"โยกเยก" ม้าโยกสร้างสรรค์ให้เด็กพิการฝึกโยก

แสดงความคิดเห็น

สร้างโลกความสุขแก่เด็กพิการซ้ำซ้อน ด้วย "โยกเยก" นวัตกรรมของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อขา ผลงานนักศึกษา มจธ. คว้ารางวัลที่ 2 เวที i-CREATEd เมืองลอดช่องด้วยความเก๋โยกได้ 2 ด้านทั้งโยกหน้าหลังและรอบทิศทางกรรมการต่างชาติชมเปาะน่าผลักดันเข้าบริษัทนินเทนโด

ชวิศา พงษ์อำไพ, นีรัมพร ศิริจงกล และฐิตินันท์ แซ่ฉั่ว นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นีรัมพร ศิริจงกล นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า โยกเยก คือม้าโยกสร้างสรรค์ในรูปแบบแปลกใหม่ ซึ่งเธอและทีมทำขึ้นให้เด็กพิการซ้ำซ้อนกลุ่มกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง อายุ 6-12 ปี ได้เล่นฝึกกล้ามเนื้อขา เพื่อแก้อาการทรงตัวไม่สมดุล เดินไม่ถนัด ที่เกิดจากการสั่งการทางสมองที่ผิดปกติและการขาดการออกกำลัง

นีรัมพร เผยว่า จุดเริ่มต้นของโยกเยกมาจากโครงงานตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 ที่อาจารย์พยายามให้นักศึกษาออกแบบและสร้างนวัตกรรมเพื่อคนพิการ เธอและเพื่อนจึงออกไปหาแรงบันดาลใจ โดยการเข้าไปคลุกคลีกับเด็กพิการซ้ำซ้อนที่บ้านศรีสังวาลย์ ซึ่งพฤติกรรมของเด็กบางอย่างทำให้พวกเธอเกิดไอเดีย จนถึงกลับมาค้นคว้าเพิ่มและเกิดการร่างแบบเป็นนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา

"ที่หนูไปดูเด็กๆ ที่บ้านศรีสังวาลย์ หนูเห็นน้องเขาชอบนั่งชิงช้าค่ะ น่าจะเป็นสิ่งเดียวที่ชอบทำแบบไม่ต้องบังคับด้วย แต่ถ้านั่งสังเกตดีๆ เด็กๆ เหล่านี้เขาจะไม่แกว่งชิงช้าเหมือนเด็กปกติที่ใช้มือหรือเท้าช่วยแกว่ง แต่เขาแกว่งตัวเพื่อให้ชิงช้าเคลื่อน เราจึงกลับไปค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วก็พบว่ามีทฤษฎีหนึ่งที่ระบุว่าเด็กลักษณะนี้มีพฤติกรรมชอบแกว่งตัวเองจึงนำมาใช้เป็นเป้าหมายหลักในการออกแบบ"

ฐิตินันท์ แซ่ฉั่ว สมาชิกอีกคนในทีมกล่าวเพิ่มเติมว่า กว่าจะมาเป็นโยกเยกรุ่นปัจจุบันก่อนหน้านั้นเธอทำขึ้นมาหลายแบบ แต่ทุกแบบจะมีส่วนเหมือนกันที่รูปร่างโค้งและมีเสาจับเพราะวิจัยมาแล้วว่าเป็นท่าที่ช่วยให้เกิดการทรงตัวและใช้แรงขามากที่สุด โดยรูปแบบที่นำไปประกวดจนได้รับรางวัลเหรียญเงิน ด้านผลงานด้านการออกกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและสูงอายุจากเวที i-CREATEd เป็นโยกเยกที่มีรูปทรงคล้ายเป็ด ที่ทำขึ้นจากไฟเบอร์กลาสน้ำหนักประมาณ12กิโลกรัมมีลำตัวที่นั่งสีขาวและมีส่วนเสาที่คล้ายคอเป็ดเป็นสีเหลืองสดใส

อุปกรณ์ลดแรงเสียดทานถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้การเล่นชิ้นงานทั้งสองด้านทำได้สะดวกขึ้น

"จุดเด่นของอยู่ที่สามารถเล่นได้ทั้ง 2 ด้านค่ะ ด้านแรกคือโยกหน้าหลังปกติ แต่เมื่อคว่ำกลับอีกข้างจะโยกได้แบบรอบทิศทางเลย สามารถถอดเบาะ ถอดคอได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องกลัวเสียหาย เพราะวัสดุที่ใช้มีความแข็งแรง และเรายังได้ออกแบบอุปกรณ์ลดแรงเสียดทานที่เป็นแผ่นยางรองรับเข้าไปด้วย เวลาเด็กๆ เล่นเขาก็จะกอดคอเป็ดแล้วใช้ขาโยกไปพร้อมๆ กับการทรงตัว จึงเหมาะกับเด็กพิการซ้ำซ้อนที่เขาไม่มีแรงขา แต่เด็กปกติก็เล่นได้เช่นกัน"

อย่างไรก็ดี ฐิตินันท์ เผยว่า ยังไม่มีการวิจัยทางการแพทย์รับรองว่าการเล่นโยกเยกทำให้กล้ามเนื้อขาของเด็กพิการพัฒนาขึ้นจริง แต่จากการสังเกตของนักกายภาพบำบัดที่บ้านเด็กพิการซ้ำซ้อนรามอินทราระบุว่า โยกเยกทำให้เด็กมีความถี่ในการใช้ขามากขึ้น ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับการทำงานเพิ่มจำนวนของมวลกล้ามเนื้อ โดยในอนาคตอันใกล้จะติดวงจรไจโร และใส่วงจรเสียงเพิ่มเพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้ว่ากำลังโยกไปในทิศทางไหนเพื่อพัฒนาประสาทสมองด้วย

"ตอนนำไปประกวดได้รับเสียงตอบรับดีมากค่ะ กรรมการที่สิงคโปร์ยังแนะนำให้นินเทนโดเอาไปจดลิขสิทธิ์แต่ก็ยังเป็นเรื่องของอนาคตค่ะ แต่ที่แน่ๆ คือจะผลิตในเชิงพาณิชย์เพราะรูปแบบทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยชัดเจนแล้ว คาดว่าจะมีราคาขายอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท และจะพยายามไม่ให้สูงไปกว่านี้เพื่อจะได้เข้าถึงได้ทุกระดับทั้งโรงเรียนเด็กพิการ สถานสงเคราะห์ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนเด็กนักเรียนทั่วไป" ฐิตินันท์ กล่าวทิ้งท้ายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105443 (ขนาดไฟล์: 168)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 22/09/2558 เวลา 11:42:55 ดูภาพสไลด์โชว์ "โยกเยก" ม้าโยกสร้างสรรค์ให้เด็กพิการฝึกโยก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สร้างโลกความสุขแก่เด็กพิการซ้ำซ้อน ด้วย "โยกเยก" นวัตกรรมของเล่นพัฒนากล้ามเนื้อขา ผลงานนักศึกษา มจธ. คว้ารางวัลที่ 2 เวที i-CREATEd เมืองลอดช่องด้วยความเก๋โยกได้ 2 ด้านทั้งโยกหน้าหลังและรอบทิศทางกรรมการต่างชาติชมเปาะน่าผลักดันเข้าบริษัทนินเทนโด ชวิศา พงษ์อำไพ, นีรัมพร ศิริจงกล และฐิตินันท์ แซ่ฉั่ว นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นีรัมพร ศิริจงกล นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า โยกเยก คือม้าโยกสร้างสรรค์ในรูปแบบแปลกใหม่ ซึ่งเธอและทีมทำขึ้นให้เด็กพิการซ้ำซ้อนกลุ่มกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง อายุ 6-12 ปี ได้เล่นฝึกกล้ามเนื้อขา เพื่อแก้อาการทรงตัวไม่สมดุล เดินไม่ถนัด ที่เกิดจากการสั่งการทางสมองที่ผิดปกติและการขาดการออกกำลัง นีรัมพร เผยว่า จุดเริ่มต้นของโยกเยกมาจากโครงงานตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 ที่อาจารย์พยายามให้นักศึกษาออกแบบและสร้างนวัตกรรมเพื่อคนพิการ เธอและเพื่อนจึงออกไปหาแรงบันดาลใจ โดยการเข้าไปคลุกคลีกับเด็กพิการซ้ำซ้อนที่บ้านศรีสังวาลย์ ซึ่งพฤติกรรมของเด็กบางอย่างทำให้พวกเธอเกิดไอเดีย จนถึงกลับมาค้นคว้าเพิ่มและเกิดการร่างแบบเป็นนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา "ที่หนูไปดูเด็กๆ ที่บ้านศรีสังวาลย์ หนูเห็นน้องเขาชอบนั่งชิงช้าค่ะ น่าจะเป็นสิ่งเดียวที่ชอบทำแบบไม่ต้องบังคับด้วย แต่ถ้านั่งสังเกตดีๆ เด็กๆ เหล่านี้เขาจะไม่แกว่งชิงช้าเหมือนเด็กปกติที่ใช้มือหรือเท้าช่วยแกว่ง แต่เขาแกว่งตัวเพื่อให้ชิงช้าเคลื่อน เราจึงกลับไปค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วก็พบว่ามีทฤษฎีหนึ่งที่ระบุว่าเด็กลักษณะนี้มีพฤติกรรมชอบแกว่งตัวเองจึงนำมาใช้เป็นเป้าหมายหลักในการออกแบบ" ฐิตินันท์ แซ่ฉั่ว สมาชิกอีกคนในทีมกล่าวเพิ่มเติมว่า กว่าจะมาเป็นโยกเยกรุ่นปัจจุบันก่อนหน้านั้นเธอทำขึ้นมาหลายแบบ แต่ทุกแบบจะมีส่วนเหมือนกันที่รูปร่างโค้งและมีเสาจับเพราะวิจัยมาแล้วว่าเป็นท่าที่ช่วยให้เกิดการทรงตัวและใช้แรงขามากที่สุด โดยรูปแบบที่นำไปประกวดจนได้รับรางวัลเหรียญเงิน ด้านผลงานด้านการออกกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและสูงอายุจากเวที i-CREATEd เป็นโยกเยกที่มีรูปทรงคล้ายเป็ด ที่ทำขึ้นจากไฟเบอร์กลาสน้ำหนักประมาณ12กิโลกรัมมีลำตัวที่นั่งสีขาวและมีส่วนเสาที่คล้ายคอเป็ดเป็นสีเหลืองสดใส อุปกรณ์ลดแรงเสียดทานถูกออกแบบขึ้นเพื่อให้การเล่นชิ้นงานทั้งสองด้านทำได้สะดวกขึ้น "จุดเด่นของอยู่ที่สามารถเล่นได้ทั้ง 2 ด้านค่ะ ด้านแรกคือโยกหน้าหลังปกติ แต่เมื่อคว่ำกลับอีกข้างจะโยกได้แบบรอบทิศทางเลย สามารถถอดเบาะ ถอดคอได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องกลัวเสียหาย เพราะวัสดุที่ใช้มีความแข็งแรง และเรายังได้ออกแบบอุปกรณ์ลดแรงเสียดทานที่เป็นแผ่นยางรองรับเข้าไปด้วย เวลาเด็กๆ เล่นเขาก็จะกอดคอเป็ดแล้วใช้ขาโยกไปพร้อมๆ กับการทรงตัว จึงเหมาะกับเด็กพิการซ้ำซ้อนที่เขาไม่มีแรงขา แต่เด็กปกติก็เล่นได้เช่นกัน" อย่างไรก็ดี ฐิตินันท์ เผยว่า ยังไม่มีการวิจัยทางการแพทย์รับรองว่าการเล่นโยกเยกทำให้กล้ามเนื้อขาของเด็กพิการพัฒนาขึ้นจริง แต่จากการสังเกตของนักกายภาพบำบัดที่บ้านเด็กพิการซ้ำซ้อนรามอินทราระบุว่า โยกเยกทำให้เด็กมีความถี่ในการใช้ขามากขึ้น ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับการทำงานเพิ่มจำนวนของมวลกล้ามเนื้อ โดยในอนาคตอันใกล้จะติดวงจรไจโร และใส่วงจรเสียงเพิ่มเพื่อให้เด็กเกิดการรับรู้ว่ากำลังโยกไปในทิศทางไหนเพื่อพัฒนาประสาทสมองด้วย "ตอนนำไปประกวดได้รับเสียงตอบรับดีมากค่ะ กรรมการที่สิงคโปร์ยังแนะนำให้นินเทนโดเอาไปจดลิขสิทธิ์แต่ก็ยังเป็นเรื่องของอนาคตค่ะ แต่ที่แน่ๆ คือจะผลิตในเชิงพาณิชย์เพราะรูปแบบทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยชัดเจนแล้ว คาดว่าจะมีราคาขายอยู่ที่ประมาณ 3,000-5,000 บาท และจะพยายามไม่ให้สูงไปกว่านี้เพื่อจะได้เข้าถึงได้ทุกระดับทั้งโรงเรียนเด็กพิการ สถานสงเคราะห์ หรือแม้กระทั่งโรงเรียนเด็กนักเรียนทั่วไป" ฐิตินันท์ กล่าวทิ้งท้ายแก่ทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000105443

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...