ฮือฮา ปูนปั้นเพื่อคนตาบอด! ติดอักษรเบรลล์ ผลงานศิลปินเมืองเพชร

แสดงความคิดเห็น

ช่างปูนปั้นเมืองเพชร รังสรรค์ผลงานสร้างความฮือฮาอีกครั้ง ร่วมกันทำประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรอบโบสถ์วัดเขาย้อย 3 ภาพ ติดแผ่นทองเหลืองเป็นอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป ให้ผู้พิการตาบอดลูบคลำ และเรียนรู้ความหมาย ชี้เป็นแห่งแรกของโลก..

เด็กๆพิการทางสายตาสัมผัสประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรอบโบสถ์วัดเขาย้อย พร้อมอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 15 ม.ค. 59 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าที่วัดเขาย้อย หมู่ 5 ต.เขาย้อย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี มีศิลปินชาวเพชรบุรีได้สร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ โดยการทำประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำ เป็นรูปเรื่องราวของประเพณีและการละเล่นของไทย พร้อมมีการนำอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ผู้พิการทางสายตาใช้สื่อสารจากการสัมผัส มาสื่อความหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้รับทราบความหมายของรูป เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ทั้งนี้ สถานที่จัดตั้งงานศิลปะปูนปั้นอักษรเบรลล์แห่งแรกของประเทศไทย อยู่บริเวณฐานพระอุโบสถ ซึ่งสร้างด้วยไม้สักของวัดเขาย้อย ปรากฏเป็นประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำโดยรอบจำนวนรวม 35 ภาพ โดยฝั่งทิศเหนือเป็นรูปการละเล่นของไทยสมัยโบราณ อาทิ หัวล้านชนกัน รีรีข้าวสาร ชักกะเย่อ จำนวน 18 รูป ส่วนทิศใต้เป็นภาพประเพณีของไทย อาทิ สงกรานต์ ก่อเจดีย์ทราย บวชนาค จำนวน 17 รูป ที่ใต้รูปปูนปั้นแต่ละรูปจะมีการติดแผ่นทองเหลืองดุนนูน เป็นจุดตัวอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป แต่ละรูปชัดเจน

นอกจากนี้ บริเวณทางขึ้นด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถ ยังประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นลอยองค์รูปพญานาค 7 เศียร และจัดทำทางลาดขึ้นลงเพื่อให้ผู้พิการที่ต้องใช้รถวีลแชร์เข้าไปสักการะพระประธาน พร้อมชื่นชมความงามของภาพแกะสลักไม้เรื่องราวพุทธประวัติด้านใน และโดยรอบระเบียงพระอุโบสถได้อย่างสะดวก

ขณะที่ ผู้สื่อข่าวกำลังชื่นชมความงามของพระอุโบสถ และดูรายละเอียดภาพปูนปั้นอยู่นั้น ได้มีนักเรียนผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนธรรมิกวิทยาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มากัน 14 คน นำโดย นางอัญชลิกา ตนานนท์ อาจารย์สอนภาษาเบรลล์ โรงเรียนธรรมิกวิทยา เดินดูผลงานปูนปั้น อักษรเบรลล์ดังกล่าว โดยเด็กนักเรียนผู้พิการทางสายตา และอาจารย์ที่นำมา ได้แสดงความตื่นเต้นยินดีกับผลงานนี้อย่างมาก

นายธานินทร์ ชื่นใจ หรือ ช่างน้อง ช่างลายรดน้ำและศิลปินร่วมสมัยจังหวัดเพชรบุรี ผู้ออกแบบประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำและอักษรเบรลล์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้พระครูไพบูล พัฒนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเขาย้อย ได้มอบหมายให้ตน และ นายสำรวย เอมโอษฐ์ ช่างปั้นปูนชื่อดังเมืองเพชรบุรีเข้ามาซ่อมแซม และสร้างพระอุโบสถที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยก่อนหน้านี้มีช่างปั้นรูปพญานาคที่บริเวณทางขึ้นหน้าหลังพระอุโบสถสวยงามหาชมได้ยาก แต่ตนเห็นว่าพื้นที่บริเวณฐานพระอุโบสถมีความชำรุดเสียหาย สภาพไม่สมบูรณ์ จึงเสนอแนวคิด ทำการแก้ไขโดยร่วมกับพระมหาทรัพย์ พระลูกวัดเขาย้อย ออกแบบประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำและอักษรเบรลล์ ดังกล่าว

เด็กๆพิการทางสายตาสัมผัสประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรอบโบสถ์วัดเขาย้อย พร้อมอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป

สำหรับวัตถุประสงค์ ก็เพื่อต้องการเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตา ที่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสทราบถึงเรื่องราวของภาพจากการลูบคลำปูนปั้นลอยตัว และทราบความหมายของภาพโดยการสะกดจากตัวอักษรเบรลล์ จากนั้นจึงได้ขยายความคิดให้ นายสมชาย แย้มรัศมี ช่างปั้นรูปนูนต่ำ และได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์โรงเรียนเขาย้อยวิทยา และโรงเรียนธรรมิกวิทยาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำตัวอักษรเบรลล์นำมาติดตั้ง โดยรวมแล้วใช้งบประมาณในการสร้างพระอุโบสถครั้งนี้ทั้งหมดกว่า 25 ล้านบาท

"ในอนาคตอยากขยายโอกาสการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้สร้างความสำคัญให้กับตนเองเทียบเท่าบุคคลปกติ โดยตั้งหวังว่า เมื่อผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสลูบคลำและเรียนรู้ความหมายแล้ว จะขยายโอกาสสร้างศักยภาพให้ตนเองโดยการฝึกทำ ฝึกปั้น และใช้จินตนาการของตนสร้างชิ้นงานขึ้นมา ไม่แน่ในอนาคตเพชรบุรีอาจจะมีช่างปั้นฝีมือระดับชาติที่เป็นผู้พิการทางสายตาก็ได้" นายธานินทร์กล่าว

ด้าน นางอัญชลิกา ตนานนท์ อาจารย์สอนภาษาเบรลล์ โรงเรียนธรรมิกวิทยาจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่มีผู้เห็นความสำคัญของผู้พิการทางสายตา และดีใจที่มีคนรู้จักอักษรเบรลล์ ขอบคุณที่ทำให้ทุกๆ คนรู้จักอักษรเบรลล์มากขึ้น การทำปูนปั้นและมีอักษรเบรลล์ประกอบจะเป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตา ที่จากเดิมสามารถลูบคลำและต้องจินตนาการไปเองว่า เป็นรูปเรื่องราวชื่ออะไร หรือต้องคอยสอบถามจากบุคคลที่สามารถมองเห็นจึงได้คำตอบ การปั้นรูปและอักษรเบรลล์ไปพร้อมกันเช่นนี้ จึงทำให้ผู้พิการสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง และรู้สึกมีความสำคัญในการช่วยตัวเองมากขึ้น "ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นชิ้นงานลักษณะแบบนี้มาก่อน ผลงานนี้จึงนับได้ว่าเป็นงานประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำ และอักษรเบรลล์แห่งแรกของโลก" อาจารย์สอนภาษาเบรลล์ กล่าว.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/563339

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 19/01/2559 เวลา 11:10:44 ดูภาพสไลด์โชว์ ฮือฮา ปูนปั้นเพื่อคนตาบอด! ติดอักษรเบรลล์ ผลงานศิลปินเมืองเพชร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ช่างปูนปั้นเมืองเพชร รังสรรค์ผลงานสร้างความฮือฮาอีกครั้ง ร่วมกันทำประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรอบโบสถ์วัดเขาย้อย 3 ภาพ ติดแผ่นทองเหลืองเป็นอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป ให้ผู้พิการตาบอดลูบคลำ และเรียนรู้ความหมาย ชี้เป็นแห่งแรกของโลก.. เด็กๆพิการทางสายตาสัมผัสประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรอบโบสถ์วัดเขาย้อย พร้อมอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 15 ม.ค. 59 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าที่วัดเขาย้อย หมู่ 5 ต.เขาย้อย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี มีศิลปินชาวเพชรบุรีได้สร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ โดยการทำประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำ เป็นรูปเรื่องราวของประเพณีและการละเล่นของไทย พร้อมมีการนำอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ผู้พิการทางสายตาใช้สื่อสารจากการสัมผัส มาสื่อความหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้รับทราบความหมายของรูป เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทั้งนี้ สถานที่จัดตั้งงานศิลปะปูนปั้นอักษรเบรลล์แห่งแรกของประเทศไทย อยู่บริเวณฐานพระอุโบสถ ซึ่งสร้างด้วยไม้สักของวัดเขาย้อย ปรากฏเป็นประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำโดยรอบจำนวนรวม 35 ภาพ โดยฝั่งทิศเหนือเป็นรูปการละเล่นของไทยสมัยโบราณ อาทิ หัวล้านชนกัน รีรีข้าวสาร ชักกะเย่อ จำนวน 18 รูป ส่วนทิศใต้เป็นภาพประเพณีของไทย อาทิ สงกรานต์ ก่อเจดีย์ทราย บวชนาค จำนวน 17 รูป ที่ใต้รูปปูนปั้นแต่ละรูปจะมีการติดแผ่นทองเหลืองดุนนูน เป็นจุดตัวอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป แต่ละรูปชัดเจน นอกจากนี้ บริเวณทางขึ้นด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถ ยังประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นลอยองค์รูปพญานาค 7 เศียร และจัดทำทางลาดขึ้นลงเพื่อให้ผู้พิการที่ต้องใช้รถวีลแชร์เข้าไปสักการะพระประธาน พร้อมชื่นชมความงามของภาพแกะสลักไม้เรื่องราวพุทธประวัติด้านใน และโดยรอบระเบียงพระอุโบสถได้อย่างสะดวก ขณะที่ ผู้สื่อข่าวกำลังชื่นชมความงามของพระอุโบสถ และดูรายละเอียดภาพปูนปั้นอยู่นั้น ได้มีนักเรียนผู้พิการทางสายตาจากโรงเรียนธรรมิกวิทยาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มากัน 14 คน นำโดย นางอัญชลิกา ตนานนท์ อาจารย์สอนภาษาเบรลล์ โรงเรียนธรรมิกวิทยา เดินดูผลงานปูนปั้น อักษรเบรลล์ดังกล่าว โดยเด็กนักเรียนผู้พิการทางสายตา และอาจารย์ที่นำมา ได้แสดงความตื่นเต้นยินดีกับผลงานนี้อย่างมาก นายธานินทร์ ชื่นใจ หรือ ช่างน้อง ช่างลายรดน้ำและศิลปินร่วมสมัยจังหวัดเพชรบุรี ผู้ออกแบบประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำและอักษรเบรลล์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้พระครูไพบูล พัฒนโสภณ เจ้าอาวาสวัดเขาย้อย ได้มอบหมายให้ตน และ นายสำรวย เอมโอษฐ์ ช่างปั้นปูนชื่อดังเมืองเพชรบุรีเข้ามาซ่อมแซม และสร้างพระอุโบสถที่ยังไม่แล้วเสร็จ โดยก่อนหน้านี้มีช่างปั้นรูปพญานาคที่บริเวณทางขึ้นหน้าหลังพระอุโบสถสวยงามหาชมได้ยาก แต่ตนเห็นว่าพื้นที่บริเวณฐานพระอุโบสถมีความชำรุดเสียหาย สภาพไม่สมบูรณ์ จึงเสนอแนวคิด ทำการแก้ไขโดยร่วมกับพระมหาทรัพย์ พระลูกวัดเขาย้อย ออกแบบประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำและอักษรเบรลล์ ดังกล่าว เด็กๆพิการทางสายตาสัมผัสประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำรอบโบสถ์วัดเขาย้อย พร้อมอักษรเบรลล์บรรยายชื่อรูป สำหรับวัตถุประสงค์ ก็เพื่อต้องการเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตา ที่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสทราบถึงเรื่องราวของภาพจากการลูบคลำปูนปั้นลอยตัว และทราบความหมายของภาพโดยการสะกดจากตัวอักษรเบรลล์ จากนั้นจึงได้ขยายความคิดให้ นายสมชาย แย้มรัศมี ช่างปั้นรูปนูนต่ำ และได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์โรงเรียนเขาย้อยวิทยา และโรงเรียนธรรมิกวิทยาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำตัวอักษรเบรลล์นำมาติดตั้ง โดยรวมแล้วใช้งบประมาณในการสร้างพระอุโบสถครั้งนี้ทั้งหมดกว่า 25 ล้านบาท "ในอนาคตอยากขยายโอกาสการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาได้สร้างความสำคัญให้กับตนเองเทียบเท่าบุคคลปกติ โดยตั้งหวังว่า เมื่อผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสลูบคลำและเรียนรู้ความหมายแล้ว จะขยายโอกาสสร้างศักยภาพให้ตนเองโดยการฝึกทำ ฝึกปั้น และใช้จินตนาการของตนสร้างชิ้นงานขึ้นมา ไม่แน่ในอนาคตเพชรบุรีอาจจะมีช่างปั้นฝีมือระดับชาติที่เป็นผู้พิการทางสายตาก็ได้" นายธานินทร์กล่าว ด้าน นางอัญชลิกา ตนานนท์ อาจารย์สอนภาษาเบรลล์ โรงเรียนธรรมิกวิทยาจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่มีผู้เห็นความสำคัญของผู้พิการทางสายตา และดีใจที่มีคนรู้จักอักษรเบรลล์ ขอบคุณที่ทำให้ทุกๆ คนรู้จักอักษรเบรลล์มากขึ้น การทำปูนปั้นและมีอักษรเบรลล์ประกอบจะเป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตา ที่จากเดิมสามารถลูบคลำและต้องจินตนาการไปเองว่า เป็นรูปเรื่องราวชื่ออะไร หรือต้องคอยสอบถามจากบุคคลที่สามารถมองเห็นจึงได้คำตอบ การปั้นรูปและอักษรเบรลล์ไปพร้อมกันเช่นนี้ จึงทำให้ผู้พิการสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง และรู้สึกมีความสำคัญในการช่วยตัวเองมากขึ้น "ที่ผ่านมาไม่เคยเห็นชิ้นงานลักษณะแบบนี้มาก่อน ผลงานนี้จึงนับได้ว่าเป็นงานประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำ และอักษรเบรลล์แห่งแรกของโลก" อาจารย์สอนภาษาเบรลล์ กล่าว. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/563339

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...