พร้อมออกสู่ตลาด SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วยใช้เครื่อง SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด

จากข้อมูลขององค์การอัมพาตโลก (WSO) ระบุว่า ในปี 2554 มีคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตทั่วโลกประมาณ 6.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์, วัณโรคและมาลาเรียรวมกัน

ขณะที่เมืองไทย ในปี 2552 พบคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง สูงถึง 13,353 คน ในปี 2554 มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาต จำนวน 751,350 คน และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ด้วยโรคดังกล่าว เพิ่มขึ้น 2.45 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารได้ด้วยการพูดและเขียน

จอแส้งภาพของ พร้อมออกสู่ตลาด SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด SenzE จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถสื่อสารได้สะดวกขึ้น “ปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด เปิดเผยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวใช้เทคโนโลยี อายแทรกกิ้ง ซิสเต็ม (Eye Tracking System) ที่ใช้งานกับ ซอฟต์แวร์ภาษาไทย เครื่องแรกของโลก พัฒนาด้วยเทคนิคโอเพ่น ซีวี (Open CV) และอิมเมจ โพรเซสซิ่ง (Image Processing) หลักการทำงานของอุปกรณ์นี้คือ ใช้กล้องความละเอียดสูงตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาผู้ป่วย และใช้การกะพริบตา 2 ครั้ง แทนการออกคำสั่งเสมือนการกดเอ็นเทอร์ (Enter) ผู้ป่วยสามารถเลือกเมนูคำสั่งที่ต้องการ และพิมพ์ข้อความ เพื่อสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ SenzE มีความปลอดภัย เพราะถูกออกแบบมาไม่ให้มีการยึดติดกับตัวผู้ป่วยเลย

ปัจจุบันผ่านการทดสอบประสิทธิภาพกับผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 10 ราย ที่สถาบันประสาทวิทยา ภายใต้การควบคุมการทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปิยะศักดิ์ บอกว่า จากต้นแบบที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการนวัตกรรมวาณิชย์ ภาคค้นหา Thai IT Tycoon 2012 ของกระทรวงไอซีที และซิป้า และรางวัลรองชนะเลิศ True Innovation Awards 2012 ประเภท InnoTree

โมเดล พร้อมออกสู่ตลาด SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด ปัจจุบันมีการต่อยอดจนสามารถผลิตและพร้อมออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ โดยตลาดเป้าหมาย คือ โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีผู้ป่วยอัมพาตที่นอนพักรักษาตัว หรือต้องบำบัดฟื้นฟูที่บ้าน ตลอดจนผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการใกล้เคียง ที่มีปัญหาทางด้านการสื่อสารด้านการพูด และเขียน ปิยะศักดิ์ บอกอีกว่า ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารในลักษณะเช่นนี้มาก่อนในเมืองไทย และอุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีราคาแพงมาก คือประมาณชุดละ 300,000 บาท และไม่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทย ขณะที่ SenzE กำหนดราคาที่ถูกกว่าอุปกรณ์นำเข้าถึง 40% และเป้าหมายอนาคตคือการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะ 10 ประเทศในอาเซียนหลังเปิดเออีซี.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/202938

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 10/05/2556 เวลา 03:23:34 ดูภาพสไลด์โชว์ พร้อมออกสู่ตลาด SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วยใช้เครื่อง SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด จากข้อมูลขององค์การอัมพาตโลก (WSO) ระบุว่า ในปี 2554 มีคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตทั่วโลกประมาณ 6.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์, วัณโรคและมาลาเรียรวมกัน ขณะที่เมืองไทย ในปี 2552 พบคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง สูงถึง 13,353 คน ในปี 2554 มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาต จำนวน 751,350 คน และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ด้วยโรคดังกล่าว เพิ่มขึ้น 2.45 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารได้ด้วยการพูดและเขียน จอแส้งภาพของ พร้อมออกสู่ตลาด SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด SenzE จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถสื่อสารได้สะดวกขึ้น “ปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด เปิดเผยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวใช้เทคโนโลยี อายแทรกกิ้ง ซิสเต็ม (Eye Tracking System) ที่ใช้งานกับ ซอฟต์แวร์ภาษาไทย เครื่องแรกของโลก พัฒนาด้วยเทคนิคโอเพ่น ซีวี (Open CV) และอิมเมจ โพรเซสซิ่ง (Image Processing) หลักการทำงานของอุปกรณ์นี้คือ ใช้กล้องความละเอียดสูงตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาผู้ป่วย และใช้การกะพริบตา 2 ครั้ง แทนการออกคำสั่งเสมือนการกดเอ็นเทอร์ (Enter) ผู้ป่วยสามารถเลือกเมนูคำสั่งที่ต้องการ และพิมพ์ข้อความ เพื่อสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ SenzE มีความปลอดภัย เพราะถูกออกแบบมาไม่ให้มีการยึดติดกับตัวผู้ป่วยเลย ปัจจุบันผ่านการทดสอบประสิทธิภาพกับผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 10 ราย ที่สถาบันประสาทวิทยา ภายใต้การควบคุมการทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปิยะศักดิ์ บอกว่า จากต้นแบบที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการนวัตกรรมวาณิชย์ ภาคค้นหา Thai IT Tycoon 2012 ของกระทรวงไอซีที และซิป้า และรางวัลรองชนะเลิศ True Innovation Awards 2012 ประเภท InnoTree โมเดล พร้อมออกสู่ตลาด SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา – ฉลาดคิด ปัจจุบันมีการต่อยอดจนสามารถผลิตและพร้อมออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ โดยตลาดเป้าหมาย คือ โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีผู้ป่วยอัมพาตที่นอนพักรักษาตัว หรือต้องบำบัดฟื้นฟูที่บ้าน ตลอดจนผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการใกล้เคียง ที่มีปัญหาทางด้านการสื่อสารด้านการพูด และเขียน ปิยะศักดิ์ บอกอีกว่า ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารในลักษณะเช่นนี้มาก่อนในเมืองไทย และอุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีราคาแพงมาก คือประมาณชุดละ 300,000 บาท และไม่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทย ขณะที่ SenzE กำหนดราคาที่ถูกกว่าอุปกรณ์นำเข้าถึง 40% และเป้าหมายอนาคตคือการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะ 10 ประเทศในอาเซียนหลังเปิดเออีซี. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/202938

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...