“เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ฝีมือคนไทย ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้า เพิ่มคนพิการได้ยินเข้าถึง

แสดงความคิดเห็น

“เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ผลงานเด่นตลาดนัดนวัตกรรมทางการแพทย์ ได้มาตรฐานสากล ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าครึ่งหนึ่ง ช่วยผู้พิการการได้ยินเข้าถึงอุปกรณ์ เพิ่มคุณภาพชีวิต ด้าน สปสช. หนุนนำร่องให้ผู้พิการการได้ยินใช้ผ่านรพ.13แห่งเพื่อประเมิน

เครื่องช่วยฟังอินทิมา

ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้วิจัย “เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P02-INTIMA” กล่าวว่า เครื่องช่วยฟังดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมเด่นด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการนำเสนอในงาน “มหกรรมตลาดนัดนวัตกรรมการแพทย์ไทย ผลิตภัณฑ์จากแนวคิด สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์” ระหว่างวันที่ 18 - 20 ส.ค. ถือเป็นเครื่องช่วยฟังรุ่นแรกที่ผลิตโดยคนไทยและได้มาตรฐานสากล เพราะผ่านการทดสอบการใช้งานทางคลินิกแล้ว มีระบบควบคุมการผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 จนได้รับเครื่องหมาย CE โดยมีราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศครึ่งหนึ่ง จึงช่วยเพิ่มการเข้าถึงของผู้พิการทางการได้ยินมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามักมีปัญหาการเข้าถึงอุปกรณ์เพราะต้องนำเข้าและมีราคาแพง

“เครื่องช่วยฟังดังกล่าวที่ผลิตเป็นแบบกล่องพกพา เพราะใช้งานง่าย ทนทาน และประหยัดพลังงาน เพราะสามารถบรรจุแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ต่างจากรุ่นที่เป็นแบบทัดหูที่ต้องใช้ถ่านชนิดพิเศษราคาก้อนละ 50 บาท และใช้ได้เพียงแค่ 4 - 5 วัน ก็ต้องเปลี่ยน ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก และหาซื้อยาก แต่เครื่องต้นแบบมีขนาดใหญ่ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจึงอยากให้ผลิตในรุ่นที่เล็กลง เพราะไม่ต้องการคนให้เห็นความพิการ และความพิการการได้ยินมีหลายระดับแตกต่างกันไป จึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาให้เหมาะสมต่อการใช้งาน” ดร.พศิน กล่าวและว่า นอกจากการทดสอบประเมินประสิทธิภาพทางคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังสนับสนุนดำเนินโครงการนำร่องใช้กับผู้พิการการได้ยินในสิทธิบัตรทองจำนวน 1,000 เครื่อง พร้อมติดตามประเมินในโรงพยาบาล 13 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

ดร.พศิน กล่าวว่า การที่เครื่องช่วยฟังดังกล่าวได้รับการยอมรับและชูเป็นผลงานนวัตกรรมเด่น ในความรู้สึกส่วนตัว ก็คงเช่นเดียวกับนักวิจัย สวทช. ที่ต่างอยากเห็นผลงานพัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์กับคนไทยและประเทศชาติ ถือเป็นกำลังใจขั้นแรกและเป็นประสบการณ์ที่จะต่อยอดเพื่อพัฒนาคิดค้นผลงานนวัตกรรมต่อไป

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090857 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย14ส.ค.58
วันที่โพสต์: 17/08/2558 เวลา 11:56:43 ดูภาพสไลด์โชว์ “เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ฝีมือคนไทย ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้า เพิ่มคนพิการได้ยินเข้าถึง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

“เครื่องช่วยฟังอินทิมา” ผลงานเด่นตลาดนัดนวัตกรรมทางการแพทย์ ได้มาตรฐานสากล ราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าครึ่งหนึ่ง ช่วยผู้พิการการได้ยินเข้าถึงอุปกรณ์ เพิ่มคุณภาพชีวิต ด้าน สปสช. หนุนนำร่องให้ผู้พิการการได้ยินใช้ผ่านรพ.13แห่งเพื่อประเมิน เครื่องช่วยฟังอินทิมา ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะผู้วิจัย “เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P02-INTIMA” กล่าวว่า เครื่องช่วยฟังดังกล่าวเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมเด่นด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการนำเสนอในงาน “มหกรรมตลาดนัดนวัตกรรมการแพทย์ไทย ผลิตภัณฑ์จากแนวคิด สิ่งประดิษฐ์ด้านการแพทย์” ระหว่างวันที่ 18 - 20 ส.ค. ถือเป็นเครื่องช่วยฟังรุ่นแรกที่ผลิตโดยคนไทยและได้มาตรฐานสากล เพราะผ่านการทดสอบการใช้งานทางคลินิกแล้ว มีระบบควบคุมการผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 จนได้รับเครื่องหมาย CE โดยมีราคาถูกกว่าเครื่องนำเข้าจากต่างประเทศครึ่งหนึ่ง จึงช่วยเพิ่มการเข้าถึงของผู้พิการทางการได้ยินมากขึ้น เพราะที่ผ่านมามักมีปัญหาการเข้าถึงอุปกรณ์เพราะต้องนำเข้าและมีราคาแพง “เครื่องช่วยฟังดังกล่าวที่ผลิตเป็นแบบกล่องพกพา เพราะใช้งานง่าย ทนทาน และประหยัดพลังงาน เพราะสามารถบรรจุแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือ ต่างจากรุ่นที่เป็นแบบทัดหูที่ต้องใช้ถ่านชนิดพิเศษราคาก้อนละ 50 บาท และใช้ได้เพียงแค่ 4 - 5 วัน ก็ต้องเปลี่ยน ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก และหาซื้อยาก แต่เครื่องต้นแบบมีขนาดใหญ่ ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินจึงอยากให้ผลิตในรุ่นที่เล็กลง เพราะไม่ต้องการคนให้เห็นความพิการ และความพิการการได้ยินมีหลายระดับแตกต่างกันไป จึงเป็นโจทย์ในการพัฒนาให้เหมาะสมต่อการใช้งาน” ดร.พศิน กล่าวและว่า นอกจากการทดสอบประเมินประสิทธิภาพทางคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยังสนับสนุนดำเนินโครงการนำร่องใช้กับผู้พิการการได้ยินในสิทธิบัตรทองจำนวน 1,000 เครื่อง พร้อมติดตามประเมินในโรงพยาบาล 13 แห่ง ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ ดร.พศิน กล่าวว่า การที่เครื่องช่วยฟังดังกล่าวได้รับการยอมรับและชูเป็นผลงานนวัตกรรมเด่น ในความรู้สึกส่วนตัว ก็คงเช่นเดียวกับนักวิจัย สวทช. ที่ต่างอยากเห็นผลงานพัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์กับคนไทยและประเทศชาติ ถือเป็นกำลังใจขั้นแรกและเป็นประสบการณ์ที่จะต่อยอดเพื่อพัฒนาคิดค้นผลงานนวัตกรรมต่อไป ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090857

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...