เห็ดฟางจากทะลายปาล์มน้ำมันรายได้เสริมของชาวกระบี่
„ที่จังหวัดกระบี่ปัจจุบันได้มีการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากเกษตรกรมีเวลาในการดำเนินการและดูแลการเพาะเห็ดฟางเพิ่มมากขึ้น ดังที่บ้านแหลมกรวด อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่เป็นต้น
กลุ่มแม่บ้านบ้านแหลมกรวดได้เล่าให้ฟังระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม เฉลิมพระ เกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปั่นรักษ์โลก ปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติฯ ภายใต้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า ราษฎรในพื้นที่บ้านแหลมกรวด อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีอาชีพหลักคือการประมงชายฝั่ง ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องออกไปหาปลาในทะเล ที่ค่อนข้างไกล เพราะชายฝั่งปลาเริ่มมีน้อยเนื่องจากป่าชายเลนค่อนข้างเสื่อมโทรม บางรายต้องออกทะเลไปทั้งวันจึงจะได้ปลาที่คุ้มกับค่าน้ำมันเรือ
แต่เมื่อมีโครงการปลูกป่าชายเลนที่ กฟผ. เข้ามาดำเนินการก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นไม่นานป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมก็เริ่มดีขึ้น มีความสมบูรณ์ ทำให้สัตว์น้ำชายฝั่งกลับมามีมากขึ้น ราษฎรไม่ต้องออกทะเลไปไกล และในแต่ละวันก็จับปลาได้มากโดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงทำให้มีเวลาเหลือในแต่ละวัน แม่บ้านจึงได้รวมตัวกันทำกิจกรรมในอาชีพเสริม ซึ่ง มีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือการเพาะเห็ด ฟางจากทะลายปาล์ม เนื่องจากในพื้นที่มีสวนปาล์มน้ำมันมาก
การลงทุนก็ไม่มากโดยทะลายปาล์มจำนวน 10 ตันจะอยู่ที่ประมาณ 1,800 บาท ในรายที่ต้องซื้อ แต่ส่วนใหญ่ไม่ต้องเพราะมีสวนปาล์มเอง ค่าเชื้อเห็ดฟาง 150 ก้อน ก้อนละ 13 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท อาหารเสริมสำหรับการเพาะเห็ดประกอบด้วย แป้ง รำ ข้าวโพดบด ประมาณ 15 ถุง เป็นเงิน 350 บาท ผ้ายางพลาสติกสีดำ 4 ม้วน ม้วนละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
โดยนำทะลายปาล์มมาทิ้งไว้ให้เย็น ประมาณ 7 วันจากนั้นนำมาเรียงเป็นร่อง ประมาณ 30 แถว ต่อร่องแต่ละแถวจะกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร ยาว 12 เมตร ผสมหัวเชื้อเห็ดฟางกับอาหารเสริม แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางบนแถวทะลายปาล์ม ให้ทั่วใช้ผ้ายางพลาสติกปิดไว้ 3 วัน วันที่ 4 เปิดผ้ายางพลาสติก ประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อระบายความร้อน และขึ้นโครงไม้ไผ่ เป็นรูปโค้ง และใช้ผ้าพลาสติกคลุมไว้ ปิดอีก 2-3 วัน เปิดผ้าพลาสติก สะบัดน้ำค้างออก ให้หมด วันที่ 7 จะเห็นดอกเห็ดฟางเป็นเม็ดเล็ก ๆ วันที่ 8–11 เปิดผ้ายางพลาสติก วันละ 1 ครั้ง สะบัดน้ำค้างออก และเก็บเห็ดฟางได้ในวันที่ 11 ซึ่งจะตัดเก็บเห็ด ได้ประมาณ 18–20 ครั้ง
ข้อดีของการเพาะเห็ดฟาง คือไม่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนทะลายปาล์มที่เหลือจากการเพาะเห็ดแล้ว ก็สามารถนำมาเป็นปุ๋ยหมักปรับปรุงดินให้กับแปลงเกษตรได้อีกด้วย
จากการที่กลุ่มแม่บ้าน บ้านแหลมกรวดแห่งนี้เพาะเห็ดฟาง แล้วนำออกจำหน่ายทำให้รายได้ของราษฎรในพื้นที่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการทำการประมงชายฝั่งที่สามารถลดต้นทุนได้มากกว่าที่ผ่านมา และไม่ต้องออกไกลจากชายฝั่ง ด้วยความสมบูรณ์ของป่าชายเลนที่มีการปลูกเพิ่มและเฝ้าระวังดูแลรักษากันอย่างดี วันนี้ทุกคนในพื้นที่จึงหวงแหนป่าชายเลนเป็นยิ่งนัก เพราะนั้นคือที่มาของการมีรายได้ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม. “
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/agriculture/334879 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เห็ดฟาง „ที่จังหวัดกระบี่ปัจจุบันได้มีการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากเกษตรกรมีเวลาในการดำเนินการและดูแลการเพาะเห็ดฟางเพิ่มมากขึ้น ดังที่บ้านแหลมกรวด อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่เป็นต้น กลุ่มแม่บ้านบ้านแหลมกรวดได้เล่าให้ฟังระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม เฉลิมพระ เกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปั่นรักษ์โลก ปลูกป่าชายเลน เฉลิมพระเกียรติฯ ภายใต้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า ราษฎรในพื้นที่บ้านแหลมกรวด อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีอาชีพหลักคือการประมงชายฝั่ง ซึ่งก่อนหน้านี้จะต้องออกไปหาปลาในทะเล ที่ค่อนข้างไกล เพราะชายฝั่งปลาเริ่มมีน้อยเนื่องจากป่าชายเลนค่อนข้างเสื่อมโทรม บางรายต้องออกทะเลไปทั้งวันจึงจะได้ปลาที่คุ้มกับค่าน้ำมันเรือ แต่เมื่อมีโครงการปลูกป่าชายเลนที่ กฟผ. เข้ามาดำเนินการก่อนหน้านี้ หลังจากนั้นไม่นานป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมก็เริ่มดีขึ้น มีความสมบูรณ์ ทำให้สัตว์น้ำชายฝั่งกลับมามีมากขึ้น ราษฎรไม่ต้องออกทะเลไปไกล และในแต่ละวันก็จับปลาได้มากโดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงทำให้มีเวลาเหลือในแต่ละวัน แม่บ้านจึงได้รวมตัวกันทำกิจกรรมในอาชีพเสริม ซึ่ง มีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือการเพาะเห็ด ฟางจากทะลายปาล์ม เนื่องจากในพื้นที่มีสวนปาล์มน้ำมันมาก การลงทุนก็ไม่มากโดยทะลายปาล์มจำนวน 10 ตันจะอยู่ที่ประมาณ 1,800 บาท ในรายที่ต้องซื้อ แต่ส่วนใหญ่ไม่ต้องเพราะมีสวนปาล์มเอง ค่าเชื้อเห็ดฟาง 150 ก้อน ก้อนละ 13 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท อาหารเสริมสำหรับการเพาะเห็ดประกอบด้วย แป้ง รำ ข้าวโพดบด ประมาณ 15 ถุง เป็นเงิน 350 บาท ผ้ายางพลาสติกสีดำ 4 ม้วน ม้วนละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท โดยนำทะลายปาล์มมาทิ้งไว้ให้เย็น ประมาณ 7 วันจากนั้นนำมาเรียงเป็นร่อง ประมาณ 30 แถว ต่อร่องแต่ละแถวจะกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร ยาว 12 เมตร ผสมหัวเชื้อเห็ดฟางกับอาหารเสริม แล้วโรยเชื้อเห็ดฟางบนแถวทะลายปาล์ม ให้ทั่วใช้ผ้ายางพลาสติกปิดไว้ 3 วัน วันที่ 4 เปิดผ้ายางพลาสติก ประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อระบายความร้อน และขึ้นโครงไม้ไผ่ เป็นรูปโค้ง และใช้ผ้าพลาสติกคลุมไว้ ปิดอีก 2-3 วัน เปิดผ้าพลาสติก สะบัดน้ำค้างออก ให้หมด วันที่ 7 จะเห็นดอกเห็ดฟางเป็นเม็ดเล็ก ๆ วันที่ 8–11 เปิดผ้ายางพลาสติก วันละ 1 ครั้ง สะบัดน้ำค้างออก และเก็บเห็ดฟางได้ในวันที่ 11 ซึ่งจะตัดเก็บเห็ด ได้ประมาณ 18–20 ครั้ง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟาง คือไม่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืช มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนทะลายปาล์มที่เหลือจากการเพาะเห็ดแล้ว ก็สามารถนำมาเป็นปุ๋ยหมักปรับปรุงดินให้กับแปลงเกษตรได้อีกด้วย จากการที่กลุ่มแม่บ้าน บ้านแหลมกรวดแห่งนี้เพาะเห็ดฟาง แล้วนำออกจำหน่ายทำให้รายได้ของราษฎรในพื้นที่มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการทำการประมงชายฝั่งที่สามารถลดต้นทุนได้มากกว่าที่ผ่านมา และไม่ต้องออกไกลจากชายฝั่ง ด้วยความสมบูรณ์ของป่าชายเลนที่มีการปลูกเพิ่มและเฝ้าระวังดูแลรักษากันอย่างดี วันนี้ทุกคนในพื้นที่จึงหวงแหนป่าชายเลนเป็นยิ่งนัก เพราะนั้นคือที่มาของการมีรายได้ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม. “ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/agriculture/334879
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)