ของเล่นสอนอักษรเบรลล์เพื่อเด็กตาบอด ฝีมือ นศ.มจธ.

แสดงความคิดเห็น

น.ส.ฑิฆัมพร ศรีน้อย เจ้าของผลงานศิลปนิพนธ์ของเล่นสอนอักษรเบรลล์เพื่อเด็กตาบอด

กว่าคนตาบอดจะเรียนรู้และอ่านอักษรเบรลล์ได้นั้น ยากเย็นแค่ไหน คนส่วนใหญ่ไม่อาจรับรู้จนกว่าเราจะได้ไปสัมผัสใกล้ชิด “ฑิฆัมพร ศรีน้อย” นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างผลงานศิลปนิพนธ์ของเธอ เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งที่เห็น กุญแจดอกสำคัญอันนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจอักษรเบรลล์ของเด็กตาบอดในช่วงอายุ 3 - 5 ปี ถ้าเปรียบเทียบกับเด็กปกติก็ไม่ต่างไปจากการเรียนรู้ ก.ไก่-ฮ.นกฮูก ในชั้นอนุบาล

เป็นระยะเวลา 4 เดือนกว่า ในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ทิฆัมพร พบว่า เด็ก ๆ “ไม่อยาก” ที่จะฝึกฝนด้วยตนเอง ระหว่างที่ครูสอน ทำให้ครูต้องเข้ามาควบคุมโดยจับมือกดทะลุเพื่อเรียนอักษรเบรลล์จากก.ไก่ฮ.นกฮูก

“เราสังเกตและติดตามการเรียนของเขาไปเรื่อย ๆ จนสังเกตเห็นพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก ๆ เมื่อถูกครูควบคุมมือว่าเขาไม่เต็มใจ ไม่สนุก ครูสุนี หินวิเศษ ครูผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น บอกเราว่าแม้ครูจะลองปล่อยให้เด็กฝึกฝนเองโดยไม่บังคับ ก็พบว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะเรียน เลยคิดที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้เพื่อให้เด็กฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงสำหรับกดอักษรเบรลล์ด้วยตนเอง”

ฑิฆัมพร เล่าว่า เธอออกแบบชุดของเล่นเพื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ให้มี 3 รูปร่าง 3 รูปทรง และ 6 การแบ่งส่วน คือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม, ทรงกลม ทรงกระบอก และทรงกรวย โดยที่ทรวงกรวยและทรวงกระบอกยังสามารถแบ่งออกเป็นรูปทรงย่อยได้อีก อย่างละ 1 รูปทรง มีหลุมเอาไว้เก็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกต่อการนำออกมาใช้งาน

แม้วิธีการเรียนรู้จะต่างกัน แต่เป้าหมายของการเรียนรู้ไม่ต่างกับแบบเดิม คือ เพื่อเรียนรู้อักษรเบรลล์ ฑิฆัมพร สร้างเป้าหมายในการกดให้เกิดความสนุกขึ้นระหว่างการเรียนรู้และฝึกกล้ามเนื้อมือ โดยดึงจุดเด่นของเด็ก ๆ ที่มีธรรมชาติของการเล่นสนุก ผ่านเรื่องราวในจินตนาการและประสบการณ์ที่เคยสัมผัส แต่ความยากคือ เด็กที่ตาบอดไม่สามารถมองเห็นได้จึงมีเพียงการสัมผัสและการได้ยินเท่านั้นที่จะสร้างจินตนาการและประสบการณ์ให้เขาได้การสร้างรูปทรงต่างๆจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ส่วนวิธีการใช้งาน เริ่มต้นจะต้องเปิดฝากล่องออก เพื่อใช้กระดานวางแผ่นกระดาษ ขนาด A4 จากนั้นนำรูปทรงต่าง ๆ มาวางร้อยเรียงไปตามจินตนาการ และกดไปรอบ ๆ จนเกิดเป็นรูปทรงและเรื่องราวไปพร้อม ๆ กับการได้เรียนรู้ อีกทั้งพัฒนาการกล้ามเนื้อมือ ผลงานชิ้นนี้ยังรอผู้ประกอบการที่สนใจนำไปต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของคนพิการทางสายตาต่อไป

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000096400 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.59
วันที่โพสต์: 26/09/2559 เวลา 10:58:28 ดูภาพสไลด์โชว์ ของเล่นสอนอักษรเบรลล์เพื่อเด็กตาบอด ฝีมือ นศ.มจธ.

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.ฑิฆัมพร ศรีน้อย เจ้าของผลงานศิลปนิพนธ์ของเล่นสอนอักษรเบรลล์เพื่อเด็กตาบอด กว่าคนตาบอดจะเรียนรู้และอ่านอักษรเบรลล์ได้นั้น ยากเย็นแค่ไหน คนส่วนใหญ่ไม่อาจรับรู้จนกว่าเราจะได้ไปสัมผัสใกล้ชิด “ฑิฆัมพร ศรีน้อย” นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างผลงานศิลปนิพนธ์ของเธอ เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งที่เห็น กุญแจดอกสำคัญอันนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจอักษรเบรลล์ของเด็กตาบอดในช่วงอายุ 3 - 5 ปี ถ้าเปรียบเทียบกับเด็กปกติก็ไม่ต่างไปจากการเรียนรู้ ก.ไก่-ฮ.นกฮูก ในชั้นอนุบาล เป็นระยะเวลา 4 เดือนกว่า ในโรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น ทิฆัมพร พบว่า เด็ก ๆ “ไม่อยาก” ที่จะฝึกฝนด้วยตนเอง ระหว่างที่ครูสอน ทำให้ครูต้องเข้ามาควบคุมโดยจับมือกดทะลุเพื่อเรียนอักษรเบรลล์จากก.ไก่ฮ.นกฮูก “เราสังเกตและติดตามการเรียนของเขาไปเรื่อย ๆ จนสังเกตเห็นพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก ๆ เมื่อถูกครูควบคุมมือว่าเขาไม่เต็มใจ ไม่สนุก ครูสุนี หินวิเศษ ครูผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด จังหวัดขอนแก่น บอกเราว่าแม้ครูจะลองปล่อยให้เด็กฝึกฝนเองโดยไม่บังคับ ก็พบว่าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะเรียน เลยคิดที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้เพื่อให้เด็กฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงสำหรับกดอักษรเบรลล์ด้วยตนเอง” ฑิฆัมพร เล่าว่า เธอออกแบบชุดของเล่นเพื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ให้มี 3 รูปร่าง 3 รูปทรง และ 6 การแบ่งส่วน คือ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม, ทรงกลม ทรงกระบอก และทรงกรวย โดยที่ทรวงกรวยและทรวงกระบอกยังสามารถแบ่งออกเป็นรูปทรงย่อยได้อีก อย่างละ 1 รูปทรง มีหลุมเอาไว้เก็บชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกต่อการนำออกมาใช้งาน แม้วิธีการเรียนรู้จะต่างกัน แต่เป้าหมายของการเรียนรู้ไม่ต่างกับแบบเดิม คือ เพื่อเรียนรู้อักษรเบรลล์ ฑิฆัมพร สร้างเป้าหมายในการกดให้เกิดความสนุกขึ้นระหว่างการเรียนรู้และฝึกกล้ามเนื้อมือ โดยดึงจุดเด่นของเด็ก ๆ ที่มีธรรมชาติของการเล่นสนุก ผ่านเรื่องราวในจินตนาการและประสบการณ์ที่เคยสัมผัส แต่ความยากคือ เด็กที่ตาบอดไม่สามารถมองเห็นได้จึงมีเพียงการสัมผัสและการได้ยินเท่านั้นที่จะสร้างจินตนาการและประสบการณ์ให้เขาได้การสร้างรูปทรงต่างๆจึงเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนวิธีการใช้งาน เริ่มต้นจะต้องเปิดฝากล่องออก เพื่อใช้กระดานวางแผ่นกระดาษ ขนาด A4 จากนั้นนำรูปทรงต่าง ๆ มาวางร้อยเรียงไปตามจินตนาการ และกดไปรอบ ๆ จนเกิดเป็นรูปทรงและเรื่องราวไปพร้อม ๆ กับการได้เรียนรู้ อีกทั้งพัฒนาการกล้ามเนื้อมือ ผลงานชิ้นนี้ยังรอผู้ประกอบการที่สนใจนำไปต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของคนพิการทางสายตาต่อไป ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000096400

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...