มทร.ธัญบุรี คิดค้น “นวัตกรรมสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน” หนังสือดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ

แสดงความคิดเห็น

เราเห็นเทคโนโลยีไอที ที่เต็มไปด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์มากมาย ประกอบกับเหตุผลสำคัญที่สื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ที่พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบจากตัวหนังสือบนกระดาษ มาสู่ตัวอักษรดิจิทัลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่เข้าถึงผู้คนได้เกือบทุกกลุ่ม และจะดีแค่ไหนถ้าสามารถเข้าถึงกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้ที่มากกว่าบุคคลทั่วไป ให้มีโอกาสได้เข้าถึง เกิดการรับรู้และเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างบุคคลทั่วไป

หนังสือดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ “นวัตกรรมสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน”

นายพงศ์ธร เพ็งดิลก นักศึกษาผู้พิการทางการได้ยิน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จึงได้คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ใน โปรเจกต์ “สื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครด้วยภาษามือ” สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยมีอาจารย์วสันต์ สอนเขียว อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยี การพิมพ์ มทร.ธัญบุรี เป็นที่ปรึกษา

“จากข้อจำกัดในการรับรู้ของตนเอง ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมีปัญหาในการพูดและสื่อสาร คือ พูดได้น้อย ขาดความไม่ชัด ทำให้คู่สนทนาด้วยไม่เข้าใจ จึงต้องใช้ภาษามือหรือท่าทางประกอบการพูด ใช้การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกายทำเป็นสัญลักษณ์ รวมถึงการแสดงความรู้สึกทางใบหน้า เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารและการตีความ ซึ่งผู้บกพร่องทางการได้ยินนี้ จะมีความต้องการพิเศษทางการศึกษาและการใช้ชีวิต ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือมีนวัตกรรมช่วยอำนวยความสะดวก จึงได้คิดค้นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา ในรูปแบบของหนังสือดิจิทัล โดยจัดทำเป็น คู่มือหนังสือท่องเที่ยว : กรุงเทพมหานคร Thailand Travel Book Guide:Bangkok”พงศ์ธรกล่าว

จุดเด่นของหนังสือดิจิทัลนี้ อยู่ตรงที่การออกแบบสื่อให้มีความน่าสนใจ มีการนำเสนอรูปภาพแบบเป็นชุดมาเรียงต่อ ๆ กัน รวมเป็นภาพใหญ่ภาพเดียว (Panorama) ในลักษณะภาพนิ่ง มุม 180 และ 360 องศา มีภาษามือประกอบ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีเสียงบรรยายภาษาไทย โดยเลือกนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ที่ขึ้นชื่อ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีความงดงามทางด้านศิลปะ ทั้งหมด 7 แห่ง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณ ราชวรารามราชวรวิหาร (วัดแจ้ง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครและศาลเจ้าพ่อเสือ

นอกจากนี้ หนังสือดิจิทัลยังนำเสนอ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และคำศัพท์ภาษามือต่าง ๆพร้อมด้วยความหมายและคำอธิบาย เช่นคำว่า เจดีย์ เรือ เสาชิงช้า ไหว้พระ แม่น้ำ พวงมาลัย ธรรมะ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้แสดงผลบนแท็บเล็ต ซึ่งมีทั้งหมดรวม 50 หน้า สามารถอ่านผ่านโปรแกรม Adobe ContentViewer

พงศ์ธร อธิบายถึงขั้นตอนการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นจากการถ่ายทำวีดิโอภาษามือ ถ่ายภาพนิ่งสถานที่ท่องเที่ยว แล้วมาตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CC 2014 ตัดต่อภาพ Panorama และแปลงภาพ หลังจากนั้นออกแบบปกหนังสือ และโลโก้เครื่องมือต่าง ๆ จากนั้นสร้างสื่อหนังสือดิจิทัลด้วยโปรแกรม Adobe InDesign CC 2014 และทดสอบการแสดงผลของเนื้อหาบนอุปกรณ์มือถือหรือไอแพด แล้วจึงนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ผู้พิการทางการได้ยิน ทดลองใช้งาน แล้วจึงนำความคิดเห็นมาปรับแก้ เพื่อให้ได้ผลงานตรงตามความต้องการ เป็นประโยชน์จริงและมีคุณภาพ ทั้งในองค์ประกอบด้านสื่อเทคนิคมัลติมีเดียและการออกแบบด้านเนื้อหา

“ความพิการทางการได้ยิน ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในการคิดสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมหรือปิดกั้นการเรียนรู้ การติดต่อสื่อสารแต่อย่างใด ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมหวังว่าหนังสือดิจิทัลนี้จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้พิการทางการได้ยิน และเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาต่อยอดเพื่อผู้พิการต่อไป” เจ้าของผลงาน กล่าว ผู้สนใจและต้องการใช้นวัตกรรมนี้ สอบถามเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่ 02 549 4500 หรือ 084 6447191

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/prg/2233119

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ส.ค.58
วันที่โพสต์: 21/08/2558 เวลา 09:48:22 ดูภาพสไลด์โชว์ มทร.ธัญบุรี คิดค้น “นวัตกรรมสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน” หนังสือดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เราเห็นเทคโนโลยีไอที ที่เต็มไปด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์มากมาย ประกอบกับเหตุผลสำคัญที่สื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ที่พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบจากตัวหนังสือบนกระดาษ มาสู่ตัวอักษรดิจิทัลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่เข้าถึงผู้คนได้เกือบทุกกลุ่ม และจะดีแค่ไหนถ้าสามารถเข้าถึงกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้ที่มากกว่าบุคคลทั่วไป ให้มีโอกาสได้เข้าถึง เกิดการรับรู้และเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างบุคคลทั่วไป หนังสือดิจิทัลเพื่อการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ “นวัตกรรมสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน” นายพงศ์ธร เพ็งดิลก นักศึกษาผู้พิการทางการได้ยิน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี จึงได้คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ใน โปรเจกต์ “สื่ออิเล็กทรอนิกส์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครด้วยภาษามือ” สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โดยมีอาจารย์วสันต์ สอนเขียว อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยี การพิมพ์ มทร.ธัญบุรี เป็นที่ปรึกษา “จากข้อจำกัดในการรับรู้ของตนเอง ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งมีปัญหาในการพูดและสื่อสาร คือ พูดได้น้อย ขาดความไม่ชัด ทำให้คู่สนทนาด้วยไม่เข้าใจ จึงต้องใช้ภาษามือหรือท่าทางประกอบการพูด ใช้การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกายทำเป็นสัญลักษณ์ รวมถึงการแสดงความรู้สึกทางใบหน้า เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารและการตีความ ซึ่งผู้บกพร่องทางการได้ยินนี้ จะมีความต้องการพิเศษทางการศึกษาและการใช้ชีวิต ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ หรือมีนวัตกรรมช่วยอำนวยความสะดวก จึงได้คิดค้นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา ในรูปแบบของหนังสือดิจิทัล โดยจัดทำเป็น คู่มือหนังสือท่องเที่ยว : กรุงเทพมหานคร Thailand Travel Book Guide:Bangkok”พงศ์ธรกล่าว จุดเด่นของหนังสือดิจิทัลนี้ อยู่ตรงที่การออกแบบสื่อให้มีความน่าสนใจ มีการนำเสนอรูปภาพแบบเป็นชุดมาเรียงต่อ ๆ กัน รวมเป็นภาพใหญ่ภาพเดียว (Panorama) ในลักษณะภาพนิ่ง มุม 180 และ 360 องศา มีภาษามือประกอบ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีเสียงบรรยายภาษาไทย โดยเลือกนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ที่ขึ้นชื่อ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีความงดงามทางด้านศิลปะ ทั้งหมด 7 แห่ง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณ ราชวรารามราชวรวิหาร (วัดแจ้ง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร เสาชิงช้า ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครและศาลเจ้าพ่อเสือ นอกจากนี้ หนังสือดิจิทัลยังนำเสนอ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ และคำศัพท์ภาษามือต่าง ๆพร้อมด้วยความหมายและคำอธิบาย เช่นคำว่า เจดีย์ เรือ เสาชิงช้า ไหว้พระ แม่น้ำ พวงมาลัย ธรรมะ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้แสดงผลบนแท็บเล็ต ซึ่งมีทั้งหมดรวม 50 หน้า สามารถอ่านผ่านโปรแกรม Adobe ContentViewer พงศ์ธร อธิบายถึงขั้นตอนการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มต้นจากการถ่ายทำวีดิโอภาษามือ ถ่ายภาพนิ่งสถานที่ท่องเที่ยว แล้วมาตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CC 2014 ตัดต่อภาพ Panorama และแปลงภาพ หลังจากนั้นออกแบบปกหนังสือ และโลโก้เครื่องมือต่าง ๆ จากนั้นสร้างสื่อหนังสือดิจิทัลด้วยโปรแกรม Adobe InDesign CC 2014 และทดสอบการแสดงผลของเนื้อหาบนอุปกรณ์มือถือหรือไอแพด แล้วจึงนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ผู้พิการทางการได้ยิน ทดลองใช้งาน แล้วจึงนำความคิดเห็นมาปรับแก้ เพื่อให้ได้ผลงานตรงตามความต้องการ เป็นประโยชน์จริงและมีคุณภาพ ทั้งในองค์ประกอบด้านสื่อเทคนิคมัลติมีเดียและการออกแบบด้านเนื้อหา “ความพิการทางการได้ยิน ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในการคิดสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมหรือปิดกั้นการเรียนรู้ การติดต่อสื่อสารแต่อย่างใด ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมหวังว่าหนังสือดิจิทัลนี้จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้พิการทางการได้ยิน และเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาต่อยอดเพื่อผู้พิการต่อไป” เจ้าของผลงาน กล่าว ผู้สนใจและต้องการใช้นวัตกรรมนี้ สอบถามเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่ 02 549 4500 หรือ 084 6447191 ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/prg/2233119

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...