เลี้ยง “หมูหลุม” ทำเงิน ฝีมือชายพิการหัวใจหล่อมาก
แม้ “สนั่น นามเสาร์” จะพิการส่วนขาด้วยโรคโปลิโอ ทว่า ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องประกอบอาชีพ เพราะหนุ่มคนนี้ทำได้ดี เสียจนคนร่างกายสมบูรณ์ยังต้องอาย เพราะมุ่งมั่นพัฒนาการเลี้ยงหมูจำลองระบบนิเวศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าแบบ “หมูหลุม” มีจุดเด่นช่วยให้ดูแลง่ายขึ้น สอดคล้องตามหลักเกษตรธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงาน อีกทั้งสามารถขายหมูได้ง่าย แถมยังได้สินค้าต่อเนื่อง“ปุ๋ย”มาเสริมรายได้อีกทาง
พื้นฐานแล้วครอบครัวของ “สนั่น นามเสาร์” ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่หมู่บ้านนาน้อย อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งวิถีชีวิตเหมือนกับครอบครัวชาวอีสานโดยส่วนใหญ่ทั่วไปที่ฐานะค่อนข้างยากจน ส่วนตัวของหนุ่มรายนี้เป็นคนขยัน ตั้งแต่เด็กช่วยเหลืองานที่บ้านมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทำนา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งประกอบอาชีพช่างต่างๆ เช่น ซ่อมมอเตอร์ไซค์ เขาก็เคยทดลองทำมาหมดแล้วลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ
จนเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้วเริ่มสนใจเลี้ยงหมูขาย เพราะสังเกตว่าเวลาเข้าไปในตลาดสดชุมชนพบว่าเขียงหมูแต่ละเจ้าไม่ได้เลี้ยงหมูเองเลย ต้องรับมาจากนอกชุมชน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทำให้เขาเกิดความคิดจะเลี้ยงหมูไว้ขายเขียงหมูในตลาดนัดชุมชนตัวเองเสียเลย
“ผมเริ่มจากซื้อหมูแม่พันธุ์ตัวหนึ่งมาเลี้ยง ราคา 20,000 บาท โดยเอาไปผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์ จ่ายค่าผสมพันธุ์ครั้งละ 500 บาท โดยแม่พันธุ์ใช้เวลาตั้งท้อง 3 เดือน เมื่อได้ลูกแล้วก็จะขายลูกหมู ราคาตอนนั้นตัวละ 800 บาท ต่อคอกจะได้ลูกหมูประมาณ 5-9 ตัว ซึ่งปริมาณลูกหมูจะออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลือกพ่อพันธุ์มาผสม กับการดูแลให้อาหารแม่พันธุ์ ซึ่งผมอยู่กับการเลี้ยงสัตว์ทำเกษตรมาแต่เล็ก เลยมีประสบการณ์ทำได้ค่อนข้างดีผมเคยเลี้ยงจนแม่พันธุ์ให้ลูกคอกละ15ตัว”สนั่นเล่า
ถึงจะพิการ แต่เขาไม่เคยนำจุดอ่อนทางร่างกายมาเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพแม้แต่น้อย ในทางตรงข้าม สนั่นกลับหมั่นเรียนรู้วิธีทำเกษตรทฤษฎีใหม่ๆ เสมอ ด้วยการสมัครเข้าโครงการพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น อบรมการทำธุรกิจของคนพิการ ที่จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ร่วมกับสถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED)
จากความขยันเพิ่มความรู้ให้ตัวเองดังกล่าว กลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วมีโอกาสไปดูงานการทำฟาร์มเลี้ยงหมู ระบบ “หมูหลุม” ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงหมูในโรงเรือนที่จะขุดหลุมลึกลงจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วใช้วัสดุธรรมชาติรองพื้น คือ แกลบ และฟาง ซึ่งวิธีดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
สนั่นอธิบายเสริมว่า การทำฟาร์มแบบหมูหลุมเป็นการจำลองระบบหมุนเวียนตามธรรมชาติ เมื่อหมูถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในพื้นที่รองด้วยแกลบและฟางก็จะกลายเป็นการหมัก “ปุ๋ยมูลสัตว์” ชั้นดี ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน อีกทั้งไม่มีกลิ่นเหม็นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน นอกจากนั้น ที่สำคัญการเลี้ยงระบบนี้ไม่ต้องลงไปขัดพื้นทำความสะอาดเหมือนโรงเลี้ยงที่เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดการใช้น้ำ และลดการใช้แรงงานจึงเหมาะกับเขาอย่างยิ่งที่เป็นคนพิการ
“หลังจากที่ผมได้ไปดูงานการเลี้ยงระบบหมูหลุม ผมก็เห็นว่ามันเหมาะกับผมมากๆ เพราะการเลี้ยงแบบเดิมต้องคอยทำความสะอาดพื้นเสมอ ไม่อย่างนั้นจะสกปรก และเหม็นมาก ซึ่งการต้องลงไปขัดพื้นบ่อยๆ ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผม ในขณะที่การเลี้ยงระบบหลุม ถ้าเราจัดระบบให้ดีแล้วจะช่วยประหยัดทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายและแรงงานผมเลยกลับมาปรับปรุงโรงเรือนของผมเอง”หนุ่มคนขยันเล่าและกล่าวต่อว่า
การสร้างโรงเรือนระบบหมูหลุมลงทุนประมาณ 10,000 บาท เป็นโรงเรือนขนาด 6x2.5 เมตร รอบๆ ก่อด้วยอิฐบล็อก สูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นขุดเป็นหลุมลงไปจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร หลังจากนั้นรองพื้นด้วยฟาง และแกลบจนเต็ม ซึ่งใช้เงินซื้อแกลบและฟางประมาณ 1,000 บาทต่อครั้งในการปูพื้น ตามด้วยราดน้ำหมักชีวภาพเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นซึ่งในส่วนน้ำหมักชีวภาพนั้นทำขึ้นเองจึงไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้านการเลี้ยงและดูแลฟาร์มหมูหลุมนั้น สนั่นเล่าว่า ค่อนข้างสบาย ตอนเช้าประมาณ 07.00 น. จะมาให้อาหารหมู ซึ่งใช้เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป เช่นเดียวกับให้อาหารเย็นประมาณ 17.00 น. นอกจากนั้นคอยเติมแกลบและฟางเสมอๆไม่ให้พร่องรวมถึงราดน้ำหมักชีวภาพเสมอๆป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น
ผลพลอยได้ของการเลี้ยงระบบดังกล่าวนั้นทำให้มีรายได้เสริมจากการขาย “ปุ๋ยมูลหมู” ซึ่งปัจจุบันต่อคอกจะสามารถเก็บไปทำปุ๋ยขายได้ถึง 120 กระสอบ ขายในราคากระสอบละ 40 บาท ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าขายดีจนทำไม่พอความต้องการ
นอกจากนั้น ในส่วนการขายหมูนั้น ปัจจุบันจะไม่ได้ขายหมูแรกเกิดแล้ว แต่จะเลี้ยงขุนต่อเนื่องอีก 3 เดือนจนได้น้ำหนักตัวละ 80-85 กิโลกรัม ซึ่งต้นทุนจากการเลี้ยงและค่าอาหารตกประมาณตัวละ 3,000 บาท สามารถไปขายได้ในราคาถึงตัวละ 7,000-7,600 บาท โดยเฉลี่ยแล้วจะมีหมูขายต่อรอบประมาณ 10 ตัว หรือเป็นเงินประมาณ 70,000-76,000 บาท โดยปีหนึ่งขายได้ 3-4 ครั้ง หรือคิดเป็นรายได้ต่อปีประมาณ 266,000 บาท เมื่อรวมกับรายได้การขายปุ๋ยมูลหมูแล้วเบ็ดเสร็จหักรายจ่ายต่างๆเหลือกำไรประมาณ20,000+บาทต่อเดือน
สำหรับช่องทางขาย จะมีพ่อค้าเขียงหมูจากทั้งในชุมชนและนอกชุมชนมารับซื้อโดยตรงถึงหน้าบ้านเลย ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากการเลี้ยงหมูตามวิธีธรรมชาติดังกล่าวจะมีเนื้อที่แน่นและอร่อยกว่า จึงเป็นที่นิยมของลูกค้าอย่างยิ่ง
สนั่นบอกด้วยว่า ตลาดตอบรับหมูที่เขาเลี้ยงดีมาก ในอนาคตจึงอยากจะขยายโรงเรือน และแม่พันธุ์ให้มากขึ้นเพื่อจะเพิ่มปริมาณหมูที่ขายให้ได้รอบละ 20 ตัวจากปัจจุบันที่มีขายอยู่รอบละประมาณ 10 ตัว อย่างไรก็ตาม ต้องดูเรื่องความพร้อมในการดูแลและความคุ้มค่าของเงินทุนก่อสร้างโรงเรือนและค่าอาหารสัตว์ควบคู่ไปด้วย
“จากที่ผมไปได้อบรมความรู้ และมีทีมที่ปรึกษามาช่วยแนะนำ ทำให้ผมเริ่มมีความรู้เรื่องการคิดต้นทุนมากยิ่งขึ้น จากแต่ก่อนเราก็เลี้ยงไปเรื่อยๆ ไม่เคยนำค่าแรง ค่าเวลาของตัวเองมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่รู้ต้นทุนของการเลี้ยงหมูแต่ตอนนี้ผมเริ่มทำบันทึกข้อมูลตามที่ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำทำให้รู้ต้นทุนชัดเจนขึ้น”
ที่น่าทึ่งกว่านั้น ปัจจุบันนอกจากเลี้ยงหมูแล้ว สนั่นยังทำงานประจำอยู่ด้วย โดยเป็นพนักงานฝ่ายตรวจรับสินค้าของห้างโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งใน จ.นครพนม โดยชีวิตประจำวัน ตอนเช้าจะตื่นมาให้อาหารหมู หลังจากนั้นจะไปทำงานประจำ และตอนเย็นกลับมาให้อาหารหมูอีกครั้ง ซึ่งระบบการเลี้ยงแบบหมูหลุมทำให้สะดวก ดูแลง่าย ช่วงกลางวันที่ตัวเขาไปทำงานประจำก็จะมอบหมายหน้าที่ให้พ่อและแม่ ซึ่งอยู่บ้านคอยช่วยดูแลให้แทนซึ่งเป็นงานที่ไม่หนักหนาเหมาะแก่ผู้สูงอายุสามารถทำได้สบายๆ
“ถึงผมจะเป็นคนพิการ แต่ผมไม่เคยคิดว่าเรื่องความพิการเป็นปัญหาของผมเลย บางครั้งผมเห็นคนร่างกายดีๆ แต่ไม่ยอมทำมาหากิน ผมก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่ทำตัวเองให้เกิดประโยชน์ อย่างตัวผม ผมจะภูมิใจว่าเราเลี้ยงหมูแล้วมีกำไร มีรายได้ ไม่ต้องเป็นภาระใคร และยังดูแลพ่อแม่ได้ด้วย” สนั่นตบท้าย
ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108619 (ขนาดไฟล์: 172)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายสนั่น นามเสาร์ และครอบครัว แม้ “สนั่น นามเสาร์” จะพิการส่วนขาด้วยโรคโปลิโอ ทว่า ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องประกอบอาชีพ เพราะหนุ่มคนนี้ทำได้ดี เสียจนคนร่างกายสมบูรณ์ยังต้องอาย เพราะมุ่งมั่นพัฒนาการเลี้ยงหมูจำลองระบบนิเวศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าแบบ “หมูหลุม” มีจุดเด่นช่วยให้ดูแลง่ายขึ้น สอดคล้องตามหลักเกษตรธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงาน อีกทั้งสามารถขายหมูได้ง่าย แถมยังได้สินค้าต่อเนื่อง“ปุ๋ย”มาเสริมรายได้อีกทาง พื้นฐานแล้วครอบครัวของ “สนั่น นามเสาร์” ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่หมู่บ้านนาน้อย อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งวิถีชีวิตเหมือนกับครอบครัวชาวอีสานโดยส่วนใหญ่ทั่วไปที่ฐานะค่อนข้างยากจน ส่วนตัวของหนุ่มรายนี้เป็นคนขยัน ตั้งแต่เด็กช่วยเหลืองานที่บ้านมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทำนา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งประกอบอาชีพช่างต่างๆ เช่น ซ่อมมอเตอร์ไซค์ เขาก็เคยทดลองทำมาหมดแล้วลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้วเริ่มสนใจเลี้ยงหมูขาย เพราะสังเกตว่าเวลาเข้าไปในตลาดสดชุมชนพบว่าเขียงหมูแต่ละเจ้าไม่ได้เลี้ยงหมูเองเลย ต้องรับมาจากนอกชุมชน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทำให้เขาเกิดความคิดจะเลี้ยงหมูไว้ขายเขียงหมูในตลาดนัดชุมชนตัวเองเสียเลย “ผมเริ่มจากซื้อหมูแม่พันธุ์ตัวหนึ่งมาเลี้ยง ราคา 20,000 บาท โดยเอาไปผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์ จ่ายค่าผสมพันธุ์ครั้งละ 500 บาท โดยแม่พันธุ์ใช้เวลาตั้งท้อง 3 เดือน เมื่อได้ลูกแล้วก็จะขายลูกหมู ราคาตอนนั้นตัวละ 800 บาท ต่อคอกจะได้ลูกหมูประมาณ 5-9 ตัว ซึ่งปริมาณลูกหมูจะออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลือกพ่อพันธุ์มาผสม กับการดูแลให้อาหารแม่พันธุ์ ซึ่งผมอยู่กับการเลี้ยงสัตว์ทำเกษตรมาแต่เล็ก เลยมีประสบการณ์ทำได้ค่อนข้างดีผมเคยเลี้ยงจนแม่พันธุ์ให้ลูกคอกละ15ตัว”สนั่นเล่า นายสนั่น กำลังดูแล ให้อาหารหมู ถึงจะพิการ แต่เขาไม่เคยนำจุดอ่อนทางร่างกายมาเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพแม้แต่น้อย ในทางตรงข้าม สนั่นกลับหมั่นเรียนรู้วิธีทำเกษตรทฤษฎีใหม่ๆ เสมอ ด้วยการสมัครเข้าโครงการพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น อบรมการทำธุรกิจของคนพิการ ที่จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ร่วมกับสถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED) จากความขยันเพิ่มความรู้ให้ตัวเองดังกล่าว กลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วมีโอกาสไปดูงานการทำฟาร์มเลี้ยงหมู ระบบ “หมูหลุม” ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงหมูในโรงเรือนที่จะขุดหลุมลึกลงจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วใช้วัสดุธรรมชาติรองพื้น คือ แกลบ และฟาง ซึ่งวิธีดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี สนั่นอธิบายเสริมว่า การทำฟาร์มแบบหมูหลุมเป็นการจำลองระบบหมุนเวียนตามธรรมชาติ เมื่อหมูถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในพื้นที่รองด้วยแกลบและฟางก็จะกลายเป็นการหมัก “ปุ๋ยมูลสัตว์” ชั้นดี ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน อีกทั้งไม่มีกลิ่นเหม็นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน นอกจากนั้น ที่สำคัญการเลี้ยงระบบนี้ไม่ต้องลงไปขัดพื้นทำความสะอาดเหมือนโรงเลี้ยงที่เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดการใช้น้ำ และลดการใช้แรงงานจึงเหมาะกับเขาอย่างยิ่งที่เป็นคนพิการ “หลังจากที่ผมได้ไปดูงานการเลี้ยงระบบหมูหลุม ผมก็เห็นว่ามันเหมาะกับผมมากๆ เพราะการเลี้ยงแบบเดิมต้องคอยทำความสะอาดพื้นเสมอ ไม่อย่างนั้นจะสกปรก และเหม็นมาก ซึ่งการต้องลงไปขัดพื้นบ่อยๆ ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผม ในขณะที่การเลี้ยงระบบหลุม ถ้าเราจัดระบบให้ดีแล้วจะช่วยประหยัดทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายและแรงงานผมเลยกลับมาปรับปรุงโรงเรือนของผมเอง”หนุ่มคนขยันเล่าและกล่าวต่อว่า การสร้างโรงเรือนระบบหมูหลุมลงทุนประมาณ 10,000 บาท เป็นโรงเรือนขนาด 6x2.5 เมตร รอบๆ ก่อด้วยอิฐบล็อก สูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นขุดเป็นหลุมลงไปจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร หลังจากนั้นรองพื้นด้วยฟาง และแกลบจนเต็ม ซึ่งใช้เงินซื้อแกลบและฟางประมาณ 1,000 บาทต่อครั้งในการปูพื้น ตามด้วยราดน้ำหมักชีวภาพเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นซึ่งในส่วนน้ำหมักชีวภาพนั้นทำขึ้นเองจึงไม่มีค่าใช้จ่าย ด้านการเลี้ยงและดูแลฟาร์มหมูหลุมนั้น สนั่นเล่าว่า ค่อนข้างสบาย ตอนเช้าประมาณ 07.00 น. จะมาให้อาหารหมู ซึ่งใช้เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป เช่นเดียวกับให้อาหารเย็นประมาณ 17.00 น. นอกจากนั้นคอยเติมแกลบและฟางเสมอๆไม่ให้พร่องรวมถึงราดน้ำหมักชีวภาพเสมอๆป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น ผลพลอยได้ของการเลี้ยงระบบดังกล่าวนั้นทำให้มีรายได้เสริมจากการขาย “ปุ๋ยมูลหมู” ซึ่งปัจจุบันต่อคอกจะสามารถเก็บไปทำปุ๋ยขายได้ถึง 120 กระสอบ ขายในราคากระสอบละ 40 บาท ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าขายดีจนทำไม่พอความต้องการ นอกจากนั้น ในส่วนการขายหมูนั้น ปัจจุบันจะไม่ได้ขายหมูแรกเกิดแล้ว แต่จะเลี้ยงขุนต่อเนื่องอีก 3 เดือนจนได้น้ำหนักตัวละ 80-85 กิโลกรัม ซึ่งต้นทุนจากการเลี้ยงและค่าอาหารตกประมาณตัวละ 3,000 บาท สามารถไปขายได้ในราคาถึงตัวละ 7,000-7,600 บาท โดยเฉลี่ยแล้วจะมีหมูขายต่อรอบประมาณ 10 ตัว หรือเป็นเงินประมาณ 70,000-76,000 บาท โดยปีหนึ่งขายได้ 3-4 ครั้ง หรือคิดเป็นรายได้ต่อปีประมาณ 266,000 บาท เมื่อรวมกับรายได้การขายปุ๋ยมูลหมูแล้วเบ็ดเสร็จหักรายจ่ายต่างๆเหลือกำไรประมาณ20,000+บาทต่อเดือน คอกหมู ของนายสนั่น สำหรับช่องทางขาย จะมีพ่อค้าเขียงหมูจากทั้งในชุมชนและนอกชุมชนมารับซื้อโดยตรงถึงหน้าบ้านเลย ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากการเลี้ยงหมูตามวิธีธรรมชาติดังกล่าวจะมีเนื้อที่แน่นและอร่อยกว่า จึงเป็นที่นิยมของลูกค้าอย่างยิ่ง สนั่นบอกด้วยว่า ตลาดตอบรับหมูที่เขาเลี้ยงดีมาก ในอนาคตจึงอยากจะขยายโรงเรือน และแม่พันธุ์ให้มากขึ้นเพื่อจะเพิ่มปริมาณหมูที่ขายให้ได้รอบละ 20 ตัวจากปัจจุบันที่มีขายอยู่รอบละประมาณ 10 ตัว อย่างไรก็ตาม ต้องดูเรื่องความพร้อมในการดูแลและความคุ้มค่าของเงินทุนก่อสร้างโรงเรือนและค่าอาหารสัตว์ควบคู่ไปด้วย “จากที่ผมไปได้อบรมความรู้ และมีทีมที่ปรึกษามาช่วยแนะนำ ทำให้ผมเริ่มมีความรู้เรื่องการคิดต้นทุนมากยิ่งขึ้น จากแต่ก่อนเราก็เลี้ยงไปเรื่อยๆ ไม่เคยนำค่าแรง ค่าเวลาของตัวเองมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่รู้ต้นทุนของการเลี้ยงหมูแต่ตอนนี้ผมเริ่มทำบันทึกข้อมูลตามที่ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำทำให้รู้ต้นทุนชัดเจนขึ้น” ที่น่าทึ่งกว่านั้น ปัจจุบันนอกจากเลี้ยงหมูแล้ว สนั่นยังทำงานประจำอยู่ด้วย โดยเป็นพนักงานฝ่ายตรวจรับสินค้าของห้างโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งใน จ.นครพนม โดยชีวิตประจำวัน ตอนเช้าจะตื่นมาให้อาหารหมู หลังจากนั้นจะไปทำงานประจำ และตอนเย็นกลับมาให้อาหารหมูอีกครั้ง ซึ่งระบบการเลี้ยงแบบหมูหลุมทำให้สะดวก ดูแลง่าย ช่วงกลางวันที่ตัวเขาไปทำงานประจำก็จะมอบหมายหน้าที่ให้พ่อและแม่ ซึ่งอยู่บ้านคอยช่วยดูแลให้แทนซึ่งเป็นงานที่ไม่หนักหนาเหมาะแก่ผู้สูงอายุสามารถทำได้สบายๆ “ถึงผมจะเป็นคนพิการ แต่ผมไม่เคยคิดว่าเรื่องความพิการเป็นปัญหาของผมเลย บางครั้งผมเห็นคนร่างกายดีๆ แต่ไม่ยอมทำมาหากิน ผมก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่ทำตัวเองให้เกิดประโยชน์ อย่างตัวผม ผมจะภูมิใจว่าเราเลี้ยงหมูแล้วมีกำไร มีรายได้ ไม่ต้องเป็นภาระใคร และยังดูแลพ่อแม่ได้ด้วย” สนั่นตบท้าย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108619
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)