ทีเซลส์ยัน 2 ปีได้ใช้หุ่นยนต์ช่วยผู้สูงวัย

แสดงความคิดเห็น

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า โครงการเมดิคัลฮับของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่า เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน วท.จึงมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และชุมชน จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงช่วยเหลือผู้สูงอายุและพิการเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

นายวรวัจน์กล่าวว่า ในปี 2555 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจพบว่า ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึง ร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยสิงคโปร์ ร้อยละ 12.25 เวียดนาม ร้อยละ 8.53 ดังนั้น เมื่อหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงนี้ยังสามารถบริการผู้สูงอายุต่างชาติที่มาใช้ บริการเมดิคัลฮับในประเทศไทยได้ด้วยถือเป็นการเสริมจุดแข็งให้กับการแพทย์ของประเทศไทย

ด้านนายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการทีเซลส์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งบุคลากรการแพทย์ที่มีศักยภาพ และมีวิศวกรที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก ทั้งนี้ ในระยะแรกจะร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยด้านหุ่นยนต์และภาคเอกชนผลิตหุ่นยนต์ ดูแลผู้สูงอายุด้วยระบบแจ้งเตือนทางเครื่องมือสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกับญาติและผู้ดูแลได้ทันทีหากเกิดอุบัติเหตุหรือความผิดปกติ ต่อผู้สูงอายุ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี ส่วนการผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าตัดและตรวจวินิจฉัยโรคนั้นเป็น โครงการในระยะถัดไป โดยทีเซลส์ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) วิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 23/03/2556 เวลา 03:37:42

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า โครงการเมดิคัลฮับของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่า เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน วท.จึงมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และชุมชน จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงช่วยเหลือผู้สูงอายุและพิการเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นายวรวัจน์กล่าวว่า ในปี 2555 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจพบว่า ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึง ร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยสิงคโปร์ ร้อยละ 12.25 เวียดนาม ร้อยละ 8.53 ดังนั้น เมื่อหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงนี้ยังสามารถบริการผู้สูงอายุต่างชาติที่มาใช้ บริการเมดิคัลฮับในประเทศไทยได้ด้วยถือเป็นการเสริมจุดแข็งให้กับการแพทย์ของประเทศไทย ด้านนายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการทีเซลส์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งบุคลากรการแพทย์ที่มีศักยภาพ และมีวิศวกรที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก ทั้งนี้ ในระยะแรกจะร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยด้านหุ่นยนต์และภาคเอกชนผลิตหุ่นยนต์ ดูแลผู้สูงอายุด้วยระบบแจ้งเตือนทางเครื่องมือสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกับญาติและผู้ดูแลได้ทันทีหากเกิดอุบัติเหตุหรือความผิดปกติ ต่อผู้สูงอายุ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี ส่วนการผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าตัดและตรวจวินิจฉัยโรคนั้นเป็น โครงการในระยะถัดไป โดยทีเซลส์ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) วิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...