‘โลโคแมต’ หุ่นยนต์ฝึกเดินช่วยผู้ป่วย..อัมพฤกษ์-อัมพาต

แสดงความคิดเห็น

ผู้ป่วยใช้หุ่นยนต์ โลโคแมต ช่วยฝึกเดิน อัมพฤกษ์-อัมพาต...!ผลพวงของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คนไทยเป็นกันมากขึ้นในแต่ละปีองค์การ อัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นสาเหตุการตายอันดับ ๒ ของประชากรอายุมากกว่า ๖๐ ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ ทั่วโลก รวมทั้ง เป็นสาเหตุที่สำคัญของความพิการที่รุนแรง ข้อมูลทางสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ทั่วโลกราว ๑๐-๑๕ ล้านคน ในจำนวน นี้ ๕ ล้านคนเสียชีวิต และอีก ๕ ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร ส่วนประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายหรือพิการสูงเป็นอันดับ ๓ ในเพศชาย รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ และสูงเป็นอันดับ ๒ ในเพศหญิงรองจากโรคเอดส์

พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า เพราะเหตุที่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตเพิ่มขึ้นมาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติจึงได้นำ “โลโคแมต” (Lokomat) หรือหุ่นยนต์ฝึกเดินมาใช้สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต ถือเป็นหุ่นยนต์ ๑ ใน ๓ ตัวที่มีในประเทศไทย โดยโลโคแมตอีก ๒ ตัว อยู่ที่ รพ.ศิริราช และ รพ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยที่ มอ.และศูนย์สิรินธรมีทั้งหุ่นยนต์โลโคแมตธรรมดาและโลโคแมตจิ๋ว ที่สามารถใช้กับการฝึกเดินในเด็กสมองพิการหรือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ ด้วย

ภคอร สายพันธุ์ หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อธิบายว่า โลโคแมตถือเป็นอุปกรณ์ฝึกเดินที่ทันสมัยที่สุดที่ศูนย์สิรินธรนำมาใช้สำหรับ ผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น บาดเจ็บไขสันหลัง หลอดเลือดสมอง เด็กสมองพิการและเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินทุกรูปแบบ โลโคแมต ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยมีส่วนประกอบของ อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงสะโพกและขาทั้งสองข้าง ขาแต่ละข้างจะมีมอเตอร์ของข้อสะโพกและข้อเข่าติดตั้งยึดกับลู่ทางเดินที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์พีซี

ภคอร บอกว่า ในอดีตการฝึกเดินของผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต และ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน จะใช้วิธีฝึกกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งต้องใช้ทั้งความอดทนและกำลังใจอย่างมาก บางครั้งเดินได้เพียง ๕-๑๐ นาที ก็เหนื่อยแล้ว ทั้งคนฝึกและคนถูกฝึก แต่สำหรับการฝึกกับโลโคแมต ผู้ป่วยสามารถที่จะฝึกเดินอย่างต่อเนื่องได้นานถึง ๓๐-๔๐ นาที รวมทั้งยังควบคุมจังหวะการเดินได้อย่างถูกต้อง ๑๐๐ % ลดการช่วยพยุงน้ำหนักตัว โดยผู้ป่วยสามารถพยุงน้ำหนักตัวเองได้มากขึ้น

นอกจากโลโคแมตจะช่วยฝึกเดินแล้ว สิ่งที่เป็นผลพวงจากการ ฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ตัวนี้ยังมีส่วนช่วยใน เรื่องความทนทานของระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ที่พบว่าหลังการฝึกเดินแล้วผู้ป่วยมีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น อวัยวะภายในดีขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน ได้ด้วย

ที่พิเศษอีกอย่างสำหรับการฝึกเดินกับหุ่นยนต์โลโคแมต ก็คือ ความเพลิดเพลินในระหว่างการฝึก เพราะระบบของโลโคแมตจะมีการติดตั้งจอระบบ ๓ D ให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นพัฒนาการระหว่างการฝึกเดินของตนเอง และสนุกสนานไปกับเกมแอนนิเมชั่นที่ช่วยในการฝึกเดิน เช่น เกมลูกแกะ ก็จะมีแกะออกมาวิ่งเล่น ถ้าผู้ป่วยต้องการจับลูกแกะที่อยู่ทางซ้าย ก็ต้องออก กำลังขาขวาให้มากขึ้น ถ้าต้องการลูกแกะที่อยู่ทางขวาก็ต้องออกกำลังขาซ้าย หรือเกมสุนัขจิ้งจอก ที่ผู้ป่วยต้องพยายามเดินหลบหลีกสุนัขจิ้งจอกที่ออกมาขวางทาง หรือพยายามหลีกเลี่ยง มิฉะนั้นก็อาจจะถูกสุนัขจิ้งจอกกัดเอาได้ เรียกว่า ระหว่างที่กำลังฝึกเดินนั้น ผู้ป่วยแทบไม่รู้เลยว่ากำลังอยู่ในโปรแกรมของการฝึก เพราะเหมือนกำลังเล่นเกมแอนนิเมชั่น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบเกมเลยทีเดียว

สำหรับโลโคแมต ได้รับการพัฒนาขึ้นที่ Spinal Cord Injury Center ของมหาวิทยาลัย Balgrist ในเมืองซูริก ที่มีทั้งแพทย์ นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์ ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานจนเป็นที่ยอมรับ

ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคล เวลา และงบประมาณ ปัจจุบันโลโคแมต สามารถใช้ฝึกเดินให้ผู้ป่วยได้ประมาณวันละ ๕ คน เพราะแต่ละคนต้องใช้เวลา ตั้งแต่ติดตั้งอุปกรณ์ ฝึกเดิน และถอดอุปกรณ์ คนละไม่ต่ำกว่า ๑ ชั่วโมง แต่ผลที่น่าพอใจก็คือ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยืนยันว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์โลโคแมต มีพัฒนาการด้านการเดินในทางบวกและมีโอกาสที่จะเดินได้ดีขึ้นถึง ๑๐๐%

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๘ ส.ค.๕๕
วันที่โพสต์: 5/10/2555 เวลา 15:11:42 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘โลโคแมต’ หุ่นยนต์ฝึกเดินช่วยผู้ป่วย..อัมพฤกษ์-อัมพาต

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

สถิติความสนใจ

ชอบ: 1 คน (100%)

ไม่ชอบ: 0 คน (0%)

ไม่มีความเห็น: 0 คน (0%)

จำนวนคนโหวตทั้งหมด: 1 คน (100%)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผู้ป่วยใช้หุ่นยนต์ โลโคแมต ช่วยฝึกเดินอัมพฤกษ์-อัมพาต...!ผลพวงของโรคหลอดเลือดสมอง ที่คนไทยเป็นกันมากขึ้นในแต่ละปีองค์การ อัมพาตโลก (World Stroke Organization : WSO) รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นสาเหตุการตายอันดับ ๒ ของประชากรอายุมากกว่า ๖๐ ปี และเป็นสาเหตุการตายอันดับ ๓ ทั่วโลก รวมทั้ง เป็นสาเหตุที่สำคัญของความพิการที่รุนแรง ข้อมูลทางสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดใหม่ทั่วโลกราว ๑๐-๑๕ ล้านคน ในจำนวน นี้ ๕ ล้านคนเสียชีวิต และอีก ๕ ล้านคนกลายเป็นคนพิการอย่างถาวร ส่วนประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายหรือพิการสูงเป็นอันดับ ๓ ในเพศชาย รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ และสูงเป็นอันดับ ๒ ในเพศหญิงรองจากโรคเอดส์ พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ บอกว่า เพราะเหตุที่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาตเพิ่มขึ้นมาก ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติจึงได้นำ “โลโคแมต” (Lokomat) หรือหุ่นยนต์ฝึกเดินมาใช้สำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต ถือเป็นหุ่นยนต์ ๑ ใน ๓ ตัวที่มีในประเทศไทย โดยโลโคแมตอีก ๒ ตัว อยู่ที่ รพ.ศิริราช และ รพ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยที่ มอ.และศูนย์สิรินธรมีทั้งหุ่นยนต์โลโคแมตธรรมดาและโลโคแมตจิ๋ว ที่สามารถใช้กับการฝึกเดินในเด็กสมองพิการหรือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้ ด้วย ภคอร สายพันธุ์ หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อธิบายว่า โลโคแมตถือเป็นอุปกรณ์ฝึกเดินที่ทันสมัยที่สุดที่ศูนย์สิรินธรนำมาใช้สำหรับ ผู้ป่วยทางระบบประสาท เช่น บาดเจ็บไขสันหลัง หลอดเลือดสมอง เด็กสมองพิการและเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินทุกรูปแบบ โลโคแมต ทำงานโดยการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยมีส่วนประกอบของ อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงสะโพกและขาทั้งสองข้าง ขาแต่ละข้างจะมีมอเตอร์ของข้อสะโพกและข้อเข่าติดตั้งยึดกับลู่ทางเดินที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์พีซี ภคอร บอกว่า ในอดีตการฝึกเดินของผู้ป่วยอัมพฤกษ์-อัมพาต และ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเดิน จะใช้วิธีฝึกกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งต้องใช้ทั้งความอดทนและกำลังใจอย่างมาก บางครั้งเดินได้เพียง ๕-๑๐ นาที ก็เหนื่อยแล้ว ทั้งคนฝึกและคนถูกฝึก แต่สำหรับการฝึกกับโลโคแมต ผู้ป่วยสามารถที่จะฝึกเดินอย่างต่อเนื่องได้นานถึง ๓๐-๔๐ นาที รวมทั้งยังควบคุมจังหวะการเดินได้อย่างถูกต้อง ๑๐๐ % ลดการช่วยพยุงน้ำหนักตัว โดยผู้ป่วยสามารถพยุงน้ำหนักตัวเองได้มากขึ้น นอกจากโลโคแมตจะช่วยฝึกเดินแล้ว สิ่งที่เป็นผลพวงจากการ ฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดินสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ตัวนี้ยังมีส่วนช่วยใน เรื่องความทนทานของระบบหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ที่พบว่าหลังการฝึกเดินแล้วผู้ป่วยมีระบบไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น อวัยวะภายในดีขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ป้องกันการยึดติดของข้อต่อ และป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุน ได้ด้วย ที่พิเศษอีกอย่างสำหรับการฝึกเดินกับหุ่นยนต์โลโคแมต ก็คือ ความเพลิดเพลินในระหว่างการฝึก เพราะระบบของโลโคแมตจะมีการติดตั้งจอระบบ ๓ D ให้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นพัฒนาการระหว่างการฝึกเดินของตนเอง และสนุกสนานไปกับเกมแอนนิเมชั่นที่ช่วยในการฝึกเดิน เช่น เกมลูกแกะ ก็จะมีแกะออกมาวิ่งเล่น ถ้าผู้ป่วยต้องการจับลูกแกะที่อยู่ทางซ้าย ก็ต้องออก กำลังขาขวาให้มากขึ้น ถ้าต้องการลูกแกะที่อยู่ทางขวาก็ต้องออกกำลังขาซ้าย หรือเกมสุนัขจิ้งจอก ที่ผู้ป่วยต้องพยายามเดินหลบหลีกสุนัขจิ้งจอกที่ออกมาขวางทาง หรือพยายามหลีกเลี่ยง มิฉะนั้นก็อาจจะถูกสุนัขจิ้งจอกกัดเอาได้ เรียกว่า ระหว่างที่กำลังฝึกเดินนั้น ผู้ป่วยแทบไม่รู้เลยว่ากำลังอยู่ในโปรแกรมของการฝึก เพราะเหมือนกำลังเล่นเกมแอนนิเมชั่น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบเกมเลยทีเดียว สำหรับโลโคแมต ได้รับการพัฒนาขึ้นที่ Spinal Cord Injury Center ของมหาวิทยาลัย Balgrist ในเมืองซูริก ที่มีทั้งแพทย์ นักกายภาพบำบัด ผู้ป่วย และนักวิทยาศาสตร์ ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานจนเป็นที่ยอมรับ ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคล เวลา และงบประมาณ ปัจจุบันโลโคแมต สามารถใช้ฝึกเดินให้ผู้ป่วยได้ประมาณวันละ ๕ คน เพราะแต่ละคนต้องใช้เวลา ตั้งแต่ติดตั้งอุปกรณ์ ฝึกเดิน และถอดอุปกรณ์ คนละไม่ต่ำกว่า ๑ ชั่วโมง แต่ผลที่น่าพอใจก็คือ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติยืนยันว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์โลโคแมต มีพัฒนาการด้านการเดินในทางบวกและมีโอกาสที่จะเดินได้ดีขึ้นถึง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...