เดินดี นวัตกรรมเดินได้ เพื่อคน ปลายเท้าตก

แสดงความคิดเห็น

นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ (น้องโก้) และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม (น้องโอ้ต)  เจ้าของผลงาน เดินดี นวัตกรรมเดินได้ เพื่อคน ปลายเท้าตก

ของดี มีอยู่ แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ก็เท่านั้น เช่นเดียวกับมันสมองของคนเรา มีไว้ไม่พัฒนา ก็เท่านั้น เหมือนเอาไว้คั้นหู แต่สำหรับ นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ (น้องโก้) และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม (น้องโอ้ต) สองหนุ่มผู้ศึกษาด้านวิศวกรรมการแพทย์ จากมหิดล ไม่ได้มีแค่สมอง แต่ยังมีความคิดที่จะพัฒนามันสมองของตัวเอง เพื่อช่วยเหลือสังคมด้วย

ด้วยความช่วยเหลือจาก ผ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ ทำให้น้องโก้ และน้อง โอ๊ต มุ่งมั่นจะพัฒนาอุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือผู้คนในสังคมได้ จึงเกิดขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เดินดี” เดินดีเป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการ “ปลายเท้าตก” ซึ่งจะเกิดกับผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในไทยและทั่วโลกหากแต่อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ให้เดินได้ เป็นอุปกรณ์ที่มาจากต่างประเทศ กลับมีราค่าสูงเป็นหลักแสน และยังต้องให้เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดเป็นผู้นำเข้ามา แถมยังต้องไปอบรมการใช้จากเมืองนอกอีกด้วย ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นไปอีก ทำให้ผู้ป่วยในเมืองไทยไม่มีโอกาสได้ใช้

จึงเกิดเป็นการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อผู้ป่วยปลายเท้าตกขึ้น ในชื่อ “เดินดี” ที่น้องทั้งสองและอาจารย์เซงช่วยกันคิดค้นขึ้น หลักการคือการสร้างสัญญาณไฟฟ้าให้ตรงกับการเดินของผู้ป่วย เพียงแค่ติดอุปกรณ์นี้ไว้ที่ขาที่ไม่มีแรง แล้วมีการยกเส้นเท้าขึ้น กระแสไฟฟ้าก็จะไปกระตุ้นให้ปลายเท้ากระดก เท่านี้ผู้ป่วยก็ทำให้ขาที่ไม่มีแรง สามารถเดินได้ตามปกติแล้ว โดยเครื่องมือในลักษณะนี้ เรียกว่าเป็น “เครื่องมือแพทย์ทั่วไป มีกำลังแบบไม่รุกล้ำร่างกาย”

อุปกรณ์ของผลงาน 'เดินดี' นวัตกรรมเดินได้ ที่สำคัญคือ อุปกรณ์ตัวนี้ขนาดเล็กกะทัดรัด และราคาเพียงแค่ 6,000 บาท ผู้ป่วยทั่วไปสามารถหาซื้อมาใช้ได้ง่าย และหลังจากที่โครงการนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีของบริษัท สามารถคอร์ปเรชั่น จำกัด(มหาชน) ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสทางธุรกิจทำให้น้องทั้งสองสามารถเดินหน้าโครงการนี้ให้เกิดเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ และพร้อมสำหรับการทำตลาดอย่างจริงจังต่อไป

โดยอุปกรณ์ที่ใช้นั้น ก็มีเพียง “เครื่องเดินดี” ที่เป็นกล่องเล็กๆ ขนาดประมาณกล่องไม้ขีดไฟ และขั้วกระตุ้น กับตัวเซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่พกพาสะดวก เพียง แค่ชาร์จไฟไว้ไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งวัน ประมาณ 6-10 ชั่วโมง ซึ่งปกติเราก็ไม่ได้เดินกันมากขนาดนั้น และไม่ต้องห่วงเรื่องอันตราย เพราะไฟที่ใช้มีขนาดเพียง 4 โวลต์ อีกทั้งยังสามารถโดนน้ำได้บ้าง (เช่น ฝนตก) และยังรับประกันนานถึง 3 ปี

เบื้องต้นได้เริ่มมีการจำหน่ายมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมาและมีการนำไปใช้แล้วราว 200 เครื่อง รวมถึงการเข้าร่วมโครงการ “มหิดลเดินดีเพื่อพ่อหลวง” ของคณะกายภาพ และยังมีโครงการที่จะเดินทางไปทั่วประเทศราวกลางปี เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยทั่วประเทศตามโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีโครงการอยากจะเข้าโครงการประกันสุขภาพด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้กันมากขึ้น และแน่นอนว่า จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งรูปลักษณ์และวัสดุที่ใช้ หากจะต้องมีการวางขายตามท้องตลาด และจะต้องมีการปรับปรุงสายการผลิตให้ได้มากกว่าปัจจุบัน ที่รองรับได้เพียง 100 เครื่องต่อเดือนเท่านั้น สำหรับผู้คนที่สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดกันได้ที่เว็บไซต์ http://www.dearndee.com หรือที่เฟสบุ๊ก http://www.facebook.com/dearndee (ขนาดไฟล์: 0 )

อย่างไรก็ตาม การนำอุปกรณ์นี้ไปใช้นั้น นั้นหมายความว่า ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ก่อนว่า มีโอกาสที่จะเดินได้ แล้วจึงนำเครื่องมือนี้ไปใช้เพื่อช่วยในการเดินต่อไป ซึ่งการนำอุปกรณ์ติดที่ขาไว้เพื่อช่วยเดิน ก็เปรียบเสมือนการทำกายภาพบำบัดไปในตัวนั้นเอง และการใช้เครื่องมือนี้เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยไม่ควรจะมีแผลบริเวณขาด้วย

แม้ว่าจะไม่ใช้อุปกรณ์ที่จะมารักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้หายขาด แต่สิ่งสำคัญที่น้องทั้ง 2 อยากทำ คือ การทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปลายเท้าตกในประเทศไทย ให้สามารถกลับมาเดินได้ แม้จะเป็นเพียงแค่ฟันเฟืองเล็กๆ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับไปใช้มีความสุขกับการได้เดินด้วยขาตัวเองอีกครั้ง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.56

ที่มา: มติชนรายวัน
วันที่โพสต์: 5/03/2556 เวลา 04:31:21 ดูภาพสไลด์โชว์ เดินดี นวัตกรรมเดินได้ เพื่อคน ปลายเท้าตก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ (น้องโก้) และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม (น้องโอ้ต) เจ้าของผลงาน เดินดี นวัตกรรมเดินได้ เพื่อคน ปลายเท้าตก ของดี มีอยู่ แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ก็เท่านั้น เช่นเดียวกับมันสมองของคนเรา มีไว้ไม่พัฒนา ก็เท่านั้น เหมือนเอาไว้คั้นหู แต่สำหรับ นายจิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ (น้องโก้) และ นายรติกร ชัยวัฒนธรรม (น้องโอ้ต) สองหนุ่มผู้ศึกษาด้านวิศวกรรมการแพทย์ จากมหิดล ไม่ได้มีแค่สมอง แต่ยังมีความคิดที่จะพัฒนามันสมองของตัวเอง เพื่อช่วยเหลือสังคมด้วย ด้วยความช่วยเหลือจาก ผ.ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ ทำให้น้องโก้ และน้อง โอ๊ต มุ่งมั่นจะพัฒนาอุปกรณ์ที่จะช่วยเหลือผู้คนในสังคมได้ จึงเกิดขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เดินดี” เดินดีเป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการ “ปลายเท้าตก” ซึ่งจะเกิดกับผู้ที่เป็นอัมพฤกษ์ ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในไทยและทั่วโลกหากแต่อุปกรณ์สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ให้เดินได้ เป็นอุปกรณ์ที่มาจากต่างประเทศ กลับมีราค่าสูงเป็นหลักแสน และยังต้องให้เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัดเป็นผู้นำเข้ามา แถมยังต้องไปอบรมการใช้จากเมืองนอกอีกด้วย ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นไปอีก ทำให้ผู้ป่วยในเมืองไทยไม่มีโอกาสได้ใช้ จึงเกิดเป็นการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อผู้ป่วยปลายเท้าตกขึ้น ในชื่อ “เดินดี” ที่น้องทั้งสองและอาจารย์เซงช่วยกันคิดค้นขึ้น หลักการคือการสร้างสัญญาณไฟฟ้าให้ตรงกับการเดินของผู้ป่วย เพียงแค่ติดอุปกรณ์นี้ไว้ที่ขาที่ไม่มีแรง แล้วมีการยกเส้นเท้าขึ้น กระแสไฟฟ้าก็จะไปกระตุ้นให้ปลายเท้ากระดก เท่านี้ผู้ป่วยก็ทำให้ขาที่ไม่มีแรง สามารถเดินได้ตามปกติแล้ว โดยเครื่องมือในลักษณะนี้ เรียกว่าเป็น “เครื่องมือแพทย์ทั่วไป มีกำลังแบบไม่รุกล้ำร่างกาย” อุปกรณ์ของผลงาน \'เดินดี\' นวัตกรรมเดินได้ ที่สำคัญคือ อุปกรณ์ตัวนี้ขนาดเล็กกะทัดรัด และราคาเพียงแค่ 6,000 บาท ผู้ป่วยทั่วไปสามารถหาซื้อมาใช้ได้ง่าย และหลังจากที่โครงการนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีของบริษัท สามารถคอร์ปเรชั่น จำกัด(มหาชน) ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสทางธุรกิจทำให้น้องทั้งสองสามารถเดินหน้าโครงการนี้ให้เกิดเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ และพร้อมสำหรับการทำตลาดอย่างจริงจังต่อไป โดยอุปกรณ์ที่ใช้นั้น ก็มีเพียง “เครื่องเดินดี” ที่เป็นกล่องเล็กๆ ขนาดประมาณกล่องไม้ขีดไฟ และขั้วกระตุ้น กับตัวเซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่พกพาสะดวก เพียง แค่ชาร์จไฟไว้ไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งวัน ประมาณ 6-10 ชั่วโมง ซึ่งปกติเราก็ไม่ได้เดินกันมากขนาดนั้น และไม่ต้องห่วงเรื่องอันตราย เพราะไฟที่ใช้มีขนาดเพียง 4 โวลต์ อีกทั้งยังสามารถโดนน้ำได้บ้าง (เช่น ฝนตก) และยังรับประกันนานถึง 3 ปี เบื้องต้นได้เริ่มมีการจำหน่ายมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมาและมีการนำไปใช้แล้วราว 200 เครื่อง รวมถึงการเข้าร่วมโครงการ “มหิดลเดินดีเพื่อพ่อหลวง” ของคณะกายภาพ และยังมีโครงการที่จะเดินทางไปทั่วประเทศราวกลางปี เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยทั่วประเทศตามโรงพยาบาลต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีโครงการอยากจะเข้าโครงการประกันสุขภาพด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้กันมากขึ้น และแน่นอนว่า จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งรูปลักษณ์และวัสดุที่ใช้ หากจะต้องมีการวางขายตามท้องตลาด และจะต้องมีการปรับปรุงสายการผลิตให้ได้มากกว่าปัจจุบัน ที่รองรับได้เพียง 100 เครื่องต่อเดือนเท่านั้น สำหรับผู้คนที่สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดกันได้ที่เว็บไซต์ http://www.dearndee.com หรือที่เฟสบุ๊ก http://www.facebook.com/dearndee อย่างไรก็ตาม การนำอุปกรณ์นี้ไปใช้นั้น นั้นหมายความว่า ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ก่อนว่า มีโอกาสที่จะเดินได้ แล้วจึงนำเครื่องมือนี้ไปใช้เพื่อช่วยในการเดินต่อไป ซึ่งการนำอุปกรณ์ติดที่ขาไว้เพื่อช่วยเดิน ก็เปรียบเสมือนการทำกายภาพบำบัดไปในตัวนั้นเอง และการใช้เครื่องมือนี้เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยไม่ควรจะมีแผลบริเวณขาด้วย แม้ว่าจะไม่ใช้อุปกรณ์ที่จะมารักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์ให้หายขาด แต่สิ่งสำคัญที่น้องทั้ง 2 อยากทำ คือ การทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปลายเท้าตกในประเทศไทย ให้สามารถกลับมาเดินได้ แม้จะเป็นเพียงแค่ฟันเฟืองเล็กๆ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับไปใช้มีความสุขกับการได้เดินด้วยขาตัวเองอีกครั้ง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ขอบคุณ... มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 มี.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...