหรับผู้หญิงบ้านป่าอย่างพวกเราแล้ว โครงการที่ดีที่สุดคืออันที่จะช่วยให้เรามีอิสระทางเศรษฐกิจ ถ้ารัฐบาลติดตั้งสถานีทำไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขึ้นที่หมู่บ้านของพวกเราทุกๆ แห่งแล้ว เราก็จะสามารถขยายธุรกิจนี้และเปลี่ยนแปลงอนาคตของเราได้อย่างแน่นอน” ข้อเขียนชิ้นนี้มาจาก สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (ไอพีเอส) http://www.ipsnews.net ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศที่มีสำนักข่าวระดับโลกเป็น แกนกลาง ไอพีเอสซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1964 มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเสนอข่าวด้านพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ, สิทธิมนุษยชน, สิ่งแวดล้อม, ตลอดจนนโยบายการต่างประเทศของพวกมหาอำนาจพัฒนาแล้ว ในแง่มุมของการที่พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศกำลังพัฒนา ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000030514 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...