มจธ.พัฒนานวัตกรรมควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าจากสัญญาณกล้ามเนื้อ

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)  กับผลงานนวัตกรรมอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะไกล สั่งงานจากสัญญาณกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า

ผู้ทุพพลภาพยิ้มออกด้วยผลงานชิ้นเด็ดจาก มจธ. ส่งอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะไกล สั่งงานจากสัญญาณกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ตอบโจทย์การใช้งานแม้ในผู้พิการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป พร้อมรายงานภาพฉุกเฉินเมื่อต้องการความช่วยเหลือ

ผู้พิการ ทุพพลภาพ สถานะที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการดำเนินชีวิตของ ผู้พิการทางร่างกายในหลายรูปแบบ และนักศึกษากลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่มองเห็นถึงความต้องการของผู้พิการจึงร่วมกันพัฒนาผลงาน“ชุดควบคุมอุปกรณ์ ไฟฟ้าระยะไกล โดยใช้สวิตช์ตัวเดียวสำหรับการดำรงชีวิตอิสระเพื่อผู้ทุพพลภาพ”

3 นักศึกษา“แบงค์” สพณ พิทักษ์“สนุ้กเกอร์” สุพัทธ์ พยัพพฤกษ์และ “แชมป์” ปฤษฎา เชื้อใจนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งระดับประเทศ ในกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ทางด้านการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส ในการประกวด “วันนักประดิษฐ์”ประจำปี 2556 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ”แบงค์”กล่าวว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดสำหรับผู้ที่มีความพิการมากกว่าเดิมให้สามารถใช้งานได้

“ผลงานนี้ทำงานด้วยระบบสแกนซึ่งเดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อผู้พิการที่ยังสามารถใช้แขนได้และใช้มือในการกดสวิตช์ได้ แต่พวกเรานำมาพัฒนาต่อให้มีความพิเศษมากขึ้น ครอบคลุมถึงผู้พิการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตั้งแต่ไหล่ขึ้นไปหรือผู้พิการ ที่ไม่มีมือ ไม่มีเท้าโดยปรับเพิ่มฟังก์ชันก์พิเศษอุปกรณ์วัดสัญญาณกล้ามเนื้อเข้าไป ซึ่งจะใช้วัดสัญญาณการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าหน้าผาก หรือคิ้วซึ่งในชุดอุปกรณ์ทั้งหมดประกอบไปด้วย เครื่องวัดสัญญาณกล้ามเนื้อที่ติดกับแถบคาดศีรษะ และกล่องบรรจุแผงวงจรสำหรับการทำงานอีกสี่กล่องคือ กล่องควบคุมกลางหนึ่งกล่อง กล่องควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าสองกล่อง และกล่องสำคัญที่สุดคือกล่อง Emergency”

“สนุ้กเกอร์”สมาชิกอีกคนในทีมอธิบายถึงวิธีการทำงานว่า อุปกรณ์นี้ใช้ระบบสแกนในการควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งสามารถควบ คุมได้สูงสุด 16 เครื่องภายในห้องเดียวกันซึ่งสามารถตั้งในตำแหน่งใดก็ได้เพราะเป็นอุปกรณ์ ควบคุมระยะไกลสูงสุดถึง 100 เมตร โดยเมื่อมีสัญญาณการเกร็งกล้ามเนื้อไม่ว่าจากการขยับคิ้วหรือส่วนอื่นบนใบหน้าเกิดขึ้นจากผู้ป่วยระบบสแกนในกล่องควบคุมจะทำการไล่รหัส (address) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อผู้ป่วยต้องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดก็สั่งการด้วย การเกร็งกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเป็นการสั่งเปิดหรือปิดนั้นขึ้นอยู่กับสถานะเดิมของเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้น

“ในส่วนการทำงานของกล่อง Emergency ซึ่งกล่องนี้มีความพิเศษตรงที่มีกล้องวงจรคอยจับภาพในห้องที่ผู้ป่วยอยู่ ตลอดเวลาที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นหากเมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยเลือกใช้กล่องนี้ แสดงว่าผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งระบบจะทำการส่งสัญญาณภาพเข้าสู่อีเมล์ของผู้ดูแลหรือญาติทันทีซึ่ง สามารถเปิดดูภาพจากกล้องวิดีโอที่ติดตั้งภายในห้องผ่านทางสมาร์ทโฟนทันทีที่ มีสัญญาณเตือนว่ามีอีเมล์เข้า ซึ่งจะได้เข้าช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”แชมป์กล่าว

ทางด้าน ดร.ศราวัณ วงษา อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษากลุ่มนี้กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานของอุปกรณ์นั้นมีปัญหาคือสัญญาณการเกร็งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการสั่ง งานกล่องเครื่องมือของผู้ป่วยแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา ว่าอุปกรณ์จะไม่ทำงานสำหรับการสั่งงานจากบางคน แต่อย่างไรก็ตามนักศึกษากลุ่มนี้สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยเพิ่มฟังก์ชันการ ตั้งค่าอ้างอิงซึ่งได้มาจากการบันทึกค่าสัญญาณการทำงานของกล้ามเนื้อในขณะ ผ่อนคลายและในขณะเกร็งสั่งการ ทำให้สามารถรองรับการสั่งงานได้กับทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม “แชมป์” ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นยังเป็นชุดต้นแบบซึ่งจะทำการพัฒนาต่อให้มีความ เสถียรมากยิ่งขึ้นและจะนำไปติดตั้งที่โรงพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ ประโยชน์จากอุปกรณ์โดยตรงและหากผลเป็นที่น่าพอใจอาจมีการขยายผลงานให้ผู้ ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้านและเข้าสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป แต่ประโยชน์สูงสุดของผลงานนี้คือคุณค่าทางจิตใจที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วย เหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องคิดว่าตนเองต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา

ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/499017

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 5/04/2556 เวลา 03:59:57 ดูภาพสไลด์โชว์ มจธ.พัฒนานวัตกรรมควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าจากสัญญาณกล้ามเนื้อ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กับผลงานนวัตกรรมอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะไกล สั่งงานจากสัญญาณกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ผู้ทุพพลภาพยิ้มออกด้วยผลงานชิ้นเด็ดจาก มจธ. ส่งอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะไกล สั่งงานจากสัญญาณกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ตอบโจทย์การใช้งานแม้ในผู้พิการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป พร้อมรายงานภาพฉุกเฉินเมื่อต้องการความช่วยเหลือ ผู้พิการ ทุพพลภาพ สถานะที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการดำเนินชีวิตของ ผู้พิการทางร่างกายในหลายรูปแบบ และนักศึกษากลุ่มหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่มองเห็นถึงความต้องการของผู้พิการจึงร่วมกันพัฒนาผลงาน“ชุดควบคุมอุปกรณ์ ไฟฟ้าระยะไกล โดยใช้สวิตช์ตัวเดียวสำหรับการดำรงชีวิตอิสระเพื่อผู้ทุพพลภาพ” 3 นักศึกษา“แบงค์” สพณ พิทักษ์“สนุ้กเกอร์” สุพัทธ์ พยัพพฤกษ์และ “แชมป์” ปฤษฎา เชื้อใจนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งระดับประเทศ ในกลุ่มสิ่งประดิษฐ์ทางด้านการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส ในการประกวด “วันนักประดิษฐ์”ประจำปี 2556 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ”แบงค์”กล่าวว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดสำหรับผู้ที่มีความพิการมากกว่าเดิมให้สามารถใช้งานได้ “ผลงานนี้ทำงานด้วยระบบสแกนซึ่งเดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อผู้พิการที่ยังสามารถใช้แขนได้และใช้มือในการกดสวิตช์ได้ แต่พวกเรานำมาพัฒนาต่อให้มีความพิเศษมากขึ้น ครอบคลุมถึงผู้พิการที่ไม่สามารถขยับตัวได้ตั้งแต่ไหล่ขึ้นไปหรือผู้พิการ ที่ไม่มีมือ ไม่มีเท้าโดยปรับเพิ่มฟังก์ชันก์พิเศษอุปกรณ์วัดสัญญาณกล้ามเนื้อเข้าไป ซึ่งจะใช้วัดสัญญาณการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าหน้าผาก หรือคิ้วซึ่งในชุดอุปกรณ์ทั้งหมดประกอบไปด้วย เครื่องวัดสัญญาณกล้ามเนื้อที่ติดกับแถบคาดศีรษะ และกล่องบรรจุแผงวงจรสำหรับการทำงานอีกสี่กล่องคือ กล่องควบคุมกลางหนึ่งกล่อง กล่องควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าสองกล่อง และกล่องสำคัญที่สุดคือกล่อง Emergency” “สนุ้กเกอร์”สมาชิกอีกคนในทีมอธิบายถึงวิธีการทำงานว่า อุปกรณ์นี้ใช้ระบบสแกนในการควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งสามารถควบ คุมได้สูงสุด 16 เครื่องภายในห้องเดียวกันซึ่งสามารถตั้งในตำแหน่งใดก็ได้เพราะเป็นอุปกรณ์ ควบคุมระยะไกลสูงสุดถึง 100 เมตร โดยเมื่อมีสัญญาณการเกร็งกล้ามเนื้อไม่ว่าจากการขยับคิ้วหรือส่วนอื่นบนใบหน้าเกิดขึ้นจากผู้ป่วยระบบสแกนในกล่องควบคุมจะทำการไล่รหัส (address) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อผู้ป่วยต้องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดก็สั่งการด้วย การเกร็งกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเป็นการสั่งเปิดหรือปิดนั้นขึ้นอยู่กับสถานะเดิมของเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้น “ในส่วนการทำงานของกล่อง Emergency ซึ่งกล่องนี้มีความพิเศษตรงที่มีกล้องวงจรคอยจับภาพในห้องที่ผู้ป่วยอยู่ ตลอดเวลาที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นหากเมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยเลือกใช้กล่องนี้ แสดงว่าผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งระบบจะทำการส่งสัญญาณภาพเข้าสู่อีเมล์ของผู้ดูแลหรือญาติทันทีซึ่ง สามารถเปิดดูภาพจากกล้องวิดีโอที่ติดตั้งภายในห้องผ่านทางสมาร์ทโฟนทันทีที่ มีสัญญาณเตือนว่ามีอีเมล์เข้า ซึ่งจะได้เข้าช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”แชมป์กล่าว ทางด้าน ดร.ศราวัณ วงษา อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษากลุ่มนี้กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานของอุปกรณ์นั้นมีปัญหาคือสัญญาณการเกร็งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการสั่ง งานกล่องเครื่องมือของผู้ป่วยแต่ละคนนั้นไม่เท่ากันซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา ว่าอุปกรณ์จะไม่ทำงานสำหรับการสั่งงานจากบางคน แต่อย่างไรก็ตามนักศึกษากลุ่มนี้สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยเพิ่มฟังก์ชันการ ตั้งค่าอ้างอิงซึ่งได้มาจากการบันทึกค่าสัญญาณการทำงานของกล้ามเนื้อในขณะ ผ่อนคลายและในขณะเกร็งสั่งการ ทำให้สามารถรองรับการสั่งงานได้กับทุกคน แต่อย่างไรก็ตาม “แชมป์” ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นยังเป็นชุดต้นแบบซึ่งจะทำการพัฒนาต่อให้มีความ เสถียรมากยิ่งขึ้นและจะนำไปติดตั้งที่โรงพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ ประโยชน์จากอุปกรณ์โดยตรงและหากผลเป็นที่น่าพอใจอาจมีการขยายผลงานให้ผู้ ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้านและเข้าสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป แต่ประโยชน์สูงสุดของผลงานนี้คือคุณค่าทางจิตใจที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วย เหลือตัวเองได้โดยไม่ต้องคิดว่าตนเองต้องพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา ขอบคุณ... http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/499017

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...